GRAB FILM / อิสรภาพทางการฟิล์ม 01
: ถ้าให้อิสรภาพกับบท บทจะให้อิสรภาพกับเรา
ทุกครั้งที่เวลามาเขียนเล่าเรื่องการทำบทโฆษณา ก็มักจะเริ่มจากที่มาและแรงบันดาลใจต่างๆใช่ป่ะ แต่การทำบทของงานชิ้นนี้ สำหรับเรามันมีความแปลก อาจจะด้วยเงื่อนไขรายล้อม วิธีคิดของตัวเองที่เปลี่ยนไป และ รวมถึงการลองปล่อยให้ชิ้นงานกำกับตัวเรามากขึ้น อันสุดท้ายนี้เป็นสิ่งใหม่ที่ได้ค้นพบจากงานชิ้นนี้ และมันออกผลดีมากๆทีเดียว ทำไมกูไม่รู้ให้เร็วกว่านี้วะ อยากจะเล่าให้ฟังกันครับ
เริ่มต้นคือ ไอเดียเรื่องประกาศอิสรภาพทางการกิน มาจากทางเอเจนซี่ spa-hakuhodo , พวกเซ็ตอัพ สถานการณ์ต่างๆในชิ้นงานสุดท้ายที่เห็น ก็เหมือนกับบอร์ดแรกที่เอเจนซี่ส่งมา แต่มันจะเป็นประมาณว่า พี่ๆชอบกินอะไรเดิมๆ แล้วน้องๆเด็กๆไม่ยอม ก็เลยประท้วง และสุดท้ายได้กินของใหม่ๆ / รอบนี้ตัวเองเลยลองเดเวลอปต่อจากที่เอเจนซี่วางมา ลองหาทางให้มันสนุกกว่านี้ดีกว่า เลยลองหาแง่มุมเพิ่มเติม โดยเทียบจากประสบการณ์ตัวเอง 55 เพราะตัวเองเป็นคนชอบกินไรเดิมๆ แล้วตั้งแต่มีพวกฟู้ดเดลิเวอรี่ เราก็พบว่า
ช่วยประกาศอิสรภาพทางการ-ให้ตัวเองได้จริงๆ แบบช้อยส์เยอะขึ้นมากๆ กินจากร้านไหนก็ได้ (แต่ถ้าค่าส่งแพงเกิน ก็ไม่สั่งนะ 555) ถ้าไม่มีภาพอาหารอื่นๆให้ดูก็จะนึกไม่ออก สั่งของเดิมกิน / ซีนสำคัญคือ แม่เคยเดินมาบอกว่าดีใจมากที่สามารถกินขนมครกจากเสาชิงช้าได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป ผมก็เลยเออ
พวกระบบฟู้ดพวกนี้ส่งเสริมจินตนาการสัดๆ แบบไกลแค่ไหนก็กินได้ ไม่ต้องลิมิตตัวเอง / เลยค่อยๆตีความเรื่องอิสรภาพให้มีเหตุมีผลมากขึ้น เน้นไปทางท้าทายความคิดประลองปัญญา เขย่าความเชื่อเก่าๆและความเคยชิน มันได้กว่านี้พี่! มันไกลได้กว่านี้อีก! ตัวคุณเองแค่ลืมไปว่ามันใหม่ได้กว่านี้! (เหมือนทำโฆษณาเพื่อบอกตัวเองอีกที)
ทีนี้เวลาผ่านไป มันก็มีเมสเสจงอกมาให้ใส่มากมาย (เดี๋ยวนี้โฆษณาตัวนึงนี่ ความยากคือ มีประมาณ 10 pain point ในตัวเดียว คือ กะว่าตัวเดียวบอก 10 อย่างเลย อย่างคุ้ม นี่โชคดีว่าทาง grab food ไม่มีนโยบาย 5 วิแรกต้องปัง คุณเท่มาก ก็ขอบคุณมากๆครับ) ก็ถือเป็นความยากของคนทำ คือ ก็ไม่อยากให้เป็นวิดีโอรวม pain point เลยต้องพยายามดีไซน์จนรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน โดยที่คนดูไม่รู้สึกจิตกระตุก บางมันไม่ได้จริงๆ ก็ต้องบอกคุณลูกค้าว่า กรุณาเถิดครับ มีเมสเสจ 10 อันแล้ว อันที่ 11-12 เอาไปใส่งานชิ้นอื่นดีไหมครับ / ป.ล. จริงๆ ถ้างานไหนมี pain point ชัดๆ1-2อัน ผมคิดว่ามันจะดีกว่ามากๆครับ ถ้าจะเขวี้ยงดาวกระจาย เอามีดสปาร์ต้าแทงทีเดียวเลยดีกว่า
อ่ะ มาถึงสิ่งที่ค้นพบในงานนี้ และล้ำค่ามาก คือ งานชิ้นนี้จริงๆสำเร็จเสร็จออกมาได้ ได้รับความร่วมมือจากนักแสดงและสิ่งที่เกิดขึ้นตอนกำลังถ่าย / คือ เข้าใจว่าระบบปกติ เราก็จะถ่ายตามบอร์ดที่วางกันไว้ จะได้ออกมาเป๊ะๆตามที่วาดบนกระดาษกันเอาไว้ แต่ในความเป็นจริง ความแมจิค ธรรมชาติดีๆจากนักแสดง หรือความ
ห่าสนุกสนานของมุขสดทั้งหลายแหล่ มันจะมาปรากฎตัวขึ้นตอนเจอนักแสดงและการถ่ายทำหน้ากอง ถ้าเราถ่ายตามบอร์ดเป๊ะมันเหมือนการวิ่งเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วซื้อของตามแม่สั่ง แล้วกลับบ้านเลย ของดีไม่ดีไม่รู้ กูหยิบตามลิสต์พอ แต่ถ้าเราไม่ยึดตรงนั้นมากนัก ก็จะเหมือนค่อยๆเดินในซูเปอร์ แล้วก็อาจจะค่อยๆพบของที่ดีกว่าที่แม่เขียนสั่งมาซื้อ แต่ในการจะทำอย่างนั้นได้ ที่สำคัญสุดคือ. เราต้องมี 'เวลา' และ 'เปิดพื้นที่' ให้คนช้อป (ผู้กำกับ ทีมงาน นักแสดง) ในการค่อยๆเดิน ค่อยๆดู ค่อยๆหยิบผิดหยิบถูก หรือ เพื่อรีเช็คให้ชัวร์ว่าของที่แม่สั่งมาอาจจะดีอยู่แล้วก็ได้ / กว่า 30-40% ของสิ่งที่ปรากฎในหนังนั้น มันอยู่นอกบทซะส่วนใหญ่ นักแสดงพูดออกมาเองบ้าง เจอตอนดอลลี่กล้องผิดบ้าง เสียดายที่วันถ่ายค่อนข้างวุ่นวาย เลยลองเท่าที่เวลาและสถานกาณ์จะอำนวย - ไอ้มุขที่กะจะเตรียมมาลองที่หน้ากองเลยตกรอบและหายไปเยอะ เสียดายไม่ได้ลอง ไม่ได้ใส่แถมให้ แต่ไม่เป็นไร เก็บไว้ใช้กับงานต่อๆไปได้ เพราะตอนนี้รู้วิธีละ
โดยส่วนตัว งานนี้ทำให้พบว่า งานหนังที่ออกมาชิ้นนึง นอกจากบทกับบอร์ดแล้ว มันต้องประกอบไปด้วย พื้นที่ว่าง เวลา และการทดลองสดๆ ที่เปรียบได้กับการเขียนบทอีกครึ่งนึงในวันถ่ายจริง / สิ่งที่อยู่บนกระดาษตอนเตรียมงานที่ดูเหมือนจะ 100% จริงๆแล้วมันคือแค่ 50-60% ถ้าถ่ายตามกระดาษ งานก็ออกมาแค่ 50-60% เหมือนเที่ยวต่างประเทศ แต่ไม่แวะข้างทางอะไรเลย เสียดายยยยน่า เราอยากให้เยอะกว่านี้! ทำให้มากกว่านี้! ได้อีกค่ะ! การ์ดอย่าตก!
ใครสักคนบอกไว้ว่า screenwriting is not the real writing. it's like a blueprint of filmmaking.
