ตอนที่ 1 ชำเเหละรัฐธรรมนูญอันไม่เป็นประชาธิปไตยฉบับเเรกของสยาม
โดย "คณะราษฎร" ที่ไม่ใช่ราษฎรโดยเเท้จริง
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1
พระราชบัญญัติธรรมณูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ชั่วคราว) พ.ศ.2475
(ที่มา) เกิดจากคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วย "ข้าราชการ สายทหารบก ทหารเรือ เเละพลเรือน" ( เป็นกลุ่มคนไม่ได้เกิดจากการสรรหาโดยประชาชนอย่างเเท้จริง เป็นคณาธิปไตย oligachy เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน : ศิวัช )
จำนวน 99 นาย โดยมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าฝ่ายทหารบก , นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือ
และ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษมนูธรรม (ปรีดีย์ พนมยงค์) เป็นหัวหน้าสายพลเรือน ได้ร่วมยึดอำนาจเปลี่ยนแปงการปกครองประเทศจาก
สมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monachy) เป็นระบอบประชาธิปไตย-
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (constitutional monachy ; ราชาธิปไตย)
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นำทูลเกล้าฯ ในหลวง ร.7 เเละประกาศใช้
ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475
(สาระสำคัญ) สภามี สภาเดียว คือ "สภาผู้แทนราษฎร" มีอํานาจออกกฎหมายควบคุมการบริหารประเทศ และ มีอํานาจถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 นี้
สภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจมากกว่าสถาบันทางการเมืองอื่นๆทั้งหมด
สำหรับที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญบัญญัติให้แบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ
สมัยที่ 1 วาระแรกให้ "คณะราษฎร" ซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อํานาจแทนจัดตั้ง ผู้แทนราษฎรชั่วคราว ขึ้นเป็นจํานวน 70 คนเป็น
สมาชิกในสภา
สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ หรือ
จนกว่าจะจัดตั้งประเทศเป็นปกติเรียบร้อย ให้จัดการเลือกตั้ง โดยมี
สมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ให้มีสมาชิกผู้เเทนราษฎรจังหวัดละ 1 คน ถ้าจังหวัดใหนมีราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้เลือกเพิ่มอีก 1 คน
สมาชิกประเภทที่ 2 ได้เเก่สมาชิกที่มีอยู่เเล้วในสมัยที่ 1 70 คน (เเต่งตั้ง)
เเละต้องมีจำนวนเท่ากัสมาชิกประเภทที่ 1 ถ้าจำนวนเกินให้ "เลือกกันเอง"
ว่าผู้ใดจะคงเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าเป็นจำนวนขาดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่เลือกผู้อื่นใดมาจนครบ
สมัยที่ 3 เมื่อจํานวนราษฎรทั่วประเทศสอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจํานวนเกินกว่าครึ่งและอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี สมาชิกในสภาจะ
ต้องเป็นผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 เป็นอันหมดไปการเลือกตั้งให้เลือกตั้ง "ทางอ้อม"
** หมายเหตุ ** รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้ประกาศใช้งานเป็นเวลา 5 เดือน เเละได้ประกาศให้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 (ถาวร) ขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2475
( " ซึ่งใจความสำคัญหมายความว่า สมาชิกสภาผู้เเทนที่มาจากการเเต่งตั้ง 70 คนโดย คณะราษฎร ยังเป็นผู้เเต่งตั้ง คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ซึ่งนับว่ารัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ มีที่มามาจากการเเต่งตั้งโดยกลุ่มคนมิใช่มาจากผู้เเทนราษฎรโดยเเท้จริง ทำให้รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเลย " ; โดย ศิวัช )
โปรดติดตามตอนต่อไปกับการชำเเหละรัฐธรรมนูญอันไม่เป็นประชาธิปไตยฉบับที่ 2 ของประเทศสยามโดย "คณะราษฎร" ที่ไม่ใช่ราษฎรอันเเท้จริง
อ้างอิง :
https://library2.parliament.go.th/museum/content/doc05.pdf
http://wiki.kpi.ac.th/images/2/28/พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พุทธศักราช_2475.PDF
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4104922252911160&id=100001802784213
ตอนที่ 1 ชำเเหละรัฐธรรมนูญอันไม่เป็นประชาธิปไตยฉบับเเรกของสยาม โดย "คณะราษฎร" ที่ไม่ใช่ราษฎรโดยเเท้จริง
โดย "คณะราษฎร" ที่ไม่ใช่ราษฎรโดยเเท้จริง
รัฐธรรมนูญฉบับที่ 1
พระราชบัญญัติธรรมณูญการปกครองแผ่นดินสยาม (ชั่วคราว) พ.ศ.2475
(ที่มา) เกิดจากคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วย "ข้าราชการ สายทหารบก ทหารเรือ เเละพลเรือน" ( เป็นกลุ่มคนไม่ได้เกิดจากการสรรหาโดยประชาชนอย่างเเท้จริง เป็นคณาธิปไตย oligachy เป็นการปกครองโดยกลุ่มคน : ศิวัช )
จำนวน 99 นาย โดยมีนายพันเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าฝ่ายทหารบก , นายนาวาตรี หลวงสินธุสงครามชัย เป็นหัวหน้าฝ่ายทหารเรือ
และ อำมาตย์ตรี หลวงประดิษมนูธรรม (ปรีดีย์ พนมยงค์) เป็นหัวหน้าสายพลเรือน ได้ร่วมยึดอำนาจเปลี่ยนแปงการปกครองประเทศจาก
สมบูรณาญาสิทธิราช (absolute monachy) เป็นระบอบประชาธิปไตย-
อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (constitutional monachy ; ราชาธิปไตย)
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 นำทูลเกล้าฯ ในหลวง ร.7 เเละประกาศใช้
ในวันที่ 27 มิถุนายน 2475
(สาระสำคัญ) สภามี สภาเดียว คือ "สภาผู้แทนราษฎร" มีอํานาจออกกฎหมายควบคุมการบริหารประเทศ และ มีอํานาจถอดถอนกรรมการราษฎรหรือพนักงานรัฐบาลผู้หนึ่งผู้ใดก็ได้ตามรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 นี้
สภาผู้แทนราษฎรมีอํานาจมากกว่าสถาบันทางการเมืองอื่นๆทั้งหมด
สำหรับที่มาของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรรัฐธรรมนูญบัญญัติให้แบ่งออกเป็น 3 สมัย คือ
สมัยที่ 1 วาระแรกให้ "คณะราษฎร" ซึ่งมีคณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อํานาจแทนจัดตั้ง ผู้แทนราษฎรชั่วคราว ขึ้นเป็นจํานวน 70 คนเป็น
สมาชิกในสภา
สมัยที่ 2 ภายในเวลา 6 เดือน ภายหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ หรือ
จนกว่าจะจัดตั้งประเทศเป็นปกติเรียบร้อย ให้จัดการเลือกตั้ง โดยมี
สมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภทที่ 1 ให้มีสมาชิกผู้เเทนราษฎรจังหวัดละ 1 คน ถ้าจังหวัดใหนมีราษฎรเกินกว่า 100,000 คน ให้เลือกเพิ่มอีก 1 คน
สมาชิกประเภทที่ 2 ได้เเก่สมาชิกที่มีอยู่เเล้วในสมัยที่ 1 70 คน (เเต่งตั้ง)
เเละต้องมีจำนวนเท่ากัสมาชิกประเภทที่ 1 ถ้าจำนวนเกินให้ "เลือกกันเอง"
ว่าผู้ใดจะคงเป็นสมาชิกต่อไป ถ้าเป็นจำนวนขาดให้ผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่เลือกผู้อื่นใดมาจนครบ
สมัยที่ 3 เมื่อจํานวนราษฎรทั่วประเทศสอบไล่วิชาประถมศึกษาได้เป็นจํานวนเกินกว่าครึ่งและอย่างช้าต้องไม่เกิน 10 ปี สมาชิกในสภาจะ
ต้องเป็นผู้ที่ราษฎรเลือกตั้งขึ้นเองทั้งสิ้นและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภท 2 เป็นอันหมดไปการเลือกตั้งให้เลือกตั้ง "ทางอ้อม"
** หมายเหตุ ** รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ได้ประกาศใช้งานเป็นเวลา 5 เดือน เเละได้ประกาศให้ร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ 2 (ถาวร) ขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2475
( " ซึ่งใจความสำคัญหมายความว่า สมาชิกสภาผู้เเทนที่มาจากการเเต่งตั้ง 70 คนโดย คณะราษฎร ยังเป็นผู้เเต่งตั้ง คณะอนุกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ ซึ่งนับว่ารัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ มีที่มามาจากการเเต่งตั้งโดยกลุ่มคนมิใช่มาจากผู้เเทนราษฎรโดยเเท้จริง ทำให้รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับไม่มีความเป็นประชาธิปไตยเลย " ; โดย ศิวัช )
โปรดติดตามตอนต่อไปกับการชำเเหละรัฐธรรมนูญอันไม่เป็นประชาธิปไตยฉบับที่ 2 ของประเทศสยามโดย "คณะราษฎร" ที่ไม่ใช่ราษฎรอันเเท้จริง
อ้างอิง : https://library2.parliament.go.th/museum/content/doc05.pdf
http://wiki.kpi.ac.th/images/2/28/พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว_พุทธศักราช_2475.PDF
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=4104922252911160&id=100001802784213