เปิดข้อสังเกต‘กมธ.งบฯ64’ ชี้หนี้สาธารณะพุ่ง-ภาระคลัง จี้จัดระเบียบ‘ซื้ออาวุธ’
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_2348288
หมายเหตุ –
เนื้อหาส่วนหนึ่งในรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่จะเข้าสภาผู้แทนฯในวาระ 2-3 ในวันที่ 16-17 กันยายน
⦁ ภาพรวมข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
- หน่วยรับงบประมาณควรปรับปรุงรายงานงบการเงินและมีผลการตรวจสอบงบการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 68 กําหนดให้หน่วยงานต่างๆ ต้องดําเนินการตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ที่กระทรวงการคลังกําหนด แต่มีหน่วยรับงบประมาณจํานวนมากที่จัดส่งรายงานบัญชีการเงินล่าช้า มีผลการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข งบการเงินไม่ถูกต้องหรือไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
ทั้งนี้ หน่วยรับงบประมาณทุกหน่วยงานควรจัดทํางบการเงินให้ถูกต้อง โดยรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีต้องรายงานแบบไม่มีเงื่อนไขตามกรอบของกฎหมาย เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณชอบด้วยกฎหมายโปร่งใส ตรวจสอบได้และควรเปิดเผยข้อมูลรายงานผู้ตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่อสาธารณชน
- การจัดทำงบประมาณ พ.ศ.2564 มีการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาต่อสถานการณ์โควิด-19 การจัดทํางบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แม้ว่าจะมีการปรับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การจัดสรรงบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ และยังไม่สามารถเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้นได้
ทั้งนี้รัฐบาล สํานักงบประมาณและหน่วยรับงบประมาณควรมีแผนในการจัดทํางบประมาณในภาวะวิกฤตโดยลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จําเป็นหรือไม่เร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤต และพิจารณาปรับลดงบประมาณการจัดฝึกอบรม สัมมนา การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ ที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงการพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ต่างๆ ที่ยังไม่มีความจําเป็นเร่งด่วน การจัดสรรงบประมาณควรพิจารณาถึงทิศทาง สถานการณ์และวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ประเทศเผชิญอยู่ในปัจจุบันเป็นสําคัญ
- หนี้สาธารณะสูงขึ้นเป็นภาระแก่การคลังของประเทศ
สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการก่อหนี้สาธารณะที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพที่มีคุณภาพทําให้ฐานะทางการคลังของรัฐบาลมีความเปราะบางเมื่อพิจารณาโครงสร้างของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2550-2564 พบว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจําสูงขึ้นกว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน
สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2564 รายจ่ายประจําเมื่อรวมกับรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้สูงเท่ากับประมาณการรายได้ที่มาจากการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งหากการจัดเก็บภาษีอากรทําได้ต่ำกว่าประมาณการ รัฐบาลจะต้องกู้เงินมาชดเชยส่วนที่ขาดอันจะทําให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นเป็นภาระแก่การคลังของประเทศ เป็นการส่งสัญญาณว่าประเทศไทยมีความจําเป็นจะต้องปรับโครงสร้างงบประมาณ
ดังนั้นควรให้ความสําคัญกับการปรับโครงสร้างงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณปีถัดไป โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ เน้นเป้าหมายนํากระบวนการและควบคุมสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายประจําเพื่อให้เป็นไปตามกรอบของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 อย่างเคร่งครัด
กระทรวงการคลังควรจัดทํารายงานแสดงข้อมูลหนี้ค้างจ่ายของหน่วยรับงบประมาณที่ไม่ถูกนับรวมเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการที่รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานดําเนินการตามนโยบาย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ เช่น หนี้ค้างจ่ายของรัฐบาลต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและหนี้ค้างจ่ายของรัฐบาลต่อกองทุนประกันสังคม เป็นต้น
- ควรลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐแล้วเพิ่มสัดส่วนงบประมาณในการลงทุน
