สวัสดีค่ะ อ่านกระทู้คนอื่นมาเยอะ วันนี้จะมาแบ่งปันประสบการณ์ของตัวเองบ้างนะคะ
บ้านใครที่มีผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มักจะต้องเจอปัญหาเดียวกันเลยนะคะ คือเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ้าน กลิ่นฉี่กลิ่นถ่าย
ด้วยความที่เราเป็นพยาบาล ต้องกลับมาดูแลญาติตัวเองที่บ้าน ต้องมาเจอกับสถานการณ์ที่โรงพยาบาลไม่มี เลยต้องหาวิธีกันใหญ่เลยค่ะ ที่โรงพยาบาลมีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ การรักษาความสะอาดที่เป็นระบบ ทำให้ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ทีนี้เราอยู่บ้าน จะทำอย่างไรดีนะ มาดูกันค่ะ
กรณีตัวอย่างของเราคือคุณย่า เส้นเลือดในสมองแตก อ่อนแรงซีกซ้าย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย นอนติดเตียง ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ต้องใส่แพมเพิส
เรื่องการดูแลทั่วไป เราไม่พูดถึงนะคะ วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม กับการรักษาความสะอาดกันค่ะ
อันดับแรกเริ่มจากที่นอนก่อนนะคะ
เตียงที่จะให้ผู้ป่วยนอน ตามความสะดวกของแต่ละบ้านเลยค่ะ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การทำความสะอาดเมื่อที่นอนเปียก บ้านเราเปลี่ยนที่นอนมาหลายแบบมากค่ะ ตอนแรกที่กลับมาบ้าน ให้คุณย่านอนที่นอนเดิมของเค้าเอง เตียง 6 ฟุต ปูผ้ายาง-ผ้าขวาง รองแบบที่โรงพยาบาลเลยค่ะ ปัญหาคือ เวลาที่เค้านอนดิ้น ผ้าปูเตียงหลุดลุ่ย เปียกฉี่แล้วทำความสะอาดไม่ได้เลยค่ะ กลิ่นก็จะซึมลงที่นอน การกำจัดกลิ่นเบื้องต้นคือ โปะแป้ง เอาผ้าแห้งมาซับไว้ค่ะ ดูดทั้งกลิ่นและความเปียกชื้น แต่นั่นคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านะคะ ในกรณีที่ยังไม่ได้เตรียมการ หลังจากนั้นเราก็ได้ทำการสั่งซื้อผ้าปูเตียงกันน้ำมาค่ะ หาซื้อออนไลน์ได้ทั่วไปเลยค่ะ ราคาสองถึงสามร้อยบาท เลือกที่เป็นแบบผ้ายางนะคะ เอามาปูรองไว้ชั้นแรก แล้วเอาผ้าปูที่นอนปูทับอีกทีค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เราสั่งแบบนี้มาค่ะ ยี่ห้อง para care
cr : FB Para Care Store
สั่งผ้ายางปูที่นอนมาแล้ว ก็ยังต้องใช้ผ้ายางปูเตียงอีกชั้นอยู่ดีนะคะ ผ้ายางเป็นแบบที่โรงพยาบาลใช้ทั่วไปเลยค่ะ หาซื้อได้ตามร้านขายยา ออนไลน์ หรือร้านผ้าเมตรบางร้านมีขายค่ะ เป็นผ้ายางสีชมพูฟ้า แบบนี้นะคะ
ส่วนผ้าขวางเตียง ก็ใช้ผ้าถุงคุณย่านั่นแหละค่ะ ปูให้เค้านอนไปเลย เพราะผ้าถุงมีเยอะมากกกกกก
ทีนี้พอเราปูผ้าปกป้องเตียงแล้ว เวลาทำความสะอาดก็ง่ายแล้วค่ะ เอาผ้าชุบน้ำเช็ด จบเลย ส่วนผ้าที่เปียก เปลี่ยนค่ะ เปลี่ยนทุกครั้งที่เปียกไปเลย (ถ้ากังวลเรื่องกลิ่นที่ติดผ้ายาง เรามีวิธีแก้ค่ะ ไว้คุยกันในขั้นตอนการซักนะคะ)
หลังจากใช้ที่นอนปกติไปแล้ว มีปัญหาด้านการเคลื่อนย้าย ยกตัว กลัวตกเตียง ฯลฯ บ้านเราก็ไม่มีงบในการซื้อเตียงผู้ป่วย เลยขอความช่วยเหลือผ่านทางทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาล และได้รับเตียงให้ยืมจากอบต.แถวบ้าน เลยได้ใช้เตียงผู้ป่วยเหมือนที่โรงพยาบาลแล้วค่ะ ที่นอนเป็นเบาะหนัง การทำความสะอาดง่ายขึ้น ก็ใช้ผ้ายางกับผ้าถุง ปูขวางเตียงทับผ้าปูอีกชั้นเหมือนเดิมค่ะ
ต่อไปเป็นขั้นตอนการซักผ้านะคะ
หลังจากที่เราเปลี่ยนผ้าปูรองนอนทั้งหลายแล้ว จะซักยังไงให้กลิ่นที่ติดผ้ามันหายไป อยู่ที่โรงพยาบาลเราแค่เปลี่ยนผ้า ใส่ลงถังที่เตรียมไว้ ให้ฝ่ายซักฟอกจัดการไป ไม่เคยรู้เลยค่ะว่าผ้าเหล่านั้นต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง กลับบ้านมาซักผ้าถุงที่เปื้อนฉี่ กลิ่นยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ใช้น้ำยาซักผ้า/ปรับผ้านุ่มกลิ่นแรงแค่ไหนก็กลบไม่มิด เลยได้ไปสืบค้นจากผู้รู้ด้านเคมีภัณฑ์และสิ่งทอ ได้ความว่า น้ำยาซักผ้าทั่วไปไม่สามารถกำจัดยูเรียที่ขับมาจากปัสสาวะได้ ต้องใช้สารเคมีที่เฉพาะเจาะจง สรุปว่า สารเคมีนั้นหาได้ไม่ยากเลยค่ะ น้ำยาซักผ้าขาวนั่นเอง (บ้านเราใช้ไฮเตอร์จ้า) ดังนั้น ขั้นตอนการซักผ้าคือ
1. ล้างน้ำเปล่า ล้างสิ่งสกปรกออกก่อน
2. แช่น้ำยาซักผ้าขาว สัดส่วนอ่านตามข้างขวดเลยจ้า
3. ซักด้วยผงซักฟอกปกติ (แนะนำว่าใช้แบบผงดีกว่าแบบน้ำนะคะ กลิ่นติดทนกว่า และประหยัดกว่าค่ะ)
4. ล้างน้ำเปล่าให้สะอาด จากนั้นจะใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มหรือไม่ก็ตามสะดวกเลยค่ะ
5. ตากแดดค่ะ หอมสดชื่นเหมือนใหม่แน่นอน (กรณีไม่มีแดด พยายามตากในที่ที่ลมโกรกนะคะ ถึงไม่มีกลิ่นฉี่แล้ว แต่ถ้าตากไม่ดีก็จะได้กลิ่นอับมาแทนค่ะ)
นอกจากผ้าแล้วยังมีผ้ายางกันเปื้อนอีกนะคะ วิธีทำความสะอาดผ้ายางก็คือ
1. กางผ้ายางออก กางบนราวตากผ้าก็ได้ค่ะ ฉีดน้ำล้าง
2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว ฉีดทิ้งไว้
3. ฉีดล้างน้ำเปล่าอีกรอบ
4. ตากไว้ให้แห้งค่ะ
ว่าด้วยเรื่องน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว ทางเราได้ทดลองใช้มาหลายยี่ห้อเลยค่ะ มีราคาหลากหลายมาก ตั้งแต่ซันไลต์ไปจนถึงเดทตอล ซึ่งส่วนมากแล้วคนจะแนะนำให้ใช้เดทตอลนะคะ หาซื้อง่าย สะอาด แต่ราคาแรงมากกกก บ้านเราเน้นประหยัดค่ะ สู้เดทตอลไม่ไหวจริงๆ หลังจากค้นพบว่าไฮเตอร์ขจัดกลิ่นบนผ้าได้จริง เลยเอาไฮเตอร์ผสมน้ำมาเช็ดผ้ายางค่ะ ผลปรากฎว่า ผ้ายางด่าง 555555 เลยต้องหาต่อไป สุดท้ายไปเจออีกยี่ห้อนี้ค่ะ Smart lab - smart care
