หมั่นประกอบความเพียร เป็นเช่นใด?
ให้หมั่นประกอบความเพียรในจิต หมายความว่า มองความคิดตัวเองและผู้อื่น จงเข้าใจ แล้วบริหาร
ข้อศึกษาปฏิบัติ ฝึกหัดทางจิตเพื่อให้จิตเกิดคุณธรรมที่ดี ไม่คล้อยตามสิ่งที่มายั่วยุให้เกิดการยึดติดในเวทนา ความรู้สึกสุขหรือทุกข์ คือ ตั้งใจก่อเกิดในขบวนการนั้น ความมีจิตใจตั้งมั่น
ไม่ว่าเราจะไปทางจิตเวช จิตวิทยา จิตศาสตร์ หรือจิตทางอภิธรรม ก็ต้องทำเช่นนี้
เราต้องเข้าใจตัวเอง ตัวเองก็ต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจเราก็จะบริหารไม่ถูก ถ้าเรามองคนอื่นไม่ถูก เราก็บริหารไม่ถูก นี่แหละเป็นหัวใจเลย
เกี่ยวกับสมาธิ สมมติว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราอยู่ได้ อยู่ดี เราตักน้ำมาหนึ่งแก้วมาดื่ม เรามีสมาธิไหม? ถ้าไม่มีสมาธิ เราก็จะทำน้ำนี้หกหมด ฉะนั้น สมาธิมันอยู่กับเราตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดมาก็มีสมาธิแล้ว ที่นี้ เราจะใช้สมาธิให้เกิดประโยชน์อย่างไร? นี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านก็สอนให้แล้ว ไม่ใช่ว่าเราเป็นพระภิกษุแล้วถึงจะไปใช้สมาธิได้ เราเป็นฆราวาสก็ต้องมีสมาธิ เราขี่รถก็ต้องมีสมาธิ เราขี่รถไม่มีสมาธิตายไหม? ไม่มียกเว้นว่า เป็นพระภิกษุแล้วมีสมาธิไม่ตาย แต่ถ้าเราขาดสมาธิเป็นพระภิกษุก็ตายได้เช่นกัน
ฉะนั้น ไม่ได้เกี่ยวว่าเป็นพระหรือไม่เป็นพระ ใครพร้อมก็มาแต่งเครื่องแบบซะ แล้วก็มาเรียน เรียนเพื่ออะไร? ก็เพื่อมาสอนคนอื่นต่อ คุณไม่พร้อม คุณก็ต้องทำมาหากิน แต่คุณต้องมีธรรมะนะครับ ไม่มีไม่รอด ไม่ว่าเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ สุดท้ายถ้าขาดธรรมะก็กลายเป็นทรราชย์ไปเลย คนนี้เป็นยาจก เขามีธรรมะ กลายเป็นถูกยกขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ นี่แหละ เพราะ ๒ คำนี้ "ไม่ดีเอาออก สิ่งดีทำเพิ่ม"
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
หมั่นประกอบความเพียร เป็นเช่นใด?
ให้หมั่นประกอบความเพียรในจิต หมายความว่า มองความคิดตัวเองและผู้อื่น จงเข้าใจ แล้วบริหาร
ข้อศึกษาปฏิบัติ ฝึกหัดทางจิตเพื่อให้จิตเกิดคุณธรรมที่ดี ไม่คล้อยตามสิ่งที่มายั่วยุให้เกิดการยึดติดในเวทนา ความรู้สึกสุขหรือทุกข์ คือ ตั้งใจก่อเกิดในขบวนการนั้น ความมีจิตใจตั้งมั่น
ไม่ว่าเราจะไปทางจิตเวช จิตวิทยา จิตศาสตร์ หรือจิตทางอภิธรรม ก็ต้องทำเช่นนี้
เราต้องเข้าใจตัวเอง ตัวเองก็ต้องเข้าใจ ถ้าไม่เข้าใจเราก็จะบริหารไม่ถูก ถ้าเรามองคนอื่นไม่ถูก เราก็บริหารไม่ถูก นี่แหละเป็นหัวใจเลย
เกี่ยวกับสมาธิ สมมติว่า พระพุทธเจ้าสอนให้เราอยู่ได้ อยู่ดี เราตักน้ำมาหนึ่งแก้วมาดื่ม เรามีสมาธิไหม? ถ้าไม่มีสมาธิ เราก็จะทำน้ำนี้หกหมด ฉะนั้น สมาธิมันอยู่กับเราตลอดเวลา ตั้งแต่เกิดมาก็มีสมาธิแล้ว ที่นี้ เราจะใช้สมาธิให้เกิดประโยชน์อย่างไร? นี่แหละ พระพุทธเจ้าท่านก็สอนให้แล้ว ไม่ใช่ว่าเราเป็นพระภิกษุแล้วถึงจะไปใช้สมาธิได้ เราเป็นฆราวาสก็ต้องมีสมาธิ เราขี่รถก็ต้องมีสมาธิ เราขี่รถไม่มีสมาธิตายไหม? ไม่มียกเว้นว่า เป็นพระภิกษุแล้วมีสมาธิไม่ตาย แต่ถ้าเราขาดสมาธิเป็นพระภิกษุก็ตายได้เช่นกัน
ฉะนั้น ไม่ได้เกี่ยวว่าเป็นพระหรือไม่เป็นพระ ใครพร้อมก็มาแต่งเครื่องแบบซะ แล้วก็มาเรียน เรียนเพื่ออะไร? ก็เพื่อมาสอนคนอื่นต่อ คุณไม่พร้อม คุณก็ต้องทำมาหากิน แต่คุณต้องมีธรรมะนะครับ ไม่มีไม่รอด ไม่ว่าเป็นใคร ไม่ว่าจะเป็นกษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ สุดท้ายถ้าขาดธรรมะก็กลายเป็นทรราชย์ไปเลย คนนี้เป็นยาจก เขามีธรรมะ กลายเป็นถูกยกขึ้นมาเป็นจักรพรรดิ นี่แหละ เพราะ ๒ คำนี้ "ไม่ดีเอาออก สิ่งดีทำเพิ่ม"
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต