เป็นปัญหา และเป็นโรคที่หลายคนเข้าใจผิดคิดว่า “โรคตุ่มน้ำพอง หรือโรคเพมฟิกอยด์ Bullous pemphigoid” เป็นโรคที่พบเจอได้ยากในประเทศไทย ซึ่งความจริงแล้วโรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบมากในผู้ที่ค่อนข้างมีอายุ โดยสาเหตุเกิดจากปัญหาความผิดปกติของระบบภูมิแพ้เป็นผลให้เกิดตุ่มน้ำ หรือแผลถลอกไปทั่วร่างกาย อีกทั้งโรคนี้ยังไม่ใช่โรคที่สามารถรักษาให้หายได้ภายในระยะเวลาอันสั้นอีกด้วย
สาเหตุที่แท้จริงของโรคตุ่มน้ำพอง
โรคนี้เป็นผลกระทบของการบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันอย่างที่กล่าวไปทำให้เกิดการทำลายระบบ หรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าไว้ด้วยกัน เป็นผลให้เซลล์ผิวหนังหลุดออกจากกัน และกลายเป็นตุ่มน้ำ หรือแผลถลอกนั่นเอง โดยหลัก ๆ แล้วสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างชัดเจน แต่ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่สุ่มเสี่ยง เช่น สารเคมี หรือการติดเชื้อ เป็นต้น
อาการของโรคตุ่มน้ำพองที่น่ากลัว
แผลที่เกิดขึ้นบนผิวหนังสามารถเกิดที่จุดอื่นร่วมด้วย เช่น บริเวณช่องปาก เยื่อบุช่องคลอด หรือทางเดินหายใจ เป็นต้น แต่ส่วนมากแล้วมักจะพบที่บริเวณหน้าอก หน้าท้อง และศีรษะมากกว่า โดยอาการหลัก ๆ มีดังนี้
- มีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นตามร่างกาย และจะแตกได้ง่าย สามารถกลายเป็นแผลถลอกได้
- มีอาการปวด หรือแสบ และคันบริเวณที่เกิดแผล
- บางรายจะกลืนอาหารลำบาก
- หากเกิดการติดเชื้อจะกลายเป็นหนอง และมีกลิ่นเหม็น
ในระดับรุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อในระบบกระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มมีปัญหา ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
ดูแลผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองอย่างไร
- หมั่นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำเกลือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาพ่น หรือยาพอก
- ไม่เกา หรือแกะแผลที่ขึ้นตามผิวหนัง
- ดูแลสุขอนามัยของร่างกายทั้งการทานอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงสภาวะ หรือกิจกรรมที่มีผลให้โรคกำเริบ ได้แก่ การทานอาหารรสจัด การตากแดดหรือโดนความร้อน และความเครียด
- เมื่อได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ร่างกายอาจอ่อนแอให้อยู่ห่างผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อ
- ในระหว่างการรักษาอาจมีผลกับโรคประจำตัว หรืออาจมีอุจจาระสีดำ และอาเจียนเป็นเลือด ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
- พบแพทย์เพื่อปรึกษา และคอยตรวจดูอาการ
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคตุ่มน้ำพอง
ด้วยเป็นโรคที่ใครหลายคนอาจไม่คุ้นหูมากเท่าไหร่นักจึงอาจทำให้ได้รับความเชื่อ และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้มาบ้าง ซึ่งความจริงของโรคนี้ยังมีอยู่หลายประการ ได้แก่
- สาเหตุในการเกิดโรค ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย การทานอาหาร และทางพันธุกรรมแต่อย่างใด
- โรคตุ่มน้ำพองไม่สามารถติดต่อได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวผู้ป่วย
- โรคนี้สามารถรักษาได้ และในปัจจุบันยังมีวิธีรักษาที่หลากหลายอีกด้วยแต่การรักษานั้นต้องใช้เวลาตามความหนักเบาของอาการ
- เป็นโรคนี้แล้วตั้งครรภ์ได้ไหม ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ได้รับระหว่างรักษาอาจมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
โรคตุ่มน้ำพองรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง
การรักษาโรคนี้ในปัจจุบันทำได้หลายวิธี เช่น การรับยากดภูมิคุ้มกัน ร่วมกับใช้ยาแก้อักเสบเพื่อควบคุมโรค หรือการรับยาที่มีผลให้เซลล์เปลี่ยนการทำงานได้ แต่การรักษานั้นจะไม่หายในทันทีโดยระยะเวลาของการรักษาอาจกินเวลาหลักปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับระยะอาการของโรคด้วย
