สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ที่นักวิชาการบอกว่าไทยไม่เคยรบพม่า จะสามารถใช้อธิบายได้ถ้าคำว่า "ไทย" กับ "พม่า" ในที่นี้มีความหมายเป็น "รัฐชาติ" (Nation-state) แบบประเทศไทยกับประเทศพม่าในปัจจุบันครับ เพราะการปกครองในอดีตเป็นอาณาจักรแบบจารีตภายใต้ระบอบศักดินา ยังไม่ได้มีความเป็นรัฐชาติแบบชัดเจน ซึ่งไทยนั้นนักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่มองว่าเพิ่งเป็นรัฐชาติสมัยใหม่อย่างแม้จริงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. ๒๔๗๕ ดังนั้นการรบระหว่าง "รัฐชาติไทย" และ "รัฐชาติพม่า" จึงเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริงในสมัยโบราณ แต่เป็นการรบระหว่างอาณาจักรยุคโบราณ
ถึงกระนั้น การพยายามอธิบายว่าไทยไม่เคยรบกับพม่า (ในกรณีที่ไม่ได้เจาะจงว่า ไทย กับ พม่า ในที่นี้สื่อถึงรัฐชาติสมัยใหม่) ก็ค่อนข้างขัดแย้งกับบริบทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าคนในภูมิภาคนี้มีความรู้เรื่องการจำแนกชาติพันธุ์ (Ethnicity) แล้ว โดยชาติพันธ์ุในมุมมองคนสมัยโบราณไม่ได้จำแนกตามคุณสมบัติทางพันธุกรรม แต่จำแนกตามอัตลักษณ์ที่คนกลุ่มหนึ่งมีร่วมกัน เช่น ภาษา รูปร่างหน้าตา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ
มีหลักฐานว่าประชากรหลักของสยามในสมัยอยุทธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นรับรู้ (acknowledge) และเรียกตนเองว่า "ไทย" เรียกภาษาของตนว่า "ภาษาไทย" เรียกราชธานีซึ่งมีคนไทยเป็นประชากรหลักว่า "กรุงไทย" หรือ "เมืองไทย" คนที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันในเมืองอื่นก็ถูกเรียกว่า ไทย เช่นเดียวกัน ในประเด็นนี้ ผู้เขียนและสมาชิกท่านอื่นได้เคยนำเสนอหลักฐานจำนวนมากไปในหลายกระทู้แล้ว
ถามผู้รู้ สมัยอยุธยา เรามีคำว่า “ไทย” เรียกแทนทั้งตัวคน/ และอาณาจักรจักร แล้วหรือ?
https://ppantip.com/topic/37451391
"ไทย" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงประชากรทุกกลุ่มในสมัยอยุทธยา แต่เป็นคำเรียกกลุ่มชนชาติเพียงชนชาติหนึ่งที่มีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกันในดินแดนกรุงศรีอยุทธยา โดยเรียกภาษาของตนเองว่าภาษาไทย และเรียกกรุงศรีอยุทธยาซึ่งมีคนที่เรียกว่าไทยเป็นประชากรหลักว่ากรุงไทย ในขณะเดียวกันคนไทยสมัยโบราณก็มีการจำนักกลุ่มคนต่างชาติต่างภาษาที่เรียกว่า ลาว พม่า มอญ เขมร จีน จาม ญวน แขก ฝรั่ง ฯลฯ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมในอาณาจักรเดียวกันได้
คนในสมัยโบราณไม่ได้จำแนกความเป็นเชื้อชาติแบบ race หรือ ethno-racial ที่ยึดถือตามลักษณะทางกายภาพและพันธุกรรมเป็นหลัก ชนชาติหนึ่งอาจถูกผสมกลืนจนสามารถกลายเป็นอีกชนชาติหนึ่งได้ ปรากฏในหลักฐานของลา ลูแบร์ กับ แฌร์แวส ระบุตรงกันว่า ประชากรไทยสยามมีการผสมผสานทางสายเลือดกับชาวต่างชาติมาก มีประชากรชาวลาว (หมายถึงล้านนาและล้านช้าง) กับชาวมอญที่ถูกกวาดต้อนจำนวนมากซึ่งกลมกลืนเป็นชนชาติเดียวกับไทยสยามจนยากจะแยกความแตกต่างได้ จนอาจกลายเป็นชาวไทยสยามได้ในที่สุด
ความเป็นชนชาติจึงอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสืบทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นการสืบทอดอัตลักษณ์ที่มีจากรุ่นสู่รุ่น คนไทยในปัจจุบันอาจเป็นคนที่รับสืบทอดอัตลักษณ์จินตกรรมเกี่ยวกับความเป็นไทยจากคนไทยในสมัยอยุทธยา โดยที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมเลย
การรับรู้เรื่องชนชาติในบริบทของคนโบราณแตกต่างกับความเป็น "รัฐชาติ" ในปัจจุบันที่มีข้อบังคับประชากรในประเทศที่ต้องถือสัญชาติ (Nationality) เดียวกัน ซึ่งเพิ่งมาถูกกำหนดอย่างชัดเจนตามนโยบายรัฐนิยมในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่บังคับให้ประชากรทุกคนในประเทศซึ่งมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสัญชาติเป็น "ไทย" ทั้งหมด
การตีความคำว่า ไทย = ชาตินิยม หรือกล่าวว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทยไม่มีอยู่จริงเพราะไทยเกิดจากการผสมผสานของหลายเชื้อชาติ เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของประวัติศาสตร์โดยเอามุมมองของคนปัจจุบันไปตัดสินอดีต ดังที่กล่าวไว้แล้วว่ามีหลักฐานการคำว่า "ไทย" ในความหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์มาตั้งแต่โบราณก่อนยุครัฐชาติ และคนในสมัยโบราณไม่ได้มีความรู้เรื่องเชื้อชาติ (race) ตามหลักพันธุกรรมหมือนในปัจจุบันที่จะบอกได้ว่าชาติพันธุ์แต่ละชาติมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดีบปลีกย่อย ทั้งนี้ก็ไม่มีเชื้อชาติใดในโลกที่เป็นเชื้อชาติบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน
คนไทยสมัยอยุทธยากับคนไทยในประเทศไทยปัจจุบันอาจไม่ใช่ประชากรกลุ่มเดียวกันทั้งหมดตามหลักพันธุกรรม แต่คงไม่สามารถกล่าวได้ว่าไทยสมัยกรุงศรีอยุทธยา ไทยสมัยธนบุรี ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นการมองประวัติศาสตร์ที่ "ขาดความต่อเนื่อง" และขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ได้รับสืบทอดภาษาวัฒนธรรมประเพณีมาจากกรุงศรีอยุทธยาอย่างเห็นได้ชัด ชนชั้นปกครองและประชากรจำนวนมากก็เป็นประชากรในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ที่มีสำนึกรับรู้และควาผูกพันว่าได้สืบเชื้อสายมาจากสมัยอยุทธยา มีการเรียกชื่อพระนครว่า "กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" เหมือนกรุงเก่ามาจนถึงรัชกาลที่ ๔ และเรียกพลเมืองที่เป็นประชากรหลักว่า "ไทย"
ในเมื่อกรุงศรีแตกแล้วคนถูกกวาดต้อน บันทึกโดนทำลาย ความรู้พิธีต่างๆ ก็ต้องหายไป แล้วมันกลับมาได้ไงครับ
https://ppantip.com/topic/38836872/
ทำไมปัจจุบันไม่มีการเรียกว่า กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แล้วครับ
https://ppantip.com/topic/39450870/
ถ้าไม่เกี่ยวข้องกันจริง ก็ไม่มีความจำเป็นที่ชนชั้นนำสมัยรัตนโกสินทร์จะต้องแสงความเจ็บแค้นกับการกระทำที่อังวะทำกับกรุงเก่า ดังที่ปรากฏในนิราศเพลงยาวตีเมืองพม่าของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นชาวกรุงศรีอยุทธยาว่า
มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้หมดสิ้น
มันจิตต์อหังการ์ทามิฬ จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา
การเสร็จสำเร็จลงเมื่อใด ซึ่งคิดไว้ขอให้สมปราถนา
แม้นมิได้ก็ไม่กลับคืนมา จะเห็นเมืองพม่าในครั้งนี้
เกรงกริ่งอยู่แต่ข้างทัพบก จะไม่ยกหักได้ให้ถึงที่
เกลือกมันกั้นตัดทางตี จะตัดที่เสบียงอาหารไว้
ไม่สมคเนให้เรรวน ทำป่วนไม่หักเอามันได้
เท่านี้ดอกที่วิตกใจ จะทำให้เสียการเหมือนทวาย
เมื่อชนะแล้วกลับแพ้ให้แชไป จึงเสียไชยเสียเชิงไม่สมหมาย
พากันหนีแต่ไม่มีอันตราย ถ้าเสียหายอย่างอื่นไม่เปนไร
อันกรุงรัตนอังวะครั้งนี้ฤๅ จักพ้นเนื้อมืออย่าสงไสย
พม่าจะมาเปนข้าไทย จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา
และชนชั้นปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ไม่มีความจำเป็นที่กรุงรัตนโกสินทร์จะต้องยกทัพไปตีเมืองพม่าเพื่อกวาดต้อนเชลยกรุงเก่ากลับมา พบหลักฐานคือในสงครามตีเมืองทวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงหวังจะใช้เมืองทวายเป็นฐานในการขยายอำนาจไปพม่าเพื่อกวาดต้อนเชลยอยุทธยากลับมา แต่กรมพระราชวังบวรฯ ทรงเห็นว่ารักษาเมืองทวายไว้ได้ยาก จะขอรื้อกำแพงเมืองแล้วกวาดครัวอพยพกลับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระพิโรธ ทรงมีหนังสือไปตำหนิกรมพระราชวังบวรฯว่า
"อ้ายพม่ายกมาตีกรุงได้ชาวกรุงแลพี่น้องขึ้นไปไว้ แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกฤา เมืองอังวะแลเมืองอื่น ๆ ไทยชาวกรุงไม่มีฤา ไม่ช่วยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย"
สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกรับรู้หรือจินตกรรมในเรื่องความผูกพันที่คนสมัยรัตนโกสินทร์มีต่อคนอยุทธยาได้อย่างชัดเจน
การที่บอกว่าทั้งสองอาณาจักรไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะต่างอาณาจักรต่างช่วงเวลา เป็นการมองประวัติศาสตร์โดยละเลยความต่อเนื่องรัฐและไม่สามารถอธิบายถึงพัฒนาการทางสังคมที่สืบทอดต่อมาของอยุทธยามาสู่รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อรัฐไม่ก็ตาม แต่ไม่สามารถปฏิเสธหลักฐานความสัมพันธ์ของอยุทธยากับรัตนโกสินทร์ได้ครับ
เช่นเดียวกับคำว่า "พม่า" พบหลักฐานการในงานในหลักฐานลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเมื่อเกิดสงครามกัน หลักฐานของไทยก็ใช้คำว่า "พม่า" อย่างชัดเจน จะบอกว่ารบกับใครก็บอกว่ารบกับพม่า แม้ในทางปฏิบัติกองทัพในอาณาจักรของพม่าจะมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (Polyethnicity) ก็ตาม ยกตัวอย่างในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) สมัยรัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนเสียกรุงเช่น
