สอบถามเกี่ยวการค้ำประกันรถยนต์

พอมีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการค้ำประกันรถครับ  จะขอสอบถามเป็นข้อๆนะครับ  (แต่ละข้ออาจจะเกี่ยวเนื่องกัน บางข้ออาจจะคนละประเด็นกันนะครับ)
1.ผู้ซื้อขาดส่งงวดเกิน 4 เดือน  ไฟแนนซ์จะทำการยึดรถ  และเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาดและให้ผู้ซื้อชำระเงินส่วนต่าง  คำถามคือ ถ้ากรณ๊ไฟแนนซ์ตามยึดรถไม่ได้ หารถไม่เจอ ไฟแนนซ์จะดำเนินการฟ้องศาลเลยไหมครับ  หรือจะต้องตามหารถให้เจอ ทำการยึดรถ แล้วขายทอดตลาด ส่วนต่างที่ไม่พอค่อยจะฟ้องศาลครับ 
2.หากไฟแนนซ์ฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย วันขึ้นศาล ผู้ซื้อไม่ไป  แต่ผู้ค้ำประกันไป  มูลค่าค่าเสียหาย  ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบทั้งหมดเลยใช่ไหมครับ  (แสดงว่าผู้ซื้อจะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ถ้าในระหว่างการฟ้องร้องเขาไม่แสดงตัวออกมา)
3. เกี่ยวเนื่องจากข้อ 2 การนำสืบหาตัวผู้ซื้อ เป็นหาที่ของไฟแนนซ์  หรือเป็นหน้าที่ของผู้ค้ำประกันครับ ที่จะนำตัวเขามาขึ้นศาลครับ
4. เกี่ยวเนื่องจากข้อ 2 กรณีผู้ซื้อมีตัวตน มีที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง แต่ไม่มาขึ้นศาล  ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเลยไหมครับ หรือผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดเองอยู่
5. กรณีขึ้นศาล ผู้ซื้อไปขึ้นศาล ผู้ซื้อไม่มีทรัพย์สินอะไร มีเพียงเงินรายได้ประจำ  ผู้ค้ำประกันจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ จ่ายค่าเสียหายให้ไฟแนนซ์ไหมครับ
6. การบังคับคดี การยึดทรัพย์ ถ้าผู้ซื้อไม่มีทรัพย์สินอะไร มีเพียงรายได้ประจำ และผู้ค้ำประกันก็ไม่มีทรัพย์สิน มีเพียงรายได้ประจำ หลังหักต่างๆแล้วเหลือรายรับสุทธิในสลิปเงินเดือนไม่ถึง 1 หมื่นบ้าน ไฟแนนซ์จะสามารถอายัดเงินเดือนผู้ค้ำได้ไหมครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
Q1 : ผู้ซื้อขาดส่งงวดเกิน 4 เดือน  ไฟแนนซ์จะทำการยึดรถ  และเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาดและให้ผู้ซื้อชำระเงินส่วนต่าง  คำถามคือ ถ้ากรณ๊ไฟแนนซ์ตามยึดรถไม่ได้ หารถไม่เจอ ไฟแนนซ์จะดำเนินการฟ้องศาลเลยไหมครับ  หรือจะต้องตามหารถให้เจอ ทำการยึดรถ แล้วขายทอดตลาด ส่วนต่างที่ไม่พอค่อยจะฟ้องศาลครับ
A1 : ในสัญญาเช่าซื้อ ผู้เช่าซื้อพึงรักษาทรัพย์นั้นเสมือนดังของตน ดังนั้นเมื่อ รถหายไปโดยที่ผู้ครอบครองไม่สนใจเช่น ไม่ไปแจ้งความว่ารถหาย (ซึ่งผิดวิสัย) ก็จะโดนฟ้องศาลเพื่อบังคับให้ผู้เช่าซื้อชดใช้

Q2 : หากไฟแนนซ์ฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย วันขึ้นศาล ผู้ซื้อไม่ไป  แต่ผู้ค้ำประกันไป  มูลค่าค่าเสียหาย  ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบทั้งหมดเลยใช่ไหมครับ  (แสดงว่าผู้ซื้อจะไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย ถ้าในระหว่างการฟ้องร้องเขาไม่แสดงตัวออกมา)
A2 : แล้วผู้ค้ำประกันจะไปทำไมก่อนละครับ มันเป็นเรื่องของคู่สัญญาเขาก่อน ถ้าผู้ซื้อไม่จ่าย เดี๋ยวเขาก็ไปสืบทรัพย์ ยึดทรัพย์ของผู้ซื้อมาใช้หนี้ก่อน ไม่พอจึงค่อยมาเรียกเอาจากผู้ค้ำประกัน (ให้เรื่องมันจบที่ละชั้น ๆ ไป)

Q3 : เกี่ยวเนื่องจากข้อ 2 การนำสืบหาตัวผู้ซื้อ เป็นหาที่ของไฟแนนซ์  หรือเป็นหน้าที่ของผู้ค้ำประกันครับ ที่จะนำตัวเขามาขึ้นศาลครับ
A3 : หมายศาลครับ แจ้งเรียกก่อนให้มาไกล่เกลี่ยตกลง ถ้ายังไม่มา ก็สืบทรัพย์ยึดมาขายทอดตลาด (แบบคดีที่เป็นข่าว) ถ้าไม่พอก็คิวของ ผู้ค้ำประกัน ถูกเรียกให้มาไกล่เกลี่ยรับใช้ในส่วนที่ขาด ต่อไป

