อ่านในกระทู้ของ
สมาชิกหมายเลข 3109030 ในชื่อกระทู้ ช่วง19th ทำไมเบลเยียมชาติที่พึ่งเกิดปี คศ 1830 ถึงได้มีอาณานิคมคองโกได้คับ?
https://ppantip.com/topic/35144641
ความคิดเห็นที่ 3 ของคุณ
HotChoc
กษัตริย์ลีโอโปลที่สองของเบลเยียมวางแผนหลายชั้นเพื่อให้ได้คองโกมาครับ ตอนแรกตั้งสมาคมค้นคว้าและสำรวจดินแดนแถบนั้นขึ้นมาก่อน บุกเบิกในเชิงวิทยาศาสตร์และการสำรวจ จากนั้นก็ตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อนำความเจริญไปสู่คองโก สัญญาว่าจะจัดการกับพวกค้าทาสในคองโก แล้วก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศให้ชาติมหาอำนาจอื่นยอมรับสิทธิในการดูแลคองโกของลีโอโปล มีการประชุมกันที่เบอร์ลิน ชาติที่พอจะมีเอี่ยวกับพื้นที่แถบนั้นก็คือโปรตุเกสกับฝรั่งเศส ซึ่งทั้งคู่ก็ก้ำๆ กึ่งๆ ว่าจะเอาคองโกไหม ชาติอื่นอย่างอังกฤษก็ไม่อยากได้เพราะคิดว่าไม่คุ้มการลงทุนแต่ก็ไม่อยากให้ฝรั่งเศสได้ (คองโกอยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่อาฟริกา เข้าถึงลำบาก โรคภัยเยอะ ไม่มีใครรู้ว่าจะมีทรัพยากรอะไรด้วย) สุดท้ายลีโอโปลก็แบ่งพื้นที่บางส่วนของคองโกให้ทั้งฝรั่งเศสและโปรตุเกสเท่าๆ กัน (แต่ส่วนของลีโอโปลเยอะกว่ามาก) ทุกประเทศก็เลยยอมรับว่าถ้าลีโอโปลจะดูแลคองโกผ่านองค์กรการกุศลนั้นเองก็ได้ แต่ห้ามเอาไปรวมกับเบลเยียม นั่นหมายความว่าคองโกกลายเป็นอาณานิคมส่วนตัวของลีโอโปลครับ
ลีโอโปลปกครองคองโกเองมีอาณานิคมสมใจ การจัดการตอนแรกก็ไปได้ดี เศรษฐกิจของคองโกขึ้นกับยางกับงาช้างนะครับ แต่พอมียางเริ่มมีราคาในตลาดโลกเพราะนำไปใช้กับเครื่องมือทางไฟฟ้าและเครื่องจักรได้ ลีโอโปลก็เริ่มกดขี่คนคองโกมากขึ้น บังคับใช้เป็นแรงงานทาสให้ปลูกยางให้ กำหนดโควต้าเลยว่าแต่ละคนต้องส่งยางให้เท่าไหร่ มีการตั้งกลุ่มติดอาวุธคอยบังคับและสร้างความหวาดกลัวต่อชาวคองโก ละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกด้านครับ และมีการปิดข่าวและสร้างข่าวเท็จในยุโรปด้วย
แต่ในที่สุดก็มีคนรู้จนได้ ตอนแรกเป็นพวกกัปตันเรือสินค้าที่สังเกตเห็นความผิดปกติ แล้วนักข่าวก็คุ้ยข่าวต่อ พอเริ่มปิดไม่อยู่ประชาชนได้ข่าวลือมากขึ้น อังกฤษเลยตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวน พอผลการสอบสวนออกมาก็เลยมีแรงกดดันจากประชาชนทั้งอังกฤษทั้งเบลเยียมให้แก้ปัญหา โดยยุบองค์กรต่างๆ ของลีโอโปลและยกเลิกไม่ให้คองโกเป็นอาณานิคมส่วนตัว มีการเรียกประชุมชาติมหาอำนาจอีกครั้ง แต่ไม่มีประเทศไหนอยากเข้ามารับหน้าที่ดูแลคองโกต่อเพื่อแก้ปัญหา สุดท้ายก็เป็นเบลเยียมที่ต้องรับไปครับ