"ฝ่ายพม่าว่า กรุงศรีอยุธยาแต่ก่อนเคยน้อมนำบรรณาการออกแด่กรุงหงสาวดี แลสืบมาบัดนี้ละบุราณราชประเพณีเสียตั้งแข็งเมืองอยู่จึงได้ยกกองทัพมารบ ครั้นพระยากลาโหมกลับมากราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน จึงดำรัสว่า พม่าว่าเอาเปล่าๆ ฝ่ายพะม่าก็ยกมารบค่ายวัดชัยวัฒนาราม ๙ คืนก็แตก"
หรือในนิราศเพลงยาวกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทว่า
อ้ายชาติพม่ามันอาธรรม์ เที่ยวล้างขอบขันฑ์ทุกภารา
แต่ก่อนก็มิให้มีความสุข รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา
แต่บ้านร้างเมืองเซทั้งวัดวา ยับเยินเปนป่าทุกตำบล
มันไม่คิดบาปกรรมอ้ายลำบาก แต่พลัดพรากจากกันทุกแห่งหน
มันเหล่าอาสัตย์ทรชน ครั้งนี้จะป่นเปนธุลี
เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม จะพูลเพิ่มให้รยำยับยี่
ด้วยทำนายว่าไว้แต่ก่อนมี เหมือนครั้งมอญไปตีเอานัครา
คือหงส์มาหลงกินน้ำหนอง เหตุต้องเมืองมอญหงสา
ตัวนายอองไจยคือพรานป่า คิดฆ่าหงส์ตายจึงได้ดี
คือพม่ามาตีเอามอญได้ ก็สมในทำนายเปนถ้วนถี่
ยังแต่พยัคฆ์เรืองฤทธี จะกินพรานที่ยิงหงส์ตาย
บัดนี้ก็ถึงแก่กำหนด จะปรากฎโดยเหตุเปนกฎหมาย
ทัพเราเข้าต้องคำทำนาย คือเสือร้ายอันแรงฤทธา
จะไปกินพรานป่าที่ฆ่าหงส์ ให้ปลดปลงม้วยชีพสังขาร์
แล้วมีคำทำนายบุราณมา ว่าพม่าจะสิ้นซึ่งรูปกาย
การรบระหว่างรัฐชาติยังไม่มีในสมัยโบราณ แต่มีการรบระหว่างชนชาติต่างๆ แล้ว สำหรับผมการใช้คำว่า "ไทยรบพม่า" เป็นตัวแทนของประชากรหลักของอาณาจักรนั้นสอดคล้องกับกับบริบทของหลักฐานในสมัยโบราณ แต่ถ้านำมาอธิบายในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันอาจทำให้เกิดความสับสนโดยนำ "ไทย" กับ "พม่า" ในที่นี้ไปเชื่อมโยงกับความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ได้ และอาจทำให้มองไม่เห็นถึงสภาพของรัฐในสมัยโบราณที่ในอาณาจักรประกอบไปด้วยหลายชนชาติ ยังไม่มีการกำหนดสัญชาติชัดเจน
เข้าใจว่าด้วยสาเหตุนี้ทำให้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันพยายามอธิบายการทำสงครามของรัฐในสมัยโบราณว่าเป็นการรบระหว่างอาณาจักรมากกว่า แต่ก็ทำให้เกิดผลเสียคือทำให้ผู้ศึกษาหลายคนสรุปว่าในสมัยโบราณ ไม่มีไทย ไม่มีพม่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักฐานประวัติศาสตร์ครับ
ถึงกระนั้น การพยายามอธิบายว่าไทยไม่เคยรบกับพม่า (ในกรณีที่ไม่ได้เจาะจงว่า ไทย กับ พม่า ในที่นี้สื่อถึงรัฐชาติสมัยใหม่) ก็ค่อนข้างขัดแย้งกับบริบทของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่บ่งชี้ว่าคนในภูมิภาคนี้มีความรู้เรื่องการจำแนกชาติพันธุ์ (Ethnicity) แล้ว โดยชาติพันธ์ุในมุมมองคนสมัยโบราณไม่ได้จำแนกตามคุณสมบัติทางพันธุกรรม แต่จำแนกตามอัตลักษณ์ที่คนกลุ่มหนึ่งมีร่วมกัน เช่น ภาษา รูปร่างหน้าตา ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ
มีหลักฐานว่าประชากรหลักของสยามในสมัยอยุทธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นรับรู้ (acknowledge) และเรียกตนเองว่า "ไทย" เรียกภาษาของตนว่า "ภาษาไทย" เรียกราชธานีซึ่งมีคนไทยเป็นประชากรหลักว่า "กรุงไทย" หรือ "เมืองไทย" คนที่ใช้ภาษาและวัฒนธรรมเดียวกันในเมืองอื่นก็ถูกเรียกว่า ไทย เช่นเดียวกัน ในประเด็นนี้ ผู้เขียนและสมาชิกท่านอื่นได้เคยนำเสนอหลักฐานจำนวนมากไปในหลายกระทู้แล้ว
ถามผู้รู้ สมัยอยุธยา เรามีคำว่า “ไทย” เรียกแทนทั้งตัวคน/ และอาณาจักรจักร แล้วหรือ?
https://ppantip.com/topic/37451391
"ไทย" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงประชากรทุกกลุ่มในสมัยอยุทธยา แต่เป็นคำเรียกกลุ่มชนชาติเพียงชนชาติหนึ่งที่มีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกันในดินแดนกรุงศรีอยุทธยา โดยเรียกภาษาของตนเองว่าภาษาไทย และเรียกกรุงศรีอยุทธยาซึ่งมีคนที่เรียกว่าไทยเป็นประชากรหลักว่ากรุงไทย ในขณะเดียวกันคนไทยสมัยโบราณก็มีการจำนักกลุ่มคนต่างชาติต่างภาษาที่เรียกว่า ลาว พม่า มอญ เขมร จีน จาม ญวน แขก ฝรั่ง ฯลฯ ซึ่งสามารถอยู่ร่วมในอาณาจักรเดียวกันได้
คนในสมัยโบราณไม่ได้จำแนกความเป็นเชื้อชาติแบบ race หรือ ethno-racial ที่ยึดถือตามลักษณะทางกายภาพและพันธุกรรมเป็นหลัก ชนชาติหนึ่งอาจถูกผสมกลืนจนสามารถกลายเป็นอีกชนชาติหนึ่งได้ ปรากฏในหลักฐานของลา ลูแบร์ กับ แฌร์แวส ระบุตรงกันว่า ประชากรไทยสยามมีการผสมผสานทางสายเลือดกับชาวต่างชาติมาก มีประชากรชาวลาว (หมายถึงล้านนาและล้านช้าง) กับชาวมอญที่ถูกกวาดต้อนจำนวนมากซึ่งกลมกลืนเป็นชนชาติเดียวกับไทยสยามจนยากจะแยกความแตกต่างได้ จนอาจกลายเป็นชาวไทยสยามได้ในที่สุด
ความเป็นชนชาติจึงอาจไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสืบทอดทางพันธุกรรม แต่เป็นการสืบทอดอัตลักษณ์ที่มีจากรุ่นสู่รุ่น คนไทยในปัจจุบันอาจเป็นคนที่รับสืบทอดอัตลักษณ์จินตกรรมเกี่ยวกับความเป็นไทยจากคนไทยในสมัยอยุทธยา โดยที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องทางพันธุกรรมเลย
การรับรู้เรื่องชนชาติในบริบทของคนโบราณแตกต่างกับความเป็น "รัฐชาติ" ในปัจจุบันที่มีข้อบังคับประชากรในประเทศที่ต้องถือสัญชาติ (Nationality) เดียวกัน ซึ่งเพิ่งมาถูกกำหนดอย่างชัดเจนตามนโยบายรัฐนิยมในรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่บังคับให้ประชากรทุกคนในประเทศซึ่งมีหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสัญชาติเป็น "ไทย" ทั้งหมด
การตีความคำว่า ไทย = ชาตินิยม หรือกล่าวว่ากลุ่มชาติพันธุ์ไทยไม่มีอยู่จริงเพราะไทยเกิดจากการผสมผสานของหลายเชื้อชาติ เป็นการวิเคราะห์ที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของประวัติศาสตร์โดยเอามุมมองของคนปัจจุบันไปตัดสินอดีต ดังที่กล่าวไว้แล้วว่ามีหลักฐานการคำว่า "ไทย" ในความหมายถึงกลุ่มชาติพันธุ์มาตั้งแต่โบราณก่อนยุครัฐชาติ และคนในสมัยโบราณไม่ได้มีความรู้เรื่องเชื้อชาติ (race) ตามหลักพันธุกรรมหมือนในปัจจุบันที่จะบอกได้ว่าชาติพันธุ์แต่ละชาติมีความแตกต่างทางพันธุกรรมในระดีบปลีกย่อย ทั้งนี้ก็ไม่มีเชื้อชาติใดในโลกที่เป็นเชื้อชาติบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน
คนไทยสมัยอยุทธยากับคนไทยในประเทศไทยปัจจุบันอาจไม่ใช่ประชากรกลุ่มเดียวกันทั้งหมดตามหลักพันธุกรรม แต่คงไม่สามารถกล่าวได้ว่าไทยสมัยกรุงศรีอยุทธยา ไทยสมัยธนบุรี ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ และประเทศไทยในปัจจุบันไม่มีความเกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิง เพราะเป็นการมองประวัติศาสตร์ที่ "ขาดความต่อเนื่อง" และขัดแย้งกับหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ว่ากรุงรัตนโกสินทร์ได้รับสืบทอดภาษาวัฒนธรรมประเพณีมาจากกรุงศรีอยุทธยาอย่างเห็นได้ชัด ชนชั้นปกครองและประชากรจำนวนมากก็เป็นประชากรในสมัยกรุงศรีอยุทธยา ที่มีสำนึกรับรู้และควาผูกพันว่าได้สืบเชื้อสายมาจากสมัยอยุทธยา มีการเรียกชื่อพระนครว่า "กรุงพระมหานครศรีอยุทธยา" เหมือนกรุงเก่ามาจนถึงรัชกาลที่ ๔ และเรียกพลเมืองที่เป็นประชากรหลักว่า "ไทย"
ในเมื่อกรุงศรีแตกแล้วคนถูกกวาดต้อน บันทึกโดนทำลาย ความรู้พิธีต่างๆ ก็ต้องหายไป แล้วมันกลับมาได้ไงครับ
https://ppantip.com/topic/38836872/
ทำไมปัจจุบันไม่มีการเรียกว่า กรุงเทพมหานครศรีอยุธยา แล้วครับ
https://ppantip.com/topic/39450870/
ถ้าไม่เกี่ยวข้องกันจริง ก็ไม่มีความจำเป็นที่ชนชั้นนำสมัยรัตนโกสินทร์จะต้องแสงความเจ็บแค้นกับการกระทำที่อังวะทำกับกรุงเก่า ดังที่ปรากฏในนิราศเพลงยาวตีเมืองพม่าของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท พระมหาอุปราชในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นชาวกรุงศรีอยุทธยาว่า
มันทำเมืองเราก่อนเท่าใด จะทดแทนมันให้หมดสิ้น
มันจิตต์อหังการ์ทามิฬ จะล้างให้สุดสิ้นอย่าสงกา
การเสร็จสำเร็จลงเมื่อใด ซึ่งคิดไว้ขอให้สมปราถนา
แม้นมิได้ก็ไม่กลับคืนมา จะเห็นเมืองพม่าในครั้งนี้
เกรงกริ่งอยู่แต่ข้างทัพบก จะไม่ยกหักได้ให้ถึงที่
เกลือกมันกั้นตัดทางตี จะตัดที่เสบียงอาหารไว้
ไม่สมคเนให้เรรวน ทำป่วนไม่หักเอามันได้
เท่านี้ดอกที่วิตกใจ จะทำให้เสียการเหมือนทวาย
เมื่อชนะแล้วกลับแพ้ให้แชไป จึงเสียไชยเสียเชิงไม่สมหมาย
พากันหนีแต่ไม่มีอันตราย ถ้าเสียหายอย่างอื่นไม่เปนไร
อันกรุงรัตนอังวะครั้งนี้ฤๅ จักพ้นเนื้อมืออย่าสงไสย
พม่าจะมาเปนข้าไทย จะได้ใช้สร้างกรุงอยุธยา
และชนชั้นปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์ก็ไม่มีความจำเป็นที่กรุงรัตนโกสินทร์จะต้องยกทัพไปตีเมืองพม่าเพื่อกวาดต้อนเชลยกรุงเก่ากลับมา พบหลักฐานคือในสงครามตีเมืองทวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ทรงหวังจะใช้เมืองทวายเป็นฐานในการขยายอำนาจไปพม่าเพื่อกวาดต้อนเชลยอยุทธยากลับมา แต่กรมพระราชวังบวรฯ ทรงเห็นว่ารักษาเมืองทวายไว้ได้ยาก จะขอรื้อกำแพงเมืองแล้วกวาดครัวอพยพกลับ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระพิโรธ ทรงมีหนังสือไปตำหนิกรมพระราชวังบวรฯว่า
