องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) เผยแพร่ภาพดวงอาทิตย์ที่ใช้เทคนิคเร่งเวลา หรือ ไทม์แลปส์ ซึ่งบันทึกได้จากยานสังเกตการณ์สุริยพลวัต (Solar Dynamics Observatory - SDO) ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมาภายใน 61 นาทีเท่านั้น
ช่วงหนึ่งทศวรรษที่ผ่านมาที่ยาน SDO บันทึกภาพของดวงอาทิตย์ไว้ได้ถึง 425 ล้านภาพ โดยนักวิทยาศาสตร์ได้นำข้อมูลที่ได้มาใช้ศึกษาว่าดวงอาทิตย์ส่งผลต่อระบบสุริยะอย่างไร ข้อมูลจากเว็บไซต์สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ระบุว่า องค์การนาซาส่งยาน SDO ขึ้นสู่อวกาศเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2010 เพื่อบันทึกภาพและสังเกตการณ์ชั้นบรรยากาศ สนามแม่เหล็ก รวมทั้งพลังงานที่ปล่อยออกมาจากดวงอาทิตย์ และค้นพบเรื่องราวที่น่าสนใจ 10 เรื่อง
วิดีโอนี้เกิดขึ้นจากการนำภาพนิ่งที่ยานสังเกตการณ์สุริยพลวัต (Solar Dynamics Observatory หรือ SDO) ได้บันทึกต่อเนื่องตลอด 10 ปีที่ผ่านมา มาเรียงต่อกันเป็นภาพเคลื่อนไหว แสดงให้เห็นวัฏจักรของดวงอาทิตย์ ที่มีทั้งช่วงกิจกรรมบนผิวดาว (การปะทุ ลุกจ้า การเกิดเปลวสุริยะ ฯลฯ) มากและน้อยแตกต่างกันไปตามช่วงเวลา ซึ่งนับว่าเป็นข้อมูลอันทรงคุณค่าที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ค้นพบอะไรใหม่ ๆ นับไม่ถ้วน
สำหรับยานสังเกตการณ์สุริยพลวัต (SDO) ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกเพื่อสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ปี 2553 โดยจะเก็บภาพดวงอาทิตย์ทุก ๆ 0.75 วินาที จากการบันทึกภาพที่มีความละเอียดสูง และยานจะยังคงสังเกตการณ์ต่อเนื่องอีกหลายปี เพื่อเก็บข้อมูลมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับดาวฤกษ์ของเราดวงนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ
1. การลุกจ้าอันแสนประหลาด (Fantastic Flares)
ในปีแรกของการปฏิบัติภารกิจ ยาน SDO พบการลุกจ้าที่น่าประหลาดบนดวงอาทิตย์เกือบ 200 ครั้ง และ 15% ของจำนวนการลุกจ้าที่พบทั้งหมด มีการลุกจ้าชุดที่สองอยู่ในเปลวไฟเดิมตามมาหลังจากเริ่มเกิดการลุกจ้าตั้งแต่ไม่กี่นาทีจนถึงไม่กี่ชั่วโมง ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ทำให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจเกี่ยวกับปริมาณของพลังงานที่ดวงอาทิตย์ปลดปล่อยออกมาจากการปะทุแต่ละครั้ง
(Cr.ภาพ tiedetuubi.fi)
2. พายุทอร์นาโดบนดวงอาทิตย์ (Solar Tornadoes)
เมื่อเดือน ก.พ. ปี 2012 ยาน SDO บันทึกภาพเปลวพลาสมาที่มีลักษณะคล้ายกับพายุทอร์นาโดบนพื้นผิวดวงอาทิตย์ เกิดจากสนามแม่เหล็กที่ส่งผลให้พลาสมาหมุนวนเหนือพื้นผิวดวงอาทิตย์ด้วยอัตราเร็วสูงถึง 300,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง นับเป็นทอร์นาโดที่รุนแรงมากเมื่อเทียบกับพายุทอร์นาโดบนโลกที่หมุนด้วยอัตราเร็วเพียง 500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
(Cr.ภาพ thunderbolts.info )
3. คลื่นยักษ์ (Giant Waves)