เมื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่มีการจัดสรรด้านการลงทุน (ร้อยละ 20.5) เปรียบเทียบย้อนหลังกับ 5 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนอยู่ในระดับที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนของรายจ่ายประจํา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายบุคลากรในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กลับสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยลําดับ
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องมีนโยบายปฏิรูประบบราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานและหาแนวทางในการลดงบบุคลากร หรืองบดําเนินการที่ไม่จําเป็นลง เพื่อนํางบประมาณในส่วนนี้ไปเพิ่มให้กับงบประมาณด้านการลงทุนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ เช่น ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านการศึกษา ด้านงานวิจัย และนวัตกรรม และด้านการสาธารณสุข เป็นต้น
รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังควรพิจารณาทบทวนโครงสร้างภาครัฐ เพื่อควบรวมและลดจํานวนหน่วยรับงบประมาณที่มีภารกิจที่ทับซ้อนกัน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าของงบประมาณต่อการดํารงอยู่ของแต่ละหน่วยงาน
⦁ กระทรวงกลาโหม
ควรปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ทหารทําหน้าที่ในการป้องกันราชอาณาจักร การรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติ และมีแผนปฏิรูปกองทัพที่มีเป้าหมายชัดเจนในการลดจํานวนกําลังพลให้มีเฉพาะที่จําเป็นและเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพกองทัพด้วยการใช้เทคโนโลยีและอาวุธที่มีความทันสมัย เพื่อทําหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ และควบคุมงบประมาณด้านบุคลากร รายจ่ายประจําที่มีสัดส่วนสูงมาก เพื่อใช้งบประมาณไปพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพในด้านอื่นๆ
ควรเปิดรับสมัครทหารกองเกินตามความสมัครใจแทนการเกณฑ์ทหาร โดยให้สวัสดิการในรูปแบบเดียวกับการสมัครเป็นพลตํารวจซึ่งจะทําให้มีผู้สนใจสมัครจํานวนมาก
ควรพัฒนาเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ให้มากขึ้นในการปฏิรูปกองทัพ ควรให้ความสําคัญกับสวัสดิการของข้าราชการ ป้องกันการคอร์รัปชั่น และหลักสิทธิมนุษยชน
โครงการจัดหาเรือดําน้ำ 2 ลํา เป็นโครงการที่ได้ผ่านการพิจารณาเหตุผลความจําเป็นจากรัฐสภา และได้กําหนดโครงการไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ในลักษณะรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รวมทั้ง ครม.ได้อนุมัติให้เป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เริ่มใหม่ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่เนื่องจากกองทัพเรือได้มีการโอนคืนงบประมาณเพื่อไปช่วยแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตาม พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2563 กองทัพเรือจึงได้เจรจากับผู้รับจ้างขอปรับแผนการดําเนินโครงการเป็นก่อหนี้ผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และเริ่มจ่ายเงินงวดแรกในปีงบประมาณ พ.ศ.2564
อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กองทัพเรือได้ตระหนักถึงความจําเป็นที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณในการแก้ไขปัญหาสําคัญต่างๆ หลายด้าน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะยังคงส่งผลต่อเนื่อง กองทัพเรือจึงพิจารณาปรับแผนการดําเนินโครงการ โดยจะขอชะลอการจ่ายเงินงวดแรก ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไปจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินโครงการจัดหาเรือดําน้ำ 2 ลํา เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว จึงให้กองทัพเรือไปเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้รับจ้างเพื่อให้กองทัพเรือสามารถดําเนินการได้ต่อไป
การเสนอของบประมาณจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศของหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม ในการเจรจาควรมีข้อเสนอไปยังประเทศคู่สัญญา ให้มีการจัดซื้อในรูปแบบชดเชยหรือทดแทนในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณ โดยอาจเจรจาให้คู่สัญญาให้มีการเพิ่มโควต้าการจัดซื้อพืชผลทางการเกษตรของประเทศไทย เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณยึดโยงและเกิดประโยชน์กับประชาชนและเกษตรกร
ในการขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพจากต่างประเทศ ควรมีเอกสารข้อมูลการเจรจากับประเทศคู่สัญญามาแสดงให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาด้วย
ควรจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เชิงป้องกันประเทศเพื่อป้องกันการถูกรุกราน ซึ่งเป็นอาวุธตามภารกิจของหน่วยงานตามชื่อของหน่วยงานที่เรียกว่า Department of Defense
ควรจัดซื้อแล้วนําเทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัยต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพให้มีคุณภาพ
ในการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ที่ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงกลาโหมควรพิจารณาการจัดซื้อในรูปแบบนโยบายจัดซื้อแบบชดเชย (Offset Policy) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือการใช้วัสดุในประเทศไทย (Local Content) โดยควรกําหนดแนวทางในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากหน่วยงานในสังกัดกลาโหม หรือผู้ผลิตในประเทศเป็นหลัก เช่น การซื้อเสื้อกันกระสุน การซ่อมแซมยุทโธปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้นําไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง รวมถึงเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ควรชะลอการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศกําลังเผชิญ โดยควรตั้งโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณตามลําดับความสําคัญ และใช้จ่ายอย่างประหยัด
ควรให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน เช่น กรมบัญชีกลาง ไม่ควรให้คณะกรรมการของกองทัพเป็นผู้ประเมิน
กองทัพอากาศควรเป็นเจ้าภาพในการจัดแผนงานบูรณาการในการจัดซื้อ การใช้และการซ่อมบํารุงรักษาอากาศยานเช่นเฮลิคอปเตอร์ของทุกหน่วยงานที่มีการจัดซื้อเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรสนับสนุนและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ของทหาร ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่กองทัพมีศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย
JJNY : ข้อสังเกต‘กมธ.งบฯ64’/เตรียมสับงบกลาโหม-คมนาคม/‘สทน.’หวั่นผู้ประกอบการปิดตายซ้ำอีก 35%/'เอดีบี'หั่นGDPไทยปี 63หด8%
https://www.matichon.co.th/politics/politics-in-depth/news_2348288
หมายเหตุ – เนื้อหาส่วนหนึ่งในรายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่จะเข้าสภาผู้แทนฯในวาระ 2-3 ในวันที่ 16-17 กันยายน
⦁ ภาพรวมข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญ
- หน่วยรับงบประมาณควรปรับปรุงรายงานงบการเงินและมีผลการตรวจสอบงบการเงินอย่างไม่มีเงื่อนไขตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 มาตรา 68 กําหนดให้หน่วยงานต่างๆ ต้องดําเนินการตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ ที่กระทรวงการคลังกําหนด แต่มีหน่วยรับงบประมาณจํานวนมากที่จัดส่งรายงานบัญชีการเงินล่าช้า มีผลการตรวจสอบในรายงานของผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไข งบการเงินไม่ถูกต้องหรือไม่แสดงความเห็นต่องบการเงิน
ทั้งนี้ หน่วยรับงบประมาณทุกหน่วยงานควรจัดทํางบการเงินให้ถูกต้อง โดยรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีต้องรายงานแบบไม่มีเงื่อนไขตามกรอบของกฎหมาย เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยรับงบประมาณชอบด้วยกฎหมายโปร่งใส ตรวจสอบได้และควรเปิดเผยข้อมูลรายงานผู้ตรวจสอบบัญชีของหน่วยงานต่อสาธารณชน
- การจัดทำงบประมาณ พ.ศ.2564 มีการจัดสรรงบประมาณไม่เพียงพอในการแก้ปัญหาต่อสถานการณ์โควิด-19 การจัดทํางบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แม้ว่าจะมีการปรับการจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับสถานการณ์และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 แต่การจัดสรรงบประมาณยังไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาเพื่อช่วยเหลือประชาชนให้สามารถดํารงชีวิตอยู่ได้ และยังไม่สามารถเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดีขึ้นได้
ทั้งนี้รัฐบาล สํานักงบประมาณและหน่วยรับงบประมาณควรมีแผนในการจัดทํางบประมาณในภาวะวิกฤตโดยลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่จําเป็นหรือไม่เร่งด่วนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์วิกฤต และพิจารณาปรับลดงบประมาณการจัดฝึกอบรม สัมมนา การโฆษณา ประชาสัมพันธ์ การจ้างที่ปรึกษา และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศ ที่ไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ รวมถึงการพิจารณาปรับลดค่าใช้จ่ายในการลงทุนในสิ่งก่อสร้างและครุภัณฑ์ต่างๆ ที่ยังไม่มีความจําเป็นเร่งด่วน การจัดสรรงบประมาณควรพิจารณาถึงทิศทาง สถานการณ์และวิกฤตการณ์ต่างๆ ที่ประเทศเผชิญอยู่ในปัจจุบันเป็นสําคัญ
- หนี้สาธารณะสูงขึ้นเป็นภาระแก่การคลังของประเทศ
สัดส่วนของหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ เนื่องจากผลกระทบที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการก่อหนี้สาธารณะที่ไม่ก่อให้เกิดผลิตภาพที่มีคุณภาพทําให้ฐานะทางการคลังของรัฐบาลมีความเปราะบางเมื่อพิจารณาโครงสร้างของงบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2550-2564 พบว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายประจําสูงขึ้นกว่าสัดส่วนการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายด้านการลงทุน
สําหรับปีงบประมาณ พ.ศ.2564 รายจ่ายประจําเมื่อรวมกับรายจ่ายชําระคืนต้นเงินกู้สูงเท่ากับประมาณการรายได้ที่มาจากการจัดเก็บภาษีอากร ซึ่งหากการจัดเก็บภาษีอากรทําได้ต่ำกว่าประมาณการ รัฐบาลจะต้องกู้เงินมาชดเชยส่วนที่ขาดอันจะทําให้หนี้สาธารณะสูงขึ้นเป็นภาระแก่การคลังของประเทศ เป็นการส่งสัญญาณว่าประเทศไทยมีความจําเป็นจะต้องปรับโครงสร้างงบประมาณ
ดังนั้นควรให้ความสําคัญกับการปรับโครงสร้างงบประมาณในการจัดสรรงบประมาณปีถัดไป โดยเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ เน้นเป้าหมายนํากระบวนการและควบคุมสัดส่วนงบประมาณรายจ่ายประจําเพื่อให้เป็นไปตามกรอบของ พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ.2561 อย่างเคร่งครัด
กระทรวงการคลังควรจัดทํารายงานแสดงข้อมูลหนี้ค้างจ่ายของหน่วยรับงบประมาณที่ไม่ถูกนับรวมเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมายซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการที่รัฐบาลมอบหมายให้หน่วยงานดําเนินการตามนโยบาย เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ เช่น หนี้ค้างจ่ายของรัฐบาลต่อสถาบันการเงินเฉพาะกิจและหนี้ค้างจ่ายของรัฐบาลต่อกองทุนประกันสังคม เป็นต้น
- ควรลดสัดส่วนค่าใช้จ่ายบุคลากรภาครัฐแล้วเพิ่มสัดส่วนงบประมาณในการลงทุน
เมื่อพิจารณางบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ที่มีการจัดสรรด้านการลงทุน (ร้อยละ 20.5) เปรียบเทียบย้อนหลังกับ 5 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าแนวโน้มของสัดส่วนของงบประมาณรายจ่ายเพื่อการลงทุนอยู่ในระดับที่ต่ำลงอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่สัดส่วนของรายจ่ายประจํา โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายบุคลากรในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กลับสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และมีแนวโน้มสูงขึ้นโดยลําดับ
ทั้งนี้ รัฐบาลต้องมีนโยบายปฏิรูประบบราชการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานและหาแนวทางในการลดงบบุคลากร หรืองบดําเนินการที่ไม่จําเป็นลง เพื่อนํางบประมาณในส่วนนี้ไปเพิ่มให้กับงบประมาณด้านการลงทุนให้มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาประเทศ เช่น ด้านการบริหารจัดการน้ำ ด้านการศึกษา ด้านงานวิจัย และนวัตกรรม และด้านการสาธารณสุข เป็นต้น
รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังควรพิจารณาทบทวนโครงสร้างภาครัฐ เพื่อควบรวมและลดจํานวนหน่วยรับงบประมาณที่มีภารกิจที่ทับซ้อนกัน เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงาน โดยพิจารณาถึงความคุ้มค่าของงบประมาณต่อการดํารงอยู่ของแต่ละหน่วยงาน
⦁ กระทรวงกลาโหม
ควรปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ทหารทําหน้าที่ในการป้องกันราชอาณาจักร การรักษาอธิปไตยและผลประโยชน์แห่งชาติ และมีแผนปฏิรูปกองทัพที่มีเป้าหมายชัดเจนในการลดจํานวนกําลังพลให้มีเฉพาะที่จําเป็นและเพิ่มศักยภาพ ประสิทธิภาพกองทัพด้วยการใช้เทคโนโลยีและอาวุธที่มีความทันสมัย เพื่อทําหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ และควบคุมงบประมาณด้านบุคลากร รายจ่ายประจําที่มีสัดส่วนสูงมาก เพื่อใช้งบประมาณไปพัฒนาขีดความสามารถของกองทัพในด้านอื่นๆ
ควรเปิดรับสมัครทหารกองเกินตามความสมัครใจแทนการเกณฑ์ทหาร โดยให้สวัสดิการในรูปแบบเดียวกับการสมัครเป็นพลตํารวจซึ่งจะทําให้มีผู้สนใจสมัครจํานวนมาก
ควรพัฒนาเรื่องความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security) ให้มากขึ้นในการปฏิรูปกองทัพ ควรให้ความสําคัญกับสวัสดิการของข้าราชการ ป้องกันการคอร์รัปชั่น และหลักสิทธิมนุษยชน
