การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ไม่เพียงสร้างผลกระทบต่อวิถีชีวิตให้ต้องก้าวสู่วิถี New Normal แต่ยังรวมถึงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั้งโลก ส่งผลให้นานาประเทศต้องเพิ่มความเข้มงวดด้าน “การค้าระหว่างประเทศ” ทั้งการลงทุน การติดต่อธุรกิจ และการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงเวียดนามซึ่งได้ใช้มาตรการ lockdown ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดอย่างเข้มงวด
การดำเนินมาตรการ lockdown อย่างเข้มงวดของเวียดนามได้ส่งผลดีต่อประเทศอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้จำนวนของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาด ผู้ประกอบการในเวียดนามสามารถกลับมาเปิดกิจการและเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เห็นได้จากการที่เวียดนามได้รับการจัดอันดับที่ 22 ในฐานะประเทศที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดีที่สุดของบริษัท PEMANDU Associates บริษัทที่ปรึกษาเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและสังคม อันถือเป็นสัญญาณที่ดีต่ออนาคตของเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม และอาจเป็นตัวเร่งสำคัญที่จะทำให้ไทยได้ปรับตัวเพื่อดำเนินการค้ากับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในระยะต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ
ภายหลังจากที่เวียดนามสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวได้อย่างดีแล้ว เวียดนามก็เร่งกระตุ้นการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทันที อาทิ การออกนโยบายพิเศษด้านโครงสร้างพื้นฐาน สินเชื่อ น้ำ และไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการของโครงการขนาดใหญ่และโครงการไฮเทค รวมถึงการลดอุปสรรคการลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ขอให้จังหวัดและเมืองในเขตเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ เป็นผู้นำในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกด้วย ส่งผลให้การลงทุนจากต่างชาติของเวียดนามในขณะนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนการย้ายการฐานผลิตจากจีนมายังเวียดนาม เช่น บริษัทในเครือของ Apple Google และ Microsoft ที่จะเริ่มลงทุนในเวียดนามเร็ว ๆ นี้ เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่เกิดจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ และการหยุดดำเนินงานชั่วคราวของโรงงานในจีนช่วงการเกิดโรคระบาด COVID-19 รวมถึงแนวโน้มการเพิ่ม การลงทุนและการผลิตมากขึ้นในเวียดนาม เช่น บริษัท Mitsubishi Motors ที่กำลังมองหาโอกาสในการสร้างโรงงานแห่งที่สองในจังหวัด Binh Dinh
นอกจากการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ เวียดนามพยายามเร่งการนำเข้า-ส่งออก เพื่อปรับดุลการค้าให้กลับมาเติบโตอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จากมูลค้าการค่าช่วง 5 เดือนแรก ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผ่านการกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตรและประมง อาทิ ข้าว ลิ้นจี่ รวมถึงเร่งนำเข้าสินค้าบางรายการ เช่น การนำเข้าสุกรจากต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศไทย เพื่อลดราคาเนื้อหมูในตลาดภายในประเทศ โดยเวียดนามได้นำเข้าสุกรจากไทยล๊อตแรกจำนวน 500 ตัว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งการเร่งการค้าระหว่างประเทศในช่วงเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้เดือนมิถุนายน 2563 เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และมีดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2563 อันเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการค้าต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563
การบรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรียุโรป – เวียดนาม (EVFTA) และข้อตกลงคุ้มครองการลงทุนยุโรป – เวียดนาม (EVIPA) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะให้ช่วยให้การส่งออกสินค้าจากเวียดนามไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 ซึ่งจะดัน GDP ของเวียดนามให้เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ภายในปี 2568 และจะเป็นโอกาสให้เวียดนามเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกได้ง่ายขึ้น ผ่านการส่งออกสินค้าเกษตร ประมง และสิ่งทอ รวมถึงการส่งเสริมการปฏิรูปการบริหาร ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน ดึงดูดการลงทุน และเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากยุโรปอีกด้วย
ผู้ประกอบการไทยสามารถแสวงหาโอกาสจากการปรับตัวและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของเวียดนาม ผ่านการเข้าร่วม supply chain เพื่อป้อนวัตถุดิบในการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหลักที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากการขยายตัวของภาคการลงทุนต่างชาติในเวียดนาม และขยายตลาดของสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ การเกษตร อาหาร ผลไม้ และประมง เพื่อตอบสนองการใช้จ่ายของประชาชนและชาวต่างชาติในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ความตกลงทางการค้าเสรี EVFTA ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยไปตลาดเวียดนามและสหภาพยุโรปจะต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างหนัก โดยเฉพาะการส่งออกข้าว และถึงแม้การนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับเวียดนามจะสามารถกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติแล้ว แต่ยังคงมีมาตรการด้านการขนส่งระหว่างแดนในช่วงที่ทั้งโลกยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นี้ เพื่อสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่มากับสินค้า ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งทางบก เกิดความล่าช้า และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรติดตามข้อมูลการผ่อนปรนตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
โดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย
https://globthailand.com/vietnam11082020/
โอกาสทางการค้าในเวียดนามท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจติดเชื้อ COVID-19
การดำเนินมาตรการ lockdown อย่างเข้มงวดของเวียดนามได้ส่งผลดีต่อประเทศอย่างมาก เนื่องจากช่วยให้จำนวนของผู้ติดเชื้อ COVID-19 ลดลงอย่างต่อเนื่อง ไม่มีผู้เสียชีวิตจากการแพร่ระบาด ผู้ประกอบการในเวียดนามสามารถกลับมาเปิดกิจการและเริ่มการผลิตในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศได้อย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ เห็นได้จากการที่เวียดนามได้รับการจัดอันดับที่ 22 ในฐานะประเทศที่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้ดีที่สุดของบริษัท PEMANDU Associates บริษัทที่ปรึกษาเอกชนที่เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและสังคม อันถือเป็นสัญญาณที่ดีต่ออนาคตของเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทย-เวียดนาม และอาจเป็นตัวเร่งสำคัญที่จะทำให้ไทยได้ปรับตัวเพื่อดำเนินการค้ากับประเทศอื่น ๆ ทั่วโลกในระยะต่อไปอย่างมีนัยสำคัญ
ภายหลังจากที่เวียดนามสามารถควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดดังกล่าวได้อย่างดีแล้ว เวียดนามก็เร่งกระตุ้นการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศทันที อาทิ การออกนโยบายพิเศษด้านโครงสร้างพื้นฐาน สินเชื่อ น้ำ และไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการของโครงการขนาดใหญ่และโครงการไฮเทค รวมถึงการลดอุปสรรคการลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้ขอให้จังหวัดและเมืองในเขตเศรษฐกิจสำคัญต่าง ๆ เป็นผู้นำในการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 อีกด้วย ส่งผลให้การลงทุนจากต่างชาติของเวียดนามในขณะนี้ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นแผนการย้ายการฐานผลิตจากจีนมายังเวียดนาม เช่น บริษัทในเครือของ Apple Google และ Microsoft ที่จะเริ่มลงทุนในเวียดนามเร็ว ๆ นี้ เพื่อลดความเสี่ยงเรื่องห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) ที่เกิดจากสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ และการหยุดดำเนินงานชั่วคราวของโรงงานในจีนช่วงการเกิดโรคระบาด COVID-19 รวมถึงแนวโน้มการเพิ่ม การลงทุนและการผลิตมากขึ้นในเวียดนาม เช่น บริษัท Mitsubishi Motors ที่กำลังมองหาโอกาสในการสร้างโรงงานแห่งที่สองในจังหวัด Binh Dinh
นอกจากการส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ เวียดนามพยายามเร่งการนำเข้า-ส่งออก เพื่อปรับดุลการค้าให้กลับมาเติบโตอีกครั้งในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 จากมูลค้าการค่าช่วง 5 เดือนแรก ซึ่งลดลงถึงร้อยละ 2.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ผ่านการกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตรและประมง อาทิ ข้าว ลิ้นจี่ รวมถึงเร่งนำเข้าสินค้าบางรายการ เช่น การนำเข้าสุกรจากต่างชาติโดยเฉพาะจากประเทศไทย เพื่อลดราคาเนื้อหมูในตลาดภายในประเทศ โดยเวียดนามได้นำเข้าสุกรจากไทยล๊อตแรกจำนวน 500 ตัว เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งการเร่งการค้าระหว่างประเทศในช่วงเดือนที่ผ่านมา ส่งผลให้เดือนมิถุนายน 2563 เวียดนามมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 การนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 และมีดุลการค้าเกินดุลเพิ่มขึ้น ร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2563 อันเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับการค้าต่างประเทศในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563
การบรรลุข้อตกลงเขตการค้าเสรียุโรป – เวียดนาม (EVFTA) และข้อตกลงคุ้มครองการลงทุนยุโรป – เวียดนาม (EVIPA) อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะให้ช่วยให้การส่งออกสินค้าจากเวียดนามไปสหภาพยุโรปเพิ่มขึ้นร้อยละ 42.7 ซึ่งจะดัน GDP ของเวียดนามให้เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ภายในปี 2568 และจะเป็นโอกาสให้เวียดนามเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานโลกได้ง่ายขึ้น ผ่านการส่งออกสินค้าเกษตร ประมง และสิ่งทอ รวมถึงการส่งเสริมการปฏิรูปการบริหาร ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการลงทุน ดึงดูดการลงทุน และเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากยุโรปอีกด้วย
ผู้ประกอบการไทยสามารถแสวงหาโอกาสจากการปรับตัวและการพัฒนาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศของเวียดนาม ผ่านการเข้าร่วม supply chain เพื่อป้อนวัตถุดิบในการผลิตให้กับอุตสาหกรรมหลักที่มีแนวโน้มเติบโตขึ้นจากการขยายตัวของภาคการลงทุนต่างชาติในเวียดนาม และขยายตลาดของสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ การเกษตร อาหาร ผลไม้ และประมง เพื่อตอบสนองการใช้จ่ายของประชาชนและชาวต่างชาติในเวียดนาม อย่างไรก็ตาม ความตกลงทางการค้าเสรี EVFTA ระหว่างเวียดนามกับสหภาพยุโรป อาจส่งผลให้การส่งออกสินค้าของไทยไปตลาดเวียดนามและสหภาพยุโรปจะต้องเผชิญกับการแข่งขันด้านราคาอย่างหนัก โดยเฉพาะการส่งออกข้าว และถึงแม้การนำเข้า-ส่งออกระหว่างไทยกับเวียดนามจะสามารถกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติแล้ว แต่ยังคงมีมาตรการด้านการขนส่งระหว่างแดนในช่วงที่ทั้งโลกยังคงมีการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 นี้ เพื่อสร้างความปลอดภัยและลดความเสี่ยงการติดเชื้อที่มากับสินค้า ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการขนส่งทางบก เกิดความล่าช้า และมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งผู้ประกอบการไทยควรติดตามข้อมูลการผ่อนปรนตามพื้นที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
โดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงฮานอย
https://globthailand.com/vietnam11082020/