ในปี 2010 ยาน SDO เป็นยานลำแรกที่ค้นพบคลื่นยักษ์ที่เคลื่อนที่รอบดวงอาทิตย์ด้วยความเร็ว 480,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง คลื่นนี้ถูกตั้งชื่อว่า EIT ตามชื่อของอุปกรณ์ที่ตรวจวัดบนยาน ชื่อว่า Extreme ultraviolet Imaging Telescope (EIT) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์คาดว่าคลื่นยักษ์นี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปลดปล่อยมวลโคโรนาของดวงอาทิตย์
(Cr.ภาพ nasa.gov)
4. ดาวหางที่ลุกไหม้ (Combustible Comets)
หลายปีที่ผ่านมา ยาน SDO เฝ้าสังเกตดาวหาง 2 ดวงที่ชื่อว่า Lovejoy และ ISON ในเดือน ธ.ค. 2011 ดาวหาง Lovejoy โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ และสามารถทนต่อความร้อนแรงได้ ต่อมาในปี 2013 ดาวหาง ISON โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ แต่ไม่สามารถทนความร้อนได้ จากการสำรวจนี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจปฏิกิริยาที่ดวงอาทิตย์กระทำกับดาวหางมากยิ่งขึ้น
(Cr.ภาพ astronomy.stackexchange.com )
5. การไหลเวียนบนดวงอาทิตย์ (Global Circulation)
ดวงอาทิตย์ไม่ได้มีพื้นผิวที่แข็ง แต่เป็นพลาสมาความร้อนสูงที่ไหลเวียนตามการหมุนรอบตัวเอง บริเวณศูนย์สูตรมีลักษณะการไหลเวียนขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า Meridional circulation การสังเกตการณ์ของ SDO เผยให้เห็นว่า การไหลเวียนนี้มีความซับซ้อนมาก และยังเชื่อมโยงกับจุดมืดบนดวงอาทิตย์ (sunspot) ด้วย ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์อธิบายได้ว่า เหตุใดบางช่วงเวลาจุดบนดวงอาทิตย์ซีกหนึ่งจึงมีจำนวนมากกว่าอีกซีกหนึ่ง
(Cr.ภาพ rctopnews.net)
6. ทำนายอนาคต (Predicting the Future)
การปลดปล่อยมวลจากบรรยากาศชั้นโคโรนา (Coronal Mass Ejection - CME) ของดวงอาทิตย์ เป็นอันตรายต่อยานอวกาศและนักบินอวกาศ ด้วยข้อมูลที่ได้จากยาน SDO นักวิทยาศาสตร์ของนาซาจึงสามารถสร้างแบบจำลองเส้นทางของ CME เพื่อทำนายผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับโลก และทำนายว่าดวงอาทิตย์จะปล่อยมวลออกมาอีกเมื่อใดได้
(Cr.ภาพ worldatlas.com)
7. โคโรนาที่หรี่ลง (Coronal Dimmings)
นักวิทยาศาสตร์ศึกษาชั้นบรรยากาศที่ร้อนที่สุดของดวงอาทิตย์ หรือ "โคโรนา" พบว่าบางช่วงเวลา ชั้นดังกล่าวมีความสว่างน้อยลง และมีความเชื่อมโยงกับ CME นักวิทยาศาสตร์ใช้ข้อมูลที่ได้จากยาน SDO มาวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อคำนวณหามวลและความเร็วของ CME ที่พุ่งมาสู่โลก และหวังว่าจะสามารถใช้ในการอธิบายสภาพอวกาศในของระบบดาวฤกษ์ดวงอื่นได้
(Cr.ภาพ cfa.harvard.edu)
8. การเกิดและจบลงของวัฏจักรสุริยะ (Death and Birth of a Solar Cycle)
จากการสังเกตการณ์มาหนึ่งทศวรรษ ทำให้ SDO เห็นวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์เกือบสมบูรณ์ การสังเกตการณ์นี้ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจสัญญาณที่บ่งชี้ถึงการจบลงของวัฏจักรสุริยะ และการเริ่มวัฏจักรใหม่ในครั้งถัดไป
(Cr.ภาพ inspirehep.net)
9. หลุมโคโรนา (Polar Coronal Holes)
บางช่วงเวลาพื้นผิวของดวงอาทิตย์จะดูเหมือนถูกแปะด้วยแผ่นสีดำขนาดใหญ่ที่เรียกว่า "หลุมโคโรนา" หลุมเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับวัฏจักร 11 ปีของดวงอาทิตย์ ในช่วง solar maximum หลุมโคโรนาจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วย สำหรับหลุมที่ก่อตัวขึ้นบริเวณขั้วของดวงอาทิตย์จะเรียกว่า polar coronal hole นักวิทยาศาสตร์ใช้หลุมเหล่านี้ในการตรวจสอบว่าสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์จะกลับด้านเมื่อใด ซึ่งเป็นข้อบ่งชี้สำคัญในการระบุจุดที่เป็น solar maximum
(Cr.ภาพ spaceflight.nasa.gov)
10. การปะทุแบบใหม่จากสนามแม่เหล็ก (New Magnetic Explosions)
การสังเกตการณ์ของยาน SDO ในช่วงท้ายของทศวรรษ คือ เดือน ธ.ค. 2019 ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์พบการปะทุของสนามแม่เหล็ก ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่เคยพบมาก่อน การค้นพบครั้งนี้ช่วยยืนยันทฤษฎีเก่าเกี่ยวกับสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ และช่วยให้นักวิทยาศาสตร์เข้าใจถึงกลไกที่ทำให้ชั้นบรรยากาศของดวงอาทิตย์มีความร้อนสูง และทำนายสภาพอวกาศได้ดีขึ้น นำไปสู่ความก้าวหน้าในการทดลองเรื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันและพลาสมาในห้องปฏิบัติการ
(Cr.ภาพ express.co.uk)
Solar Dynamics Observatory - SDO
SDO เป็นภารกิจเครือข่ายการวิจัยสภาพอากาศในอวกาศแห่งแรกของ NASA ในโครงการ Living With a Star การวัดระยะยาวของยานอวกาศจะให้ข้อมูลเชิงลึกแก่นักวิทยาศาสตร์พลังงานแสงอาทิตย์ว่าการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์เกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไม
SDO ได้รับการออกแบบมาเพื่อศึกษาโครงสร้างบรรยากาศสุริยะและสนามแม่เหล็กตั้งแต่การเกิดขึ้นที่พื้นผิวจนถึงโคโรนาโดยใช้ชุดของระบบถ่ายภาพในรังสี UV และ UV ที่รุนแรงและแสงที่มองเห็นได้รวมถึงการทำแผนที่แม่เหล็กโดยใช้เอฟเฟกต์ Zeeman เปิดตัวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เข้าสู่วงโคจรแบบ geosynchronous เน้นที่ผลการถ่ายภาพความละเอียดสูงในอัตราข้อมูล 140Mbps
การค้นพบที่น่าสนใจของดวงอาทิตย์ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา
สำหรับยานสังเกตการณ์สุริยพลวัต (SDO) ถูกส่งขึ้นไปโคจรรอบโลกเพื่อสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์ ตั้งแต่ปี 2553 โดยจะเก็บภาพดวงอาทิตย์ทุก ๆ 0.75 วินาที จากการบันทึกภาพที่มีความละเอียดสูง และยานจะยังคงสังเกตการณ์ต่อเนื่องอีกหลายปี เพื่อเก็บข้อมูลมาให้นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับดาวฤกษ์ของเราดวงนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ
(Cr.ภาพ express.co.uk)
SDO ได้รับการออกแบบมาเพื่อศึกษาโครงสร้างบรรยากาศสุริยะและสนามแม่เหล็กตั้งแต่การเกิดขึ้นที่พื้นผิวจนถึงโคโรนาโดยใช้ชุดของระบบถ่ายภาพในรังสี UV และ UV ที่รุนแรงและแสงที่มองเห็นได้รวมถึงการทำแผนที่แม่เหล็กโดยใช้เอฟเฟกต์ Zeeman เปิดตัวเมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 เข้าสู่วงโคจรแบบ geosynchronous เน้นที่ผลการถ่ายภาพความละเอียดสูงในอัตราข้อมูล 140Mbps
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)