สแตนชาร์ต หั่นจีดีพีปีนี้หดตัว 8% รับกังวลการเมืองในประเทศ
https://www.prachachat.net/finance/news-507434
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ปรับจีดีพีปี 63 หดตัว 8% จากคาดการณ์เดิม 5% หลังห่วงการเมือง-ขาดปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้ กนง.มีโอกาสลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4
ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวอยู่ที่ 8% จากคาดการณ์เดิมที่คาดว่าหดตัว 5% เนื่องจากขาดปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับความกังวลด้านการเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธนาคารปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ขึ้นเป็นเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 2% จากเดิมที่คาดจะเติบโต 1.8% เพื่อสะท้อนฐานการเติบโตที่คาดว่าจะต่ำลงในปีนี้
“เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 น่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดไปแล้ว เราคาดว่าจากนี้จะเห็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศยังอ่อนกำลัง ในขณะที่ปัจจัยภายนอกที่จะช่วยผลักดันการเติบโตยังคงมีความไม่แน่นอน” ดร.ทิม กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 3 และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในไตรมาส 4 เนื่องจากเหลือโอกาสให้ปรับลดได้จำกัด
“เรายังไม่เห็นกลยุทธ์การพัฒนาหลังพ้นช่วงโควิดที่ชัดเจนของไทย เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัจจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวจีน ประเด็นนี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบในระยะกลางเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน” ดร.ทิม กล่าวเสริม
ครม.ไฟเขียว กู้เงินเพิ่ม 2.1 แสนล้าน โปะงบปี 63
https://www.thansettakij.com/content/money_market/446002
ครม.ไฟเขียวปรับแผนก่อหนี้สาธารณะใหม่ เปิดทางคลังกู้เพิ่ม 2.1 แสนล้าน โปะงบประมาณปี 2563 เหตุโควิด-19 ฉุดการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้า ดันยอดหนี้สาธารณะพุ่ง 8.21 ล้านล้าน
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม. ได้มีมติอนุมัติและรับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 โดยมีการปรับแผนที่สำคัญ คือการปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 214,093.92 ล้านบาท
การปรับเพิ่มวงเงินกู้ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด– 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2563 โดยการกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ ในระดับที่จําเป็นเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสําหรับการเบิกจ่ายเพื่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการกู้เงินเพิ่มเติมดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของหน่วยงาน
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้นํารายการหนี้ของบริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน) (THAI) ออกจากแผนฯ เนื่องจาก การบินไทยด้พ้นสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้หนี้เงินกู้ของการบินไทยไม่รับเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการปรับกรอบและวงเงินของการบริหารหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน FIDF)
การปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธาณะดังกล่าวส่งผลให้แผนการก่อหนี้ใหม่ปรับเพิ่มสุทธิ 158,521.85 ล้านบาท จากเดิม 1,497,498.55 ล้านบาท เป็น 1,656,020.40 ล้านบาท แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 67,267.64 ล้านบาท จากเดิม 1,035,777.74 ล้านบาท เป็น 968,510.10 ล้านบาท และแผนการชําระหนี้ ปรับลด 22,329.31 ล้านบาท จากเดิม 389,373.21 ล้านบาท เป็น 367,043.90 ล้าบาท
การปรับปรุงแผนฯ ข้างต้นส่งผลให้ประมาณการยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 8.21 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.64 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 60 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด
====สแตนชาร์ต หั่นจีดีพีปีนี้หดตัว 8% รับกังวลการเมืองในประเทศ//ข่าวดี!!!!ครม.ไฟเขียว กู้เพิ่ม 2.1 แสนล้าน!!!!===
https://www.prachachat.net/finance/news-507434
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ปรับจีดีพีปี 63 หดตัว 8% จากคาดการณ์เดิม 5% หลังห่วงการเมือง-ขาดปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ ชี้ กนง.มีโอกาสลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4
