Black Obelisk
“แบล็ค โอเบลิสก์” (Black Obelisk) เป็นหนึ่งในเสาหินโบราณแห่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ประติมากรรมบนเสาหินของพระเจ้าชาลมาเนเซอร์ที่ 3 (King Shalmaneser III ) แห่งอาณาจักรอัสสิเรีย (Assyria) นับเป็นสิ่งล้ำค่าของศิลปกรรมยุคโบราณที่มีคุณค่าสุดประเมินได้จากภาพแกะสลักบนเสาหิน
เพราะนี่คือ “เสาที่เป็นสัญลักษณ์บอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีตอันเรืองโรจน์ของอาณาจักรอัสสิเรีย กับความสัมพันธ์ต่อชาวยิว และคริสต์ศาสนา” แท่งเสาหินนี้ สกัดขึ้นจากแท่งหินปูนสีดำ และมีลักษณะคล้ายคลึงกับเสาโอเบลิสก์ของอียิปต์ ทำให้นักประวัติศาสตร์ศิลป์นิยมเรียกเสาหินนี้ว่า “โอเบลิสก์ดำ”
ในช่วงที่อาณาจักรอัสสิเรียเรืองอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียนั้น พระเจ้าชาลมาเนเซอร์ที่ 3 (ครองราชย์ในช่วง 858 – 824 ปีก่อน ค.ศ.) ได้ทรงขยายดินแดนแผ่กว้างออกไปจนยิ่งใหญ่ไพศาล ทำให้ชนเผ่าอื่นๆ ยอมศิโรราบต่อกำลังกองทหารของอัสสิเรีย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว จึงได้สร้างเสาหินโอเบลิสก์ดำขึ้น
สันนิษฐานกันว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 825 ปีก่อน ค.ศ. เสาโอเบลิสก์ดำนั้น ถูกขุดพบที่บริเวณซากพระราชวังของอัสสิเรียที่คาลฮู (ปัจจุบันคือเมือง
นิมรัต(Nimrud) ทางตอนเหนือของประเทศอิรัก) แต่ภายหลัง เสาได้ถูกลักลอบนำออกไปยังสหราชอาณาจักร จนปัจจุบันได้ตั้งอยู่ในโซนศิลปกรรมเมโสโปเตเมียใน “บริติชมิวเซียม” (The British Museum) ประเทศอังกฤษ และยังมีเสาในลักษณะแบบเดียวกันนี้ จำลองไว้ที่ “สถาบันตะวันออกแห่งชิคาโก” (The Oriental Institute) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
“เสาโอเบลิสก์ดำ” แกะสลักขึ้นมาจากหินเพียงก้อนเดียว มีความสูง 197.85 เซนติเมตร กว้าง 45.08 เซนติเมตร บนชั้นปลายสุดของเสาจะสร้างคล้ายรูปซิกกูรัต ซ้อนๆ กันสามชั้น สิ่งที่มีคุณค่าทั้งต่อวงการศิลปะ และประวัติศาสตร์นั้น มาจากภาพประติมากรรมนูนต่ำที่แกะสลักไว้รอบๆ ตัวเสาทั้งสี่ด้าน ในบริเวณเสาของแต่ละด้านจะแบ่งออกเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 5 ช่อง เรียงจากแถวบนลงล่าง และเมื่อรวมทั้งสี่ด้านของตัวเสา ทำให้มีภาพประติมากรรมรวมกันทั้งหมด 20 ภาพ
ในแต่ละช่องมีการแกะสลักภาพประติมากรรมที่เล่าถึงเหตุการณ์ในยุคสมัยของพระเจ้าชาลมาเนเซอร์ที่ 3 และพระปรีชาสามารถของพระองค์ โดยในแต่ละภาพนั้นจะแกะสลักตัวอักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม (Cuneiform) กำกับไว้อย่างละเอียด
เรื่องโดย ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล
Cr.
http://www.artedchula.com/blog/2009/07/28/black-obelisk/ By admin
Unfinished obelisk
เสาโอเบลิสก์แห่งอัสวาน (Unfinished obelisk) อยู่ที่เมืองอัสวาน ประเทศอียิปต์ มีขนาดความสูง 42 เมตร หนัก 1,168 ตัน สร้างขึ้นเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์กาล ถูกสร้างในสมัยมหาราชินีฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ฟาโรห์หญิงแห่งอียิปต์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเสาโอเบลิสก์ตั้งไว้หน้าวิหารคาร์นัค (Karnak) ในเมืองลักซอร์ แต่ระหว่างการก่อสร้างเสาโอเบลิสก์มีรอยแตกร้าว ช่างแกะสลักจึงล้มเลิกโครงการสร้างต่อ เชื่อกันว่าเสาโอเบลิสก์เป็นเสาหินที่สูงที่สุดในโลกถ้าหากสร้างเสร็จสมบูรณ์
นักโบราณคดีได้ศึกษากระบวนการสร้างเสาหินในโลกยุคโบราณสันนิษฐานว่า เสาโอเบลิสก์ของอิยิปต์โบราณ เป็นสัญลักษณ์ของเทพรา (Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ เเละพบอักษรโบราณเฮียโรกลิฟฟิคที่สลักรอบๆ เสาบอกเล่าเรื่องราวของฟาโรห์ผู้สร้าง และเรื่องราวการบูชาเทพเจ้ารา เเละรู้ว่าชาวอียิปต์โบราณใช้หินโดเลอไรท์ (Dolerite) ซึ่งเป็นหินที่แข็งกว่าหินแกรนิตเพื่อแกะสลักหินแกรนิต
เสาร์โอเบลิสก์ถูกแกะสลักชจากเหมืองหินแกรนิตเเห่งเมืองอัสวาน ซึ่งเมืองอัสวานเป็นเเหล่งหินแกรนิตที่ดีที่สุดในการก่อสร้างประติมากรรม และประติมากรรมต่างๆ รวมถึงมหาพิรามิดเเห่งกีซ่า (Giza) ก็ใช้หินแกรนิตจากเมืองอัสวานทั้งสิ้น
เนื่องจากเสาหินโอเบลิสก์ถูกแกะสลักจากหินโดยตรง มันจึงอยู่ติดกับพื้นหินเเบบนี้มาโดยตลอด ปัจจุบัน เสาโอเบลิสก์นี้ถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดกว้าง และจัดให้มีการรักษาโครงสร้างเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติทางโบราณคดีของมนุษยชาติ
อ้างอิง : wikipediaเครดิต
ที่มา
https://www.ufocia.com/2018/12/blog-post_34.html
Cr.
https://board.postjung.com/1118184 / โพสท์โดย กะทิ
Stone Warriors Of Tula
เมือง Tula เคยเป็นอดีตเมืองหลวงชื่อ ทอลลัน (Tollan) ของจักรวรรดิโทลเท็ก (Toltec Empire) ที่เคยรุ่งเรืองราวค.ศ. 900 -110 ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอีดัลโก บนหุบเขาตูลา (Tula Valley) ที่มีความสูงถึง 2000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นพื้นที่กึ่งเขตแห้งแล้ง แต่ก็มีแม่น้ำตูลาไหลผ่าน ในปี 1150 เมืองตูลาก็เสื่อมถอยลง
ศูนย์กลางของที่นี่ คือวิหารแห่งทลาฮูซคาลปันเตคัห์ทลิ (Temple of Tlahuizcalpantecuhtli) หรือวิหารแห่งรุ่งอรุณ (The Lord of the Dawn) หรือรู้จักกันในชื่อพีระมิดแห่งเควท์ซาลโคท์ล (Pyramid of Quetzalcoatl) เป็นพีระมิดบันได 5 ชั้น
Quetzalcoatl มีความสูง 4 เมตร มีโครงสร้างคล้ายกับวิหารนักรบของชิเชนอิตซ่า บนพีระมิดมีเสาหน้าตาเหมือนนักรบโทลเท็ก ทำจากหินบะซอลต์
สูง 4 เมตร บริเวณโดยรอบพีระมิด มี Coatepantli เป็นกำแพงงูล้อมรอบ จากการศึกษา คาดว่าได้รับแรงบรรดาลใจมาจากโครงสร้างเมือง Tenochtitlan
เสารูปนักรบโทลเท็กมี 4 เสา สร้างจากหินอัคนี เชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นเสาที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับหลังคาขนาดใหญ่ นักรบTula เหล่านี้ตามตำนานของพื้นที่ พวกเขาเป็นตัวแทนนักรบของ Quetzalcoatl มหาเทพเควท์ซาลโคท์ล หรือ "งูขนนก" เป็นเทพเจ้าแห่งสายลมและฟ้าฝน ขณะที่ฐานของพีระมิดฝั่งตรงข้ามบันไดเต็มไปด้วยภาพแกะสลักสวยงามรูปเสือจากัวร์ นกอินทรีย์ และหัวกะโหลก และเดินไปไม่ไกลจะมีพีระมิดสุริยเทพ (Pyramid of the Sun) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตั้งตระหง่านอยู่
Cr.
