บทความวันจันทร์ ต้นกล้าจากผืนนาธรรม
โดย วรา วราภรณ์
“หนูได้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น...เข้าใจการใช้ชีวิตมากขึ้น”
พีระพรรณ จามจุรีย์ นักศึกษาครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สะท้อนความรู้สึกของเธอเอาไว้ในแบบประเมินผล
การอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวทางคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ 2-9 พฤศจิกายน 2562 ณ ร้านศิริมลก่อสร้าง ในเขตเทศบาลตำบลหนองหัวแรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ครั้งนั้น พีระพรรณมาร่วมกิจกรรมเป็นครั้งแรกโดยเดินทางมาพร้อมพระจักรพงษ์ กตปุญโญ (จามจุรีย์) ผู้เป็นพี่ชาย ซึ่งเป็นเยาวชนเพียงคนเดียวที่ร่วมกิจกรรมนี้จนครบหลักสูตร
“หลวงพี่แนะนำมาในช่วงปิดเทอมพอดี เพราะเห็นว่าหนูเป็นคนหงุดหงิดง่าย ชอบโมโหเวลาไม่ได้ดั่งใจตัวเอง ชอบความสมบูรณ์แบบในการทำงาน ไม่ชอบความผิดพลาด ชอบคิดเรื่องอนาคตมากกว่าปัจจุบัน”
พีระพรรณเล่าความรู้สึกก่อนเข้าอบรมว่า เธอทำตัวไม่ถูก เพราะไม่ทราบว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร กลัวว่าจะถูกดุ และกลัวความเคร่งครัดของวิทยากร (อาจารย์นิศารัตน์ ลาวัณยากุล) ซึ่งหลังจากจบหลักสูตรแล้วเธอทราบดีว่านั่นเป็นความเข้าใจผิด
ส่วนในระหว่างการอบรม เธอยอมรับว่ามีปัญหาอยู่เหมือนกัน
“ตอนแรกๆ ไม่ค่อยมีสมาธิ เบื่อ และรู้สึกเหนื่อย ปวดตามตัวเวลาปฏิบัติ เกิดความรู้สึกว่าเหมือนได้มาฝึก ความอดทนช่วยเหลือตนเองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า”
แต่พีระพรรณไม่ยอมแพ้ เธอใช้ความเพียรร่วมกิจกรรมจนจบหลักสูตร และรับรู้ได้เองในเวลาต่อมาว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อตนเองทั้งกายและใจ
“ทางกาย รู้สึกว่าเกิดความเคยชินในการนั่งสมาธิ อดทนมากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น ทางใจ รู้สึกว่าทำอะไรก็รู้สึกตัวตลอดเวลา มีสติมากขึ้นตรงการวางแผนรับผิดชอบหน้าที่ตัวเอง และการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เหมือนได้ละลายพฤติกรรมตลอดเวลาค่ะ และจากที่ไม่เคยสนใจธรรมะ ก็ทำให้หนูสนใจมากขึ้น อาจจะหลับบ้างแต่นานเข้ามันกเป็นความสบายใจ รู้สึกเข้าใจการใช้ชีวิตมากขึ้นค่ะ”
และพีระพรรณยังเขียนบอกเล่าว่าเธอได้รับประโยชน์จากการอบรมหลายเรื่อง
“ได้รู้จักธรรมมากขึ้น เข้าใจว่าเราควรอยู่กับอะไร เห็นอะไรสำคัญมากที่สุด ทำให้หนูรู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น เพราะการอบรมนี้ทำให้หนูมีจิตใจที่เย็นลง ลดความขี้หงุดหงิดลง เห็นปัญหาคนรอบตัว ไม่ใช่รเมีปัญหาอยู่คนเดียว ได้ถูกกระเทาะสิ่งลึกๆ ในใจออกมา ได้ฝึกความอดทน และลดการใช้โซเชียลมีเดียค่ะ”
