อเล็กซานเดรีย คือเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองในประเทศอียิปต์ รองจากกรุงไคโร มีประชากรกว่า 3-5 ล้านคน ตัวเมืองแห่งนี้เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ อีกทั้งเป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานอีกแห่งของโลก ด้วยเป็นเมืองสำคัญในสมัยโรมันปกครองอียิปต์ รวมถึงการเป็นสถานที่แห่งตำนานรักอันยิ่งใหญ่ของพระนางคลีโอพัตรา และจอมทัพผู้กล้าแห่งโรมัน มาร์ค แอนโทนี่
เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งประมงเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ราคอนดาห์ ราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น 332 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เดินทางมาพบจึงมีการให้ปรับปรุงขยายเป็นเมืองใหญ่ เพื่อที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงและมีการตั้งชื่อให้สอดคล้องกับพระองค์ การปกครองมีมาต่อเนื่องยาวนานจนกระทั่งการเข้ามาของศาสนาอิสลามจากอาณาจักรออโตมัน เมืองแห่งนี้จึงเป็นแหล่งรวบรวมของศิลปะหลากหลายแขนง ตั้งแต่ กรีก โรมัน และตุรกี
อย่างไรก็ตาม เมืองอเล็กซานเดรียโบราณได้หายสาบสูญไปกว่า 1,600 ปีแล้ว เนื่องจากได้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิพัดกวาดสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโบราณวัตถุหรือโบราณสถาน พระราชวัง รวมถึงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับคลีโอพัตรา, จูเลียต ซีซาร์, มาร์ค แอนโทนี่ และ ออกเตเวียส (Octavian) จมหายไปใต้น้ำ เมื่อราวศตวรรษที่ 4
สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่นั้นมี 2 อย่างที่กลายมาเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคแรก คือ ประภาคารแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งได้มีการทรุดตัวลงและมีการสร้างป้อม Citadel ขึ้นมาแทนที่ และสุสานของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ หรือ “คาตาโคมบ์” (Catacombs) ที่ยังเหลืออยู่ โดยนักโบราณคดีเชื่อว่า เมืองอเล็กซานเดรียโบราณเคยมีประชากรอยู่มากถึง 5 แสนคน
หลังจากนั้นได้มีการสำรวจอ่าวอเล็กซานเดรีย ในระดับความลึก 5-6 เมตร นักโบราณคดีได้ค้นพบซากเมืองโบราณ และสมบัติจำนวนมากกว่า 2,000 ชิ้น รวมถึงสฟิงห์อีก 26 ตัว และซากเรืออับปางของกรีกและโรมันโบราณหลับใหลอยู่ ไม่นานทางการอียิปต์ได้วางแผนสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำในบริเวณ
‘ห้องสมุดใหม่แห่งอเล็กซานเดรีย’ ซึ่งเชื่อกันว่าพระนางคลีโอพัตราได้ซ่อนตัวกับมาร์ค แอนโทนี่ ก่อนปลงพระชนม์ชีพ
นายฌากส์ รูจเจอรี่ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในคณะการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำ ได้ออกแบบพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำให้มี
เสารูปใบเรือสูง 4 มุม เหมือนกับเรือแห่ง เฟลลูคัส ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ท่องแม่น้ำไนล์ในสมัยโบราณ บนยอดเสา 4 ยอด เป็นสัญลักษณ์แทนประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย อย่างไรก็ตาม น้ำทะเลในอ่าวมีความขุ่นมาก นักท่องเที่ยวอาจมองเห็นความสวยงามของโบราณวัตถุใต้ทะเลไม่ชัด โดยทางแก้อาจเป็นทำความสะอาดน้ำทะเลในบริเวณนั้นใหม่ หรือสร้างอ่าวเทียมขึ้นมาแทนที่
การสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำในครั้งนี้ ไม่เพียงคำนึงถึงความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขายังทำตามกฏยูเนสโก ในเรื่อง ‘โบราณวัตถุใต้น้ำก็ควรเก็บรักษาไว้ใต้น้ำ’ เพื่อเป็นการเคารพต่อประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นวิธีเก็บรักษาโบราณวัตถุใต้น้ำที่ดีที่สุดอีกด้วย ทางการของอียิปต์คาดว่า เมื่อสร้างเสร็จสิ้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะดึงดูดผู้คนและเงินตราเข้ามาหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศได้ดี
Catacombs of Kom el Shoqafa
สุสานแห่งอเล็กซานเดรีย (Catacombs of Kom el Shoqafa) เป็นสถานที่ฝังศพใต้ดินของกษัตริย์อียิปต์โบราณอีกแบบหนึ่งนอกเหนือไปจากปิรามิด
อยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ อุโมงค์แห่งนี้มีชื่อเรียกว่า คาตาโกมบ์ โดยขุดลึกเข้าไปในภูเขาหินทรายเป็นขั้นๆ บางตอนมีความลึกถึง 70-80 ฟุต มีทางเดินกว้าง 3-4 ฟุต ทางเดินจะวกไปเวียนมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ ผนังอุโมงค์ถูกเจาะเป็นช่องๆ ลึกเข้าไปเพื่อใช้เป็นที่บรรจุศพ มีแท่นบูชาและตะเกียงดวงเล็กๆ แขวนไว้ บางส่วนของอุโมงค์แห่งนี้ได้ตบแต่งเอาไว้อย่างวิจิตรพิสดารสภาพในปัจจุบัน ยังคงความสมบูรณ์เอาไว้พอที่จะให้ผู้สนใจเข้าไปเที่ยวชมได้
สุสานแห่งนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คาตาโกมบ์ CataComb มีทั้งหมดสามชั้นได้แก่
ชั้นที่ 1 มีไว้สำหรับเตรียมการปลงศพ
ชั้นที่ 2 เป็นที่เก็บรักษา และ
ชั้นที่ 3 ใช้เป็นที่รวมญาติเพื่อระลึกถึงผู้ตาย โดยมีการเลี้ยงสังสรรค์กันทั้งวัน
ซึ่งเล่ากันว่าตอนที่นักโบราณคดีค้นพบที่นี่เป็นครั้งแรก บนโต๊ะยังมีขวดไวน์และจานวางอยู่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง เป็นสุสานของใคร และสร้างขึ้นเมื่อใด ปัจจุบันยังมีสภาพเกือบสมบูรณ์จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคกลาง
Cr.ภาพ commons.wikimedia.org
Pharos of Alexandria
ประภาคารนี้สร้างในศตวรรษที่ 3 ในสมัยพระเจ้าปโตเลมีที่สองของอียิปต์ช่วงปี 270 ปีก่อนคริสตกาล โดยสถาปนิกโซสตราโทส (Sostrates)
ทำด้วยหินอ่อนสีขาวสลีกลวดลาย วิจิตรงดงาม ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน ท่าเรือของเกาะฟาโรส ประภาคารนี้ได้ชื่อมาจากชื่อเกาะที่ตั้งอยู่
คือธิฟาโรสและกลายมารากศัพท์ในการเรียกชื่อประภาคารใน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาอิตาลี ภาษาสเปน และภาษาโรมัน
ตามหลักฐานคาดว่าประภาคารนี้สูงถึง 377 - 492 ฟุต มี 3 ชั้น ช่วงล่างเป็นรูปสี่เหลี่ยม ช่วงกลางเป็นรูปแปดเหลี่ยม และช่วงบนเป็นทรงกลม ยอดบนสุดของประภาคารนี้ มีภาชนะสำหรับใส่เชื้อเพลิงเพื่อให้ไฟลุกโชติช่วงทั้งวันทั้งคืน สัญญาณไฟบนยอดประภาคารนี้เห็นได้ไกลในทะเลเมดิเตอเรเนียนกว่า 100 ไมล์ ที่ยอดประภาคารนี้มีรูปปั้นของเทพเจ้าโปเซดอน และที่ชั้นล่างของตัวอาคารมีห้องมากกว่า 100 ห้อง
ช่วงบนมีกระจกขนาดใหญ่มีตำนานว่า กระจกนี้สะท้อนเหตุการณ์ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล ข้ามไปจนถึงภาคตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียนทและเอเชียไมเนอร์ และสามารถสะท้อนแสงอาทิตย์ไปเผาเรือศรัตรูในทะเลได้ ทำให้ประภาคารแห่งเมืองอเล็กซานเดรียนี้มีชื่อเสียง เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก
การก่อสร้างประภาคารใช้เวลากว่า 20 ปี บนยอดมีตะเกียงขนาดใหญ่ซึ่งสันนิษฐานว่าเอาไว้ปล่อยควันในเวลากลางวันและใช้เป็นจุดส่องสว่างในเวลากลางคืนจนสามารถมองเห็นทะเลเมดิเตอร์เรเนียนได้อย่างชัดเจน แต่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าคนโบราณใช้วิธีการใดในการจุดไฟส่องสว่าง
ความงดงามและยิ่งใหญ่ของประภาคารสิ้นสุดลงหลังพังทลายอย่างราบคาบจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่เมื่อช่วงศตวรรษที่ 13 หลังจากที่ประภาคารตั้งตระหง่านมานานถึง 1,600 ปี เหลือเพียงหลักฐานบางส่วนที่ยังคงมีอยู่ให้เห็นจนปี ค.ศ. 1375 แต่ถึงอย่างนั้นประภาคารแห่งนี้ก็ยังได้รับการยกให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
ที่มา
http://www.about108.com/
Cr.
http://kasinee58m5945.blogspot.com/2015/09/pharos-of-alexandria.html / เขียนโดย Unknown
Library of Alexandria
นักโบราณคดี ได้ขุดพบซากโบราณสถานที่เชื่อว่าเป็นซากของ หอสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย หรือ ห้องสมุดแห่งอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) ซึ่งเป็นแหล่งความรู้ และ วิทยาการของโลกแห่งแรกของโลก และเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญมากแห่งหนึ่ง นอกจากนี้ยังได้จัดทำรายการหนังสือ ซึ่งนับว่าเป็นการจัดทำบรรณานุกรมครั้งแรก เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อนอีกด้วย
ทีมนักโบราณคดีของโปแลนด์และอียิปต์ ทำการขุดค้นบางส่วนของ เมืองอเล็กซานเดียร์ ซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่ง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และได้พบสิ่งก่อสร้างซึ่งมีลักษณะคล้าย ห้องเรียน และหอประชุม ราว 2,000 ปีที่แล้ว ห้องสมุด แห่งนี้เคยเป็นศูนย์รวมของ นักคิด นักเขียนแห่งโลกโบราณ เป็นที่สะสมผลงานสำคัญๆของนักปราชญ์กรีก ทั้งของ พลาโต โซเครติส และของอีกหลายๆ คน แต่น่าเสียดายที่ผลงานเหล่านั้นถูกเผาทำลายไปพร้อมกับตัวห้องสมุด
ย้อนหลังไปเมื่อ ราชวงศ์ปโตเลมี (Ptolemy) ขึ้นครองบัลลังก์อียิปต์ อเล็กซานเดรียได้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์หลั่งไหลมาสู่เมืองนี้ ในสมัยนั้นการมีหนังสือวรรณกรรมและสิ่งขีดเขียนอย่างสมบูรณ์ทำให้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย เป็นห้องสมุดที่ดีที่สุดในโลกและเป็นศูนย์วิทยาการที่นักปราชญ์ทุกคนจะต้องไปเยือน
ในสมัยนั้นเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้นที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้
เมื่อ จูเลียด ซีซาร์ จักรพรรดิ์โรมัน (Julius Caesar) เข้าโจมตีและยึดเมืองของพระนางคลีโอพัตราเมื่อ 48 ปีก่อนคริสตกาลและได้เผาบางส่วนของห้องสมุด แต่ในที่สุด ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย (Library of Alexandria) แห่งนี้ก็ถูกทำลายไปอย่างย่อยยับในสมัยธีออโดเชียส กษัตริย์แห่งโรมันซึ่งสั่งให้ทำลายเอกสาร วัดวาอารามต่างซึ่งไม่ใช่ของศาสนาคริสต์ และถือว่าเป็นพวกนอกรีตในปี 391
ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ Mustafa al-Abbadi คิดฟื้นคืนชีพห้องสมุด Alexandria ขึ้นมาอีกภายใต้อุปสรรคมากมาย แต่เมื่อรัฐบาลอียิปต์, รัฐบาลอิรัก, รัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมให้เงินทุนในการสร้าง และองค์การ Unesco ก็เห็นด้วยในการให้ผู้เชี่ยวชาญ จึงได้จัดสร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรียขึ้นมาใหม่ใกล้กับพื้นที่เดิมในสมัยก่อน ใช้เวลาการสร้างนานกว่า 12 ปี และเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2002 มีสถาปัตยกรรมทันสมัย และมีระบบป้องกันอัคคีภัยเป็นอย่างดี โดยรัฐบาลอียิปต์คิดหวังจะให้ห้องสมุดนี้เป็นศูนย์กลางการเรียน การวิจัยอารยธรรมของอียิปต์ กรีซ และประเทศต่างๆ ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
มีการรวบรวมหนังสือทุกภาษาทั่วโลก มีหนังสือมากกว่า 8 ล้านเล่ม วารสาร 4,000 ฉบับ และหนังสือหายาก 50,000 เล่ม ต้นฉบับตัวเขียน แผนที่และโสตทัศนวัสดุ 50,000 รายการ พื้นที่ห้องอ่านหนังสือ 70,000 ตารางเมตร อาคารที่เป็นท้องฟ้าจำลอง อนุรักษ์อารยธรรมโบราณ มีจอภาพ 9 จอ พร้อมเครื่องฉาย 9 เครื่อง ในแต่ละภาพสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ เป็นการนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ของอียิปต์ 5,000 ปีที่ผ่านมา
เรียบเรียง teen.mthai.com
อ้างอิง สำรวจโลก,thailibrary.in.th,libtsu.wordpress.com,
http://lunarroom.com/
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
โบราณสถานแห่ง Alexandria
เดิมทีพื้นที่แห่งนี้เป็นแหล่งประมงเล็กๆ ที่มีชื่อว่า ราคอนดาห์ ราว 1,200 ปีก่อนคริสตกาล หลังจากนั้น 332 ปีก่อนคริสตกาล พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชได้เดินทางมาพบจึงมีการให้ปรับปรุงขยายเป็นเมืองใหญ่ เพื่อที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงและมีการตั้งชื่อให้สอดคล้องกับพระองค์ การปกครองมีมาต่อเนื่องยาวนานจนกระทั่งการเข้ามาของศาสนาอิสลามจากอาณาจักรออโตมัน เมืองแห่งนี้จึงเป็นแหล่งรวบรวมของศิลปะหลากหลายแขนง ตั้งแต่ กรีก โรมัน และตุรกี
อย่างไรก็ตาม เมืองอเล็กซานเดรียโบราณได้หายสาบสูญไปกว่า 1,600 ปีแล้ว เนื่องจากได้เกิดแผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิพัดกวาดสิ่งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นโบราณวัตถุหรือโบราณสถาน พระราชวัง รวมถึงสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับคลีโอพัตรา, จูเลียต ซีซาร์, มาร์ค แอนโทนี่ และ ออกเตเวียส (Octavian) จมหายไปใต้น้ำ เมื่อราวศตวรรษที่ 4
สิ่งที่ยังหลงเหลืออยู่นั้นมี 2 อย่างที่กลายมาเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคแรก คือ ประภาคารแห่งเมืองอเล็กซานเดรีย ซึ่งได้มีการทรุดตัวลงและมีการสร้างป้อม Citadel ขึ้นมาแทนที่ และสุสานของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ หรือ “คาตาโคมบ์” (Catacombs) ที่ยังเหลืออยู่ โดยนักโบราณคดีเชื่อว่า เมืองอเล็กซานเดรียโบราณเคยมีประชากรอยู่มากถึง 5 แสนคน
หลังจากนั้นได้มีการสำรวจอ่าวอเล็กซานเดรีย ในระดับความลึก 5-6 เมตร นักโบราณคดีได้ค้นพบซากเมืองโบราณ และสมบัติจำนวนมากกว่า 2,000 ชิ้น รวมถึงสฟิงห์อีก 26 ตัว และซากเรืออับปางของกรีกและโรมันโบราณหลับใหลอยู่ ไม่นานทางการอียิปต์ได้วางแผนสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำในบริเวณ
‘ห้องสมุดใหม่แห่งอเล็กซานเดรีย’ ซึ่งเชื่อกันว่าพระนางคลีโอพัตราได้ซ่อนตัวกับมาร์ค แอนโทนี่ ก่อนปลงพระชนม์ชีพ
นายฌากส์ รูจเจอรี่ สถาปนิกชาวฝรั่งเศส และเป็นหนึ่งในคณะการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำ ได้ออกแบบพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำให้มี
เสารูปใบเรือสูง 4 มุม เหมือนกับเรือแห่ง เฟลลูคัส ซึ่งเป็นเรือที่ใช้ท่องแม่น้ำไนล์ในสมัยโบราณ บนยอดเสา 4 ยอด เป็นสัญลักษณ์แทนประภาคารแห่งอเล็กซานเดรีย อย่างไรก็ตาม น้ำทะเลในอ่าวมีความขุ่นมาก นักท่องเที่ยวอาจมองเห็นความสวยงามของโบราณวัตถุใต้ทะเลไม่ชัด โดยทางแก้อาจเป็นทำความสะอาดน้ำทะเลในบริเวณนั้นใหม่ หรือสร้างอ่าวเทียมขึ้นมาแทนที่
การสร้างพิพิธภัณฑ์ใต้น้ำในครั้งนี้ ไม่เพียงคำนึงถึงความสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่พวกเขายังทำตามกฏยูเนสโก ในเรื่อง ‘โบราณวัตถุใต้น้ำก็ควรเก็บรักษาไว้ใต้น้ำ’ เพื่อเป็นการเคารพต่อประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นวิธีเก็บรักษาโบราณวัตถุใต้น้ำที่ดีที่สุดอีกด้วย ทางการของอียิปต์คาดว่า เมื่อสร้างเสร็จสิ้น พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะดึงดูดผู้คนและเงินตราเข้ามาหมุนเวียนเศรษฐกิจในประเทศได้ดี
อยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ อุโมงค์แห่งนี้มีชื่อเรียกว่า คาตาโกมบ์ โดยขุดลึกเข้าไปในภูเขาหินทรายเป็นขั้นๆ บางตอนมีความลึกถึง 70-80 ฟุต มีทางเดินกว้าง 3-4 ฟุต ทางเดินจะวกไปเวียนมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ ผนังอุโมงค์ถูกเจาะเป็นช่องๆ ลึกเข้าไปเพื่อใช้เป็นที่บรรจุศพ มีแท่นบูชาและตะเกียงดวงเล็กๆ แขวนไว้ บางส่วนของอุโมงค์แห่งนี้ได้ตบแต่งเอาไว้อย่างวิจิตรพิสดารสภาพในปัจจุบัน ยังคงความสมบูรณ์เอาไว้พอที่จะให้ผู้สนใจเข้าไปเที่ยวชมได้
สุสานแห่งนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า คาตาโกมบ์ CataComb มีทั้งหมดสามชั้นได้แก่
ชั้นที่ 1 มีไว้สำหรับเตรียมการปลงศพ
ชั้นที่ 2 เป็นที่เก็บรักษา และ
ชั้นที่ 3 ใช้เป็นที่รวมญาติเพื่อระลึกถึงผู้ตาย โดยมีการเลี้ยงสังสรรค์กันทั้งวัน
ซึ่งเล่ากันว่าตอนที่นักโบราณคดีค้นพบที่นี่เป็นครั้งแรก บนโต๊ะยังมีขวดไวน์และจานวางอยู่ ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง เป็นสุสานของใคร และสร้างขึ้นเมื่อใด ปัจจุบันยังมีสภาพเกือบสมบูรณ์จัดเป็นสิ่งมหัศจรรย์ 1 ใน 7 ของโลกยุคกลาง
ที่มา http://www.about108.com/
Cr. http://kasinee58m5945.blogspot.com/2015/09/pharos-of-alexandria.html / เขียนโดย Unknown
ทีมนักโบราณคดีของโปแลนด์และอียิปต์ ทำการขุดค้นบางส่วนของ เมืองอเล็กซานเดียร์ ซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่ง ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และได้พบสิ่งก่อสร้างซึ่งมีลักษณะคล้าย ห้องเรียน และหอประชุม ราว 2,000 ปีที่แล้ว ห้องสมุด แห่งนี้เคยเป็นศูนย์รวมของ นักคิด นักเขียนแห่งโลกโบราณ เป็นที่สะสมผลงานสำคัญๆของนักปราชญ์กรีก ทั้งของ พลาโต โซเครติส และของอีกหลายๆ คน แต่น่าเสียดายที่ผลงานเหล่านั้นถูกเผาทำลายไปพร้อมกับตัวห้องสมุด
ปัจจุบันนักประวัติศาสตร์ที่ชื่อ Mustafa al-Abbadi คิดฟื้นคืนชีพห้องสมุด Alexandria ขึ้นมาอีกภายใต้อุปสรรคมากมาย แต่เมื่อรัฐบาลอียิปต์, รัฐบาลอิรัก, รัฐบาลฝรั่งเศส ร่วมให้เงินทุนในการสร้าง และองค์การ Unesco ก็เห็นด้วยในการให้ผู้เชี่ยวชาญ จึงได้จัดสร้างห้องสมุดอเล็กซานเดรียขึ้นมาใหม่ใกล้กับพื้นที่เดิมในสมัยก่อน ใช้เวลาการสร้างนานกว่า 12 ปี และเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2002 มีสถาปัตยกรรมทันสมัย และมีระบบป้องกันอัคคีภัยเป็นอย่างดี โดยรัฐบาลอียิปต์คิดหวังจะให้ห้องสมุดนี้เป็นศูนย์กลางการเรียน การวิจัยอารยธรรมของอียิปต์ กรีซ และประเทศต่างๆ ในเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก
มีการรวบรวมหนังสือทุกภาษาทั่วโลก มีหนังสือมากกว่า 8 ล้านเล่ม วารสาร 4,000 ฉบับ และหนังสือหายาก 50,000 เล่ม ต้นฉบับตัวเขียน แผนที่และโสตทัศนวัสดุ 50,000 รายการ พื้นที่ห้องอ่านหนังสือ 70,000 ตารางเมตร อาคารที่เป็นท้องฟ้าจำลอง อนุรักษ์อารยธรรมโบราณ มีจอภาพ 9 จอ พร้อมเครื่องฉาย 9 เครื่อง ในแต่ละภาพสามารถคลิกเข้าไปดูรายละเอียดได้ เป็นการนำเสนอภาพประวัติศาสตร์ของอียิปต์ 5,000 ปีที่ผ่านมา
เรียบเรียง teen.mthai.com
อ้างอิง สำรวจโลก,thailibrary.in.th,libtsu.wordpress.com,http://lunarroom.com/