เรามักจะได้ยินคำว่า " " ศีลขาด ...ศีลทะลุ ...ศีลด่าง...ศีลพร้อย " กันอยู่บ่อยๆ
ซึ่งบางครั้งก็ให้คำจำกัดความไม่เหมือนกัน มีความผิดเพี้ยนไปบ้าง
บางแห่งก็อธิบายไม่ได้ความชัดนัก
เมื่อได้ลองสืบค้นที่มา และความหมายของคำเหล่านี้
ก็ยังไม่พบว่ามีที่มาจากแห่งใดกันแน่
ได้แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคำที่มาจากชั้นของอรรถกถาจารย์
หากท่านใดทราบที่มาที่แน่ชัด รบกวนอนุเคราะห์ตามสมควรแก่ธรรมด้วยเทอญ...
ส่วนความหมายที่อ่านแล้วคิดว่าสามารถเข้าใจได้โดยง่าย เป็นดังรายละเอียดข้างล่าง...
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
"ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย"
.. "อันศีลที่บริสุทธิ์นั้นต้อง ไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย
ศีลที่เป็นท่อนนั้นคือ ศีลขาด" เหมือนอย่างผ้าที่เป็นผืนเดียวแล้วก็ขาดออกจากกันเป็นสองผืน "ดั่งนี้เรียกว่าขาด"
"ศีลที่ขาดนั้น คือศีลที่ได้ละเมิดออกไปอย่างเต็มที่จนบรรลุถึงที่สุด"
ดั่งเช่นข้อ "ปาณาติบาตินั้น ฆ่าสัตว์ตั้งต้นแต่มีอกุศลเจตนาที่จะฆ่า แล้วก็ทำการฆ่า
แล้วสัตว์นั้นตายด้วยอกุศลเจตนานั้น" แปลว่าครบองค์
ยกตัวอย่างเช่นศีลข้อ ๑ นี้ ที่ท่านแสดงไว้มีองค์ ๕ คือ
๑. "ปาโณ" สัตว์มีชีวิต
๒. "ปาณสญฺญิตา" ตนรู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. "วธกจิตฺตํ" จิตคิดจะฆ่า
๔. "ตชฺโชวายาโม" ความเพียรที่เกิดจากเจตนานั้น
๕. "เตน มรณํ" สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น
ครบองค์ ๕ ดั่งนี้ "เรียกว่าศีลขาด"
ทีนี้ "หากสัตว์นั้นไม่ตายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม" แต่ว่าได้มีจิตคิดจะฆ่า ได้มีความเพียรที่จะฆ่า
น้อยหรือมากก็ตาม "แต่ว่าสัตว์ไม่ตาย ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง" คือเหมือนอย่างผ้าที่ขาดเป็นช่องเล็กช่องใหญ่
แต่ว่าไม่ถึงกับขาดเป็น ๒ ท่อน แต่ว่าเป็นช่อง ๆ ทะลุเป็นช่อง ๆ ดั่งนี้ "เรียกว่าศีลเป็นช่อง"
คราวนี้หากว่า "มีจิตคิดจะฆ่าและไม่ถึงกับได้ประกอบความเพียรออกไป คิดงุ่นง่านอยู่ในใจละเมินอยู่ในใจ"
ไม่ถึงกับจะทำออกไป "ดั่งนี้เรียกว่าศีลด่าง ศีลพร้อย" เหมือนอย่างผ้าที่ไม่ขาดเป็นท่อน ไม่ทะลุเป็นช่อง
แต่ว่าเปรอะเปื้อนด่างพร้อย ไม่เป็นผ้าที่สะอาด
ฉะนั้น "แม้มีจิตงุ่นง่านคิดที่จะฆ่าอยู่ดั่งนี้ ก็เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย" คือถ้าคิดว่าจะฆ่าอย่างแรง "
ถ้าหากว่าไม่ถึงคิดว่าจะฆ่า แต่จิตเดือดร้อนคิดที่จะทำร้าย ก็แปลว่าไม่ถึงกับด่างทีเดียว แต่ว่าพร้อย"
ก็เป็นอันว่าไม่บริสุทธิ์ .. "
"ลักษณะพุทธศาสนา" ๑๙ กันยายน ๒๕๒๖
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ใส่ข้อความ
อ้างอิง : http://www.dhammathai.org/sila/dbview.php?No=15
ที่มาและความหมายของคำว่า " ศีลขาด ...ศีลทะลุ ...ศีลด่าง...ศีลพร้อย " ?
