“ธีระชัย”ชี้นายกฯควบคลังไม่เหมาะ
https://www.innnews.co.th/economy/news_764235/
"ธีระชัย" ชี้ ไม่เหมาะหากนายกฯ ควบ รมว.คลัง แนะ เร่งหาคนเก่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ มอง "ปรีดี" ลาออก เพราะเกมการเมือง
นาย
ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงข้อเสนอพรรคเล็กที่ต้องการให้ พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลังด้วย ว่า
ไม่เหมาะสม เพราะพล.อ.
ประยุทธ์ ไม่ได้ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การคลังมาก่อน ดังนั้นการควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง จึงไม่อาจทำให้ความเชื่อมั่นสูงขึ้นได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีควรที่จะต้องนำคนที่มีความรู้ ความชำนาญเข้ามาดูแลเศรษฐกิจในทุกๆ ด้าน เพราะเวลานี้ปัญหาเศรษฐกิจหนักหนาสาหัสมาก
นอกจากนี้ นาย
ธีระชัย กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่เชื่อว่าการที่ นาย
ปรีดี ดาวฉาย ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้นมาจากปัญหาสุขภาพ แต่เชื่อว่า น่าจะเกิดจากความไม่ลงตัวในทางการเมืองมากกว่า
เลขาครป. แนะเลิกใช้ ม.116 จับแกนนำชุมนุม ชี้ 'กสม.' เข้าใจบทบาทตัวเองผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2335793
เลขาครป. แนะเลิกใช้ ม.116 จับแกนนำชุมนุม ชี้ ‘กสม.’ เข้าใจบทบาทตัวเองผิด
เมื่อวันที่ 4 กันยายน นาย
เมธา มาสขาว เลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวถึงกรณีการทยอยจับกุมแกนนำการชุมนุมประชาชนปลดแอกและแกนนำนิสิตนักศึกษาว่า
ตนขอเรียกร้องให้ยกเลิกการจับกุมด้วยการตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เนื่องจากข้อเรียกร้องของการชุมนุมอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น รวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยใช้กลไก ส.ส.ร.โดยการแก้ไขตามมาตรา 256 และเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ
ขณะที่มาตรา 116 ระบุว่า
ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอัน มิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
หรือ (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
ซึ่งการบังคับใช้ต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบกับเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนตามสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง
“บางคนยังถูกตั้งข้อหากระทำผิดตาม พรก.ฉุกเฉิน ทั้งๆ ที่เลขาธิการ สมช. ได้เคยประกาศว่าจะไม่บังคับใช้กฎหมายอำนาจพิเศษดังกล่าวกับการชุมนุมทางการเมือง โดยงดเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา 9 และจะบังคับใช้กับการควบคุมโรคติดต่อเท่านั้น แต่วันนี้ใช้กฎหมายมั่วไปหมด ไม่สนใจกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีอยู่ ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอนลงด้วย”
นอกจากนี้บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังคงเข้าใจผิดในบทบาทหน้าที่ของตนเองเพราะหน้าที่ดูแลปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่พลเมืองทุกคนเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่หน้าที่ของ กสม. คือการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐว่าได้บังคับใช้อำนาจโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนหรือไม่” นายเมธากล่าว
นาย
เมธา กล่าวอีกว่า ทางออกจากวิกฤตทางการเมืองนั้น ตนขอสนับสนุนการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านและสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนได้เสนอให้ปิดสวิตช์ ส.ว. โดยแก้ไขมาตรา 272 เนื่องจากรัฐสภาสามารถเสนอแก้ไขมาตรา 256 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาร่างใหม่ทั้งฉบับไปพร้อมๆ กับเสนอแก้ไขมาตราอื่นๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย รวมถึงกลไกสืบทอดอำนาจ คสช. โดยเฉพาะมาตรา 272 ที่ให้อำนาจวุฒิสภาสามารถยกมือเลือกนายกรัฐมนตรีในบทเฉพาะกาลได้ จะได้ประชามติไปในรอบเดียวและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนร่างฉบับใหม่ใช้เวลาเป็นปีค่อยบังคับใช้กติกาใหม่ในรอบถัดไป ไม่เป็นปัญหาทับซ้อนหรือขัดกัน
JJNY : “ธีระชัย”ชี้นายกฯควบคลังไม่เหมาะ/เลขาครป.แนะเลิกใช้ ม.116 จับแกนนำ/ทั่วโลกติดโควิด26.7ล./ติดเชื้อใหม่7
https://www.innnews.co.th/economy/news_764235/
"ธีระชัย" ชี้ ไม่เหมาะหากนายกฯ ควบ รมว.คลัง แนะ เร่งหาคนเก่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจ มอง "ปรีดี" ลาออก เพราะเกมการเมือง
ไม่เหมาะสม เพราะพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเงิน การคลังมาก่อน ดังนั้นการควบตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง จึงไม่อาจทำให้ความเชื่อมั่นสูงขึ้นได้ ซึ่งนายกรัฐมนตรีควรที่จะต้องนำคนที่มีความรู้ ความชำนาญเข้ามาดูแลเศรษฐกิจในทุกๆ ด้าน เพราะเวลานี้ปัญหาเศรษฐกิจหนักหนาสาหัสมาก
นอกจากนี้ นายธีระชัย กล่าวอีกว่า ส่วนตัวไม่เชื่อว่าการที่ นายปรีดี ดาวฉาย ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังนั้นมาจากปัญหาสุขภาพ แต่เชื่อว่า น่าจะเกิดจากความไม่ลงตัวในทางการเมืองมากกว่า
เลขาครป. แนะเลิกใช้ ม.116 จับแกนนำชุมนุม ชี้ 'กสม.' เข้าใจบทบาทตัวเองผิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_2335793
เลขาครป. แนะเลิกใช้ ม.116 จับแกนนำชุมนุม ชี้ ‘กสม.’ เข้าใจบทบาทตัวเองผิด
เมื่อวันที่ 4 กันยายน นายเมธา มาสขาว เลขาธิการ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) กล่าวถึงกรณีการทยอยจับกุมแกนนำการชุมนุมประชาชนปลดแอกและแกนนำนิสิตนักศึกษาว่า
ตนขอเรียกร้องให้ยกเลิกการจับกุมด้วยการตั้งข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 เนื่องจากข้อเรียกร้องของการชุมนุมอยู่ภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญทั้งสิ้น รวมทั้งการร่างรัฐธรรมนูญใหม่โดยใช้กลไก ส.ส.ร.โดยการแก้ไขตามมาตรา 256 และเป็นการชุมนุมโดยสงบปราศจากอาวุธ
ขณะที่มาตรา 116 ระบุว่า
ผู้ใดกระทําให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือหรือวิธีอื่นใดอัน มิใช่เป็นการกระทําภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต
(1) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กําลังข่มขืนใจ หรือใช้กําลังประทุษร้าย
(2) เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร
หรือ (3) เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน
ซึ่งการบังคับใช้ต้องระมัดระวังไม่ให้กระทบกับเสรีภาพในการชุมนุมของประชาชนตามสิทธิทางการเมืองและสิทธิพลเมือง
“บางคนยังถูกตั้งข้อหากระทำผิดตาม พรก.ฉุกเฉิน ทั้งๆ ที่เลขาธิการ สมช. ได้เคยประกาศว่าจะไม่บังคับใช้กฎหมายอำนาจพิเศษดังกล่าวกับการชุมนุมทางการเมือง โดยงดเว้นการบังคับใช้ตามมาตรา 9 และจะบังคับใช้กับการควบคุมโรคติดต่อเท่านั้น แต่วันนี้ใช้กฎหมายมั่วไปหมด ไม่สนใจกฎหมายระหว่างประเทศที่ไทยเป็นภาคีอยู่ ซึ่งจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสั่นคลอนลงด้วย”
นอกจากนี้บทบาทของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ยังคงเข้าใจผิดในบทบาทหน้าที่ของตนเองเพราะหน้าที่ดูแลปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่พลเมืองทุกคนเป็นหน้าที่ของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่หน้าที่ของ กสม. คือการตรวจสอบเจ้าหน้าที่รัฐว่าได้บังคับใช้อำนาจโดยละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนหรือไม่” นายเมธากล่าว
นายเมธา กล่าวอีกว่า ทางออกจากวิกฤตทางการเมืองนั้น ตนขอสนับสนุนการที่พรรคร่วมฝ่ายค้านและสมาชิกพรรคร่วมรัฐบาลบางส่วนได้เสนอให้ปิดสวิตช์ ส.ว. โดยแก้ไขมาตรา 272 เนื่องจากรัฐสภาสามารถเสนอแก้ไขมาตรา 256 เพื่อจัดตั้ง ส.ส.ร. ขึ้นมาร่างใหม่ทั้งฉบับไปพร้อมๆ กับเสนอแก้ไขมาตราอื่นๆ ที่เป็นปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย รวมถึงกลไกสืบทอดอำนาจ คสช. โดยเฉพาะมาตรา 272 ที่ให้อำนาจวุฒิสภาสามารถยกมือเลือกนายกรัฐมนตรีในบทเฉพาะกาลได้ จะได้ประชามติไปในรอบเดียวและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ส่วนร่างฉบับใหม่ใช้เวลาเป็นปีค่อยบังคับใช้กติกาใหม่ในรอบถัดไป ไม่เป็นปัญหาทับซ้อนหรือขัดกัน