คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 5
อภัยพิริยบรากรมภาหุ เป็นสร้อยราชทินนามของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสมัยโบราณ ผมสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเป็นสิริมงคลหรือใช้ยกย่องข้าราชการผู้ได้รับตำแหน่งสำคัญครับ
อภัย แปลว่า ความไม่มีภัย ความไม่ต้องกลัว
พิริย แปลว่า ความหมั่น ความกล้า
บรมกรม หรือ ปรากรม แปลว่า ความเพียร ความมุมานะ ความบากบั่น
พาหุ บางครั้งเขียนว่า พาหะ แปลว่า แขน หรืออาจแปลว่า ผู้แบก ผู้ถือ ผู้ทรงไว้
โดยรวมแล้วแปลได้ว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความไม่ต้องกลัว ความกล้า และความเพียร
หากเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญรองลงมาสร้อยจะสั้นลง อาจเป็น อภัยพิริยพาหะ หรือ พิริยพาหะ
คำอ่านในสมัยโบราณคงระบุชัดเจนไม่ได้ครับ เพราะในสมัยโบราณยังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานการสะกดคำอย่างชัดเจน จึงมีการสะกดคำนี้ในเอกสารแตกต่างกันหลากหลายมากครับ เช่น อภัย/อไภย/อภย/อะภัย พิริย/พีริย/พิรียะ/พิรี/พีรี ปรากรม/บรากรม พาหุ/ภาหุ/พาหะ/ภาหะ
อ้างอิงตามเกณฑ์ปัจจุบัน ปรากรม อ่านว่า ปะรากฺรม แต่คนสมัยก่อนนิยมอ่านคำว่า กรม ที่เชื่อมกับคำอื่นว่า กฺรมมะ เช่น กรมท่า อ่านว่า กฺรมมะท่า บางที ปรากรมพาหุ อาจจะอ่านว่า ปะรากฺรมมะพาหุ ก็เป็นได้ครับ
อภัย แปลว่า ความไม่มีภัย ความไม่ต้องกลัว
พิริย แปลว่า ความหมั่น ความกล้า
บรมกรม หรือ ปรากรม แปลว่า ความเพียร ความมุมานะ ความบากบั่น
พาหุ บางครั้งเขียนว่า พาหะ แปลว่า แขน หรืออาจแปลว่า ผู้แบก ผู้ถือ ผู้ทรงไว้
โดยรวมแล้วแปลได้ว่า ผู้ทรงไว้ซึ่งความไม่ต้องกลัว ความกล้า และความเพียร
หากเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญรองลงมาสร้อยจะสั้นลง อาจเป็น อภัยพิริยพาหะ หรือ พิริยพาหะ
คำอ่านในสมัยโบราณคงระบุชัดเจนไม่ได้ครับ เพราะในสมัยโบราณยังไม่ได้มีการกำหนดมาตรฐานการสะกดคำอย่างชัดเจน จึงมีการสะกดคำนี้ในเอกสารแตกต่างกันหลากหลายมากครับ เช่น อภัย/อไภย/อภย/อะภัย พิริย/พีริย/พิรียะ/พิรี/พีรี ปรากรม/บรากรม พาหุ/ภาหุ/พาหะ/ภาหะ
อ้างอิงตามเกณฑ์ปัจจุบัน ปรากรม อ่านว่า ปะรากฺรม แต่คนสมัยก่อนนิยมอ่านคำว่า กรม ที่เชื่อมกับคำอื่นว่า กฺรมมะ เช่น กรมท่า อ่านว่า กฺรมมะท่า บางที ปรากรมพาหุ อาจจะอ่านว่า ปะรากฺรมมะพาหุ ก็เป็นได้ครับ
แสดงความคิดเห็น
“อภัยพิริยบรากรมพาหุ” อ่านว่าอะไร แปลว่าอะไรครับ
เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายก (เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก อัครมหาเสนาบดี อภัยพิริยบรากรมพาหุ)
เจ้าพระยามหาเสนา ที่สมุหกลาโหม (เจ้าพระยามหาเสนาบดี วิริยภักดีนรินทร สุรินทรฤๅชัย อภัยพิริยบรากรมพาหุ)
เจ้าพระยายมราช ที่นครบาล
เจ้าพระยาธรรมาธิกรณ์ ที่วัง
เจ้าพระยาโกษาธิบดี ที่พระคลัง
เจ้าพระยาพลเทพ ที่เกษตราธิการ
ฯลฯ ฯลฯ
นอกจากตำแหน่งใหญ่นี้แล้ว ตำแหน่งอื่นๆหรือราชทินนามที่ตั้งเป็นพิเศษ ก็จะจบด้วยคำนี้เสมอ
เลสงสัยว่าคำนี้อ่านยังไง แปลว่าอะไร
อภัยพิริยบรากรมพาหุ (บางครั้งเห็นสะกดว่า อภัยพิรีย์บรากรมพาหุ)
พิ-ริ-ยะ-บะ-รา
พิ-ริ-บะ-รา
พิ-ริ-ยะ-บรา
พิ-ริ-บรา
กรม-พา-หุ
กรม-มะ-พา-หุ
และสุดท้ายคือทำไมต้องใช้ลงท้ายราชทินนามแทบทุกชื่อด้วยครับ