ตอนต่อไปพบกับช่วงเตรียมงานต่างๆ
ใครยังไม่ได้ดู เชิญ :
https://youtu.be/1eb5A8NVy_A
GRAB FILM / อิสรภาพทางการฟิล์ม 01 : ถ้าให้อิสรภาพกับบท บทจะให้อิสรภาพกับเรา
GRAB FILM / อิสรภาพทางการฟิล์ม 01
: ถ้าให้อิสรภาพกับบท บทจะให้อิสรภาพกับเรา
ทุกครั้งที่เวลามาเขียนเล่าเรื่องการทำบทโฆษณา ก็มักจะเริ่มจากที่มาและแรงบันดาลใจต่างๆใช่ป่ะ แต่การทำบทของงานชิ้นนี้ สำหรับเรามันมีความแปลก อาจจะด้วยเงื่อนไขรายล้อม วิธีคิดของตัวเองที่เปลี่ยนไป และ รวมถึงการลองปล่อยให้ชิ้นงานกำกับตัวเรามากขึ้น อันสุดท้ายนี้เป็นสิ่งใหม่ที่ได้ค้นพบจากงานชิ้นนี้ และมันออกผลดีมากๆทีเดียว ทำไมกูไม่รู้ให้เร็วกว่านี้วะ อยากจะเล่าให้ฟังกันครับ
เริ่มต้นคือ ไอเดียเรื่องประกาศอิสรภาพทางการกิน มาจากทางเอเจนซี่ spa-hakuhodo , พวกเซ็ตอัพ สถานการณ์ต่างๆในชิ้นงานสุดท้ายที่เห็น ก็เหมือนกับบอร์ดแรกที่เอเจนซี่ส่งมา แต่มันจะเป็นประมาณว่า พี่ๆชอบกินอะไรเดิมๆ แล้วน้องๆเด็กๆไม่ยอม ก็เลยประท้วง และสุดท้ายได้กินของใหม่ๆ / รอบนี้ตัวเองเลยลองเดเวลอปต่อจากที่เอเจนซี่วางมา ลองหาทางให้มันสนุกกว่านี้ดีกว่า เลยลองหาแง่มุมเพิ่มเติม โดยเทียบจากประสบการณ์ตัวเอง 55 เพราะตัวเองเป็นคนชอบกินไรเดิมๆ แล้วตั้งแต่มีพวกฟู้ดเดลิเวอรี่ เราก็พบว่าช่วยประกาศอิสรภาพทางการ-ให้ตัวเองได้จริงๆ แบบช้อยส์เยอะขึ้นมากๆ กินจากร้านไหนก็ได้ (แต่ถ้าค่าส่งแพงเกิน ก็ไม่สั่งนะ 555) ถ้าไม่มีภาพอาหารอื่นๆให้ดูก็จะนึกไม่ออก สั่งของเดิมกิน / ซีนสำคัญคือ แม่เคยเดินมาบอกว่าดีใจมากที่สามารถกินขนมครกจากเสาชิงช้าได้ โดยไม่ต้องเดินทางไป ผมก็เลยเออ พวกระบบฟู้ดพวกนี้ส่งเสริมจินตนาการสัดๆ แบบไกลแค่ไหนก็กินได้ ไม่ต้องลิมิตตัวเอง / เลยค่อยๆตีความเรื่องอิสรภาพให้มีเหตุมีผลมากขึ้น เน้นไปทางท้าทายความคิดประลองปัญญา เขย่าความเชื่อเก่าๆและความเคยชิน มันได้กว่านี้พี่! มันไกลได้กว่านี้อีก! ตัวคุณเองแค่ลืมไปว่ามันใหม่ได้กว่านี้! (เหมือนทำโฆษณาเพื่อบอกตัวเองอีกที)
ทีนี้เวลาผ่านไป มันก็มีเมสเสจงอกมาให้ใส่มากมาย (เดี๋ยวนี้โฆษณาตัวนึงนี่ ความยากคือ มีประมาณ 10 pain point ในตัวเดียว คือ กะว่าตัวเดียวบอก 10 อย่างเลย อย่างคุ้ม นี่โชคดีว่าทาง grab food ไม่มีนโยบาย 5 วิแรกต้องปัง คุณเท่มาก ก็ขอบคุณมากๆครับ) ก็ถือเป็นความยากของคนทำ คือ ก็ไม่อยากให้เป็นวิดีโอรวม pain point เลยต้องพยายามดีไซน์จนรวมทุกอย่างเข้าไว้ด้วยกัน โดยที่คนดูไม่รู้สึกจิตกระตุก บางมันไม่ได้จริงๆ ก็ต้องบอกคุณลูกค้าว่า กรุณาเถิดครับ มีเมสเสจ 10 อันแล้ว อันที่ 11-12 เอาไปใส่งานชิ้นอื่นดีไหมครับ / ป.ล. จริงๆ ถ้างานไหนมี pain point ชัดๆ1-2อัน ผมคิดว่ามันจะดีกว่ามากๆครับ ถ้าจะเขวี้ยงดาวกระจาย เอามีดสปาร์ต้าแทงทีเดียวเลยดีกว่า