ซึ่งบางครั้งก็ให้คำจำกัดความไม่เหมือนกัน มีความผิดเพี้ยนไปบ้าง
บางแห่งก็อธิบายไม่ได้ความชัดนัก
เมื่อได้ลองสืบค้นที่มา และความหมายของคำเหล่านี้
ก็ยังไม่พบว่ามีที่มาจากแห่งใดกันแน่
ได้แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นคำที่มาจากชั้นของอรรถกถาจารย์
หากท่านใดทราบที่มาที่แน่ชัด รบกวนอนุเคราะห์ตามสมควรแก่ธรรมด้วยเทอญ...
ส่วนความหมายที่อ่านแล้วคิดว่าสามารถเข้าใจได้โดยง่าย เป็นดังรายละเอียดข้างล่าง...
•••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••••
"ศีลขาด ศีลทะลุ ศีลด่างพร้อย"
.. "อันศีลที่บริสุทธิ์นั้นต้อง ไม่เป็นท่อน ไม่เป็นช่อง ไม่ด่าง ไม่พร้อย
ศีลที่เป็นท่อนนั้นคือ ศีลขาด" เหมือนอย่างผ้าที่เป็นผืนเดียวแล้วก็ขาดออกจากกันเป็นสองผืน "ดั่งนี้เรียกว่าขาด"
"ศีลที่ขาดนั้น คือศีลที่ได้ละเมิดออกไปอย่างเต็มที่จนบรรลุถึงที่สุด"
ดั่งเช่นข้อ "ปาณาติบาตินั้น ฆ่าสัตว์ตั้งต้นแต่มีอกุศลเจตนาที่จะฆ่า แล้วก็ทำการฆ่า
แล้วสัตว์นั้นตายด้วยอกุศลเจตนานั้น" แปลว่าครบองค์
ยกตัวอย่างเช่นศีลข้อ ๑ นี้ ที่ท่านแสดงไว้มีองค์ ๕ คือ
๑. "ปาโณ" สัตว์มีชีวิต
๒. "ปาณสญฺญิตา" ตนรู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต
๓. "วธกจิตฺตํ" จิตคิดจะฆ่า
๔. "ตชฺโชวายาโม" ความเพียรที่เกิดจากเจตนานั้น
๕. "เตน มรณํ" สัตว์นั้นตายด้วยความเพียรนั้น
ครบองค์ ๕ ดั่งนี้ "เรียกว่าศีลขาด"
ทีนี้ "หากสัตว์นั้นไม่ตายด้วยเหตุใดเหตุหนึ่งก็ตาม" แต่ว่าได้มีจิตคิดจะฆ่า ได้มีความเพียรที่จะฆ่า
น้อยหรือมากก็ตาม "แต่ว่าสัตว์ไม่ตาย ดั่งนี้เรียกว่าศีลเป็นช่อง" คือเหมือนอย่างผ้าที่ขาดเป็นช่องเล็กช่องใหญ่
แต่ว่าไม่ถึงกับขาดเป็น ๒ ท่อน แต่ว่าเป็นช่อง ๆ ทะลุเป็นช่อง ๆ ดั่งนี้ "เรียกว่าศีลเป็นช่อง"
คราวนี้หากว่า "มีจิตคิดจะฆ่าและไม่ถึงกับได้ประกอบความเพียรออกไป คิดงุ่นง่านอยู่ในใจละเมินอยู่ในใจ"
ไม่ถึงกับจะทำออกไป "ดั่งนี้เรียกว่าศีลด่าง ศีลพร้อย" เหมือนอย่างผ้าที่ไม่ขาดเป็นท่อน ไม่ทะลุเป็นช่อง
แต่ว่าเปรอะเปื้อนด่างพร้อย ไม่เป็นผ้าที่สะอาด
ฉะนั้น "แม้มีจิตงุ่นง่านคิดที่จะฆ่าอยู่ดั่งนี้ ก็เรียกว่าศีลด่างศีลพร้อย" คือถ้าคิดว่าจะฆ่าอย่างแรง "
ถ้าหากว่าไม่ถึงคิดว่าจะฆ่า แต่จิตเดือดร้อนคิดที่จะทำร้าย ก็แปลว่าไม่ถึงกับด่างทีเดียว แต่ว่าพร้อย"
ก็เป็นอันว่าไม่บริสุทธิ์ .. "
"ลักษณะพุทธศาสนา" ๑๙ กันยายน ๒๕๒๖
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้