เรื่องราวเกี่ยวกับส่วนประกอบอาคารในประวัติศาสตร์

The ‘Ancient Lights’ Windows



( 'Ancient Lights' ใน Clerkenwell, London Cr.ภาพ Mike Newman / Wikimedia)

'Ancient Lights' หรือ 'Right to light' เป็นกฎหมายทรัพย์สินของอังกฤษที่ให้สิทธิ์แก่เจ้าของบ้านในการรับแสงจากธรรมชาติผ่านหน้าต่าง หากหน้าต่างนั้นได้รับแสงอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 20 ปี เมื่อบุคคลได้รับสิทธิ์ในแสงนี้แล้ว  เจ้าของที่ดินที่อยู่ติดกันจะไม่สามารถใช้อะไรมาบังแสงจากหน้าต่างนี้ได้
เช่น สร้างอาคารยกกำแพงสูง หรือปลูกต้นไม้ใหญ่ ในอดีตเคยมีบ้านที่ได้สิทธิ์นี้ฟ้องเพื่อนบ้านอีกคนโดยอ้างว่า 'สร้างความรำคาญ' เนื่องจากมีการบังแสงและได้รับชัยชนะในศาลยุติธรรม

การลิดรอนแสงโดยรวมนั้นไม่จำเป็นสำหรับเจ้าของที่ดินในการบังคับใช้กฎหมาย เขาสามารถท้าทายเพื่อนบ้านได้ถ้าเขารู้สึกว่า“ ไม่สามารถเพลิดเพลินกับแสงในลักษณะที่เป็นอิสระอย่างที่เคยทำ ” ดังที่อธิบายไว้ในพจนานุกรมกฎหมายคอลลินส์ อย่างไรก็ตามระดับของแสงที่ยอมรับได้ยังไม่ได้ถูกนับอย่างเป็นกลาง แต่กฎหมายก็อธิบายไว้อย่างคลุมเครือเช่น " แสงสว่างที่เพียงพอโดยทั่วไปของมนุษยชาติ " จึงทำให้ศาลต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญในสาขานี้

(Cr.ภาพ Matt Brown / Flickr)


Mr. Percy Waldram (เพอร์ซี่ วัลแทรม) ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่งกล่าวว่า คนธรรมดาต้องการความส่องสว่างประมาณสิบลักซ์ (ความสว่าง มีหน่วยเป็นลักซ์ (lux : lx)) สำหรับการอ่านและงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติทางสายตา วิธีการของ Waldram ได้ถูกนำมาใช้ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1920 
กฎหมายดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1663 แต่ปัจจุบันให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการกำหนดปี 1832
ที่มา Wikipedia / Freedictionary.com / Encyclopedia Britannica / การออกแบบอาคาร
Cr.https://www.amusingplanet.com/2016/12/the-ancient-lights-of-england.html / โดยKaushik Patowary





Chimneypots



องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจที่เป็นสัญลักษณ์ของยุโรปคือ ปล่องไฟที่ประดับอยู่บนหลังคาบ้านและอาคาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปารีส
พวกมันเป็นที่แพร่หลายและมีมากมายเกือบทุกอาคาร  จากภาพถ่ายนี้คือหลังคาของเมืองปารีส ในฝรั่งเศสที่สามารถบอกได้ว่าในตัวอาคารมีเตาผิงกี่แห่งด้วยการนับจำนวนปล่องไฟเหล่านี้

ปล่องไฟปรากฏตัวครั้งแรกในยุโรปในศตวรรษที่ 13 ก่อนหน้านั้นบ้านถูกทำให้ร้อนด้วยกองไฟหรือเตาไฟแบบที่ตั้งอยู่บนพื้นดินหรืออิฐในใจกลางของบ้าน ซึ่งมีอาหารที่กำลังปรุงอยู่ด้วย  และผู้คนต่างก็นั่งล้อมกันเพื่อรับความอบอุ่น ควันจากเตาไฟจะผ่านรูบนหลังคาหรือในกำแพงที่ทำขึ้นเพื่อจุดประสงค์นี้เท่านั้น  ต่อมาในยุคทิวดอร์ปล่องไฟที่ทำจากอิฐถือเป็นแฟชั่นที่หรูหราซึ่งจะมีเฉพาะในคฤหาสน์ขนาดใหญ่เท่านั้น

ปล่องควันนั้นไม่ได้กำจัดควันออกจากบ้านโดยสิ้นเชิง และปล่องไฟในเวลานั้นก็ขาดการออกแบบเพื่อดึงควันออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ต่อมาในศตวรรษที่ 18 ความขาดแคลนไม้ทำให้ผู้คนเปลี่ยนจากการเผาไม้เป็นถ่าน เมื่อเขม่าถ่านหินที่สกปรกเกาะเต็มตรงทางออก   การขจัดควันออกจากห้องจึงไม่มีประสิทธิภาพ สิ่งนี้นำไปสู่การออกแบบปล่องไฟแบบใหม่  การพัฒนาที่สำคัญทำโดย  Benjamin Franklin และ Count Rumford

ถ่านหินก็มีราคาแพงดังนั้นคนรวยเท่านั้นที่สามารถมีปล่องไฟได้  ในไม่ช้าผู้คนก็เริ่มอวดความมั่งคั่งด้วยการมีปล่องไฟให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้บนหลังคาบ้าน ผู้ที่ไม่สามารถซื้อถ่านหินได้ก็จะใช้ปล่องไฟที่สร้างขึ้นด้วยหม้อแทน  ยุควิคตอเรียเป็นยุคทองสำหรับหม้อปล่องไฟ  Chimneypots ได้กลายเป็นแฟชั่นของคนจำนวนมากที่จะปรับแต่งบ้านของตัวเองในช่วงเวลานี้  ปัจจุบันบ้านสมัยใหม่ส่วนใหญ่มีระบบทำความร้อนด้วยไฟฟ้า แต่ในปารีสยังคงมีปล่องไฟที่ไม่ใช้แล้วอยู่บนหลังคาของทุกบ้าน
Cr.ภาพ PreteMoiParis / Flickr
Cr.https://www.amusingplanet.com/2016/07/the-chimneypots-of-paris-rooftops.html / โดยKaushik Patowary





Bricked Up Windows



ในปี 1696 เวลานั้นในบริเตนใหญ่เมื่อหน้าต่างในบ้านและอาคารราคาเริ่มแพงขึ้น  มีภาษีหน้าต่างที่เป็นที่วิจารณ์กันมาก โดยเรียกเก็บภาษีจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตามจำนวนของหน้าต่างหรือช่องเปิดที่เหมือนหน้าต่างที่มีในอาคาร  รายละเอียดของภาษีเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่พื้นฐานก็คือบ้านมีหน้าต่างมากเท่าไรเจ้าของต้องจ่ายภาษีมากขึ้นเท่านั้น

สภานิติบัญญัติคิดว่าภาษีหน้าต่างเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการเก็บภาษีของชนชั้นสูง คนรวยมักจะมีบ้านหลังใหญ่ที่มีหน้าต่างหลายบานต้องจ่ายภาษีเพิ่ม สำหรับสิ่งนั้น ในทางกลับกันคนจนอาศัยอยู่ในบ้านหลังเล็ก ๆ หน้าต่างน้อยก็จะจ่ายน้อยลง เพื่อทำให้ระบบดียิ่งขึ้นสำหรับคนจนที่มีหน้าต่างน้อยกว่าสิบบานจะได้รับการยกเว้นจากภาษีหน้าต่างทั้งหมด

แต่ภาษีก็ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ครอบครัวที่ยากจนหลายคนอาศัยอยู่ในอาคารตึกแถวขนาดใหญ่ในเมืองที่มีหน้าต่างจำนวนมากทำให้อยู่ภายใต้การประเมินภาษีหน้าต่างนี้ ภาษีถูกจ่ายโดยเจ้าของบ้าน แต่ค่าภาษีหน้าต่างถูกส่งผ่านไปยังผู้อยู่อาศัยในรูปแบบค่าเช่าที่หนักกว่า

ข้อผิดพลาดพื้นฐานที่สุดคือข้อสันนิษฐานที่ว่าผู้คนจะไม่ทำอะไรเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี คนจำนวนมากที่มีหน้าต่างหลายบานเริ่มก่ออิฐปิดหน้าต่างแทนที่จะจ่ายภาษี และบ่อยครั้งเมื่อมีการสร้างอาคารใหม่จำนวนหน้าต่างก็ลดลงและบางครั้งก็ไม่มีเลยเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี  ดังนั้นผู้เช่าไม่เพียงแต่ต้องจ่ายค่าเช่าที่สูงขึ้น  แต่พวกเขาต้องอยู่กับแสงและการระบายอากาศที่ไม่เพียงพอ

นักเก็บภาษีจึงเรียกเก็บภาษีจาดสิ่งใดก็ได้ที่มีลักษณะคล้ายกันรวมถึงตะแกรงแบบมีรูในตู้เก็บของซึ่งนำไปสู่ความไม่พอใจอย่างมากในทุกส่วนของสังคม
หนึ่งปีต่อมาในปี ค.ศ. 1851 ได้ยกเลิกภาษีหน้าต่าง  เป็นเวลากว่า 156 ปีหลังจากประกาศใช้ถือเป็นภาษีที่ถูกใช้ยาวนานที่สุด

(Cr.ภาพ littlestar19 / Flickr)


(บ้านใน Gillingham, Dorset  Cr.ภาพ Carole Dorran / Wikipedia)


ภาษีหน้าต่างเป็นเพียงหนึ่งในการออกแบบเพื่อหาเงินโดยรัฐบาลอังกฤษ  อีกหนึ่งคือภาษีอิฐที่เริ่มใช้ในปี  1784 ในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่สามเพื่อช่วยจ่ายในการสงครามในอาณานิคมอเมริกัน  เป็นอีกครั้งที่ผู้คนตอบโต้ด้วยการเพิ่มขนาดของก้อนอิฐเพื่อให้มีก้อนอิฐที่ใช้น้อยลง  ปัจจุบันยังคงมีอาคารหลายหลังที่สร้างด้วยอิฐขนาดใหญ่ตั้งอยู่ใน Measham, Leicestershire

ระหว่างปี 2205 ถึง 2232  ก็มีภาษีเรียกเก็บจากจำนวนเตาไฟหรือเตาผิงในที่อยู่อาศัย  ทำให้ผู้คนต้องเข้าอยู่ในบ้านขนาดเล็กและไม่มีไฟเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี  แม้กระทั่งทุกวันนี้ก็ยังสามารถเห็นหน้าต่างก่ออิฐที่ถูกปิดในอาคารประวัติศาสตร์หลายแห่งทั่วสหราชอาณาจักร
Cr.https://www.amusingplanet.com/2018/04/why-do-many-historic-buildings-in-uk.html / โดยKaushik Patowary





Punkah



(ภาพวาดผู้หญิงนั่งอ่านใต้ punkahs ที่บ้านใน Berhampore, 2406)

เมื่อชาวอังกฤษมาที่อินเดียครั้งแรกพวกเขาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับสิ่งที่ไม่คุ้นเคยเช่นสภาพภูมิอากาศ ยุงดูดเลือด อาหารรสเผ็ดและภาษา แต่สิ่งหนึ่งที่พวกเขาไม่คุ้นเคยที่สุดคือความร้อน
ฤดูร้อนในอินเดียเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนตุลาคม ในภาคเหนือและทางตะวันตกฤดูร้อนจะมาถึงก่อน ในส่วนนี้ของอินเดียเดือนเมษายนและพฤษภาคมเป็นเดือนที่ร้อนที่สุดแต่มรสุมช่วยให้อุณหภูมิลดลง ในภาคตะวันออกของอินเดียและในบริเวณชายฝั่งจะมีฝนตกชุกในช่วงฤดูร้อน เมื่อปริมาณน้ำฝนลดน้อยลงความร้อนก็เริ่มเพิ่มสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากความชื้นจากทะเล
 
ก่อนการมาถึงของไฟฟ้ามันไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนที่จะนอนข้างนอกบ้านภายใต้ร่มเงาของต้นไม้ที่เย็นกว่าหรือบนระเบียงที่มีพัดมือ ผู้ที่สามารถจ่ายได้จะมี punkahs หรือพัดลมติดเพดานหมุนได้ด้วยสายยาวที่ช่วยสร้างลมเย็น

punkahs มักจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ทำจากอ้อยหรือกรอบไม้แบนปกคลุมด้วยผ้า มันถูกแขวนไว้บนเพดานห้องและมีเชือกหรือรอกที่ถูกดึงโดยคนใช้หรือทาสที่เรียกว่า punkah-wallah   มีจังหวะการเคลื่อนไหวไปมาทำให้เกิดสายลมเบาที่ทำให้ชาวอังกฤษและชาวอินเดียที่ร่ำรวยได้นอนหลับอย่างสบาย
Punkahs เป็นสิ่งหรูหราที่พบได้เฉพาะในบ้านหรูหราและสำนักงานรัฐบาลเท่านั้น


(Punkahs ถูกใช้ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภาพถ่ายนี้ที่ศาลเวียดนามที่มี punkahs  ประมาณปี 1885 Cr.ภาพ คลัง Alinari)



(สาม punkah-wallahs บนระเบียง circa1900 Cr.ภาพ Royal Society for Asian Affairs, ลอนดอน / Bridgeman Images)


 
Punkah-wallah จะนั่งที่มุมห้องคอยดึงเชือกเพื่อให้ Punkahs เคลื่อนไหว  ซึ่งเวลานายจ้างพูดคุยกันเขาจึงอยู่ในระยะที่ได้ยิน นายจ้างหลายคนจึงชอบ punkah-wallahs ที่หูหนวกเพื่อที่พวกเขาจะได้พูดคุยเรื่องส่วนตัวและเรื่องลับ ๆ ได้ บางครั้งก็ให้ Punkah-wallah ไปนั่งอีกด้านหนึ่งของผนังนอกห้องหรือนอกบ้านโดยร้อยเชือกผ่านรูเล็ก ๆ ในกำแพงให้ดึง
 
Punkahs เริ่มปรากฏในหลายสถานที่นอกเหนือจากอนุทวีปอินเดีย พวกมันกลายเป็นสิ่งที่โดดเด่นในบ้านของเจ้าของสวนหลายแห่งในรัฐทางใต้ของอเมริกา  ต่อมาการกำเนิดของกระแสไฟฟ้าและการพัฒนาของพัดลมเพดานไฟฟ้าในปลายศตวรรษที่ 19 ได้ส่งสัญญาณการสิ้นสุดในอาชีพนี้
Cr.https://www.amusingplanet.com/2019/09/punkah-hand-operated-ceiling-fans-of.html / โดยKaushik Patowary

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่