สวัสดีครับ กระทู้นี้ต้องบอกว่าเป็นกระทู้สอบถามเกี่ยวกับกฏระเบียบด้านการออกฝึกงานของ นักศึกษาระดับ ปวส. ภาคทวิภาคี และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ เท่านั้น
ผมกับเพื่อน ๆ กว่า 30 คนถูกบังคับให้ฝึกงานในสถานประกอบการณ์ที่ไม่ประสงค์จะฝึกงาน โดยทางแผนกของผม มีการจํากัดความไว้ว่า ต้องฝึกงานในสถานประกอบการณ์ที่มีการทําสัญญา MOU ร่วมกับทางวิทยาลัยเอาไว้ โดยแผนกเป็นผู้เลือกไว้ให้ 4 สถานประกอบการณ์ และ 2 สถานประกอบการยกเลิกการรับนักศึกษาเนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ทําให้เหลือเพียง 2 สถานประกอบการณ์เท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นรับนักศึกษาเพียง 3 คน ทําให้นักศึกษาที่เหลือทั้งหมดต้องไปลงในโรงงานแห่งหนึ่งภายในจังหวัด (เป็นสถานประกอบการณ์ที่ขึ้นชื่อด้านการทํางานหนักทําให้ไม่มีใครอยากไปแต่แรก) โดยทางกระผมทราบเรื่องว่าต้องไป จึงขอความช่วยเหลือจากคณะครูที่รับผิดชอบในด้านการออกฝึกงาน ว่าสามารถไปทํางานที่อื่นได้หรือไม่ ครูให้คําตอบว่า ไปได้แต่สถานประกอบการณ์นั้นต้องมี MOU เสียก่อน ผมจึงไปหาข้อมูลสถานประกอบการณ์ อื่น ๆ ที่ทํา MOU ร่วมไว้ เมื่อมาแจ้งกับทางอาจารย์ ก็ได้รับคําตอบว่า มันไม่ตรงกับสายที่เราเรียนมา ผมเองเรียนด้านอุตสาหกรรมต้องทํางานในระบบอุตสาหกรรม เป็นร้านเล็ก ๆ ก็ไม่ได้ ต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้น ในส่วนนี้ผมพอเข้าใจ แต่ทุกทางเลือกถูกจํากัดไว้หมดแล้ว
- เป็นโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องตรงสายที่เรียน
- ตรงสายที่เรียนก็แล้ว เป็นโรงงานก็แล้ว ก็ต้องมี MOU ที่ทําสัญญาเสร็จสมบูรณ์แล้วอีก (อยู่ระหว่างดําเนินการก็ถือว่าไม่ได้)
สุดท้ายแล้วพวกผมก็ถูกบีบให้ลงโรงงานที่เหลือเพียงตัวเลือกเดียว โดยเมื่อพวกผมเกิดการไม่พอใจ ก็จะได้รับคําตอบว่า ถ้าใครมีปัญหามาก ก็ให้ลาออกไปเรียนที่อื่น หรือไปอยู่แผนกอื่น เพราะมติในที่ประชุมแผนกถือเป็นที่สิ้นสุด บ้างก็ว่าให้ไปดร็อปรอเรียนใหม่บ้าง
พวกผมจึงตัดใจว่า อย่างน้อยขอให้งานมันตรงสายที่เราเรียนมา ก็ยังพอทําใจได้
และเมื่อถึงวันลงงานจริง งานที่ผมต้องเจอกลับไม่เป็นดั่งที่คิดแม้แต่น้อย จริงอยู่ที่งานตรงหน้า คืองานที่เรารู้จัก เปรียบเสมือนคุณจบช่างซ่อมรถยนต์ แต่พอมาทํางาน ให้คุณขันน็อตล้อรถตัวเดิม ซํ้า ๆ วนไปเช้าถึงเย็น ความรู้สึกเหมือนคุณเป็นหุ่นยนต์ ไม่จําเป็นต้องเอาช่างซ่อมมาก็ได้ครับ เรียกใครเดินผ่าน ทําให้เขาดูรอบเดียว เขาก็สร้างงานให้คุณได้แล้ว ระหว่างการทํางานของพวกผมไม่มีการนั่ง เป็นการยืนทําตรอดวัน เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง(ไม่รวมโอที ซึ่งในบางแผนกมีการบังคับ โอที)
แค่มาฝึกงานในที่ที่ไม่ประสงค์จะมาแต่แรก ก็เต็มกลืน ยังมาเจองานแบบนี้อีก ผมเองไม่ได้เป็นคนดูถูกงานหรอกครับ เพียงแต่ผมเรียนก็เพื่อให้ได้ทํางานที่สบายขึ้น เพื่อนรอบข้างที่ทํางานประจําในไลน์ผลิต ก็เป็นผู้ที่จบการศึกษาขึ้นพื้นฐานเท่านั้น ป.6 - ม.3 เป็นส่วนใหญ่ และสําคัญเลยคือ มันขัดกับข้อตกลงที่ครูบอกว่า งานตรงสาย ได้ความรู้แน่นอนครับ เพราะมันขัดกันมันทําให้ผมรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมกับพวกผม อย่างน้อยถ้ามันจะแย่ ก็ขอให้พวกผมเป็นคนเลือกด้วยตัวเองก็ยังดี งานของผม คือเสียบปลั๊บถอดปลั๊ก แค่นั้นจริง ๆ เพื่อนคนอื่น ๆ ก็เช่นกัน เว้นแต่เพื่อนที่ทํางานในสถานประกอบการณ์อื่น ได้ทํางานเป็นหน่วยช่างที่ออกซ่อมเครื่องจักรที่เสียหาย (ในโรงงานผมก็มีหน่วยนี้ แต่เขาไม่เอาเด็กฝึกงานเข้าทํางาน กลับให้ยืนในไลน์ผลิตสินค้า)
ต้องบอกก่อนว่า ก่อนหน้านี้เคยมีการส่งเด็กฝึกงานให้สถานประกอบการณ์นี้เป็นประจํา แต่ไม่เคยมีใครได้ลงในไลน์ผลิตสินค้า คือถ้าเป็นเด็กฝึกงานระดับ ปวส. จะได้อยู่ในหน่วยซ่อมบํารุง หรือหน่วยที่ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ปีผมเป็นปีแรกที่โดนแบบนี้
เมื่อร้องเรียนเรื่องนี้กับทางอาจารย์ผู้รับผิดชอบ ได้รับคําตอบว่า ให้อดทน ไม่ก็ไปดร็อปรอเรียนพร้อมรุ่นน้อง
ผมแค่เสียดายโอกาศที่จะได้ฝึกงานในสถานประกอบการณ์ดี ๆ ที่พวกผมเคยเลือกกันไว้และไม่ได้ไป เพราะเหตุผลที่ว่า ไม่มี MOU ไม่ตรงสาย ระยะเวลาฝึกงานของพวกผมคือ 1 ปีการศึกษา (ประมาณ 8-9 เดือน) แล้วนี้คือตรงสายแล้วหรอครับ คือผมได้อะไรจากการทํางานครั้งนี้บ้าง
ที่อยากจะถามจริง ๆ คือ
- นักศึกษา ไม่มีสิทธิในการเลือกสถานประกอบการณ์หรอครับ ถ้าไม่มีทําไมไม่ลงรายละเอียดในตอนสมัครเรียนเอาไว้ บอกไปเลยว่าต้องลงที่นั้นเท่านั้น
แบบนี้ ถือว่าครูผู้รับผิดชอบ ทําถูกหรือไม่ครับ ทั้งการกระทํา คําพูด ผมเองก็ไม่เคยอ่านกฏด้านการส่งนักศึกษาออกฝึกงานแบบเต็ม ๆ เลยไม่รู้ว่าแบบนี้มันถูกต้องหรือไม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ คือมันไม่เป็นธรรมกับนักศึกษาทุกคนครับ ไม่มีใครอยากเสียเวลาดรอปทั้งปีหรอกครับ
อยากถามกรมอาชีวะศึกษา คณะครูอาจารย์ทําแบบนี้ถือว่า ถูกต้องหรือไม่ครับ
ผมกับเพื่อน ๆ กว่า 30 คนถูกบังคับให้ฝึกงานในสถานประกอบการณ์ที่ไม่ประสงค์จะฝึกงาน โดยทางแผนกของผม มีการจํากัดความไว้ว่า ต้องฝึกงานในสถานประกอบการณ์ที่มีการทําสัญญา MOU ร่วมกับทางวิทยาลัยเอาไว้ โดยแผนกเป็นผู้เลือกไว้ให้ 4 สถานประกอบการณ์ และ 2 สถานประกอบการยกเลิกการรับนักศึกษาเนื่องจากสถานการณ์ Covid-19 ทําให้เหลือเพียง 2 สถานประกอบการณ์เท่านั้น ซึ่งหนึ่งในนั้นรับนักศึกษาเพียง 3 คน ทําให้นักศึกษาที่เหลือทั้งหมดต้องไปลงในโรงงานแห่งหนึ่งภายในจังหวัด (เป็นสถานประกอบการณ์ที่ขึ้นชื่อด้านการทํางานหนักทําให้ไม่มีใครอยากไปแต่แรก) โดยทางกระผมทราบเรื่องว่าต้องไป จึงขอความช่วยเหลือจากคณะครูที่รับผิดชอบในด้านการออกฝึกงาน ว่าสามารถไปทํางานที่อื่นได้หรือไม่ ครูให้คําตอบว่า ไปได้แต่สถานประกอบการณ์นั้นต้องมี MOU เสียก่อน ผมจึงไปหาข้อมูลสถานประกอบการณ์ อื่น ๆ ที่ทํา MOU ร่วมไว้ เมื่อมาแจ้งกับทางอาจารย์ ก็ได้รับคําตอบว่า มันไม่ตรงกับสายที่เราเรียนมา ผมเองเรียนด้านอุตสาหกรรมต้องทํางานในระบบอุตสาหกรรม เป็นร้านเล็ก ๆ ก็ไม่ได้ ต้องเป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่เท่านั้น ในส่วนนี้ผมพอเข้าใจ แต่ทุกทางเลือกถูกจํากัดไว้หมดแล้ว
- เป็นโรงงานอุตสาหกรรมก็ต้องตรงสายที่เรียน
- ตรงสายที่เรียนก็แล้ว เป็นโรงงานก็แล้ว ก็ต้องมี MOU ที่ทําสัญญาเสร็จสมบูรณ์แล้วอีก (อยู่ระหว่างดําเนินการก็ถือว่าไม่ได้)
สุดท้ายแล้วพวกผมก็ถูกบีบให้ลงโรงงานที่เหลือเพียงตัวเลือกเดียว โดยเมื่อพวกผมเกิดการไม่พอใจ ก็จะได้รับคําตอบว่า ถ้าใครมีปัญหามาก ก็ให้ลาออกไปเรียนที่อื่น หรือไปอยู่แผนกอื่น เพราะมติในที่ประชุมแผนกถือเป็นที่สิ้นสุด บ้างก็ว่าให้ไปดร็อปรอเรียนใหม่บ้าง
พวกผมจึงตัดใจว่า อย่างน้อยขอให้งานมันตรงสายที่เราเรียนมา ก็ยังพอทําใจได้
และเมื่อถึงวันลงงานจริง งานที่ผมต้องเจอกลับไม่เป็นดั่งที่คิดแม้แต่น้อย จริงอยู่ที่งานตรงหน้า คืองานที่เรารู้จัก เปรียบเสมือนคุณจบช่างซ่อมรถยนต์ แต่พอมาทํางาน ให้คุณขันน็อตล้อรถตัวเดิม ซํ้า ๆ วนไปเช้าถึงเย็น ความรู้สึกเหมือนคุณเป็นหุ่นยนต์ ไม่จําเป็นต้องเอาช่างซ่อมมาก็ได้ครับ เรียกใครเดินผ่าน ทําให้เขาดูรอบเดียว เขาก็สร้างงานให้คุณได้แล้ว ระหว่างการทํางานของพวกผมไม่มีการนั่ง เป็นการยืนทําตรอดวัน เฉลี่ยวันละ 8 ชั่วโมง(ไม่รวมโอที ซึ่งในบางแผนกมีการบังคับ โอที)
แค่มาฝึกงานในที่ที่ไม่ประสงค์จะมาแต่แรก ก็เต็มกลืน ยังมาเจองานแบบนี้อีก ผมเองไม่ได้เป็นคนดูถูกงานหรอกครับ เพียงแต่ผมเรียนก็เพื่อให้ได้ทํางานที่สบายขึ้น เพื่อนรอบข้างที่ทํางานประจําในไลน์ผลิต ก็เป็นผู้ที่จบการศึกษาขึ้นพื้นฐานเท่านั้น ป.6 - ม.3 เป็นส่วนใหญ่ และสําคัญเลยคือ มันขัดกับข้อตกลงที่ครูบอกว่า งานตรงสาย ได้ความรู้แน่นอนครับ เพราะมันขัดกันมันทําให้ผมรู้สึกว่ามันไม่ยุติธรรมกับพวกผม อย่างน้อยถ้ามันจะแย่ ก็ขอให้พวกผมเป็นคนเลือกด้วยตัวเองก็ยังดี งานของผม คือเสียบปลั๊บถอดปลั๊ก แค่นั้นจริง ๆ เพื่อนคนอื่น ๆ ก็เช่นกัน เว้นแต่เพื่อนที่ทํางานในสถานประกอบการณ์อื่น ได้ทํางานเป็นหน่วยช่างที่ออกซ่อมเครื่องจักรที่เสียหาย (ในโรงงานผมก็มีหน่วยนี้ แต่เขาไม่เอาเด็กฝึกงานเข้าทํางาน กลับให้ยืนในไลน์ผลิตสินค้า)
ต้องบอกก่อนว่า ก่อนหน้านี้เคยมีการส่งเด็กฝึกงานให้สถานประกอบการณ์นี้เป็นประจํา แต่ไม่เคยมีใครได้ลงในไลน์ผลิตสินค้า คือถ้าเป็นเด็กฝึกงานระดับ ปวส. จะได้อยู่ในหน่วยซ่อมบํารุง หรือหน่วยที่ใช้ความรู้ความสามารถเฉพาะทาง ปีผมเป็นปีแรกที่โดนแบบนี้
เมื่อร้องเรียนเรื่องนี้กับทางอาจารย์ผู้รับผิดชอบ ได้รับคําตอบว่า ให้อดทน ไม่ก็ไปดร็อปรอเรียนพร้อมรุ่นน้อง
ผมแค่เสียดายโอกาศที่จะได้ฝึกงานในสถานประกอบการณ์ดี ๆ ที่พวกผมเคยเลือกกันไว้และไม่ได้ไป เพราะเหตุผลที่ว่า ไม่มี MOU ไม่ตรงสาย ระยะเวลาฝึกงานของพวกผมคือ 1 ปีการศึกษา (ประมาณ 8-9 เดือน) แล้วนี้คือตรงสายแล้วหรอครับ คือผมได้อะไรจากการทํางานครั้งนี้บ้าง
ที่อยากจะถามจริง ๆ คือ
- นักศึกษา ไม่มีสิทธิในการเลือกสถานประกอบการณ์หรอครับ ถ้าไม่มีทําไมไม่ลงรายละเอียดในตอนสมัครเรียนเอาไว้ บอกไปเลยว่าต้องลงที่นั้นเท่านั้น
แบบนี้ ถือว่าครูผู้รับผิดชอบ ทําถูกหรือไม่ครับ ทั้งการกระทํา คําพูด ผมเองก็ไม่เคยอ่านกฏด้านการส่งนักศึกษาออกฝึกงานแบบเต็ม ๆ เลยไม่รู้ว่าแบบนี้มันถูกต้องหรือไม่ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ คือมันไม่เป็นธรรมกับนักศึกษาทุกคนครับ ไม่มีใครอยากเสียเวลาดรอปทั้งปีหรอกครับ