ความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ ภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ฯลฯ มีจุดประสงค์เพื่ออะไร?

กระทู้คำถาม
ทุกคนทราบดีว่า ศาสนาพุทธสอนเรื่องทุกข์ และการพ้นทุกข์ นั่นหมายความว่า เป้าหมายของพระพุทธศาสนาก็คือ การพ้นทุกข์ ไม่ใช่การได้ไปเกิดในสวรรค์ ไปเกิดเป็นเทวดา เกิดเป็นพรหม เพียงแต่สิ่งเหล่านี้เป็นทางออกหนึ่งของผู้ที่ยังไม่สามารถพ้นจากทุกข์ได้

แต่นั่นก็เป็นเพียงทางออกหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป้าหมายที่แท้จริง ผมอยากถามว่า ความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ ภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ฯลฯ มีเป้าหมายหรือจุดประสงค์เพื่ออะไร?

ผมจะทิ้งคำถามไว้ระยะหนึ่ง ช่วงค่ำๆ หรืออาจจะเป็นพรุ่งนี้ถ้าสะดวก ผมจะมาดูคำตอบพร้อมกับเฉลยอีกที
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 30
จนถึงตอนนี้ยังไม่มีใครที่ตอบได้ถูกต้อง แต่จะมีความเห็นหนึ่งที่ตอนแรกผมอ่านผิดไป นึกว่ามีคนตอบถูกต้องแล้ว

อย่างไรก็ตาม ผมขออนุโมทนาบุญกับหลายๆ ความเห็น ขออนุโมทนาบุญกับทุกความเห็นก็แล้วกัน และขอบคุณหลายความเห็นที่ตอบได้ตรงประเด็น ไม่นอกเรื่อง ยังอยากให้เป็นแบบนี้มากกว่านี้

ผมก็ขอเฉลยเลยก็แล้วกัน ก่อนอื่น ถามว่าสิ่งนี้สำคัญอย่างไร?

ความเห็นผมคิดว่าสำคัญมาก เพราะถ้าเราทำอะไรโดยที่ไม่รู้จุดประสงค์ เราจะนำสิ่งนั้นมาใช้ไม่ถูกต้อง ไม่ตรงประเด็น

ส่วนใหญ่ที่ตอบคำถามกันมา จะเน้นไปที่เรื่องบาป บุญ หิริ โอตตัปปะ คือละอายและเกรงกลัวต่อบาป ไม่กล้าทำบาป ฯลฯ จะเน้นไปที่สิ่งนี้กัน

ซึ่งคนที่เชื่อเรื่องพวกนี้ ก็จะเป็นเช่นนั้นจริงๆ แต่นั่นยังไม่ใช่เป้าหมายหรือจุดประสงค์ที่แท้จริง

ก่อนที่ผมจะบอกว่าแล้วจุดประสงค์จริงๆ คืออะไร มีสิ่งหนึ่งที่ผมตั้งใจไม่พูดคำนี้ออกมาเลย เพราะถ้าพูดออกไปก็อาจจะเป็นการชี้นำให้ตอบตามตำรา ไม่ได้ตอบตามความเข้าใจ ซึ่งมีสมาชิกท่านหนึ่งคือคุณวินโย ความเห็นที่ 18 (ที่ตอนแรกผมเข้าใจว่าเจอคนที่ตอบได้ถูกต้องแล้ว) และยังมีคุณเฉลิมศักดิ์อีกคนที่ยกเรื่องนี้มาพูดถึง ซึ่งคุณวินโยบอกว่า

"...ความเชื่อตามที่ท่าน จขกท นำมาถามนั้น นับเป็น 1 ใน สัมมาทิฏฐิ..."

คำที่ผมตั้งใจจะไม่พูดออกมาก็คือคำว่า "สัมมาทิฏฐิ" ซึ่งความเชื่อเรื่องนรก สวรรค์ ภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ฯลฯ ก็คือสัมมาทิฏฐินั่นเอง เป็นสัมมาทิฏฐิของปุถุชน (โลกียะ) มีอะไรบ้างให้ดูในความเห็นที่ 21 ที่คุณเฉลิมศักดิ์ยกมา มีอยู่ 10 ข้อ (นรก สวรรค์ ภพภูมิ ฯลฯ ก็คือในส่วนของโอปปาติกะข้อที่ 9)

และจุดประสงค์ของความเชื่อเหล่านี้ หากขาดสัมมาทิฏฐืสิ่งนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย นั่นคือ สัมมาสังกัปปะ

ดังนั้น คำตอบของกระทู้นี้ก็คือ สัมมาสังกัปปะ

สัมมาสังกัปปะคืออะไร ประกอบด้วยอะไรบ้าง ดูรายละะอียดที่วิกิพีเดียนี้ สัมมาสังกัปปะ

ถามว่า มีความจำเป็นอย่างไรที่ต้องโฟกัสหรือพุ่งเป้าหมายไปที่สัมมาสังกัปปะ?