ภาพที่ทุกคนเห็นในวันที่สี่ซึ่งมีกิจกรรมแสดงความกตัญญูกตเวที กราบพระในบ้าน เธอก้มลงกราบพระจักรพงษ์ด้วยน้ำตานองหน้า แต่ภาพที่แทบไม่มีใครเห็นหลังจากนั้นก็คือ พีระพรรณได้ตักน้ำไปล้างเท้าและกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านด้วย
ผู้เขียนไม่รู้จักพีระพรรณมาก่อน และเมื่ออ่านความในใจของเธอในแผ่นกระดาษนั้นแล้วก็ยังรู้สึกปลาบปลื้มใจ เพราะเชื่อว่ากิจกรรมเจริญสติครั้งนั้นได้มีส่วนบ่มเพาะเมล็ดกล้าจากผืนนาธรรมให้งอกงามขึ้นมาได้อย่างน้อยที่สุดต้นหนึ่ง และพื้นฐานความรู้ในช่วงเวลาสั้นๆ บวกกับทัศนคติที่ถูกต้องของเธอ ก็น่าที่จะช่วยทำให้กล้าไม้ต้นนี้ฝ่าแสงแดด สายลม และสายฝน เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไปได้ในที่สุด
......................................................................
แบบสอบถามของพีระพรรณ
พีระพรรณในขณะนั่งสมาธิประจำวัน ครั้งละ 15-30 นาที ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในหลักสูตร
(บทความนี้ผู้เขียนขยายความถึงเยาวชนรุ่นใหญ่ หลังจากได้เขียนถึงเด็กเล็กๆ ในเรื่อง "เด็กน้อยกับการเจริญสติ" ไปแล้ว ขอขอบคุณนักอ่านทุกท่านค่ะ)
บทความวันจันทร์ (14 ก.ย. 63) : ต้นกล้าจากผืนนาธรรม
โดย วรา วราภรณ์
“หนูได้รู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น...เข้าใจการใช้ชีวิตมากขึ้น”
พีระพรรณ จามจุรีย์ นักศึกษาครุศาสตร์ชั้นปีที่ 1 สาขาคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา สะท้อนความรู้สึกของเธอเอาไว้ในแบบประเมินผล การอบรมพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข ตามแนวทางคุณแม่ ดร.สิริ กรินชัย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ 2-9 พฤศจิกายน 2562 ณ ร้านศิริมลก่อสร้าง ในเขตเทศบาลตำบลหนองหัวแรต อำเภอหนองบุญมาก จังหวัดนครราชสีมา
ครั้งนั้น พีระพรรณมาร่วมกิจกรรมเป็นครั้งแรกโดยเดินทางมาพร้อมพระจักรพงษ์ กตปุญโญ (จามจุรีย์) ผู้เป็นพี่ชาย ซึ่งเป็นเยาวชนเพียงคนเดียวที่ร่วมกิจกรรมนี้จนครบหลักสูตร
“หลวงพี่แนะนำมาในช่วงปิดเทอมพอดี เพราะเห็นว่าหนูเป็นคนหงุดหงิดง่าย ชอบโมโหเวลาไม่ได้ดั่งใจตัวเอง ชอบความสมบูรณ์แบบในการทำงาน ไม่ชอบความผิดพลาด ชอบคิดเรื่องอนาคตมากกว่าปัจจุบัน”
พีระพรรณเล่าความรู้สึกก่อนเข้าอบรมว่า เธอทำตัวไม่ถูก เพราะไม่ทราบว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร กลัวว่าจะถูกดุ และกลัวความเคร่งครัดของวิทยากร (อาจารย์นิศารัตน์ ลาวัณยากุล) ซึ่งหลังจากจบหลักสูตรแล้วเธอทราบดีว่านั่นเป็นความเข้าใจผิด