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้https://www.smartlab.co.th/th/product/detail/23/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%93%E0%B8%91%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B8%86%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%99%20%20%20%20%20%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%8C
บ้านเราใช้สีม่วงค่ะ กลิ่นแอบเหมือนน้ำยาอาบน้ำหมาอยู่หน่อยๆ แต่หอมดีค่ะ 555 สรุปว่า ใช้สิ่งนี้แล้วสะดวกสบาย ไม่ต้องผสมน้ำ เทใส่ฟ้อกกี้ ฉีดๆไปเลยค่ะ หรือจะผสมน้ำ ใช้ผ้าชุบแล้วเอาไปเช็ดเตียง เช็ดพื้นผิวรอบๆได้ค่ะ ผลิตภัณฑ์แนวๆนี้มีหลายยี่ห้อนะคะ เช่น 3M เดทตอล ฯลฯ เลือกใช้ตามที่สะดวกได้เลยค่ะ ส่วนตัวยังไม่เคยใช้ยี่ห้ออื่น คือยี่ห้อนี้ถูกมาก ซื้อมาแกลลอนนึง ใช้มาสามเดือนแล้วยังไม่มีวี่แววว่าจะหมดเลยค่ะ
นอกจากนี้ ความสะอาดที่ตัวผู้ป่วยก็สำคัญมากเช่นกันนะคะ ถ้าเราทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมอื่นๆ แต่ไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง กลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลายก็จะไม่หายไปไหนหรอกค่ะ ถ้าเราหมั่นอาบน้ำ เปลี่ยนแพมเพิส เช็ดล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายอยู่เสมอ รับรองว่าไม่มีกลิ่นแน่นอนค่ะ
หากบ้านไหนมีผู้ป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุแล้วมีปัญหาแบบเดียวกันนี้ มาแชร์ประสบการณ์กันนะคะ เราจะได้ช่วยกันดูแลคนที่บ้านอย่างมีความสุขค่ะ
ปล.เรายังมีเทคนิคการอาบน้ำ ทำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย ที่ได้ปรับปรุงจากการเป็นพยาบาล อุปกรณ์ควรมีที่หาซื้อได้ทั่วไป เอาไว้ว่างๆ จะมาแบ่งปันกันใหม่นะคะ
[CR] แบ่งปันประสบการณ์ การกำจัดกลิ่นฉี่ กลิ่นไม่พึงประสงค์ในการดูแลผู้สูงอายุ/ผู้ป่วยติดเตียง
บ้านใครที่มีผู้ป่วยติดเตียงหรือผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ มักจะต้องเจอปัญหาเดียวกันเลยนะคะ คือเรื่องกลิ่นไม่พึงประสงค์ในบ้าน กลิ่นฉี่กลิ่นถ่าย
ด้วยความที่เราเป็นพยาบาล ต้องกลับมาดูแลญาติตัวเองที่บ้าน ต้องมาเจอกับสถานการณ์ที่โรงพยาบาลไม่มี เลยต้องหาวิธีกันใหญ่เลยค่ะ ที่โรงพยาบาลมีการฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ การรักษาความสะอาดที่เป็นระบบ ทำให้ไม่มีกลิ่นไม่พึงประสงค์เหล่านี้ ทีนี้เราอยู่บ้าน จะทำอย่างไรดีนะ มาดูกันค่ะ
กรณีตัวอย่างของเราคือคุณย่า เส้นเลือดในสมองแตก อ่อนแรงซีกซ้าย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย นอนติดเตียง ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ต้องใส่แพมเพิส
เรื่องการดูแลทั่วไป เราไม่พูดถึงนะคะ วันนี้จะมาพูดถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม กับการรักษาความสะอาดกันค่ะ