สิ่งแรกเลยคือ เป้าหมายปลายทางของเราก็คือ การพ้นทุกข์หรือการบรรลุธรรม ความเชื่อเรื่องภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ก็เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายคือการบรรลุธรรมเท่านั้น ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่นเลย

และถ้าจำกัดให้แคบขึ้น ความเชื่อทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อให้เกิดสัมมาสังกัปปะเท่านั้น ไม่มากหรือเกินไปกว่านี้

ดังนั้น อะไรที่ไม่จำเป็น เกินเลยหรือนอกเหนือไปจากนั้น คือไม่นำไปสู่สัมมาสังกัปปะ เราไม่จำเป็นต้องไปสนใจ อีกทั้งเป็นการไม่เปิดโอกาสให้คนไม่หวังดีนำความเชื่อนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นด้วย

และผมยังเชื่อด้วยว่า ถ้าเรานำความเชื่อนี้มาใช้ตรงตามวัตถุประสงค์ คนที่ต่อต้านเรื่องนรก สวรรค์ ภพภูมิ การเวียนว่ายตายเกิด กฏแห่งกรรม ฯลฯ จะลดน้อยลง จะเข้าใจและอาจจะยอมรับในที่สุดด้วย

ที่จริงอยากอธิบายว่าทำไมถ้าเราเน้นจุดประสงค์ไปที่สัมมาสังกัปปะ ไม่เน้นไปที่เรื่องอื่น และประโยชน์คืออะไร แต่ถ้าตอบในความเห็นเดียวนี้คงยาวมาก ไว้โอกาสหน้า แต่ถ้าบอกคร่าวๆ ก็คือ สัมมาสังกัปปะ เน้นที่การทำประโยชน์เพื่อผู้อื่น ไม่ใช่เพื่อตัวเองเลย เช่นเพื่อได้บุญ ได้ไปสวรรค์ เกิดมาร่ำรวย ฯลฯ รวมถึงไม่ไปใช้เพื่อข่มขู่คน ทำให้คนกลัว คนจะได้ไม่กล้าทำบาป ฯลฯ ซึ่งทุกวันนี้เรานำความเชื่อเหล่านี้มาใช้ในลักษณะนี้แทบทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถเข้าถึงแก่นของการปฏิบัติ หรือมีเป้าหมายเพื่อไปสู่ความพ้นทุกข์กันทุกคน ดังนั้น เราจะห้ามในส่วนที่เป็นเปลือกคงไม่ได้ ผมถึงบอกแต่แรกว่า การหวังจะได้ไปเกิดในสวรรค์ เกิดเป็นพรหม หรือเกิดมาดี เป็นทางออกหรือทางเลือกหนึ่ง

แต่ที่ทำได้ก็คือ พยายามควมคุมให้อยู่ในส่วนที่พอเหมาะ อาจจะด้วยการให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้คนที่ไม่หวังดีนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 47
จากความเห็นที่
https://ppantip.com/topic/40065721/comment18
https://ppantip.com/topic/40065721/comment37

ทบทวนคำนิยาม

ศรัทธา : ความเชื่อ, ความเชื่อถือ; ความเชื่อมั่นในสิ่งที่ดีงาม;
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C8%C3%D1%B7%B8%D2&original=1

ทิฏฐิ : ความเห็น, ทฤษฎี;
https://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B7%D4%AF%B0%D4&original=1




ท่าน จขกท กล่าวถึงความเชื่อ แต่จากที่ได้อ่านกระทู้จุดประสงค์น่าจะหมายถึง ความเชื่อที่สื่อไปถึงความหมายของคำว่า  ทิฏฐิ // เชื่อว่า --> มีทิฏฐิว่า...




กล่าวโดยสรุป
พาหิยสูตร (ในความคิดเห็นที่ 37)
อปัณณกสูตร และ มหาจัตตารีสกสูตร

การมีสัมมาทิฏฐิที่เป็นอาสวะ เป็นไปเพื่ออุปธิ ให้ผลแก่ขันธ์นั้น จำเป็นจะต้องมีครบทั้ง 10 ประการ ถ้ามีเฉพาะข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อแต่ไม่ครบ 10 ข้อ (คือ 1 ข้อ หรือ 2-9 ข้อ) จะเรียกว่าเป็นผู้มีสัมมาทิฏฐิหาได้ไม่ เมื่อมีเพียงบางข้อ หรือไม่ครบทุกข้อ ก็ไม่ใช่ฐานะที่จะมีสัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะ

เมื่อยังไม่มีสัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะ ก็ไม่ใช่ฐานะที่จะมีสัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะ  
เมื่อไม่มีสัมมาสังกัปปะที่เป็นอริยะ ก็ไม่ใช่ฐานะที่จะมี ......สัมมาสมาธิ ...

สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ สัมมาทิฏฐิ
องค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้ เพียบพร้อมด้วย
อริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็น
โลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค



เมื่อมีสัมมาทิฏฐิที่มีอาสวะ ครบทุกข้อ แล้วต่อ ๆ ไป จึงจะเป็นผู้ที่มี สัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะได้ ซึ่งเป็นหัวหน้าขององค์มรรค (ดูภาพประกอบ)



นั่นคือ มีสัมมาทิฏฐิที่เป็นอาสวะ ครบ 10 จึงจะมี สัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอริยะได้ แล้วจึงเป็นหัวหน้าของสัมมาสังกัปปะ

ไม่ควรสรุปว่า มีสัมมาทิฏฐิที่เป็นอาสวะแล้ว ก็ข้ามไปเป็นผู้ที่มีสัมมาสังกัปปะได้เลย

สัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรคเป็นอย่างไร
             คือ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
สัมมาทิฏฐิองค์แห่งมรรคของภิกษุผู้มีจิตไกลจากข้าศึก มีจิตหาอาสวะมิได้
เพียบพร้อมด้วยอริยมรรค เจริญอริยมรรคอยู่ นี้เป็นสัมมาทิฏฐิอันเป็นอริยะ
ที่ไม่มีอาสวะ เป็นโลกุตตระ เป็นองค์แห่งมรรค

ปัญญา ในสัมมาทิฏฐิ ในบางพระสูตร แสดงถึง  
                    ความรู้ในทุกข์
                    ความรู้ในทุกขสมุทัย
                    ความรู้ในทุกขนิโรธ
                    ความรู้ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา
นี้เป็นตัวอย่าง ปัญญา ความรู้ในสัมมาทิฏฐิ
บางแห่งทรงแสดงว่า  ความรู้ (ปัญญา) รู้ตามความเป็นจริงว่า ...เป็นของไม่เที่ยง  เป็นอนัตตา
นี้เรียกว่า ปัญญา ในสัมมาทิฏฐิ ซึ่งเป็นหัวหน้าแล้วจึงดำเนินไปต่อที่มรรคองค์อื่น อันได้แก่ สัมมาสังกัปปะ .....




ในครั้งพุทธกาล ผู้ที่ได้ฟังธรรม จาก  
1.โดยตรงจากพระพุทธเจ้า
2.จากพระครูอุปัชฌาย์อาจารย์
3.จากกัลยาณมิตร  
จึงได้รู้จักธรรม และนำไปศึกษาปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เพื่อเกิดปฏิเวธ

การที่ใครฟังธรรมแล้วถ้าเข้าใจไม่ตรงแล้วตรึกนึกเอาเอง
พร้อมกับคิดว่าของตนตรึกนึกเข้าใจเองนั้นถูกต้องแล้ว ก็อาจมีความผิดพลาดได้  
ในครั้งพุทธกาลก็มี เช่น ท่านพระสาติ ท่านพระอริฏฐะ ท่านพระยมกะ  สมณุทเทสกัณฏกะ เป็นต้น

ในยุคปัจจุบัน ก็ต้องอาศัยค้นคว้าศึกษาอ่านจากพระไตรปิฎก
แม้สอบถามเรียนรู้ธรรมจากพระภิกษุผู้มีความรู้ในธรรมมาก ๆ ตัวอย่าง เช่น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์  (ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านก็ยังแสดงไว้ว่า ให้นำคำสอน คำบรรยายของท่านไปตรวจสอบจากพระไตรปิฎก  

กล่าวโดยรวม
พระภิกษุที่ถ่ายทอดธรรม (รวมถึงบุคคลทั่วไป) แสดงธรรม ไม่อิงอรรถ ไม่อิงธรรม ไม่อิงวินัย ไม่อิงพระไตรปิฎก ก็อาจจะนำพาตนเองและผู้ฟังรวมถึงผู้ที่ปวารนาถวายตนเป็นลูกศิษย์ เข้าใจผิด หลงผิด เกิดความไขว้เขว และ ถ่ายทอดบอกสอนผู้อื่นให้รู้แบบผิด ๆ

เมื่อศึกษาแล้ว ถ้าใครต้องการฝึกฝนต่อไป ก็ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์
ความคิดเห็นที่ 21
อะไรคือสัมมาทิฏฐิ (ปัญญา)
http://ppantip.com/topic/33586481/comment25