ในประวัติศาสตร์ยุโรป มี กษัตริย์ คนไหนที่ได้ขึ้นชื่อว่าโหดร้ายบ้างครับ
ความคิดเห็นที่ 3 ของคุณ HotChoc
กษัตริย์ลีโอโปลที่สองของเบลเยียมวางแผนหลายชั้นเพื่อให้ได้คองโกมาครับ ตอนแรกตั้งสมาคมค้นคว้าและสำรวจดินแดนแถบนั้นขึ้นมาก่อน บุกเบิกในเชิงวิทยาศาสตร์และการสำรวจ จากนั้นก็ตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนเพื่อนำความเจริญไปสู่คองโก สัญญาว่าจะจัดการกับพวกค้าทาสในคองโก แล้วก็ดำเนินนโยบายต่างประเทศให้ชาติมหาอำนาจอื่นยอมรับสิทธิในการดูแลคองโกของลีโอโปล มีการประชุมกันที่เบอร์ลิน ชาติที่พอจะมีเอี่ยวกับพื้นที่แถบนั้นก็คือโปรตุเกสกับฝรั่งเศส ซึ่งทั้งคู่ก็ก้ำๆ กึ่งๆ ว่าจะเอาคองโกไหม ชาติอื่นอย่างอังกฤษก็ไม่อยากได้เพราะคิดว่าไม่คุ้มการลงทุนแต่ก็ไม่อยากให้ฝรั่งเศสได้ (คองโกอยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่อาฟริกา เข้าถึงลำบาก โรคภัยเยอะ ไม่มีใครรู้ว่าจะมีทรัพยากรอะไรด้วย) สุดท้ายลีโอโปลก็แบ่งพื้นที่บางส่วนของคองโกให้ทั้งฝรั่งเศสและโปรตุเกสเท่าๆ กัน (แต่ส่วนของลีโอโปลเยอะกว่ามาก) ทุกประเทศก็เลยยอมรับว่าถ้าลีโอโปลจะดูแลคองโกผ่านองค์กรการกุศลนั้นเองก็ได้ แต่ห้ามเอาไปรวมกับเบลเยียม นั่นหมายความว่าคองโกกลายเป็นอาณานิคมส่วนตัวของลีโอโปลครับ
ลีโอโปลปกครองคองโกเองมีอาณานิคมสมใจ การจัดการตอนแรกก็ไปได้ดี เศรษฐกิจของคองโกขึ้นกับยางกับงาช้างนะครับ แต่พอมียางเริ่มมีราคาในตลาดโลกเพราะนำไปใช้กับเครื่องมือทางไฟฟ้าและเครื่องจักรได้ ลีโอโปลก็เริ่มกดขี่คนคองโกมากขึ้น บังคับใช้เป็นแรงงานทาสให้ปลูกยางให้ กำหนดโควต้าเลยว่าแต่ละคนต้องส่งยางให้เท่าไหร่ มีการตั้งกลุ่มติดอาวุธคอยบังคับและสร้างความหวาดกลัวต่อชาวคองโก ละเมิดสิทธิมนุษยชนในทุกด้านครับ และมีการปิดข่าวและสร้างข่าวเท็จในยุโรปด้วย
แต่ในที่สุดก็มีคนรู้จนได้ ตอนแรกเป็นพวกกัปตันเรือสินค้าที่สังเกตเห็นความผิดปกติ แล้วนักข่าวก็คุ้ยข่าวต่อ พอเริ่มปิดไม่อยู่ประชาชนได้ข่าวลือมากขึ้น อังกฤษเลยตั้งกรรมการขึ้นมาสอบสวน พอผลการสอบสวนออกมาก็เลยมีแรงกดดันจากประชาชนทั้งอังกฤษทั้งเบลเยียมให้แก้ปัญหา โดยยุบองค์กรต่างๆ ของลีโอโปลและยกเลิกไม่ให้คองโกเป็นอาณานิคมส่วนตัว มีการเรียกประชุมชาติมหาอำนาจอีกครั้ง แต่ไม่มีประเทศไหนอยากเข้ามารับหน้าที่ดูแลคองโกต่อเพื่อแก้ปัญหา สุดท้ายก็เป็นเบลเยียมที่ต้องรับไปครับ