มีข้อสงสัยเรื่องชิ้นส่วน มอเตอรไซด์น่ะครับ การประกอบเครื่อง กับการสึกหลอที่ต้องเปลี่ยน

พอดีรื้อฝาสูปมาทำแล้วตอนประกอบกลับสังเกตเห็นชิ้ส่วนบางอย่างมันดูแปลๆน่ะครับ กระเดื่องกดวาล์วในรูป มันเยื้องออกจากแนวแกนวาล์วเยอะ แบบนี้ถือว่ายังปกติยอมรับได้ในการผลิตใช่ไหมครับ (ใช้งานมา 35000 โล ฝาตัวนี้ เลยเอาออกมาขัดถู) รถคันอื่นๆ ผลิตออกมาเยื้องแบบนี้หรือเปล่าครับ ไอดีนี่เยื้องแบบเยอะไปไหม ส่วนไอเสียนี่ยังพอไหว

กับอีกเรื่องนึงครับ ฝาเครื่อง ซ้ายขวา สามารถประกอบโดยไม่ใส่ปะเก็น(ปะเก็นหนา 0.5 มม) ได้ไหมครับใช้เป็นปะเก็นเหลวหรือกาวแดงแทน สำหรับรถทั่วๆยี่ห้ออื่นๆ  ของผมที่ทำ ksr ฝาฝั่งคลัชกดใส่ปลายเพลาของตัวกดเกียร์ ทำให้กดเกียร์แล้วฝืดไม่ดีดกลับ ฝาฝั่งด้านซ้ายจานไฟ หนีบเฟือง สตาร์ท หมุนไม่ได้เลย เลยสงสัยว่ารถยี่ห้ออื่นๆเป็นแบบนี้ไหมครับ ส่วนตัวชอบใช้กาวแดง หรือปะเก็นเหลวมากกว่าเพราะตอนรื้อแกะทำความสะอาดง่ายเอาไม้ไอติมขุดเอาได้ไม่ต้องกลัวเป็นรอย ถ้าปะเก็นแผ่นมันแข็งติดต้องเอาคัทอะไรแข็งๆคมๆ ขูดเอา

อันสุดท้ายชิ้นส่วนในรูปนี่เปลี่ยนกันตอนกี่กิโลครับ เป็นเฟืองที่สวมอยู่กับเพลาข้อเหวี่ยงไปหมุนขับเสื้อคลัชอีกที ปลายเฟืองแหลมจนแทบจะไม่เห็นรอยเรียบๆบนสันมันแล้ว(สังเกตเทียบกับเฟืองปั่นปั้ม) สภาพในรูปนี่คือ 49k โล ยังเห็นสันหลือนอยู่นิดส์นึงมากๆกะว่าสักอีก 5 พันโลค่อยเปิดฝาทำ

สงสัยอันสุดท้ายครับ เหล็กที่ใช้ทำเฟืองของมอเตอรไซด์เป็นเหล็ด เกรด(เบอร์) อะไรหรือครับ ทนมือทนไม้ดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่