Q4 : เกี่ยวเนื่องจากข้อ 2 กรณีผู้ซื้อมีตัวตน มีที่ทำงานเป็นหลักแหล่ง แต่ไม่มาขึ้นศาล  ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบมูลค่าความเสียหายทั้งหมดเลยไหมครับ หรือผู้ซื้อต้องเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดเองอยู่
A4 : หลักการ คือ บังคับให้คู่สัญญาชดใช้ตามสัญญาก่อน ถ้าไม่มีจริง ๆ ค่อยมาไล่จากผู้ค้ำประกัน
       กรณีผู้ซื้อจะไม่จ่ายก็จะไล่บี้กับผู้ซื้อก่อน (แต่บาง บ. มักง่าย + อาศัยผู้ค้ำไม่ค่อยรู้ ก็จะข้ามมาบี้เอากับผู้ค้ำ)
       ส่วนผู้ค้ำ ไม่ใช่ว่าจบนะครับ สมมติใช้หนี้แทนไปแล้ว ก็มีสิทธิไปฟ้องไล่บี้เอากับคนที่ค้ำให้ได้
       ถ้าเจอผู้ซื้อที่คิดจะมั่วนิ่ม หรือ โกง ปรึกษาทนายเลยครับ คนพวกนี้ต้องเอาให้เข็ด

Q5 : กรณีขึ้นศาล ผู้ซื้อไปขึ้นศาล ผู้ซื้อไม่มีทรัพย์สินอะไร มีเพียงเงินรายได้ประจำ  ผู้ค้ำประกันจะต้องมีส่วนรับผิดชอบ จ่ายค่าเสียหายให้ไฟแนนซ์ไหมครับ
A5 : คดีแพ่ง ขึ้นกับตกลงครับ สมมติผู้ซื้อบริสุทธิ์ใจ ไม่มีจริง ๆ แต่อยากจะชดใช้อยู่ ก้ไกล่เกลี่ยว่าหนี้จะใช้กันอย่างไรให้หมด และ มีชีวิตอยู่ได้
       ศาลก็จะช่วยไกล่เกลี่ยให้ จนได้ยอดผ่อนต่อเดือน ดอกไม่งอก บลาๆ ๆ
       แต่ถ้าผู้ซื้อไม่สามารถชำระหนี้ได้แน่นอน ก็คิวต่อไปผู้ค้ำประกัน

Q6 : การบังคับคดี การยึดทรัพย์ ถ้าผู้ซื้อไม่มีทรัพย์สินอะไร มีเพียงรายได้ประจำ และผู้ค้ำประกันก็ไม่มีทรัพย์สิน มีเพียงรายได้ประจำ หลังหักต่างๆแล้วเหลือรายรับสุทธิในสลิปเงินเดือนไม่ถึง 1 หมื่นบ้าน ไฟแนนซ์จะสามารถอายัดเงินเดือนผู้ค้ำได้ไหมครับ
A6 : ตามข้อ 5 ครับ มันขึ้นอยู่กับว่า ผู้ซื้อมีความเป็นวิญญูชนแค่ไหน (เป็นหนี้ต้องใช้)
       อาจต้องรับสภาพหนี้ เช่น เหลือหนี้ 50,000 อาจไกล่เกลี่ยกันขอจ่ายงวดละ 1,000 x 70 งวด

หลักการพื้นฐานที่นำมาพิจารณา
- วันทำสัญญากัน และ ยอมรับในข้อสัญญา = ข้อตกลงที่ต้องทำตาม
- ถ้าไม่อาจทำตามสัญญาด้วยเหตุสุดวิสัย ก็ให้ไปไกล่เกลี่ยกันเองก่อน ว่ายังต้องการใช้หนี้นะ แต่ติดปัญหาจริง ๆ
  ถ้าเจ้าหนี้เข้าใจก็ปรับยอดผ่อน เวลาผ่อน ช่วยกันไป
  ถ้าเจ้าหนี้ยืนกรานไม่ยอม ก็ร้องศาลขอให้ช่วยไกล่เกลี่ย (ไม่ใช่ไปทำตัวผิดสัญญา ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย)
- ศาล ก็จะพยายามช่วยไกล่เกลี่ย และ อาจทำเป็นบันทึกข้อตกลง
แต่ถ้าฝ่ายใดไม่เห็นใจกันเกินไป ก็อาจโดนบังคับตามข้อกฎหมาย (อาจจุกพูดไม่ออก)(ทั้งนี้ขึ้นกับพฤติการด้วย ไม่ใช่ว่าลูกหนี้น่าเห็นใจเสมอไป)
(และไม่ใช่ว่าเจ้าหนี้มีสิทธิขาดเสมอไป)

ทำอะไร คิดอะไร ให้ยึด
1. หลักพอเพียง ตามกำลังที่ไหว
2. หลักวิญญูชน (ผู้รู้จักผิดชอบชั่วดี)(กรณีนี้ คือ เป็นหนี้ต้องใช้)
3. อย่าคิดอะไรง่าย ๆ เหมือนในข่าว ไม่จ่ายเว้ย อยากได้ไปฟ้องเอา แล้วไง ที่ดินโดนขายทอดตลาดเลย
    อย่าคิดว่าผู้ค้ำรับผิดชอบแทนแล้วจะจบ ผู้ค้ำก็กลายเป็นเจ้าหนี้รายใหม่ของคุณต่อไป
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่