ทำไมเราไม่ควรฝังกลบเศษอาหารให้พืชโดยตรง🌱🌱🌺🌺📣📣

Why? ทำไม...ทำไม?เราไม่ควรฝังกลบเศษอาหารให้พืชโดยตรง
        คำถามจากคุณ Sophon “ผมอยากสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับเศษอาหารที่เหลือจากการทานแล้ว เราสามารถฝังกลบในดินโดยตรงได้ไหม หรือไม่ควรฝังโดยตรง ต้องหมักเสียก่อนจึงใส่ลงดิน และอีกข้อหนึ่งถ้าเราต้องการให้พืชออกดอก เราจะใช้อะไรกระตุ้นพืชครับ  ขอตอบเป็นข้อๆนะครับ
     1.ตอบคำถามข้อที่1 ปกตินั้นกระบวนการเปลี่ยนเศษอาหารเป็นปุ๋ยหมักสำหรับพืชคือ การใช้จุลินทรีย์เป็นตัวย่อยสลาย จะมีองค์ประกอบ3ส่วนด้วยกันคือ
      1.วัตถุดิบ ได้แก่ เศษอาหาร ที่เหลือจากการบริโภคในครัวเรือน 
      2.จุลินทรีย์ ต้องเป็นจุลินทรีย์ประเภทที่ใช้ออกซิเจน เนื่องจากจุลินทรีย์ประเภทนี้จะไม่ส่งกลิ่นเหม็น ไม่ก่อให้เกิดน้ำเสีย แหล่ง จุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายและมีความเหมาะสมคือมีอยู่ในมูลสัตว์ทุกชนิด เช่น มูลโค มูลไก่ มูลม้า มีจำนวนจุลินทรีย์มาก หลายประเภท เช่น รา แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส ช่วยให้กระบวนการย่อยสลายของเศษอาหารกลายเป็นปุ๋ยหมักเร็วขึ้น มีธาตุไนโตรเจนที่มีความจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์ด้วย 
     3.อาหารของจุลินทรีย์   ปกติจะใช้กากน้ำตาลหรือนำตาลทรายแดงเป็นอาหารเสริมให้จุลินทรีย์เพื่อช่วยให้มีการย่อยสลายได้เร็วขึ้นสำหรับทำปุ๋ยหมักแบบน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ) และธาตุไนโตรเจนในมูลสัตว์ต่างๆ สำหรับทำปุ๋ยหมักแบบแห้ง
       ดังนั้นคำถามของคุณ Sophon ผมขอตอบได้ดังนี้ การฝังกลบเศษอาหารลงในดินโดยตรง จะมีผลเสียมากกว่าผลดีเพราะ
       1.การที่เศษอาหารจะย่อยสลายจนเป็นธาตุอาหารให้กับพืชนั้น ต้องอาศัยจุลินทรีย์ที่ต้องการอ๊อกซิเจน เป็นตัวย่อยสลาย เมื่อเราฝังกลบลงในดิน จุลินทรีย์ตัวดีจะขาดออกซิเจนและตายในที่สุด จะเกิดการเน่าเหม็น จุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออกซิเจนจะเข้ามาแทนที่ การย่อยสลายจะไม่สมบูรณ์ ผลที่เกิดจากการย่อยสลายแบบนี้มักจะมีพิษต่อพืช
     2.ความเข้มข้นของเศษอาหารเช่น พวกน้ำปลาพริก หรือเปี้ยวจัดๆ จะมีผลต่อระบบรากพืชโดยตรง
   ตัวอย่างการหมักแบบต่างๆ
     วิธีการหมักเศษอาหารให้กลายเป็นปุ๋ยนั้นมี2แบบ คือ
           ปุ๋ยหมักเศษอาหารแบบแห้ง จะใช้
              1.เศษอาหาร   
              2. จุลินทรีย์ จุลินทรีย์ที่หาได้ง่ายและมีความเหมาะสมคือมีอยู่ในมูลสัตว์ทุกชนิด เช่น มูลโค มูลไก่ มูลม้า
             3.ใบไม้ เศษของใบไม้จะช่วยให้เศษอาหารมีความโปร่งพรุน ไม่อัดแน่นเกินไป มีธาตุคาร์บอนที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและสร้างเซลล์ของจุลินทรีย์           อัตราส่วนที่เหมาะสมคือ 1:1:1 โดยปริมาตร 
