ในเอกสารประวัติศาสตร์ คราวสุริยุปราคา พ.ศ.๒๔๑๑ ได้ระบุที่ตั้งค่ายหลวงว่าเป็นที่ ตำบลหว้ากอ แขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ แต่เมื่อเวลาผ่านไปราวร้อยปี ปรากฏว่าตำแหน่งหว้ากอนี้สูญหายไปไม่เหลืออยู่แล้ว ดังบทความของ ส.ศิวรักษ์ เรื่อง "จดหมายจากหว้ากอ" เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ก็ไม่ปรากฏชื่อหว้ากอหลงเหลือแล้ว
“...ออกจะเป็นเรื่องประหลาดอยู่ไม่น้อย เรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์สําคัญ เรื่องหนึ่งของประเทศไทยเรา และก็เกิดขึ้นมาไม่นานอะไร เพียงชั่วศตวรรษ หนึ่งเท่านั้น แต่จะหาหลักฐานยืนยันให้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่า บ้าน หว้ากอ จุดสังเกตสุริยะอุปราคาเต็มคราธครั้งกระนั้น หรือแหล่งที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงประทับแรมเพื่อทรงสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น อยู่ตรงไหน กลับต้องกลายมาเป็นการสันนิษฐาน...เอาจากจดหมายเหตุต่างๆ เท่าที่จะหาได้ร่วมกับการให้ตรวจหาตามจดหมายเหตุนั้นๆ เพราะบ้านหว้ากอ ปัจจุบันนี้ก็ไม่มีแล้ว ที่ทางแม้จะอยู่ริมทะเลเป็นเขตติดต่อกับหาดทรายก็ตาม ก็ถูกจับจองมีเจ้าของครองเป็นกรรมสิทธิ์ไปหมดแล้ว...”
(ส่วนหนึ่งจาก "จดหมายจากหว้ากอ" จากหนังสือ พระจอมเกล้าพยากรณ์, หน้า 359)
ในสมัยคราวสุริยุปราคาครั้งนั้น ชื่อของสถานที่ตั้งของค่ายสังเกตุสุริยุปราคาตามบันทึกตะวันตกนี้มีหลายชื่อ เช่น หว้าโทน (Wha-Thone, กลุ่มนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศสเรียกชื่อนี้), หัววาฬ (Hua-Wan), หว้าวาฬ (Wha-Wan, Wha-When, Whae-Whan) และ หว้ากอ (Wha-Kor, Wako) ชื่อที่ยังหลงเหลือเป็นสถานที่ในปัจจุบันที่อยู่ระแวกที่ตั้งค่ายหลวงนี้คือ หว้าโทน ซึ่งมีทั้งชื่อคลอง ชื่อวัด ส่วนชื่ออื่นอย่างหัววาฬ นั้นก็มีความเกี่ยวข้องกับที่ปัจจุบันอย่างคลองวาฬ และก็เป็นชื่อที่มีมาแต่อดีตก่อนหน้าคราวสุริยุปราคา พ.ศ.๒๔๑๑ ชื่อ หว้าวาฬ ก็มีส่วนที่มาจากคลองวาฬ แต่สำหรับชื่อหว้ากอที่มีสถานะเป็นตำบลในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นกลายเป็นชื่อที่หาความสัมพันธ์กับสถานที่แทบไม่ได้
อันที่จริง คำว่า ประจวบคีรีขัณธ์ ก็เป็นคำใหม่และเป็นแขวงเมืองที่ตั้งใหม่ในสมัย รัชกาลที่ ๔โดยเป็นการรวมเอาเมือง คลองวาฬ (หรือ หัววาฬ) บางนางรมย์ และกุยบุรี ไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรไม่ปรากฏคำว่า หว้ากอ รวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฎตำบลหว้ากอในหลักฐานประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากคราวสุริยุปราคาเลย
หว้ากอ คำนี้มีที่มาอย่างไร
“...ออกจะเป็นเรื่องประหลาดอยู่ไม่น้อย เรื่องราวที่เป็นประวัติศาสตร์สําคัญ เรื่องหนึ่งของประเทศไทยเรา และก็เกิดขึ้นมาไม่นานอะไร เพียงชั่วศตวรรษ หนึ่งเท่านั้น แต่จะหาหลักฐานยืนยันให้แน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งว่า บ้าน หว้ากอ จุดสังเกตสุริยะอุปราคาเต็มคราธครั้งกระนั้น หรือแหล่งที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงประทับแรมเพื่อทรงสังเกตปรากฏการณ์ธรรมชาตินั้น อยู่ตรงไหน กลับต้องกลายมาเป็นการสันนิษฐาน...เอาจากจดหมายเหตุต่างๆ เท่าที่จะหาได้ร่วมกับการให้ตรวจหาตามจดหมายเหตุนั้นๆ เพราะบ้านหว้ากอ ปัจจุบันนี้ก็ไม่มีแล้ว ที่ทางแม้จะอยู่ริมทะเลเป็นเขตติดต่อกับหาดทรายก็ตาม ก็ถูกจับจองมีเจ้าของครองเป็นกรรมสิทธิ์ไปหมดแล้ว...”
(ส่วนหนึ่งจาก "จดหมายจากหว้ากอ" จากหนังสือ พระจอมเกล้าพยากรณ์, หน้า 359)
ในสมัยคราวสุริยุปราคาครั้งนั้น ชื่อของสถานที่ตั้งของค่ายสังเกตุสุริยุปราคาตามบันทึกตะวันตกนี้มีหลายชื่อ เช่น หว้าโทน (Wha-Thone, กลุ่มนักดาราศาสตร์ฝรั่งเศสเรียกชื่อนี้), หัววาฬ (Hua-Wan), หว้าวาฬ (Wha-Wan, Wha-When, Whae-Whan) และ หว้ากอ (Wha-Kor, Wako) ชื่อที่ยังหลงเหลือเป็นสถานที่ในปัจจุบันที่อยู่ระแวกที่ตั้งค่ายหลวงนี้คือ หว้าโทน ซึ่งมีทั้งชื่อคลอง ชื่อวัด ส่วนชื่ออื่นอย่างหัววาฬ นั้นก็มีความเกี่ยวข้องกับที่ปัจจุบันอย่างคลองวาฬ และก็เป็นชื่อที่มีมาแต่อดีตก่อนหน้าคราวสุริยุปราคา พ.ศ.๒๔๑๑ ชื่อ หว้าวาฬ ก็มีส่วนที่มาจากคลองวาฬ แต่สำหรับชื่อหว้ากอที่มีสถานะเป็นตำบลในสมัยรัชกาลที่ ๔ นั้นกลายเป็นชื่อที่หาความสัมพันธ์กับสถานที่แทบไม่ได้
อันที่จริง คำว่า ประจวบคีรีขัณธ์ ก็เป็นคำใหม่และเป็นแขวงเมืองที่ตั้งใหม่ในสมัย รัชกาลที่ ๔โดยเป็นการรวมเอาเมือง คลองวาฬ (หรือ หัววาฬ) บางนางรมย์ และกุยบุรี ไว้ด้วยกัน แต่อย่างไรไม่ปรากฏคำว่า หว้ากอ รวมอยู่ด้วย และไม่ปรากฎตำบลหว้ากอในหลักฐานประวัติศาสตร์ นอกเหนือจากคราวสุริยุปราคาเลย