อ่ะ มาถึงสิ่งที่ค้นพบในงานนี้ และล้ำค่ามาก คือ งานชิ้นนี้จริงๆสำเร็จเสร็จออกมาได้ ได้รับความร่วมมือจากนักแสดงและสิ่งที่เกิดขึ้นตอนกำลังถ่าย / คือ เข้าใจว่าระบบปกติ เราก็จะถ่ายตามบอร์ดที่วางกันไว้ จะได้ออกมาเป๊ะๆตามที่วาดบนกระดาษกันเอาไว้ แต่ในความเป็นจริง ความแมจิค ธรรมชาติดีๆจากนักแสดง หรือความ ห่าสนุกสนานของมุขสดทั้งหลายแหล่ มันจะมาปรากฎตัวขึ้นตอนเจอนักแสดงและการถ่ายทำหน้ากอง ถ้าเราถ่ายตามบอร์ดเป๊ะมันเหมือนการวิ่งเข้าซูเปอร์มาร์เก็ตแล้วซื้อของตามแม่สั่ง แล้วกลับบ้านเลย ของดีไม่ดีไม่รู้ กูหยิบตามลิสต์พอ แต่ถ้าเราไม่ยึดตรงนั้นมากนัก ก็จะเหมือนค่อยๆเดินในซูเปอร์ แล้วก็อาจจะค่อยๆพบของที่ดีกว่าที่แม่เขียนสั่งมาซื้อ แต่ในการจะทำอย่างนั้นได้ ที่สำคัญสุดคือ. เราต้องมี 'เวลา' และ 'เปิดพื้นที่' ให้คนช้อป (ผู้กำกับ ทีมงาน นักแสดง) ในการค่อยๆเดิน ค่อยๆดู ค่อยๆหยิบผิดหยิบถูก หรือ เพื่อรีเช็คให้ชัวร์ว่าของที่แม่สั่งมาอาจจะดีอยู่แล้วก็ได้ / กว่า 30-40% ของสิ่งที่ปรากฎในหนังนั้น มันอยู่นอกบทซะส่วนใหญ่ นักแสดงพูดออกมาเองบ้าง เจอตอนดอลลี่กล้องผิดบ้าง เสียดายที่วันถ่ายค่อนข้างวุ่นวาย เลยลองเท่าที่เวลาและสถานกาณ์จะอำนวย - ไอ้มุขที่กะจะเตรียมมาลองที่หน้ากองเลยตกรอบและหายไปเยอะ เสียดายไม่ได้ลอง ไม่ได้ใส่แถมให้ แต่ไม่เป็นไร เก็บไว้ใช้กับงานต่อๆไปได้ เพราะตอนนี้รู้วิธีละ
โดยส่วนตัว งานนี้ทำให้พบว่า งานหนังที่ออกมาชิ้นนึง นอกจากบทกับบอร์ดแล้ว มันต้องประกอบไปด้วย พื้นที่ว่าง เวลา และการทดลองสดๆ ที่เปรียบได้กับการเขียนบทอีกครึ่งนึงในวันถ่ายจริง / สิ่งที่อยู่บนกระดาษตอนเตรียมงานที่ดูเหมือนจะ 100% จริงๆแล้วมันคือแค่ 50-60% ถ้าถ่ายตามกระดาษ งานก็ออกมาแค่ 50-60% เหมือนเที่ยวต่างประเทศ แต่ไม่แวะข้างทางอะไรเลย เสียดายยยยน่า เราอยากให้เยอะกว่านี้! ทำให้มากกว่านี้! ได้อีกค่ะ! การ์ดอย่าตก!
ใครสักคนบอกไว้ว่า screenwriting is not the real writing. it's like a blueprint of filmmaking.
ตอนต่อไปพบกับช่วงเตรียมงานต่างๆ
ใครยังไม่ได้ดู เชิญ : https://youtu.be/1eb5A8NVy_A