ศบค.แถลงพบผู้ป่วย‘โควิด’ใหม่ 3 ราย นำเข้าจาก 2 ประเทศ
วันจันทร์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 11.43 น.
3 สิงหาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 ราย ในสถานที่กักตัวของรัฐ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,320 ราย หายป่วยสะสม 3,142 ราย ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 120 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงที่ 58 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่เดินทางจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง และชายไทยอายุ 43 ปี พนักงานขับรถ ถึงไทยวันที่ 29 ก.ค. เข้าพักในสถานที่กักตัวของรัฐ จ.ชลบุรี ตรวจพบเชื้อวันที่ 1 ส.ค. ไม่มีอาการ
อีก 1 รายเดินทางกลับจากอินเดีย เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 19 ปี ถึงไทยวันที่ 30 ก.ค. เข้าพักในสถานที่กักตัวของรัฐในกรุงเทพฯ ตรวจพบเชื้อวันที่ 1ส.ค. ไม่มีอาการ
สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรวม 18,234,936 ราย รักษาหายแล้ว 11,444,149 ราย เสียชีวิต 692,794 ราย
อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณคนไทยที่กลับมายังประเทศไทย และเข้าสู่สถานที่กักตัวของรัฐ ประมาณ 6 หมื่นกว่าคนที่เราได้ดูแล และกลับไปสู่ครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบเชื้อโควิด-19 ส่วนที่พบเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาจนหลายคนหายเป็นปกติ นี่คือน้ำใจของคนไทยที่ไม่ทิ้งกัน แต่ยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่อยากกลับมา ตอนนี้เราพยายามกันอย่างเต็มที่
https://www.naewna.com/local/509259
หมอ ยง ย้ำ โควิด 19 สายพันธุ์ G โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น แต่ติดง่ายมาก
หมอ ยง ภู่วรวรรณ ย้ำ โควิด 19 สายพันธุ์ G เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน ติดง่าย แพร่เชื้อเร็ว แต่โรคไม่ได้รุนแรงขึ้นกว่าสายพันธุ์ก่อน ๆ วัคซีนที่ผลิตกันอยู่ สามารถป้องกันได้
ล่าสุดวันนี้ (3 สิงหาคม 2563) หมอ ยง ก็ได้โพสต์ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ G ต่างจากสายพันธุ์ก่อน ๆ อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน พร้อมย้ำว่า สายพันธุ์ G โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น
โดยหมอ ยง เผยว่า โควิด 19 สายพันธุ์ G มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน จากเดิมคือ Aspartate (D) ในตำแหน่งที่ 614 ของ spike โปรตีน หรือเรียกว่า D614 ไปเป็น Glycine เรียกว่า G614 คือกรดอะมิโน
ของ spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมา ในตำแหน่งที่ 614 จากสายพันธุ์เดิม ถ้าตรวจพบว่าเป็น Glycine ก็จะเรียกว่า G type
การเปลี่ยนกรดอะมิโนตัวเดียว ไม่ได้ทำให้รูปร่างของโปรตีน spike เปลี่ยนแปลงไป แต่การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนี้ มีผลทำให้ปลดปล่อยไวรัส หรือแพร่กระจายไวรัสออกมาได้มากขึ้น
พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น แต่มีการแพร่กระจายเชื้อได้มากขึ้น ทำให้ไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปได้มากกว่า ตามหลักวิวัฒนาการ จึงเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้น สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้น้อยกว่า ก็จะถูกเบียดบังให้น้อยลงไป
ทั้งนี้ ระบบภูมิต้านทานของโปรตีนใน spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมา เป็นส่วนที่กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทาน รูปร่างไม่ได้เปลี่ยนแปลง ภูมิต้านทานจากวัคซีนที่ผลิตกันอยู่ ก็สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็น type ไหนของไวรัส
https://covid-19.kapook.com/view229413.html
เวียดนามยอมรับโควิดที่ดานัง "วิกฤติกว่าครั้งแรก"
ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในเวียดนามสะสมเพิ่มเป็นอย่างน้อย 6 คน ขณะที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์ครั้งนี้ "แตกต่างและรุนแรงกว่า" การระบาดเมื่อช่วงต้นปีนี้มาก
ทั้งนี้ ผู้ป่วยคนดังกล่าวได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา หลังจากนั้นอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตเมื่อช่วงเย็นของวันอาทิตย์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น อนึ่ง การเสียชีวิตของผู้ป่วยรายนี้หมายความว่าเวียดนามมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากถึง 3 คนเฉพาะเมื่อวันอาทิตย์ เริ่มจาก "ผู้ป่วยคนที่ 524" เป็นหญิงอายุ 86 ปี ชาวจังหวัดกว๋างนาม สถานที่ตั้งของเมืองฮอยอัน และหญิงอายุ 82 ปี "ผู้ป่วยคนที่ 475" โดยผู้เสียชีวิตทุกคนล้วนมีโรคประจำตัวหลายอาการ
ขณะเดียวกัน แถลงการณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับสถิติผู้ป่วยสะสม ว่าเพิ่มเป็นอย่างน้อย 621 คน รักษาหายแล้ว 373 คน และคงเหลือผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษา 242 คน ด้านนพ.เหวียน ทัญ ลอง รมว.กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม กล่าวในช่วงหนึ่งของการแถลงเมื่อวันอาทิตย์ ว่าการสอบสวนหา "แหล่งต้นตอแท้จริง" ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเมืองดานัง ซึ่งพบผู้ติดเชื้อในชุมชนเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกในรอบ 99 วันนั้น "ยังเป็นเรื่องยาก" เพราะผลการสอบสวนโรคบ่งชี้ว่าผุ้ป่วยได้รับเชื้อจากสถานที่หลายแห่ง
อ่านต่อที่ :
https://www.dailynews.co.th/foreign/787907
WHO ย้ำ "โควิด-19" คือวิกฤติสาธารณสุขครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี
คณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเป็นครั้งที่ 4 ว่า การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสที่เป็นสาเหตุของ โควิด-19 ถือเป็นความฉุกเฉินด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่ทั่วโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศในการควบคุมการระบาด
คณะกรรมการของ WHO เริ่มประกาศว่า โควิด-19คือความฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ในช่วงที่มีผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนไม่ถึง 100 ราย
และอีกหกเดือนต่อมา WHO ยังคงยืนยันสถานะเดิมของการระบาดครั้งนี้ ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงมากกว่า 17 ล้านคน เสียชีวิตแล้วกว่า 750,000 คน
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส กล่าวว่า "การระบาดครั้งนี้คือวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายสิบปีจากนี้" และว่า "หลายประเทศที่คิดว่าผ่านวิกฤตินี้ไปแล้ว กลับพบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง"
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกือบ 40 คน ร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอออนไลน์เพื่อจัดทำคำแนะนำสำหรับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในการรับมือกับการระบาด โดยปัจจัยสำคัญคือการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาวัคซีนและคิดค้นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อและการเดินทางระหว่างประเทศ
นายเทดรอส เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีวัคซีนและวิธีรักษาโควิด-19 ที่ได้ผลและปลอดภัย แต่ก็เตือนประชาชนว่าอย่าตั้งความหวังไว้สูงเกินไปในเรื่องนี้ และควรที่จะเรียนรู้ในการใช้ชีวิตท่ามกลางการระบาดของไวรัสชนิดนี้เช่นกัน
คณะกรรมการฉุกเฉินของ WHO ยืนยันว่า การตรวจหาเชื้อ การติดตามตรวจสอบผู้ติดเชื้อ การเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือ และการสวมหน้ากาก คือเครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
https://www.sanook.com/news/8222158/
วิกฤตทางสาธารณสุขครั้งนี้กระทบไปทุกเรื่อง
แต่ไทยยังดีที่รับมือไว้ได้
ทำให้เรื่องร้ายคลายไปเป็นเบาลง
ด้วยความร่วมมือร่วมกันทุกภาคส่วน
น่าปลื้มที่สุดค่ะ
🐥🐥มาลาริน/3.ส.ค.ไทยพบโควิดใหม่ 2 ราย มาจากตปท. นพ.ยงชี้โควิด สายG ติดง่าย แพร่เร็ว เวียตนามวิกฤต WHO ย้ำหนักรอบ 100 ปี
วันจันทร์ ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2563, 11.43 น.
3 สิงหาคม 2563 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้น 3 ราย ในสถานที่กักตัวของรัฐ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,320 ราย หายป่วยสะสม 3,142 ราย ผู้ป่วยรักษาในโรงพยาบาล 120 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงที่ 58 ราย
สำหรับผู้ป่วยรายใหม่เดินทางจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 2 ราย เป็นหญิงไทย อายุ 26 ปี อาชีพรับจ้าง และชายไทยอายุ 43 ปี พนักงานขับรถ ถึงไทยวันที่ 29 ก.ค. เข้าพักในสถานที่กักตัวของรัฐ จ.ชลบุรี ตรวจพบเชื้อวันที่ 1 ส.ค. ไม่มีอาการ
อีก 1 รายเดินทางกลับจากอินเดีย เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 19 ปี ถึงไทยวันที่ 30 ก.ค. เข้าพักในสถานที่กักตัวของรัฐในกรุงเทพฯ ตรวจพบเชื้อวันที่ 1ส.ค. ไม่มีอาการ
สำหรับสถานการณ์ทั่วโลก ยอดผู้ติดเชื้อรวม 18,234,936 ราย รักษาหายแล้ว 11,444,149 ราย เสียชีวิต 692,794 ราย
อย่างไรก็ตาม ต้องขอบคุณคนไทยที่กลับมายังประเทศไทย และเข้าสู่สถานที่กักตัวของรัฐ ประมาณ 6 หมื่นกว่าคนที่เราได้ดูแล และกลับไปสู่ครอบครัว ซึ่งส่วนใหญ่ไม่พบเชื้อโควิด-19 ส่วนที่พบเชื้อโควิด-19 เข้ารับการรักษาจนหลายคนหายเป็นปกติ นี่คือน้ำใจของคนไทยที่ไม่ทิ้งกัน แต่ยังมีคนไทยอีกจำนวนมากที่อยากกลับมา ตอนนี้เราพยายามกันอย่างเต็มที่
https://www.naewna.com/local/509259
หมอ ยง ย้ำ โควิด 19 สายพันธุ์ G โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น แต่ติดง่ายมาก
หมอ ยง ภู่วรวรรณ ย้ำ โควิด 19 สายพันธุ์ G เป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน ติดง่าย แพร่เชื้อเร็ว แต่โรคไม่ได้รุนแรงขึ้นกว่าสายพันธุ์ก่อน ๆ วัคซีนที่ผลิตกันอยู่ สามารถป้องกันได้
ล่าสุดวันนี้ (3 สิงหาคม 2563) หมอ ยง ก็ได้โพสต์ข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ G ต่างจากสายพันธุ์ก่อน ๆ อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงมากน้อยแค่ไหน พร้อมย้ำว่า สายพันธุ์ G โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น
โดยหมอ ยง เผยว่า โควิด 19 สายพันธุ์ G มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโน จากเดิมคือ Aspartate (D) ในตำแหน่งที่ 614 ของ spike โปรตีน หรือเรียกว่า D614 ไปเป็น Glycine เรียกว่า G614 คือกรดอะมิโน
ของ spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมา ในตำแหน่งที่ 614 จากสายพันธุ์เดิม ถ้าตรวจพบว่าเป็น Glycine ก็จะเรียกว่า G type
การเปลี่ยนกรดอะมิโนตัวเดียว ไม่ได้ทำให้รูปร่างของโปรตีน spike เปลี่ยนแปลงไป แต่การเปลี่ยนแปลงในตำแหน่งนี้ มีผลทำให้ปลดปล่อยไวรัส หรือแพร่กระจายไวรัสออกมาได้มากขึ้น
พบว่าผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์นี้ โรคไม่ได้รุนแรงขึ้น แต่มีการแพร่กระจายเชื้อได้มากขึ้น ทำให้ไวรัสสายพันธุ์นี้แพร่กระจายไปได้มากกว่า ตามหลักวิวัฒนาการ จึงเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุดในปัจจุบัน ดังนั้น สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้น้อยกว่า ก็จะถูกเบียดบังให้น้อยลงไป
ทั้งนี้ ระบบภูมิต้านทานของโปรตีนใน spike หรือหนามแหลมที่ยื่นออกมา เป็นส่วนที่กระตุ้นให้สร้างภูมิต้านทาน รูปร่างไม่ได้เปลี่ยนแปลง ภูมิต้านทานจากวัคซีนที่ผลิตกันอยู่ ก็สามารถป้องกันได้ ไม่ว่าจะเป็น type ไหนของไวรัส
https://covid-19.kapook.com/view229413.html
เวียดนามยอมรับโควิดที่ดานัง "วิกฤติกว่าครั้งแรก"
ผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในเวียดนามสะสมเพิ่มเป็นอย่างน้อย 6 คน ขณะที่รัฐบาลประเมินสถานการณ์ครั้งนี้ "แตกต่างและรุนแรงกว่า" การระบาดเมื่อช่วงต้นปีนี้มาก