ดร.ทิม ลีฬหะพันธุ์ นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า ธนาคารได้ปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2563 หดตัวอยู่ที่ 8% จากคาดการณ์เดิมที่คาดว่าหดตัว 5% เนื่องจากขาดปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับความกังวลด้านการเมืองในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธนาคารปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 2564 ขึ้นเป็นเติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 2% จากเดิมที่คาดจะเติบโต 1.8% เพื่อสะท้อนฐานการเติบโตที่คาดว่าจะต่ำลงในปีนี้
“เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 น่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 หนักที่สุดไปแล้ว เราคาดว่าจากนี้จะเห็นการฟื้นตัวอย่างช้าๆ เนื่องจากปัจจัยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศยังอ่อนกำลัง ในขณะที่ปัจจัยภายนอกที่จะช่วยผลักดันการเติบโตยังคงมีความไม่แน่นอน” ดร.ทิม กล่าว
นอกจากนี้ ธนาคารมองว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในไตรมาส 3 และปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกครั้งในไตรมาส 4 เนื่องจากเหลือโอกาสให้ปรับลดได้จำกัด
“เรายังไม่เห็นกลยุทธ์การพัฒนาหลังพ้นช่วงโควิดที่ชัดเจนของไทย เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัจจัยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่พึ่งพิงภายนอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการท่องเที่ยวจากนักท่องเที่ยวจีน ประเด็นนี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเป็นระบบในระยะกลางเพื่อให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน” ดร.ทิม กล่าวเสริม
ครม.ไฟเขียว กู้เงินเพิ่ม 2.1 แสนล้าน โปะงบปี 63
https://www.thansettakij.com/content/money_market/446002
ครม.ไฟเขียวปรับแผนก่อหนี้สาธารณะใหม่ เปิดทางคลังกู้เพิ่ม 2.1 แสนล้าน โปะงบประมาณปี 2563 เหตุโควิด-19 ฉุดการจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้า ดันยอดหนี้สาธารณะพุ่ง 8.21 ล้านล้าน
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงมติคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ครม. ได้มีมติอนุมัติและรับทราบการปรับปรุงแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2563 ครั้งที่ 2 ตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2563 โดยมีการปรับแผนที่สำคัญ คือการปรับเพิ่มวงเงินกู้ของรัฐบาลในกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ (Revenue Shortfall) ในปีงบประมาณ 2563 วงเงิน 214,093.92 ล้านบาท
การปรับเพิ่มวงเงินกู้ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด– 19) ที่ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลในปีงบประมาณ 2563 โดยการกู้เงินกรณีรายจ่ายสูงกว่ารายได้ดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายใต้กรอบวงเงินตาม พ.ร.บ. การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และสอดคล้องกับ พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้รัฐบาลต้องรักษาระดับเงินคงคลังไว้ ในระดับที่จําเป็นเพื่อให้มีสภาพคล่องเพียงพอสําหรับการเบิกจ่ายเพื่อการดําเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งการกู้เงินเพิ่มเติมดังกล่าวจะส่งผลให้รัฐบาลมีระดับเงินคงคลังเพียงพอรองรับการเบิกจ่ายของหน่วยงาน
ขณะเดียวกันยังเห็นชอบให้นํารายการหนี้ของบริษัท การบินไทยจํากัด (มหาชน) (THAI) ออกจากแผนฯ เนื่องจาก การบินไทยด้พ้นสถานภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่งผลให้หนี้เงินกู้ของการบินไทยไม่รับเป็นหนี้สาธารณะตามกฎหมาย
นอกจากนี้ยังมีการปรับกรอบและวงเงินของการบริหารหนี้สาธารณะให้สอดคล้องกับความต้องการของรัฐวิสาหกิจ 4 แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุน FIDF)
การปรับปรุงแผนบริหารหนี้สาธาณะดังกล่าวส่งผลให้แผนการก่อหนี้ใหม่ปรับเพิ่มสุทธิ 158,521.85 ล้านบาท จากเดิม 1,497,498.55 ล้านบาท เป็น 1,656,020.40 ล้านบาท แผนการบริหารหนี้เดิม ปรับลด 67,267.64 ล้านบาท จากเดิม 1,035,777.74 ล้านบาท เป็น 968,510.10 ล้านบาท และแผนการชําระหนี้ ปรับลด 22,329.31 ล้านบาท จากเดิม 389,373.21 ล้านบาท เป็น 367,043.90 ล้าบาท
การปรับปรุงแผนฯ ข้างต้นส่งผลให้ประมาณการยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2563 มีจำนวน 8.21 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะคงค้างต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อยู่ที่ระดับร้อยละ 51.64 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 60 ตามกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐกำหนด