เหมาะสม หรือ ไม่ ถ้าไทยเรายกเลิกใบขับขี่ตลอดชีพ หลังมีเหตุ เฒ่าวัย 83 ขับรถชนคนเจ็บหนักหน้า 7-11

เรื่องใบขับขี่ตลอดชีพในเมืองไทย ถือเป็นประเด็นที่พูดกันมาพอสมควร 
เนื่องจาก เมื่อผู้ที่ถือใบขับขี่ตลอดชีพเหล่านี้ เมื่ออายุมากไป ร่างกายอาจจะไม่พร้อมที่จะขับขี่ และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

โดยล่าสุด ที่ จ.อุบลราชธานี มีอดีตทหารเกษียณอายุ วัย 83 ปี ขับรถมาคนเดียวเพื่อจะซื้อของที่ 7-11 
แต่พอจะหยุดรถ เท้าไปเผลอเหยียบคันเร่งแทนที่จะเป็นเบรก ทำให้รถชนเสาเหล็กกั้น ก่อนไปชนหญิงที่นั่งอยู่หน้าร้านจนบาดเจ็บพุ่งเข้าไปในร้าน 
ซึ่งทางตำรวจตั้งข้อหาขับรถโดยประมาททำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส 

เราอยากมาสอบถามความเห็นเพื่อนๆ ชาว Pantip กันว่า ประเทศไทย ควรมีการกำหนดกฎหมาย เรื่องของอายุผู้สูงวัย ในการได้ใบอนุญาตขับขี่ หรือ ควรเพิกถอนใบขับขี่ตลอดชีพกันหรือไม่ แล้วให้มีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายทุกๆ 5 ปี ในแบบที่คนยุคปัจจุบันต้องทำกัน 

ในประเทศญี่ปุ่น ก็มีเคสคนสูงวัยในโตเกียว แห่คืนใบขับขี่ กันมากถึง 42,252 คน ในโตเกียว หลังมีชายวัย 88 ปี ขับรถชนหญิงและลูกของเธอ จนเสียชีวิต ใน โตเกียว
ซึ่งผู้คืนใบขับขี่โดยส่วนมากมีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้น โดยทุกคนทำไปเพื่อแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยสมัครใจ และยังมีแนวโน้มที่จะคืนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

นอกจากนี้ ทางภาคเอกชนญี่ปุ่นเองก็มาร่วมด้วยช่วยกัน สนับสนุน โดยการคลอดแคมเปญดึงดูด ให้ผู้สูงอายุ นำใบขับขี่มาคืน  
ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน ส่วนลด ค่าส่งของ หรือ ส่วนลดอาหาร สาธารณูประโภค อื่นๆ อาทิ ลดค่าแท็กซี่, ลดค่าบริการอื่นๆ เป็นต้น

นี่ถือเป็นอีกตัวอย่างที่น่ายกย่อง ยอมใจ สำหรับชาวญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ กับเรื่องของความรับผิดชอบที่มีต่อสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงไวเอง
หรือ ภาคเอกชน ที่ได้เข้ามาร่วมด้วยช่วยกันกับมาตรการดังกล่าวนี้ 

ส่วนประเทศไทย จะป่วยไม่สบาย, วิกลจริต, ไม่มีใบขับขี่, เด็ก หรือ ผู้สูงอายุที่ไม่พร้อมก็ยังขับรถกันต่อไป อย่างที่เราเห็นข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนนทุกวันนี้
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 10
ลองหาข้อมูลดูว่า
อายุ -->20
อายุ 21-40
อายุ 41-60
อายุ 61-80
อายุ 81-->
ใครก่อ อุบัติเหตุมากที่สุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่