โครงการจัดหาเรือดําน้ำ 2 ลํา เป็นโครงการที่ได้ผ่านการพิจารณาเหตุผลความจําเป็นจากรัฐสภา และได้กําหนดโครงการไว้ใน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ในลักษณะรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รวมทั้ง ครม.ได้อนุมัติให้เป็นรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ เริ่มใหม่ประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ตาม พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ พ.ศ.2561 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
แต่เนื่องจากกองทัพเรือได้มีการโอนคืนงบประมาณเพื่อไปช่วยแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตาม พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่าย พ.ศ.2563 กองทัพเรือจึงได้เจรจากับผู้รับจ้างขอปรับแผนการดําเนินโครงการเป็นก่อหนี้ผูกพันงบประมาณในปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และเริ่มจ่ายเงินงวดแรกในปีงบประมาณ พ.ศ.2564
อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 กองทัพเรือได้ตระหนักถึงความจําเป็นที่รัฐบาลต้องใช้จ่ายงบประมาณในการแก้ไขปัญหาสําคัญต่างๆ หลายด้าน เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ และปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่จะยังคงส่งผลต่อเนื่อง กองทัพเรือจึงพิจารณาปรับแผนการดําเนินโครงการ โดยจะขอชะลอการจ่ายเงินงวดแรก ในปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ไปจ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ.2565
ดังนั้น เพื่อให้การดําเนินโครงการจัดหาเรือดําน้ำ 2 ลํา เป็นไปตามบทบัญญัติของ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจําปีงบประมาณ พ.ศ.2563 รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องซึ่งได้ผ่านการพิจารณาตามขั้นตอนของกฎหมายแล้ว จึงให้กองทัพเรือไปเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผู้รับจ้างเพื่อให้กองทัพเรือสามารถดําเนินการได้ต่อไป
การเสนอของบประมาณจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากต่างประเทศของหน่วยงานในกระทรวงกลาโหม ในการเจรจาควรมีข้อเสนอไปยังประเทศคู่สัญญา ให้มีการจัดซื้อในรูปแบบชดเชยหรือทดแทนในรูปแบบอื่นที่ไม่ใช่งบประมาณ โดยอาจเจรจาให้คู่สัญญาให้มีการเพิ่มโควต้าการจัดซื้อพืชผลทางการเกษตรของประเทศไทย เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณยึดโยงและเกิดประโยชน์กับประชาชนและเกษตรกร
ในการขอรับจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อยุทโธปกรณ์ของกองทัพจากต่างประเทศ ควรมีเอกสารข้อมูลการเจรจากับประเทศคู่สัญญามาแสดงให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาด้วย
ควรจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์เชิงป้องกันประเทศเพื่อป้องกันการถูกรุกราน ซึ่งเป็นอาวุธตามภารกิจของหน่วยงานตามชื่อของหน่วยงานที่เรียกว่า Department of Defense
ควรจัดซื้อแล้วนําเทคโนโลยี นวัตกรรมและงานวิจัยต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพให้มีคุณภาพ
ในการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ที่ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ กระทรวงกลาโหมควรพิจารณาการจัดซื้อในรูปแบบนโยบายจัดซื้อแบบชดเชย (Offset Policy) เพื่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี หรือการใช้วัสดุในประเทศไทย (Local Content) โดยควรกําหนดแนวทางในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากหน่วยงานในสังกัดกลาโหม หรือผู้ผลิตในประเทศเป็นหลัก เช่น การซื้อเสื้อกันกระสุน การซ่อมแซมยุทโธปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้นําไปสู่การกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง รวมถึงเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ
ควรชะลอการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจที่ประเทศกําลังเผชิญ โดยควรตั้งโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณตามลําดับความสําคัญ และใช้จ่ายอย่างประหยัด
ควรให้หน่วยงานอื่นเป็นผู้ประเมินผลสัมฤทธิ์ของหน่วยงาน เช่น กรมบัญชีกลาง ไม่ควรให้คณะกรรมการของกองทัพเป็นผู้ประเมิน
กองทัพอากาศควรเป็นเจ้าภาพในการจัดแผนงานบูรณาการในการจัดซื้อ การใช้และการซ่อมบํารุงรักษาอากาศยานเช่นเฮลิคอปเตอร์ของทุกหน่วยงานที่มีการจัดซื้อเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ควรสนับสนุนและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ของทหาร ตลอดจนสนับสนุนงบประมาณด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์และสาธารณสุขที่กองทัพมีศักยภาพเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับสังคมสูงวัย