พุทธศาสนาที่ชาวมลายูเคยนับถือ เป็นแบบไหนกัน?

ปัจจุบัน อย่างที่ทราบกันดีว่า ชาวมลายูนั้น เป็นชนชาติมุสลิมนิกายซุนนี และมีความเคร่งศาสนาในระดับหนึ่ง ทั้งยังรับวัฒนธรรมอาหรับมาอย่างเข้มข้น
โดยในประวัติศาสตร์ มีการระบุไว้ว่า ชาวมลายูเคยนับถือพระพุทธศาสนา ก่อนที่จะหันมานับถือศาสนาอิสลาม จากพ่อค้าชาวอาหรับที่มาค้าขายแถวนี้
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้รับศาสนาอิสลาม เชื่อว่าเพราะวิทยการความรู้ และความเชื่อทางศาสนาที่อาจจะตอบโจทย์เจ้าเมืองได้มากกว่าพระพุทธศาสนา
คำถามที่หลายๆ คนคิดก็คือ พระพุทธศาสนาของชาวมลายู เป็นแบบไหน และวัฒนธรรมมลายูจะไปทางใดหากยังนับถือพระพุทธศาสนากันจนถึงวันนี้
ที่สำคัญที่สุดเลยก็คือ ประวัติศาสตร์ของชนชาติมลายูและชนชาติอื่นๆ ในโลกมลายูจะไปทางใด หากไม่มีการเผยแพร่ศาสนาเกิดขึ้นในโลกมลายูนี้

ก่อนอื่น ต้องระบุก่อนว่า พุทธศาสนาของชาวมลายูนั้น เป็นพุทธศาสนานิกายมหายาน และเป็นมหายานที่ไม่ได้เจือปนวัฒนธรรมแบบจีนหรือทิเบตเลย
เชื่อกันว่า ชาวมลายูในยุคก่อน นับถือพุทธศาสนาควบคู่ไปกับฮินดูและความเชื่อพื้นเมืองเก่า คล้ายๆ กับพุทธ-พราหมณ์-ผี ของชนชาติ ไทย-ลาว นี้
เพียงแต่ว่า พุทธศาสนาของคนไทยนั้น เป็นนิกายเถรวาท ซึ่งทำให้การนับถือพราหมณ์และผีควบคู่ไปด้วยนั้น เป็นไปอย่างอ่อนโยนขึ้นในระดับหนึ่ง
ส่วนพุทธศาสนานิกายมหายานของชาวมลายู เชื่อกันว่าอยู่ในระดับควบคู่กับศาสนาฮินดูโดยตรงและมีอิทธิพลของลัทธิตันตระด้วย จึงแตกต่างออกไป
ซึ่งหากจะเทียบให้คล้ายคลึงที่สุด ก็คงคล้ายกับพุทธศาสนาของพม่าดั้งเดิมในยุคก่อนที่เถรวาทมอญจะมีบทบาทปรับปรุงความเชื่อชาวพม่าให้ดีขึ้น

พุทธศาสนาดั้งเดิมของพม่านั้น เชื่อกันว่าเป็นนิกายมหายานปนกับตันตระ และยิ่งผสมกับความเชื้อพื้นเมืองด้วย จึงทำให้ออกไปในทางลึกลับมากขึ้น
มีเรื่องเล่ากันว่า นักบวชมักเป็นที่ศรัทธาของชาวบ้าน แต่มักจะทำอุตริหลายๆ อย่างขัดกับความเชื่อพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบันที่ชาวพม่ายึดถือกัน
ในเวลาต่อมา เมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อ เข้าตีอาณาจักรมอญได้สำเร็จ จึงอัญเชิญและชำระพระพุทธศาสนาให้มีความบริสุทธิ์มากขึ้นกว่าที่เคยเป็นอยู่
ในกรณีของมลายูนั้นอาจคล้ายๆ กัน เพียงแต่เชื่อกันว่า จริงๆ แล้วชาวมลายู อาจจะรับนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในช่วงเวลาต่อมาแล้วก็ได้
เนื่องจากว่าศูนย์กลางของพุทธศาสนาเถรวาทในแดนใต้นั้น อยู่ในเมืองตามพรลิงค์หรือนครศรีธรรมราช ซึ่งต่อมาก็ได้เผยแพร่ไปยังกรุงสุโขทัยด้วย

ทั้งนี้ทั้งนั้น ในช่วงที่ศาสนาอิสลามเผยแพร่นั้น ยังมีการตั้งคำถามว่าเหตุใดเมืองมลายูที่อยู่ทางตอนเหนืออย่างตามพรลิงค์จึงไม่ได้รับศาสนาอิสลาม
ข้อสันนิษฐานแรกก็คือ ตามพรลิงค์ ร้างไปก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเข้ามาเผยแพร่ที่นี้ และไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับอาณาจักรที่อยู่ทางตอนใต้อีก
อีกข้อก็คือ เพราะชาวมลายูที่เป็นพุทธเถรวาทนั้นได้กลายเป็นคนไทยไปหมดแล้ว หลังจากที่มีการอพยพจากทางตอนเหนืออย่างสุโขทัยและอยุธยา
กรณีที่เจ้าเมืองมลายูรับนับถือศาสนาอิสลาม เชื่อกันว่าอาจจะคล้ายกับพม่าที่ไม่ต้องการเจือปนกับไสยศาสตร์หรือความเชื่อที่ดูจะนอกรีตมากเกินไป
เพียงแต่อาจจะเลือกนับถือศาสนาอิสลามแทน ซึ่งมีความบริสุทธิ์มากกว่า และดูน่าเลื่อมใสมากกว่าพุทธศาสนาแบบมหายานที่เคยนับถือกันแต่ก่อน

อย่างไรก็ตาม อีกข้อสงสัยหนึ่งก็คือ ถ้าหากพระพุทธศาสนาเคยนับถือกันจริงในโลกมลายู เหตุใดเกาะบาหลีจึงเลือกนับถือศาสนาฮินดูมากกว่าพุทธ
เหตุผลที่เป็นไปได้ก็คือ เพราะแท้จริงบาหลีนั้นก็คือชาวมัชปาหิตที่หนีการรุกรานของศาสนาอิสลาม แต่เรื่องพุทธศาสนาของชวา ยังค่อนข้างลึกลับ
อย่างไรก็ตาม ชาวบาหลีเอง มีความเชื่อทางศาสนาฮินดูที่เป็นของตัวเอง มีเทพเจ้าเป็นของตัวเองนอกเหนือจากพระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ
ด้วยความเชื่อทางศาสนาฮินดูที่เข้มข้นมาหลายร้อยปี ทั้งยังไม่มีดินแดนอื่นใกล้เคียงที่นับถือฮินดูแล้ว (ขณะที่ชาวตังกัร์ก็แยกขาดโลกด้วยเช่นกัน)
จึงอาจจะเป็นไปได้ว่า ความเชื่อทางพุทธศาสนาของเกาะบาหลีนั้นค่อยๆ หายไปเมื่อความเชื่อทางศาสนาฮินดูได้ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงร้อยปีที่ผ่านมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่