ส่วนในระหว่างการอบรม เธอยอมรับว่ามีปัญหาอยู่เหมือนกัน
“ตอนแรกๆ ไม่ค่อยมีสมาธิ เบื่อ และรู้สึกเหนื่อย ปวดตามตัวเวลาปฏิบัติ เกิดความรู้สึกว่าเหมือนได้มาฝึก ความอดทนช่วยเหลือตนเองแก้ปัญหาเฉพาะหน้า”
แต่พีระพรรณไม่ยอมแพ้ เธอใช้ความเพียรร่วมกิจกรรมจนจบหลักสูตร และรับรู้ได้เองในเวลาต่อมาว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นต่อตนเองทั้งกายและใจ
“ทางกาย รู้สึกว่าเกิดความเคยชินในการนั่งสมาธิ อดทนมากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น ทางใจ รู้สึกว่าทำอะไรก็รู้สึกตัวตลอดเวลา มีสติมากขึ้นตรงการวางแผนรับผิดชอบหน้าที่ตัวเอง และการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เหมือนได้ละลายพฤติกรรมตลอดเวลาค่ะ และจากที่ไม่เคยสนใจธรรมะ ก็ทำให้หนูสนใจมากขึ้น อาจจะหลับบ้างแต่นานเข้ามันกเป็นความสบายใจ รู้สึกเข้าใจการใช้ชีวิตมากขึ้นค่ะ”
และพีระพรรณยังเขียนบอกเล่าว่าเธอได้รับประโยชน์จากการอบรมหลายเรื่อง
“ได้รู้จักธรรมมากขึ้น เข้าใจว่าเราควรอยู่กับอะไร เห็นอะไรสำคัญมากที่สุด ทำให้หนูรู้จักตัวเองเพิ่มขึ้น เพราะการอบรมนี้ทำให้หนูมีจิตใจที่เย็นลง ลดความขี้หงุดหงิดลง เห็นปัญหาคนรอบตัว ไม่ใช่รเมีปัญหาอยู่คนเดียว ได้ถูกกระเทาะสิ่งลึกๆ ในใจออกมา ได้ฝึกความอดทน และลดการใช้โซเชียลมีเดียค่ะ”
ภาพที่ทุกคนเห็นในวันที่สี่ซึ่งมีกิจกรรมแสดงความกตัญญูกตเวที กราบพระในบ้าน เธอก้มลงกราบพระจักรพงษ์ด้วยน้ำตานองหน้า แต่ภาพที่แทบไม่มีใครเห็นหลังจากนั้นก็คือ พีระพรรณได้ตักน้ำไปล้างเท้าและกราบเท้าคุณพ่อคุณแม่ที่บ้านด้วย
ผู้เขียนไม่รู้จักพีระพรรณมาก่อน และเมื่ออ่านความในใจของเธอในแผ่นกระดาษนั้นแล้วก็ยังรู้สึกปลาบปลื้มใจ เพราะเชื่อว่ากิจกรรมเจริญสติครั้งนั้นได้มีส่วนบ่มเพาะเมล็ดกล้าจากผืนนาธรรมให้งอกงามขึ้นมาได้อย่างน้อยที่สุดต้นหนึ่ง และพื้นฐานความรู้ในช่วงเวลาสั้นๆ บวกกับทัศนคติที่ถูกต้องของเธอ ก็น่าที่จะช่วยทำให้กล้าไม้ต้นนี้ฝ่าแสงแดด สายลม และสายฝน เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ต่อไปได้ในที่สุด
......................................................................
แบบสอบถามของพีระพรรณ
พีระพรรณในขณะนั่งสมาธิประจำวัน ครั้งละ 15-30 นาที ซึ่งเป็นกิจกรรมหนึ่งในหลักสูตร
(บทความนี้ผู้เขียนขยายความถึงเยาวชนรุ่นใหญ่ หลังจากได้เขียนถึงเด็กเล็กๆ ในเรื่อง "เด็กน้อยกับการเจริญสติ" ไปแล้ว ขอขอบคุณนักอ่านทุกท่านค่ะ)