จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ที่สุดเจ๋ง Ep. 3 💖🌱💖🌱

จุลินทรีย์ตัวจิ๋ว ที่สุดเจ๋ง Ep. 3
  กระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชด้วยจุลินทรีย์
    น้ำหมักชีวภาพ
     น้ำหมักชีวภาพ หรือปุ๋ยน้ำชีวภาพ หรือน้ำหมักจุลินทรีย์ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ EM (Effective Microorganisms) คือ สารละลายที่ได้จากการย่อยสลายเศษวัสดุเหลือใช้จากส่วนต่างๆของพืชหรือสัตว์โดยจุลินทรีย์กลุ่มต่างๆ  โดยมีน้ำตาลในรูปแบบของกากน้ำตาล น้ำตาลกรวด น้ำตาลทรายแดง เป็นส่วนประกอบ    จุดประสงค์เพื่อใช้สำหรับบำรุงพืชเพื่อทำให้พืชโตเร็ว แข็งแรง ทนทานต่อโรค   สิ่งที่ได้จากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ มีมากมาย คุณประโยชน์ ได้แก่
   ธาตุอาหารพืช..ได้แก่ธาตุอาหารหลัก N P K ธาตุอาหารรอง เช่น แคลเซียม 
            แมกนีเซียม  กำมะถัน ธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็ก แมงกานีส ทองแดง
   กรดอะมิโน.... สร้างการเจริญเติบโตของพืชพืชใช้ได้โดยตรง
   เอนไชม์ .....   เป็นผลผลิตของแบคทีเรียกลุ่มบาซิลลัส สร้างขึ้นมาเพื่อย่อยสลาย สารอินทรีย์ให้กลายเป็นอาหารของพืช เช่นเอนไซม์ฟอสฟาแตส ช่วยเปลี่ยน  โครงสร้างฟอสฟอรัสในดินให้อยู่ในรูปพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
   กรดแลคติก ...ได้จากแบคทีเรียที่ทำหน้าที่เปลี่ยนน้ำตาลเป็นกรดแลคติก  คุณสมบัติช่วยทำลายโรคที่เกิดจากเชื้อรา  เร่งกระบวนการย่อยสลายของสารอินทรีย์
  กรดฮิวมิค .......กระตุ้นการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และใบพืช
  ฮอร์โมนพืช .....เกิดจากการกระตุ้นของกลุ่มจุลินทรีย์ให้เป็นสารกระตุ้น  การเจริญเติบโตของพืช เช่น ออกซิน จิบเบอเรลลิน ไซโตรไคนิล เป็นต้น
       ดังนั้นการที่เราจะเลือกจุลินทรีย์มาใช้ประโยชน์ ตามวัตถุประสงค์ที่เราต้องการ เราต้องรู้จักจุลินทรีย์เสียก่อน 
    คำว่าจุลินทรีย์เป็นคำเรียกรวมทั่วไป พอเราแยกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ดังนี้
1.แบคทีเรีย  เป็นกลุ่มที่เรานำมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง  
     แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก...พบมากในกระบวนการหมักที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนผสม ประโยชน์ของจุลินรีย์กลุ่มนี้จะเน้นใช้กำจัดศัตรูพืชกลุ่มเชื้อรา
     แบคทีเรียผลิตกรดอะซิติก...เป็นแบคทีเรียนที่เปลี่ยนแอลกอฮอร์ให้เป็นกรดอะซิติก(กรดน้ำส้ม) ผลิตภัณฑ์ที่เราพบเห็นบ่อยคือน้ำส้มสายชูหมัก ประโยชน์ของกรดอะซิติก    มีการนำมาผสมในยาฆ่าแมลง ยากำจัดเชื้อราและเชื้อจุลินทรีย์ในผักผลไม้หรือนำมาผสมในน้ำหมักชีวภาพ เพื่อช่วยในการควบคุมการเจริญเติบโตของเชื้อราที่สร้างความเสียหายให้กับผักผลไม้