"อ้ายพม่ายกมาตีกรุงได้ชาวกรุงแลพี่น้องขึ้นไปไว้ แต่ที่เมืองทวายเมืองเดียวดอกฤา เมืองอังวะแลเมืองอื่น ๆ ไทยชาวกรุงไม่มีฤา ไม่ช่วยเจ็บแค้นขึ้งโกรธบ้างเลย"
สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนให้เห็นถึงสำนึกรับรู้หรือจินตกรรมในเรื่องความผูกพันที่คนสมัยรัตนโกสินทร์มีต่อคนอยุทธยาได้อย่างชัดเจน
การที่บอกว่าทั้งสองอาณาจักรไม่เกี่ยวข้องกันโดยสิ้นเชิงเพียงเพราะต่างอาณาจักรต่างช่วงเวลา เป็นการมองประวัติศาสตร์โดยละเลยความต่อเนื่องรัฐและไม่สามารถอธิบายถึงพัฒนาการทางสังคมที่สืบทอดต่อมาของอยุทธยามาสู่รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะเปลี่ยนชื่อรัฐไม่ก็ตาม แต่ไม่สามารถปฏิเสธหลักฐานความสัมพันธ์ของอยุทธยากับรัตนโกสินทร์ได้ครับ
เช่นเดียวกับคำว่า "พม่า" พบหลักฐานการในงานในหลักฐานลายลักษณ์อักษรมาตั้งแต่สมัยโบราณ และเมื่อเกิดสงครามกัน หลักฐานของไทยก็ใช้คำว่า "พม่า" อย่างชัดเจน จะบอกว่ารบกับใครก็บอกว่ารบกับพม่า แม้ในทางปฏิบัติกองทัพในอาณาจักรของพม่าจะมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ (Polyethnicity) ก็ตาม ยกตัวอย่างในพระราชพงศาวดารฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) สมัยรัชกาลที่ ๑ กล่าวถึงเหตุการณ์ก่อนเสียกรุงเช่น
"ฝ่ายพม่าว่า กรุงศรีอยุธยาแต่ก่อนเคยน้อมนำบรรณาการออกแด่กรุงหงสาวดี แลสืบมาบัดนี้ละบุราณราชประเพณีเสียตั้งแข็งเมืองอยู่จึงได้ยกกองทัพมารบ ครั้นพระยากลาโหมกลับมากราบทูลพระเจ้าแผ่นดิน จึงดำรัสว่า พม่าว่าเอาเปล่าๆ ฝ่ายพะม่าก็ยกมารบค่ายวัดชัยวัฒนาราม ๙ คืนก็แตก"
หรือในนิราศเพลงยาวกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทว่า
อ้ายชาติพม่ามันอาธรรม์ เที่ยวล้างขอบขันฑ์ทุกภารา
แต่ก่อนก็มิให้มีความสุข รบรุกฆ่าฟันเสียหนักหนา
แต่บ้านร้างเมืองเซทั้งวัดวา ยับเยินเปนป่าทุกตำบล
มันไม่คิดบาปกรรมอ้ายลำบาก แต่พลัดพรากจากกันทุกแห่งหน
มันเหล่าอาสัตย์ทรชน ครั้งนี้จะป่นเปนธุลี
เพราะเหตุบาปกรรมมาซ้ำเติม จะพูลเพิ่มให้รยำยับยี่
ด้วยทำนายว่าไว้แต่ก่อนมี เหมือนครั้งมอญไปตีเอานัครา
คือหงส์มาหลงกินน้ำหนอง เหตุต้องเมืองมอญหงสา
ตัวนายอองไจยคือพรานป่า คิดฆ่าหงส์ตายจึงได้ดี
คือพม่ามาตีเอามอญได้ ก็สมในทำนายเปนถ้วนถี่
ยังแต่พยัคฆ์เรืองฤทธี จะกินพรานที่ยิงหงส์ตาย
บัดนี้ก็ถึงแก่กำหนด จะปรากฎโดยเหตุเปนกฎหมาย
ทัพเราเข้าต้องคำทำนาย คือเสือร้ายอันแรงฤทธา
จะไปกินพรานป่าที่ฆ่าหงส์ ให้ปลดปลงม้วยชีพสังขาร์
แล้วมีคำทำนายบุราณมา ว่าพม่าจะสิ้นซึ่งรูปกาย
การรบระหว่างรัฐชาติยังไม่มีในสมัยโบราณ แต่มีการรบระหว่างชนชาติต่างๆ แล้ว สำหรับผมการใช้คำว่า "ไทยรบพม่า" เป็นตัวแทนของประชากรหลักของอาณาจักรนั้นสอดคล้องกับกับบริบทของหลักฐานในสมัยโบราณ แต่ถ้านำมาอธิบายในการศึกษาประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันอาจทำให้เกิดความสับสนโดยนำ "ไทย" กับ "พม่า" ในที่นี้ไปเชื่อมโยงกับความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ได้ และอาจทำให้มองไม่เห็นถึงสภาพของรัฐในสมัยโบราณที่ในอาณาจักรประกอบไปด้วยหลายชนชาติ ยังไม่มีการกำหนดสัญชาติชัดเจน
เข้าใจว่าด้วยสาเหตุนี้ทำให้นักประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบันพยายามอธิบายการทำสงครามของรัฐในสมัยโบราณว่าเป็นการรบระหว่างอาณาจักรมากกว่า แต่ก็ทำให้เกิดผลเสียคือทำให้ผู้ศึกษาหลายคนสรุปว่าในสมัยโบราณ ไม่มีไทย ไม่มีพม่า ซึ่งเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับหลักฐานประวัติศาสตร์ครับ
ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 11
ส่วนประเด็นที่หลายท่านพยายามอธิบายว่าการปกครองในสมัยอยุทธยาเป็นสภาพที่ต่างคนต่างอยู่แยกกันเป็นหลายอาณาจักร เช่น อยุทธยา พิษณุโลก นครศรีธรรมราช ที่ผูกพันเชื่อมโยงกันอย่างหลวมๆ ควรพิจารณาด้วยว่ากรุงศรีอยุทธยามีระยะเวลาการปกครองยาวนานถึงสี่ร้อยกว่าปี รูปแบบการปกครองไม่ได้คงที่แต่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอครับ
ยุคก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาถึงกรุงศรีอยุทธยาตอนต้น รูปแบบการปกครองนั้นมีความใกล้เคียงกับ "นครรัฐ" หรือที่นักประวัติศาสตร์บางคนใช้คำว่า "รัฐแว่นแคว้น" (Chartered States) คือมีรัฐเล็กจำนวนมากที่อยู่ในอาณัติของรัฐใหญ่ เช่น กรุงศรีอยุทธยาเป็นเจ้าอธิราชเหนือรัฐอื่นๆ ที่มีสามนตราชหรือเจ้าขัณสีมาที่มีอำนาจเต็มเป็นผู้ปกครอง เช่น ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง มีสุพรรณภูมิและลพบุรีปกครองโดยสามนตราชที่เป็นพระญาติ ในขณะที่มีพระยาประเทศราช ๑๖ เมืองคือ เมืองมะละกา เมืองชะวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจตร เมืองกำแพงเพ็ชร เมืองนครสวรรค์ ขึ้นด้วย
ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) ทรงสถาปนาสมเด็จพระนครอินทร์พระราชโอรสเป็นพระเจ้ากรุงยโสธรครองกรุงกัมพูชา พระราชโอรสอีกองค์ปกครองเมืองแพรกศรีราชา ในเวลาเดียวกันหัวเมืองฝ่ายเหนือ ๔ เมืองคือ พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยขึ้นกับกรุงศรีอยุทธยาอีกต่อหนึ่ง
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองโดยดึงอำนาจเข้ามาสู่ราชธานีมากขึ้น ดังที่กฎมณเฑียรบาลกล่าวถึงการจัดประเภทเมืองขึ้นเป็น "เมืองประเทศราช" ที่อยู่รอบนอกกับ "เมืองพญามหานคร" ที่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ๘ เมือง คือเมืองพิษณุโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย แม้พบว่าพญามหานครในช่วงแรกยังมีอำนาจมากและมักเป็น "อนุวงศ์ราชวงศ์" แต่มาจากการแต่งตั้งของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ไม่ได้สืบตระกูลโดยอัตโนมัติเหมือนอย่างประเทศราชในอดีต
ในจดหมายเหตุ Suma Oriental ของ โตเม่ ปิรึช (Tomé Pires) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์ใน พ.ศ. ๒๐๕๕ – ๒๐๕๘ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) ระบุว่าเมืองพญานครเหล่านี้มีอำนาจมากคือมีฐานะเทียบเท่า อุปราช (viceroy) แบบตะวันตก ได้แก่ ออกญากำแพงเพชรเป็นอุปราชดูแลหัวเมืองแถบเมืองมอญและกัมพูชา รับผิดชอบทำสงครามกับพม่าและเชียงใหม่ มีอำนาจในดินแดนของตนเหมือนกษัตริย์องค์หนึ่ง อุปราชคนที่สองคือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งถูกเรียกว่า "พ่ออยู่หัว" (Poyohya) มีอำนาจปกครองหัวเมืองตั้งแต่ปะหังขึ้นมาถึงอยุทธยา อุปราชคนที่สามคือออกญาสุโขทัย ดูแลหัวเมืองทางตะนาวศรี ตรัง และเกดะห์
กฎมณเฑียรบาลยังกำหนดสถานะของเมืองพิษณุโลก สวรรคโลก และกำแพงเพชรเป็น "เมืองลูกหลวง" แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุทธยาพยายามแทรกแซงการปกครองหัวเมืองเหนือด้วยการส่งเชื้อสายราชวงศ์ของตนเองไปปกครองเมืองแทน ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าในเวลาต่อมาเมืองพิษณุโลกจึงกลายเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชจากกรุงศรีอยุทธยาหลายพระองค์
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถยังทรงจัดตำแหน่งข้าราชการและระบบการปกครองหัวเมืองใหม่ คือการบัญญัติพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมือง โดยมีตำแหน่งเจ้าเมือง ผู้รั้งเมืองที่ส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งโดยตรง ไม่ได้เป็นระบบกึ่งนครรัฐที่มีกษัตริย์สืบตระกูลแบบในอดีต ทำให้ราชสำนักส่วนกลางเข้าไปมีอำนาจควบคุมหัวเมืองโดยตรง แม้ว่าในช่วงแรกพญามหานครยังมีอำนาจมาก แต่กรุงศรีอยุทธยาก็ค่อยๆ พัฒนาจากสภาพ "รัฐแว่นแคว้น" มาเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่ราชธานีสามารถแผ่ขยายอำนาจผนวกดินแดนที่เคยเป็นนครรัฐต่างๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจภายใต้การควบคุมโดยตรงได้
สภาพ "รัฐราชอาณาจักร" นั้นเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนหลังช่วงเสียกรุง พ.ศ. ๒๑๑๒ เป็นต้นมา ที่ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์พระร่วงจบสิ้นลง มีการถ่ายเทประชากรจากหัวเมืองเหนือขึ้นมาอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น ทำให้ส่วนกลางสามารถควบคุมกำลังพลได้สะดวกขึ้น เมื่อมีการฟื้นฟูหัวเมืองฝ่ายเหนือที่ถูกทิ้งร้างไปก็สามารถตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองโดยตรง ทำให้การปกครองมีเอกภาพมากขึ้น ผ่านมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ปรากฏการตั้งพระราชวงศ์ให้ปกครองหัวเมืองแบบมีอำนาจเต็มอีกแล้ว
