เริ่มต้นอ่านงบการเงินง่ายนิดเดียว ตอนงบแสดงฐานะทางการเงิน(2)



กลับมาต่อกันตอนที่2 กับงบแสดงฐานะทางการเงิน จากตอนที่แล้วนั้นอธิบายถึงภาพรวมของงบฯไปแล้ว วันนี้เราจะมาดูส่วนประกอบต่างๆในงบกันครับ
 
ตอนเดิมคลิกที่นี่ https://ppantip.com/topic/40092017


ประเภทของสินทรัพย์จะแบ่งเป็นสินทรัพย์หมุนเวียนและสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน
โดยความหมายของสินทรัพย์หมุนเวียนก็คือสินทรัพย์ที่สามารถแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ไว เช่น
 เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด
 ลูกหนี้การค้า (เป็นลูกหนี้หมุนเวียน ที่มีกำหนดชำระภายใน1ปี)
 สินค้าคงเหลือ (สินค้าที่ผลิตเสร็จแล้วพร้อมขายรวมถึงวัตถุดิบ วัสดุที่ใช้ผลิต)
 เงินลงทุนชั่วคราว 
 เป็นต้น


ส่วนสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือสินทรัพย์ถาวรหมายถึงสินทรัพย์ที่มีอายุใช้งานมากกว่า1ปี 
และตรงกันข้ามกับสินทรัพย์หมุนเวียนในแง่การแปลงสภาพเป็นเงินสดนั่นคือแปลงสภาพเป็นเงินสดได้ช้ากว่าหรือมีกำหนดที่จะได้รับเงินช้ากว่า  เช่น
ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์
ทรัพย์สินไม่มีตัวตน เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์
สิทธิการใช้สินทรัพย์ (เช่าระยะยาวมา)
 ลูกหนี้การค้า(เป็นลูกหนี้ไม่หมุนเวียน ที่มีกำหนดชำระในระยะยาว)
เป็นต้น



ทีนี้มาดูฝั่งหนี้สินกันบ้าง ประเภทของหนี้สินก็จะแบ่งเป็นหนี้สินหมุนเวียนและไม่หมุนเวียนเช่นกัน 
ลองเดากันดูก่อนว่าหนี้สินหมุนเวียนน่าจะหมายถึงอะไร ติ๊กต่อกๆ
.
.
หนี้สินหมุนเวียนหมายถึงหนี้สินที่ครบกำหนดชำระภายใน1ปีนั่นเอง เช่น
เงินเบิกเกินบัญชีธนาคารและเงินกู้ยืมระยะสั้นจากสถาบันการเงิน (ส่วนใหญ่จะเป็นเงินกู้เพื่อหมุนกิจการ)
เจ้าหนี้การค้า (เจ้าหนี้หมุนเวียน ที่มีกำหนดชำระภายใน1ปี)
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
เงินกู้ยืมระยะยาวส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายในหนึ่งปี
เป็นต้น



และประเภทต่อมามีหนี้สินหมุนเวียนแล้วก็ต้องมีหนี้สินไม่หมุนเวียนนั่นเอง ซึ่งหมายถึงหนี้สินระยะยาวที่มีกำหนดชำระมากกว่า1ปี เช่น
เงินกู้ยืมระยะยาว 
หุ้นกู้ 
สำรองผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน(เช่นเงินชดเชยเกษียณอายุหรืออื่นๆ)
เป็นต้น


สินทรัพย์หมุนเวียนและหนี้สินเวียนสามารถบอกเราถึงความสามารถในการชำระหนี้ในระยะสั้น(ใน1ปี)และสภาพคล่องของกิจการนั้นๆได้ครับ ว่าแต่ สภาพคล่องคืออะไร? สภาพคล่องคือความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์หรือสิ่งของเป็นเงินสดนั่นเองครับ


ทีนี้เราลองมาดูอัตราส่วนสภาพคล่องกัน ซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ส่วนตัวเราชอบใช้ในการประเมินความแข็งแกร่งของบริษัท สูตรคำนวณง่ายๆ สินทรัพย์หมุนเวียน/หนี้สินหมุนเวียน=อัตราส่วนสภาพคล่อง(เท่า)
ตัวอย่างตัดมาจากงบตัวเต็ม  (จากงบย่อหน้าสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนก็มีเช่นกัน)


จับตัวเลขมาหารกัน ได้คำตอบแล้วง่ายมั้ย อิอิ


หลอกให้ทำเองก่อน จริงๆในเว็บSETก็มีมาให้ สามารถหาได้จากหน้าสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียนไม่ต้องนั่งคำนวณเอง อำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนสุดๆ (ไม่ต้องคำนวณเอง แต่ต้องเข้าใจนะ)


ลองทำแบบฝึกหัดดูบ้าง จากหน้าสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน


เฉลย จากหน้าสรุปข้อสนเทศบริษัทจดทะเบียน จะเห็นได้ว่าบริษัทAมีสภาพคล่อง0.83เท่า มากกว่าบริษัทBที่0.76เท่า และถ้าเทียบกับตัวอย่างแรกสุดจะเห็นได้ว่าบริษัทแรกมีสภาพคล่องสูงที่สุดที่4.74เท่า 
การมีสภาพคล่องสูงก็หมายถึงจำนวนสินทรัพย์หมุนเวียนเยอะกว่าหนี้สินหมุนเวียนอยู่กี่เท่า ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งสูงก็ยิ่งดี แปลว่ามีความสามารถในการชำระหนี้ระยะสั้นสูง แต่ว่าก็ไม่ใช่ทุกบริษัทจะเป็นแบบที่เห็นจากภายนอกหรืองบย่อเสมอไป จึงจำเป็นต้องเจาะลงไปในรายละเอียดจากงบเต็มว่าหนี้นั้นเป็นหนี้ดีหรือหนี้เลว 


สำหรับตอนหน้าเราจะมาดูกันว่ารายละเอียดของหนี้ แบบไหนมีแล้วดี แบบไหนไม่ควรมีเยอะ แสกนให้เห็นถึงสุขภาพของกิจการว่าแข็งแรงจริงหรือไม่ ลูกหนี้การค้าและเจ้าหนี้การค้าแบบไหนดี

สุดท้ายนี้ขออนุญาตฝากเพจด้วยนะคร้าบ https://www.facebook.com/sharingiscaringreviewer/

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่