กัมมัสกตาปัญญา ปัญญารู้ว่าสัตว์มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว มี ๑๐ ประการ คือ

๑. ปัญญารู้เห็นว่า การให้ทานย่อมมีผล

๒. ปัญญารู้เห็นว่า การบูชา ย่อมมีผล

๓. ปัญญารู้เห็นว่า การบวงสรวงเทวดา ย่อมมีผล

๔. ปัญญารู้เห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและชั่วมีอยู่ (ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทั้งทางตรงและทางอ้อม)

๕. ปัญญารู้เห็นว่า โลกนี้มีอยู่ (ผู้ที่จะมาเกิดนั้นมี)

๖. ปัญญารู้เห็นว่า โลกหน้ามีอยู่ (ผู้ที่จะไปเกิดนั้นมี)

๗. ปัญญารู้เห็นว่า มารดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อมารดาย่อมจะได้รับผล)

๘. ปัญญารู้เห็นว่า บิดามีอยู่ (การทำดี ทำชั่วต่อบิดา ย่อมจะได้รับผล)

๙. ปัญญารู้เห็นว่า โอปปาติกสัตว์นั้นมีอยู่(สัตว์นรก เปรต อสุรกาย เทวดา พรหม นั้นมี)

๑๐. ปัญญารู้เห็นว่า พระพุทธเจ้าผู้ตรัสรู้เองโดยชอบด้วยตนเองมีอยู่
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

ศรัทธา ๔
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279


สัทธา ความเชื่อ;
ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;



http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=4&t=21279

เราได้บริภาษพระสาวกทั้งหลายในศาสนาของพระพุทธเจ้าพระนามว่าผุสสะ ว่าท่านทั้งหลายจงเคี้ยว จงกินแต่ข้าวแดง แต่อย่ากินข้าวสาลีเลย ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราอันพราหมณ์นิมนต์แล้ว อยู่ในเมืองเวรัญชา บริโภคข้าวแดงตลอด ๓ เดือน

ในกาลนั้น เมื่อนักมวยกำลังชกกัน เราได้ห้ามบุตรนักมวยปล้ำ ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น ความทุกข์ที่หลัง (ปวดหลัง) ได้มีแล้วแก่เรา

เมื่อก่อนเราเป็นหมอรักษาโรค ได้ถ่ายยาให้เศรษฐีบุตร (ตาย) ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น โรคปักขันทิกาพาธจึงมีแก่เรา

เราชื่อว่าโชติปาละ ได้กล่าวกะพระสุคตเจ้าพระนามว่า กัสสปะ ในกาลนั้นว่า จักมีโพธิมณฑลแต่ที่ไหน โพธิญาณท่านได้ยากอย่างยิ่ง ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราได้ประพฤติกรรมที่ทำได้ยากมาก (ทุกกรกิริยา) ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมตลอด ๖ ปี แต่นั้นจึงได้บรรลุโพธิญาณ แต่เราก็มิได้บรรลุโพธิญาณอันสูงสุดด้วยหนทางนี้ เราอันบุรพกรรมตักเตือนแล้ว จึงแสวงหาโพธิญาณโดยทางที่ผิด

(บัดนี้) เราเป็นผู้สิ้นบาปและบุญ เว้นจากความเร่าร้อนทั้งปวง ไม่มีความเศร้าโศก ไม่คับแค้น เป็นผู้ไม่มีอาสวะ จักนิพพาน พระชินเจ้าทรงบรรลุกำลังแห่งอภิญญาทั้งปวงแล้ว ทรงพยากรณ์โดยทรงหวังประโยชน์แก่ภิกษุสงฆ์ที่สระใหญ่อโนดาต ด้วยประการฉะนี้แล. ทราบว่า พระผู้มีพระภาคได้ทรงภาษิตธรรมบรรยายพุทธาปทานชื่อ ปุพพกรรมปิโลติ อันเป็นบุพจารีตของพระองค์ ด้วยประการฉะนี้แล.

จบพุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++


ทางแห่งความดี : ความสำคัญของใจ
http://ppantip.com/topic/30532106/comment26

วันนั้น พระศาสดา ทรงเห็นอุปนิสัยอันงามของมหาบาลแล้ว ทรงหลั่งพระธรรมเทศนามุ่งมหาบาลเป็นสำคัญ ทรงเทศนาอนุปุพพิกถา 5 คือ

1. ทานกถา ว่าด้วยการให้ทาน
2. สีลกถา ว่าด้วยการรักษาศีล
3. สัคคกถา ว่าด้วยความสุขในสวรรค์
4. กามาทีนวกถา ว่าด้วยโทษและความต่ำทรามของกาม
5. เนกขัมมานิสังสกถา ว่าด้วยอานิสงส์แห่งการหลีกออกจากกาม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่