    แบคทีเรียตรึงไนโตรเจน...เป็นกลุ่มแบคทีเรียที่มีคุณสมบัติ ตรึงก๊าซไนโตรเจน และเปลี่ยนก๊าซไนโตรเจนให้กลายเป็นแอมโมเนีย  เช่น ไรโซเบียม อาศัยอยู่ในปมรากพืชตระกูลถั่ว  ไซยาโนแบคทีเรียที่อยู่ร่วมกับสิ่งมีชีวิตอื่น เช่นแหนแดง
   แบคทีเรียสังเคราะห์แสง.. (photosynthetic bacteria: PSB) พบกระจายทั่วไปในธรรมชาติ ตามแหล่งน้ำจืด น้ำเค็ม ทะเลสาบ น้ำพุร้อน เป็นต้น ซึ่งสิ่งมีชีวิตนี้มีกระบวนการดำรงชีวิตที่สามารถนำก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้   แบคทีเรียสังเคราะห์แสงใช้เป็นสารในการเร่งการเจริญเติบโตของพืชได้ บำบัดนำเสีย   นอกจากนี้แบคทีเรียสังเคราะห์แสงยังใช้เป็นอาหารเสริมให้กับสัตว์เนื่องจากแบคทีเรียมีโปรตีนที่จำเป็นต่อสัตว์ อีกทั้งแบคทีเรียบางสายพันธุ์ยังผลิตสารแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งมีสีแดงออกส้มเมื่อผสมอาหารให้ไก่กินจะช่วยเพิ่มสีให้ไข่แดงของไก่ 
2..แอคติโนมัยซีส เป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะสารพันธุกรรมคล้ายแบคทีเรียและมีลักษณะสารพันธุกรรมคล้ายแบคทีเรียและมีลักษณะของผนังเซลล์คล้ายเชื้อรา   เป็นแบคทีเรียที่ต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ มักอยู่รวมกันเป็นเส้นสาย สามารถเจริญเติบโตได้ในดินที่เป็นกรดถึงเป็นด่าง ประมาณ 5.5 - 10.0   
       ประโยชน์ ช่วยย่อยสลายสารที่แบคทีเรียและเชื้อราย่อยสลายได้ยาก เช่น ไขมัน ไคติน    แอคติโนมัยสีทบางชนิดสามารถสร้างสารปฏิชีวนะออกฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียและเชื้อราได้ เช่นเชื้อ Streptomyces sp สามารถผลิตสารปฏิชีวนะที่เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เป็นจำนวนมาก
3.รา   ราเป็นจุลินทรีย์ที่กินซากพืช ซากสัตว์เป็นอาหาร  การกินอาหารนั้นราจะค่อย ๆ ปล่อยน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อยโมเลกุลให้มีขนาดเล็กลงแล้วก็ดูดซึมสารอาหารเข้าไป และราต้องการออกซิเจนในการดำรงชีวิต
4.ยีสต์  เป็นรากลุ่มหนึ่งที่ส่วนใหญ่เป็นเซลล์เดี่ยว  ยีสต์จะเปลี่ยนน้ำตาลให้เป็นแอลกอฮอล์และคาร์บอนไดออกไซม์  ประโยชน์ของยีสต์ทำอาหารหมักบางชนิด ได้แก่ ข้าวหมาก อุ สาโท และกระแช่  ประโยชน์ในอุตสาหกรรมหลายประเภท เช่น การทำขนมปัง ไวน์ เหล้า เบียร์ แอลกอฮอล์
พรุ่งนี้ Ep 4 เราจะเริ่มจับจุลิทรีย์มาใช้ประโยชน์กัน ตั้งแต่แบคทีเรีย  แอคติโนมัยซีส  ราและยีสต์ ในรูปแบบที่เราคุ้นเคยเช่นน้ำหมักสูตรต่างๆ ฮอร์โมนพืช  อย่าลืมกดติดตามนะครับ
ขอขอบคุณบทความจากเพจเรียนเกษตรง่ายๆกับครูชาตรี
#tiktok @theninwow
#ทำสวนปะหละ
#แม่ฉันทำสวน 

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่