อันดับแรกเริ่มจากที่นอนก่อนนะคะ
เตียงที่จะให้ผู้ป่วยนอน ตามความสะดวกของแต่ละบ้านเลยค่ะ สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ การทำความสะอาดเมื่อที่นอนเปียก บ้านเราเปลี่ยนที่นอนมาหลายแบบมากค่ะ ตอนแรกที่กลับมาบ้าน ให้คุณย่านอนที่นอนเดิมของเค้าเอง เตียง 6 ฟุต ปูผ้ายาง-ผ้าขวาง รองแบบที่โรงพยาบาลเลยค่ะ ปัญหาคือ เวลาที่เค้านอนดิ้น ผ้าปูเตียงหลุดลุ่ย เปียกฉี่แล้วทำความสะอาดไม่ได้เลยค่ะ กลิ่นก็จะซึมลงที่นอน การกำจัดกลิ่นเบื้องต้นคือ โปะแป้ง เอาผ้าแห้งมาซับไว้ค่ะ ดูดทั้งกลิ่นและความเปียกชื้น แต่นั่นคือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านะคะ ในกรณีที่ยังไม่ได้เตรียมการ หลังจากนั้นเราก็ได้ทำการสั่งซื้อผ้าปูเตียงกันน้ำมาค่ะ หาซื้อออนไลน์ได้ทั่วไปเลยค่ะ ราคาสองถึงสามร้อยบาท เลือกที่เป็นแบบผ้ายางนะคะ เอามาปูรองไว้ชั้นแรก แล้วเอาผ้าปูที่นอนปูทับอีกทีค่ะ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สั่งผ้ายางปูที่นอนมาแล้ว ก็ยังต้องใช้ผ้ายางปูเตียงอีกชั้นอยู่ดีนะคะ ผ้ายางเป็นแบบที่โรงพยาบาลใช้ทั่วไปเลยค่ะ หาซื้อได้ตามร้านขายยา ออนไลน์ หรือร้านผ้าเมตรบางร้านมีขายค่ะ เป็นผ้ายางสีชมพูฟ้า แบบนี้นะคะ
ส่วนผ้าขวางเตียง ก็ใช้ผ้าถุงคุณย่านั่นแหละค่ะ ปูให้เค้านอนไปเลย เพราะผ้าถุงมีเยอะมากกกกกก
ทีนี้พอเราปูผ้าปกป้องเตียงแล้ว เวลาทำความสะอาดก็ง่ายแล้วค่ะ เอาผ้าชุบน้ำเช็ด จบเลย ส่วนผ้าที่เปียก เปลี่ยนค่ะ เปลี่ยนทุกครั้งที่เปียกไปเลย (ถ้ากังวลเรื่องกลิ่นที่ติดผ้ายาง เรามีวิธีแก้ค่ะ ไว้คุยกันในขั้นตอนการซักนะคะ)
หลังจากใช้ที่นอนปกติไปแล้ว มีปัญหาด้านการเคลื่อนย้าย ยกตัว กลัวตกเตียง ฯลฯ บ้านเราก็ไม่มีงบในการซื้อเตียงผู้ป่วย เลยขอความช่วยเหลือผ่านทางทีมเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาล และได้รับเตียงให้ยืมจากอบต.แถวบ้าน เลยได้ใช้เตียงผู้ป่วยเหมือนที่โรงพยาบาลแล้วค่ะ ที่นอนเป็นเบาะหนัง การทำความสะอาดง่ายขึ้น ก็ใช้ผ้ายางกับผ้าถุง ปูขวางเตียงทับผ้าปูอีกชั้นเหมือนเดิมค่ะ
ต่อไปเป็นขั้นตอนการซักผ้านะคะ
หลังจากที่เราเปลี่ยนผ้าปูรองนอนทั้งหลายแล้ว จะซักยังไงให้กลิ่นที่ติดผ้ามันหายไป อยู่ที่โรงพยาบาลเราแค่เปลี่ยนผ้า ใส่ลงถังที่เตรียมไว้ ให้ฝ่ายซักฟอกจัดการไป ไม่เคยรู้เลยค่ะว่าผ้าเหล่านั้นต้องผ่านขั้นตอนอะไรบ้าง กลับบ้านมาซักผ้าถุงที่เปื้อนฉี่ กลิ่นยังคงอยู่ไม่หายไปไหน ใช้น้ำยาซักผ้า/ปรับผ้านุ่มกลิ่นแรงแค่ไหนก็กลบไม่มิด เลยได้ไปสืบค้นจากผู้รู้ด้านเคมีภัณฑ์และสิ่งทอ ได้ความว่า น้ำยาซักผ้าทั่วไปไม่สามารถกำจัดยูเรียที่ขับมาจากปัสสาวะได้ ต้องใช้สารเคมีที่เฉพาะเจาะจง สรุปว่า สารเคมีนั้นหาได้ไม่ยากเลยค่ะ น้ำยาซักผ้าขาวนั่นเอง (บ้านเราใช้ไฮเตอร์จ้า) ดังนั้น ขั้นตอนการซักผ้าคือ