สมัยอยุทธยาตอนปลาย การปกครองหัวเมืองถูกควบคุมโดยราชธานีอย่างใกล้ชิดมากขึ้น มีการแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายใต้ และหัวเมืองชายทะเลให้อัครมหาเสนาบดีในกรุงรับผิดชอบดูแล มียกกระบัตรเมืองที่เป็นผู้ตรวจราชการเมืองที่กรมวังแต่งตั้ง สามารถใช้ตราเสนาบดีกระทรวงต่างๆ สั่งการหัวเมืองเรียกเก็บภาษีอากรส่วยบรรณาการสำหรับราชการ เรียกเกณฑ์ไพร่พล เรียกคู่ความพิจารณาอรรถคดี ราชสำนักมีการออกกฎหมายหรือพระราชกำหนดต่างๆ ในการควบคุมหัวเมืองหลายอย่าง เช่น การห้ามเจ้าเมืองไปมาหาสู่กันเองเพื่อป้องกันการซ่องสุมอำนาจ ห้ามเจ้าเมืองเข้ากรุงหากไม่มีท้องตราเรียกหา มีกฎระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษสำหรับเจ้าเมืองที่คิดกบฏหลายประการ เรียกได้ว่ากรุงศรีอยุทธยาตอนปลายพัฒนาการปกครองเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่มีเอกภาพค่อนข้างชัดเจนแล้ว ซึ่งเป็นสภาพการปกครองที่ถูกส่งต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ถึงกระนั้นการเป็น "รัฐราชอาณาจักร" แบบโบราณนั้นก็ไม่ใช่ความหมายเดียวกับความเป็น "รัฐชาติ" (Nation state) แบบยุคปัจจุบัน ประชากรนั้นยังไม่ได้มีสำนักรับรู้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแนวคิดเรื่อง "ชาติ" ในสมัยหลัง แต่มักมีความใกล้ชิดกับมูลนายที่ปกครองตนมากกว่า ยิ่งเป็นหัวเมืองที่ห่างไกลราชธานี แม้จะอยู่ในการปกครองของกรุงศรีอยุทธยาแต่ก็ใช่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในยามปกติสมัยอยุทธยาตอนปลายนั้นโอกาสที่หัวเมืองจะแยกตนเป็นอิสระนั้นน้อย เพราะหัวเมืองถูกควบคุมจากส่วนกลางค่อนข้างเข้มงวด ทำให้หัวเมืองขาดเสถียรภาพ ไม่สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนหรือซ่องสุมกำลังแยกตนเป็นอิสระได้
แต่ถ้าเป็นยามที่บ้านเมืองไม่ปกติเช่นมีศึกสงครามจนทำให้ราชธานีที่เป็นรัฐบาลกลางไม่มีประสิทธิภาพจะควบคุมหัวเมืองได้ ก็อาจเกิดภาวะการแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าได้แบบในช่วงเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ ที่มีหลักฐานว่าหลายเมืองเริ่มแยกตนเป็นอิสระตั้งแต่กรุงศรีอยุทธยายังไม่ถูกตีแตกแล้ว
ยุคก่อนสถาปนากรุงศรีอยุทธยาถึงกรุงศรีอยุทธยาตอนต้น รูปแบบการปกครองนั้นมีความใกล้เคียงกับ "นครรัฐ" หรือที่นักประวัติศาสตร์บางคนใช้คำว่า "รัฐแว่นแคว้น" (Chartered States) คือมีรัฐเล็กจำนวนมากที่อยู่ในอาณัติของรัฐใหญ่ เช่น กรุงศรีอยุทธยาเป็นเจ้าอธิราชเหนือรัฐอื่นๆ ที่มีสามนตราชหรือเจ้าขัณสีมาที่มีอำนาจเต็มเป็นผู้ปกครอง เช่น ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีอู่ทอง มีสุพรรณภูมิและลพบุรีปกครองโดยสามนตราชที่เป็นพระญาติ ในขณะที่มีพระยาประเทศราช ๑๖ เมืองคือ เมืองมะละกา เมืองชะวา เมืองตะนาวศรี เมืองนครศรีธรรมราช เมืองทะวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลำเลิง เมืองสงขลา เมืองจันทบูร เมืองพิษณุโลก เมืองสุโขทัย เมืองพิชัย เมืองสวรรคโลก เมืองพิจตร เมืองกำแพงเพ็ชร เมืองนครสวรรค์ ขึ้นด้วย
ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระญา) ทรงสถาปนาสมเด็จพระนครอินทร์พระราชโอรสเป็นพระเจ้ากรุงยโสธรครองกรุงกัมพูชา พระราชโอรสอีกองค์ปกครองเมืองแพรกศรีราชา ในเวลาเดียวกันหัวเมืองฝ่ายเหนือ ๔ เมืองคือ พิษณุโลก สุโขทัย สวรรคโลก กำแพงเพชร มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองโดยขึ้นกับกรุงศรีอยุทธยาอีกต่อหนึ่ง
ตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถเริ่มมีการปฏิรูปการปกครองหัวเมืองโดยดึงอำนาจเข้ามาสู่ราชธานีมากขึ้น ดังที่กฎมณเฑียรบาลกล่าวถึงการจัดประเภทเมืองขึ้นเป็น "เมืองประเทศราช" ที่อยู่รอบนอกกับ "เมืองพญามหานคร" ที่ต้องถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ๘ เมือง คือเมืองพิษณุโลก เมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย เมืองกำแพงเพชร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองนครราชสีมา เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย แม้พบว่าพญามหานครในช่วงแรกยังมีอำนาจมากและมักเป็น "อนุวงศ์ราชวงศ์" แต่มาจากการแต่งตั้งของพระเจ้ากรุงศรีอยุทธยา ไม่ได้สืบตระกูลโดยอัตโนมัติเหมือนอย่างประเทศราชในอดีต
ในจดหมายเหตุ Suma Oriental ของ โตเม่ ปิรึช (Tomé Pires) นักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่เดินทางเข้ามายังภูมิภาคอุษาคเนย์ใน พ.ศ. ๒๐๕๕ – ๒๐๕๘ รัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดี (เชษฐาธิราช) ระบุว่าเมืองพญานครเหล่านี้มีอำนาจมากคือมีฐานะเทียบเท่า อุปราช (viceroy) แบบตะวันตก ได้แก่ ออกญากำแพงเพชรเป็นอุปราชดูแลหัวเมืองแถบเมืองมอญและกัมพูชา รับผิดชอบทำสงครามกับพม่าและเชียงใหม่ มีอำนาจในดินแดนของตนเหมือนกษัตริย์องค์หนึ่ง อุปราชคนที่สองคือเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งถูกเรียกว่า "พ่ออยู่หัว" (Poyohya) มีอำนาจปกครองหัวเมืองตั้งแต่ปะหังขึ้นมาถึงอยุทธยา อุปราชคนที่สามคือออกญาสุโขทัย ดูแลหัวเมืองทางตะนาวศรี ตรัง และเกดะห์