ทั้งนี้ ผู้ป่วยคนดังกล่าวได้รับการยืนยันว่าติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา หลังจากนั้นอาการทรุดลงอย่างรวดเร็ว จนระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตเมื่อช่วงเย็นของวันอาทิตย์ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น อนึ่ง การเสียชีวิตของผู้ป่วยรายนี้หมายความว่าเวียดนามมีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 มากถึง 3 คนเฉพาะเมื่อวันอาทิตย์ เริ่มจาก "ผู้ป่วยคนที่ 524" เป็นหญิงอายุ 86 ปี ชาวจังหวัดกว๋างนาม สถานที่ตั้งของเมืองฮอยอัน และหญิงอายุ 82 ปี "ผู้ป่วยคนที่ 475" โดยผู้เสียชีวิตทุกคนล้วนมีโรคประจำตัวหลายอาการ
ขณะเดียวกัน แถลงการณ์ให้ข้อมูลเพิ่มเกี่ยวกับสถิติผู้ป่วยสะสม ว่าเพิ่มเป็นอย่างน้อย 621 คน รักษาหายแล้ว 373 คน และคงเหลือผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษา 242 คน ด้านนพ.เหวียน ทัญ ลอง รมว.กระทรวงสาธารณสุขของเวียดนาม กล่าวในช่วงหนึ่งของการแถลงเมื่อวันอาทิตย์ ว่าการสอบสวนหา "แหล่งต้นตอแท้จริง" ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ในเมืองดานัง ซึ่งพบผู้ติดเชื้อในชุมชนเมื่อวันที่ 25 ก.ค. ที่ผ่านมา เป็นครั้งแรกในรอบ 99 วันนั้น "ยังเป็นเรื่องยาก" เพราะผลการสอบสวนโรคบ่งชี้ว่าผุ้ป่วยได้รับเชื้อจากสถานที่หลายแห่ง
อ่านต่อที่ : https://www.dailynews.co.th/foreign/787907
WHO ย้ำ "โควิด-19" คือวิกฤติสาธารณสุขครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี
คณะกรรมการฉุกเฉินขององค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศเป็นครั้งที่ 4 ว่า การระบาดใหญ่ของโคโรนาไวรัสที่เป็นสาเหตุของ โควิด-19 ถือเป็นความฉุกเฉินด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่ทั่วโลก ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือของทุกประเทศในการควบคุมการระบาด
คณะกรรมการของ WHO เริ่มประกาศว่า โควิด-19คือความฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ เมื่อวันที่ 30 มกราคม ในช่วงที่มีผู้ติดเชื้อนอกประเทศจีนไม่ถึง 100 ราย
และอีกหกเดือนต่อมา WHO ยังคงยืนยันสถานะเดิมของการระบาดครั้งนี้ ในขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อทั่วโลกพุ่งสูงมากกว่า 17 ล้านคน เสียชีวิตแล้วกว่า 750,000 คน
ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก เทดรอส อัดฮานอม เกเบรเยซุส กล่าวว่า "การระบาดครั้งนี้คือวิกฤติด้านสาธารณสุขครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปอีกหลายสิบปีจากนี้" และว่า "หลายประเทศที่คิดว่าผ่านวิกฤตินี้ไปแล้ว กลับพบกับจำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นอีกครั้ง"
ผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขเกือบ 40 คน ร่วมประชุมผ่านระบบวิดีโอออนไลน์เพื่อจัดทำคำแนะนำสำหรับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในการรับมือกับการระบาด โดยปัจจัยสำคัญคือการร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาวัคซีนและคิดค้นวิธีรักษาที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการแบ่งปันข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวกับผู้ติดเชื้อและการเดินทางระหว่างประเทศ
นายเทดรอส เน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีวัคซีนและวิธีรักษาโควิด-19 ที่ได้ผลและปลอดภัย แต่ก็เตือนประชาชนว่าอย่าตั้งความหวังไว้สูงเกินไปในเรื่องนี้ และควรที่จะเรียนรู้ในการใช้ชีวิตท่ามกลางการระบาดของไวรัสชนิดนี้เช่นกัน
คณะกรรมการฉุกเฉินของ WHO ยืนยันว่า การตรวจหาเชื้อ การติดตามตรวจสอบผู้ติดเชื้อ การเว้นระยะห่างทางสังคม การล้างมือ และการสวมหน้ากาก คือเครื่องมือและวิธีการที่ดีที่สุดเท่าที่มีอยู่สำหรับการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19
https://www.sanook.com/news/8222158/
วิกฤตทางสาธารณสุขครั้งนี้กระทบไปทุกเรื่อง
แต่ไทยยังดีที่รับมือไว้ได้
ทำให้เรื่องร้ายคลายไปเป็นเบาลง
ด้วยความร่วมมือร่วมกันทุกภาคส่วน
น่าปลื้มที่สุดค่ะ