1. ล้างน้ำเปล่า ล้างสิ่งสกปรกออกก่อน
2. แช่น้ำยาซักผ้าขาว สัดส่วนอ่านตามข้างขวดเลยจ้า
3. ซักด้วยผงซักฟอกปกติ (แนะนำว่าใช้แบบผงดีกว่าแบบน้ำนะคะ กลิ่นติดทนกว่า และประหยัดกว่าค่ะ)
4. ล้างน้ำเปล่าให้สะอาด จากนั้นจะใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มหรือไม่ก็ตามสะดวกเลยค่ะ
5. ตากแดดค่ะ หอมสดชื่นเหมือนใหม่แน่นอน (กรณีไม่มีแดด พยายามตากในที่ที่ลมโกรกนะคะ ถึงไม่มีกลิ่นฉี่แล้ว แต่ถ้าตากไม่ดีก็จะได้กลิ่นอับมาแทนค่ะ)
นอกจากผ้าแล้วยังมีผ้ายางกันเปื้อนอีกนะคะ วิธีทำความสะอาดผ้ายางก็คือ
1. กางผ้ายางออก กางบนราวตากผ้าก็ได้ค่ะ ฉีดน้ำล้าง
2. ใช้น้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว ฉีดทิ้งไว้
3. ฉีดล้างน้ำเปล่าอีกรอบ
4. ตากไว้ให้แห้งค่ะ
ว่าด้วยเรื่องน้ำยาทำความสะอาดพื้นผิว ทางเราได้ทดลองใช้มาหลายยี่ห้อเลยค่ะ มีราคาหลากหลายมาก ตั้งแต่ซันไลต์ไปจนถึงเดทตอล ซึ่งส่วนมากแล้วคนจะแนะนำให้ใช้เดทตอลนะคะ หาซื้อง่าย สะอาด แต่ราคาแรงมากกกก บ้านเราเน้นประหยัดค่ะ สู้เดทตอลไม่ไหวจริงๆ หลังจากค้นพบว่าไฮเตอร์ขจัดกลิ่นบนผ้าได้จริง เลยเอาไฮเตอร์ผสมน้ำมาเช็ดผ้ายางค่ะ ผลปรากฎว่า ผ้ายางด่าง 555555 เลยต้องหาต่อไป สุดท้ายไปเจออีกยี่ห้อนี้ค่ะ Smart lab - smart care
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
บ้านเราใช้สีม่วงค่ะ กลิ่นแอบเหมือนน้ำยาอาบน้ำหมาอยู่หน่อยๆ แต่หอมดีค่ะ 555 สรุปว่า ใช้สิ่งนี้แล้วสะดวกสบาย ไม่ต้องผสมน้ำ เทใส่ฟ้อกกี้ ฉีดๆไปเลยค่ะ หรือจะผสมน้ำ ใช้ผ้าชุบแล้วเอาไปเช็ดเตียง เช็ดพื้นผิวรอบๆได้ค่ะ ผลิตภัณฑ์แนวๆนี้มีหลายยี่ห้อนะคะ เช่น 3M เดทตอล ฯลฯ เลือกใช้ตามที่สะดวกได้เลยค่ะ ส่วนตัวยังไม่เคยใช้ยี่ห้ออื่น คือยี่ห้อนี้ถูกมาก ซื้อมาแกลลอนนึง ใช้มาสามเดือนแล้วยังไม่มีวี่แววว่าจะหมดเลยค่ะ
นอกจากนี้ ความสะอาดที่ตัวผู้ป่วยก็สำคัญมากเช่นกันนะคะ ถ้าเราทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมอื่นๆ แต่ไม่ได้ทำความสะอาดร่างกายให้ผู้ป่วยอย่างถูกต้อง กลิ่นไม่พึงประสงค์ทั้งหลายก็จะไม่หายไปไหนหรอกค่ะ ถ้าเราหมั่นอาบน้ำ เปลี่ยนแพมเพิส เช็ดล้างทำความสะอาดอวัยวะขับถ่ายอยู่เสมอ รับรองว่าไม่มีกลิ่นแน่นอนค่ะ
หากบ้านไหนมีผู้ป่วยติดเตียง/ผู้สูงอายุแล้วมีปัญหาแบบเดียวกันนี้ มาแชร์ประสบการณ์กันนะคะ เราจะได้ช่วยกันดูแลคนที่บ้านอย่างมีความสุขค่ะ
ปล.เรายังมีเทคนิคการอาบน้ำ ทำความสะอาดอวัยวะขับถ่าย ที่ได้ปรับปรุงจากการเป็นพยาบาล อุปกรณ์ควรมีที่หาซื้อได้ทั่วไป เอาไว้ว่างๆ จะมาแบ่งปันกันใหม่นะคะ
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้