มรดกตามพินัยกรรมติดจำนองธนาคาร

ก่อนอื่นขอถามก่อนนะคะว่า พินัยกรรมที่ไม่มีวันที่ มีแต่เดือน ปี พินัยกรรมมีผลบังคับใช้หรือว่าโมฆะ
คือว่าผู้ตายได้เขียนพินัยกรรมไว้ ผู้ตายมีที่ดินทั้งหมดอยู่ 7 แปลง ตามพินัยกรรมเขียนไว้ดังนี้
1.     ที่ดินแปลงที่ 1 2 และก็ 3 ยกให้นาย ก. (ติดจำนอง ธกส)
2.     ที่ดินแปลงที่ 4 ยกให้นาย ก. และตัวเราเองแบ่งคนละครึ่ง (ติดจำนอง ธกส)
3.     แปลงที่ 5 ยกให้นาย ข. และ นาย ค. แบ่งกันคนละครึ่ง (ติดจำนอง ธกส)
4.     ที่ดินแปลงที่ 6 กับ 7 ผู้ตายระบุในพินัยกรรมว่าให้ขายมาชำหนี้ ธกส (ไม่ติดจำนอง)
    นาย ก. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้ขายที่ดินแปลงที่ 6 ไปแต่ไม่นำไปชำระหนี้ ธกส กลับนำไปใช้จ่ายส่วนตัวและชำระหนี้นอกระบบ ทำให้ไม่ได้ชำระหนี้ ธกส ต่อมา ธกส ทำการยึดทรัพย์ขายทอดตลาด ผู้ตายได้ทำสัญญาการกู้เงินกับ ธกส ไว้ 4 ฉบับ ถ้าเราต้องการไถ่ถอนที่ดินในแปลงที่ 4 ในสัญญากู้ฉบับที่เราและ นาย ก.ได้รับมรดกได้ไหมคะ หรือว่าต้องทำการไถ่ถอนพร้อมกันหมดทั้ง 4 สัญญาที่ผู้ตายได้ทำไว้กับ ธกส เพราะ ธกส แจ้งยอดรวมทั้งหมด 4 สัญญาให้ทายาททราบว่าหนี้ทั้งหมดรวมแล้วสามล้านรวมต้นและดอกเบี้ย ถ้าไถ่ถอนส่วนของเราไม่ได้ก็คงยอมให้ธนาคารขายทอดตลาดเพราะตัวเราเองเพิ่งทราบว่าได้รับมรดกส่วนนี้...ขอคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่