โรคตุ่มน้ำพองเป็นโคที่เสี่ยงกับทุกเพศทุกวัย และส่งผลสู่ผิวหนังโดยตรงถึงแม้ว่าอันตรายสูงสุดของโรคนี้จะถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่โอกาสที่จะเป็นเช่นนั้นกลับมีไม่มาก การคอยดูแลรักษาตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจึงเป็นวิธีเดียวที่สามารถหายขาดจากโรคนี้ได้
เจาะลึกโรคตุ่มน้ำพอง โรคที่วินัย ไกรบุตรเป็น
สาเหตุที่แท้จริงของโรคตุ่มน้ำพอง
โรคนี้เป็นผลกระทบของการบกพร่องในระบบภูมิคุ้มกันอย่างที่กล่าวไปทำให้เกิดการทำลายระบบ หรือโครงสร้างที่ทำหน้าที่ยึดติดเซลล์ผิวหนังเข้าไว้ด้วยกัน เป็นผลให้เซลล์ผิวหนังหลุดออกจากกัน และกลายเป็นตุ่มน้ำ หรือแผลถลอกนั่นเอง โดยหลัก ๆ แล้วสภาวะที่เกิดขึ้นนี้ไม่สามารถระบุสาเหตุการเกิดได้อย่างชัดเจน แต่ส่วนหนึ่งอาจเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่สุ่มเสี่ยง เช่น สารเคมี หรือการติดเชื้อ เป็นต้น
อาการของโรคตุ่มน้ำพองที่น่ากลัว
แผลที่เกิดขึ้นบนผิวหนังสามารถเกิดที่จุดอื่นร่วมด้วย เช่น บริเวณช่องปาก เยื่อบุช่องคลอด หรือทางเดินหายใจ เป็นต้น แต่ส่วนมากแล้วมักจะพบที่บริเวณหน้าอก หน้าท้อง และศีรษะมากกว่า โดยอาการหลัก ๆ มีดังนี้
- มีตุ่มน้ำใส ๆ ขึ้นตามร่างกาย และจะแตกได้ง่าย สามารถกลายเป็นแผลถลอกได้
- มีอาการปวด หรือแสบ และคันบริเวณที่เกิดแผล
- บางรายจะกลืนอาหารลำบาก
- หากเกิดการติดเชื้อจะกลายเป็นหนอง และมีกลิ่นเหม็น
ในระดับรุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อในระบบกระแสเลือด ส่งผลให้ผู้ป่วยมีไข้สูง ระบบต่าง ๆ ในร่างกายเริ่มมีปัญหา ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตได้
ดูแลผู้ป่วยโรคตุ่มน้ำพองอย่างไร
- หมั่นทำความสะอาดร่างกายด้วยน้ำเกลือ หลีกเลี่ยงการใช้ยาพ่น หรือยาพอก
- ไม่เกา หรือแกะแผลที่ขึ้นตามผิวหนัง
- ดูแลสุขอนามัยของร่างกายทั้งการทานอาหาร ออกกำลังกาย และพักผ่อนให้เพียงพอ
- หลีกเลี่ยงสภาวะ หรือกิจกรรมที่มีผลให้โรคกำเริบ ได้แก่ การทานอาหารรสจัด การตากแดดหรือโดนความร้อน และความเครียด
- เมื่อได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ร่างกายอาจอ่อนแอให้อยู่ห่างผู้ป่วยที่มีโรคติดเชื้อ
- ในระหว่างการรักษาอาจมีผลกับโรคประจำตัว หรืออาจมีอุจจาระสีดำ และอาเจียนเป็นเลือด ดังนั้นหากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบ
- พบแพทย์เพื่อปรึกษา และคอยตรวจดูอาการ
ด้วยเป็นโรคที่ใครหลายคนอาจไม่คุ้นหูมากเท่าไหร่นักจึงอาจทำให้ได้รับความเชื่อ และความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคนี้มาบ้าง ซึ่งความจริงของโรคนี้ยังมีอยู่หลายประการ ได้แก่
- สาเหตุในการเกิดโรค ไม่ได้เกิดจากการออกกำลังกาย การทานอาหาร และทางพันธุกรรมแต่อย่างใด
- โรคตุ่มน้ำพองไม่สามารถติดต่อได้ โรคนี้ไม่ใช่โรคติดต่อ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องหวาดกลัวผู้ป่วย
- โรคนี้สามารถรักษาได้ และในปัจจุบันยังมีวิธีรักษาที่หลากหลายอีกด้วยแต่การรักษานั้นต้องใช้เวลาตามความหนักเบาของอาการ
- เป็นโรคนี้แล้วตั้งครรภ์ได้ไหม ไม่แนะนำให้ตั้งครรภ์ เนื่องจากยาที่ได้รับระหว่างรักษาอาจมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ได้
โรคตุ่มน้ำพองรักษาด้วยวิธีใดได้บ้าง
การรักษาโรคนี้ในปัจจุบันทำได้หลายวิธี เช่น การรับยากดภูมิคุ้มกัน ร่วมกับใช้ยาแก้อักเสบเพื่อควบคุมโรค หรือการรับยาที่มีผลให้เซลล์เปลี่ยนการทำงานได้ แต่การรักษานั้นจะไม่หายในทันทีโดยระยะเวลาของการรักษาอาจกินเวลาหลักปี ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับระยะอาการของโรคด้วย
โรคตุ่มน้ำพองเป็นโคที่เสี่ยงกับทุกเพศทุกวัย และส่งผลสู่ผิวหนังโดยตรงถึงแม้ว่าอันตรายสูงสุดของโรคนี้จะถึงขั้นเสียชีวิตได้ แต่โอกาสที่จะเป็นเช่นนั้นกลับมีไม่มาก การคอยดูแลรักษาตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดจึงเป็นวิธีเดียวที่สามารถหายขาดจากโรคนี้ได้