กฎมณเฑียรบาลยังกำหนดสถานะของเมืองพิษณุโลก สวรรคโลก และกำแพงเพชรเป็น "เมืองลูกหลวง" แสดงให้เห็นว่ากรุงศรีอยุทธยาพยายามแทรกแซงการปกครองหัวเมืองเหนือด้วยการส่งเชื้อสายราชวงศ์ของตนเองไปปกครองเมืองแทน ด้วยเหตุนี้จึงพบว่าในเวลาต่อมาเมืองพิษณุโลกจึงกลายเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราชจากกรุงศรีอยุทธยาหลายพระองค์
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถยังทรงจัดตำแหน่งข้าราชการและระบบการปกครองหัวเมืองใหม่ คือการบัญญัติพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและนาทหารหัวเมือง โดยมีตำแหน่งเจ้าเมือง ผู้รั้งเมืองที่ส่วนกลางเป็นผู้แต่งตั้งโดยตรง ไม่ได้เป็นระบบกึ่งนครรัฐที่มีกษัตริย์สืบตระกูลแบบในอดีต ทำให้ราชสำนักส่วนกลางเข้าไปมีอำนาจควบคุมหัวเมืองโดยตรง แม้ว่าในช่วงแรกพญามหานครยังมีอำนาจมาก แต่กรุงศรีอยุทธยาก็ค่อยๆ พัฒนาจากสภาพ "รัฐแว่นแคว้น" มาเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่ราชธานีสามารถแผ่ขยายอำนาจผนวกดินแดนที่เคยเป็นนครรัฐต่างๆ เข้ามาอยู่ในอำนาจภายใต้การควบคุมโดยตรงได้
สภาพ "รัฐราชอาณาจักร" นั้นเริ่มเป็นรูปเป็นร่างชัดเจนหลังช่วงเสียกรุง พ.ศ. ๒๑๑๒ เป็นต้นมา ที่ความขัดแย้งระหว่างราชวงศ์สุพรรณภูมิและราชวงศ์พระร่วงจบสิ้นลง มีการถ่ายเทประชากรจากหัวเมืองเหนือขึ้นมาอยู่ที่บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามากขึ้น ทำให้ส่วนกลางสามารถควบคุมกำลังพลได้สะดวกขึ้น เมื่อมีการฟื้นฟูหัวเมืองฝ่ายเหนือที่ถูกทิ้งร้างไปก็สามารถตั้งขุนนางจากส่วนกลางไปปกครองโดยตรง ทำให้การปกครองมีเอกภาพมากขึ้น ผ่านมาจนถึงรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองและสมเด็จพระนารายณ์ก็ไม่ปรากฏการตั้งพระราชวงศ์ให้ปกครองหัวเมืองแบบมีอำนาจเต็มอีกแล้ว
สมัยอยุทธยาตอนปลาย การปกครองหัวเมืองถูกควบคุมโดยราชธานีอย่างใกล้ชิดมากขึ้น มีการแบ่งหัวเมืองฝ่ายเหนือ หัวเมืองฝ่ายใต้ และหัวเมืองชายทะเลให้อัครมหาเสนาบดีในกรุงรับผิดชอบดูแล มียกกระบัตรเมืองที่เป็นผู้ตรวจราชการเมืองที่กรมวังแต่งตั้ง สามารถใช้ตราเสนาบดีกระทรวงต่างๆ สั่งการหัวเมืองเรียกเก็บภาษีอากรส่วยบรรณาการสำหรับราชการ เรียกเกณฑ์ไพร่พล เรียกคู่ความพิจารณาอรรถคดี ราชสำนักมีการออกกฎหมายหรือพระราชกำหนดต่างๆ ในการควบคุมหัวเมืองหลายอย่าง เช่น การห้ามเจ้าเมืองไปมาหาสู่กันเองเพื่อป้องกันการซ่องสุมอำนาจ ห้ามเจ้าเมืองเข้ากรุงหากไม่มีท้องตราเรียกหา มีกฎระเบียบข้อบังคับและบทลงโทษสำหรับเจ้าเมืองที่คิดกบฏหลายประการ เรียกได้ว่ากรุงศรีอยุทธยาตอนปลายพัฒนาการปกครองเป็น "รัฐราชอาณาจักร" ที่มีเอกภาพค่อนข้างชัดเจนแล้ว ซึ่งเป็นสภาพการปกครองที่ถูกส่งต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ถึงกระนั้นการเป็น "รัฐราชอาณาจักร" แบบโบราณนั้นก็ไม่ใช่ความหมายเดียวกับความเป็น "รัฐชาติ" (Nation state) แบบยุคปัจจุบัน ประชากรนั้นยังไม่ได้มีสำนักรับรู้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันตามแนวคิดเรื่อง "ชาติ" ในสมัยหลัง แต่มักมีความใกล้ชิดกับมูลนายที่ปกครองตนมากกว่า ยิ่งเป็นหัวเมืองที่ห่างไกลราชธานี แม้จะอยู่ในการปกครองของกรุงศรีอยุทธยาแต่ก็ใช่ว่าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ในยามปกติสมัยอยุทธยาตอนปลายนั้นโอกาสที่หัวเมืองจะแยกตนเป็นอิสระนั้นน้อย เพราะหัวเมืองถูกควบคุมจากส่วนกลางค่อนข้างเข้มงวด ทำให้หัวเมืองขาดเสถียรภาพ ไม่สามารถรวมตัวเป็นกลุ่มก้อนหรือซ่องสุมกำลังแยกตนเป็นอิสระได้
แต่ถ้าเป็นยามที่บ้านเมืองไม่ปกติเช่นมีศึกสงครามจนทำให้ราชธานีที่เป็นรัฐบาลกลางไม่มีประสิทธิภาพจะควบคุมหัวเมืองได้ ก็อาจเกิดภาวะการแยกเป็นก๊กเป็นเหล่าได้แบบในช่วงเสียกรุง พ.ศ. ๒๓๑๐ ที่มีหลักฐานว่าหลายเมืองเริ่มแยกตนเป็นอิสระตั้งแต่กรุงศรีอยุทธยายังไม่ถูกตีแตกแล้ว
แสดงความคิดเห็น
ทำไมนักวิชาการบางท่านบอกว่าสงครามสมัยอยุธยา ไม่ถือเป็นสงครามไทยรบพม่าคับ
แต่ความเห็นผม ไทยเราก็สืบเนื่องมาจากอยุธยานั่นแหละ แค่เปลี่ยนชื่ออาณาจักรแค่นั้นเอง คนที่ก็ตั้งกรุงธนบุรี กรุงรัตนโกสินทร์ ก็เป็นคนที่มาจากอาณาจักรอยุธยานั่นแหละ แค่ย้ายเมืองหลวงมาที่ใหม่
หากเราไม่นับว่าอยุธยาคือไทย แล้วจุดเริ่มต้นของประเทศไทย ความเป็นไทย จะเริ่มที่จุดไหนคับ