   วิธีการหมัก   ถังพลาสติกขนาด20ลิตร เจาะรูรอบ ๆ ถัง เพื่อเป็นช่องระบายอากาศ ใช้มุ้งตาข่ายพันโดยรอบ เพื่อป้องกันแมลงวันวางไข่และสร้างความรำคาญรบกวน นำเศษอาหารในส่วนที่แห้ง คือไม่เอาน้ำแกง จำนวน 1 ส่วน มูลโค 1 ส่วน และเศษใบไม้ 1 ส่วน ใส่ลงในถัง ใช้ถุงมือผสมคลุกเคล้าให้ทั่วแล้วปิดฝา ระยะแรกไม่ต้องเติมน้ำ เนื่องจากเศษอาหารมีความชื้นอยู่สูง ในวันถัดไปหากมีเศษอาหารอีก ให้นำมาผสมอัตราส่วนเดิมคือ 1:1:1 ใส่ลงในถังแล้วคลุกเคล้าให้ทั่ว ปิดฝา จากนั้นทำการพลิกกลับทุกวัน วันละ 1-2 ครั้ง หากไม่สะดวกหากใช้วิธีเทออกนอกถังเพื่อคลุกเคล้าในกะละมัง แล้วเทกลับลงถังพลาสติกภายหลัง ในระยะ 3-10 วัน แรกอาจมีความร้อนเกิดขึ้นภายในถัง เนื่องจากจุลินทรีย์คายความร้อนออกมาเพื่อทำปฏิกิริยาการย่อยสลาย หากความลดลงเกือบแห้งควรพรมน้ำเพิ่มความชื้น ใช้เวลาทั้งสิ้น 30 วัน จะได้ปุ๋ยหมักที่ได้จากเศษอาหารในปริมาตรที่ลดลงร้อยละ 40 หากมีความชื้นอยู่ควรทำให้แห้งสนิท เพื่อให้จุลินทรีย์เหล่านี้สงบตัว หรือไม่ทำปฏิกิริยาต่อไป ปุ๋ยหมักจะมีสีดำคล้ำ มีขนาดเล็กลง ยุ่ยและเปื่อย มีน้ำหนักเบา และที่สำคัญคือไม่มีกลิ่นเหม็น
                ปุ๋ยหมักเศษอาหารแบบน้ำ(น้ำหมักชีวภาพ) จะใช้
         1.เศษอาหาร
         2.หัวเชื้อจุลินทรีย์
         3.กากน้ำตาล
     วิธีทำ 
       หาถังพลาสติกชนิดมีฝาขนาด30ลิตร มา1ใบ ใส่น้ำลงไป 20 ลิตร หัวเชื้อจุลินทรีย์1ลิตร กากนำตาล 2กก. คนให้ละลายเข้ากัน  มีเศษอาหารที่ทานเหลือ เทลงไป ทุกวัน คนทุกวัน หมักประมาณ 1-เดือนก็เอาไปใช้ได้ ถ้ามีกล่นเหม็นแสดงว่าอาหารของจุลินทรีย์ไม่พอให้เติมด้วยน้ำตาลทรายแดง เล็กน้อยเพื่อสร้างอาหารให้จุลินทรีย์
   2.ตอบคำถามข้อที่2  พืชจะออกดอกให้แก่เรานั้นต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายปัจจัยได้แก่
    1. พันธุ์พืช พืชแต่ละพันธุ์มีระยะการออกดอกต่างกันแม้ว่าจะเป็นชนิดเดียวกัน
    2. อายุ พืชจะออกดอกตามอายุขัยหรือวัฏจักรของยีนส์ในพืชเป็นตัวกำหนด
    3.แสงมีผลต่อการออกดอก เราจะแบ่งเป็นพืชวันยาว(ต้องการแสงมากกว่า 13ชม.)
       พืชวันสั้น (ต้องการแสงน้อยว่า13ชม.)และพืชที่แสงไม่มีผลต่อการออกดอก
    4.อุณหภูมิ เราจึงแบ่งพืชเป็น2กลุ่มคือพืชเมืองร้อนและพืชเมืองหนาว
    5.ฮฮร์โมน  การออกดอกของไม้ผลยืนต้นหลายชนิดถูกควบคุมโดยปริมาณ จิบเบอเรลลินและเอทิลีนที่พืชสร้างขึ้น ในช่วงที่มีการออกดอกพบว่าปริมาณจิบเบอเรลลินจะลดระดับลง และมีการสร้างเอทิลีนมากขึ้น
      คำตอบข้อ2 คือการให้พืชออกดอกนั้นเมื่อปัจจัยต่างๆครบ เราต้องกระตุ้มเพื่อสร้างตาดอก ในไม้ผลจะทำได้โดย การลดการเติบโตทางกิ่งใบ เช่น ลดปุ๋ยไนโตรเจน งดการให้น้ำก่อนการออกดอก ซึ่งมีผลให้ต้นมีการเติบโตทางกิ่งใบน้อยลง และจะออกดอกได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่ใช้บังคับการออกดอก ได้แก่การควั่นกิ่ง การรัดกิ่ง การตัดราก หรือแม้กระทั่งการตัดแต่งกิ่ง การปฏิบัติดังกล่าวจะช่วยลดการเติบโตทางกิ่งใบ และเพิ่มการสะสมอาหารในกิ่ง  ส่วนปุ๋ยที่กระตุ้นให้เกิดการออกดอกคือ ปุ๋ยเกล็ดทางใบและน้ำ 10 - 52 – 17หรือปุ๋ยพวกแคลเซียม โบรอน
ที่มาของข้อมูล ขอขอบคุณ​ page เรียนเกษตรง่ายๆกับ​ครู​ชาตรี
#tiktok @theninwow
#​ทำสวนปะ​หละ
#แม่​ฉันท​ำ​สวน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่