https://www.blesstraveler.com/post/_tula
Cr.
https://hiddenincatours.com/enigmatic-atlantean-stone-warriors-tula-mexico/ By Brien Foerster
Cr.
https://www.travelaroundtheworld-mag.com/exploration/mexico/
Iron Pillar of Delhi
หอคอยที่มีอายุกว่า 1,700 ปี หรือที่เรียกกันว่า Iron Pillar of Delhi หรือ ปฤถวีสตัมภ์ ซึ่งเปรียบดั่งเครื่องหมายสำคัญของ กรุงนิวเดลี เสาต้นนี้มีความแปลก และแข็งแรงเป็นอย่างมาก แม้มีอายุ 1,700 ปี แต่ก็ยังเด่นเป็นสง่าอยู่เหมือนใหม่ตลอดเวลา
หอคอยแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นโดย พระเจ้าปฤถวีราช กษัตริย์ฮินดู พระองค์ทรงสร้างหอไว้สูงเพียง 95 ฟุต เพื่อให้ลูกสาวขึ้นไปดูแม่น้ำยมุนาอันศักดิ์สิทธิ์ในขณะสวดมนต์ ต่อมาถูกกษัตริย์อีกหลายพระองค์ต่อเติม เปลี่ยนแปลงจนปัจจุบัน มีความสูงถึง 238 ฟุต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ภายในโปร่ง มีบันไดขึ้นไป 379 ขั้น
สถานที่แห่งนี้ได้เคยเปิดให้ประชาชนได้ขึ้นไปชมบรรยากาศ แต่มีข้อห้ามเด็ดขาดคือ ห้ามขึ้นไปเพียงคนเดียว จะต้องขึ้นอย่างน้อยที่สุด 2 คน เพราะคนที่ขึ้นไปเพียงคนเดียวส่วนใหญ่ กระโดดลงมาจากหอคอยเสียชีวิตทั้งนั้น แต่ปัจจุบันประกาศห้ามขึ้นไปแล้ว
ผู้คนนิยมมาสถานที่แห่งนี้เพราะ เสาเหล็ก ที่มีความประหลาดมากมาย และเข้าใจว่าถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ.800 หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช บนเสาจะมีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เป็นคำบูชาถวายพระวิษณุ การฝังเสาทำได้แน่นหนามากจนสามารถตั้งมาได้นานถึงพันปี โดยได้มีเรื่องเล่ากันว่า กษัตริย์มุสลิมพยายามเอาปืนใหญ่ยิงใกล้ๆ ยังไม่โค่นไม่ร้าว รอยเสาที่ถูกปืนใหญ่ ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
ได้มีวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันจำนวนมากสนใจเสาเหล็กนี้ว่า "ทำไมมันถึงไม่เป็นสนิม" และอดทนต่อการผุกร่อนมานานกว่า 1,700 ปี โดยที่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสงสัยและยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ช่างทำเสาเหล็กต้นนี้ใช้สิ่งใดเป็นส่วนผสมถึงได้แข็งแรงเช่นนี้ แม้ว่าสมัยนี้สามารถพัฒนาทุกอย่างจนมีความแข็งแรงคงทน แต่ก็ยังไม่สามารถเลียนแบบเสาเหล็กนี้ได้เลย
เรียบเรียงโดย : ปิยะนัย เกตุทอง
ขอบคุณที่มา:
https://www.sportringside.com/contents/57520?fbclid=IwAR3r4npMw7DeuA0rStP_ij2iD9W1tyaVZ7978JW9IgEE2gNeBZAPp61psmc
Cr.
https://board.postjung.com/1116315 / โพสท์โดย กะทิ
Ashoka Pillar
เสาอโศก เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “เสาอโศก”) ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล
แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์
ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า “สตฺยเมว ชยเต” (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน
เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน
ที่มา wikipedia | เพจ Ittipon Bbet Pokiyaku
Cr.
https://www.nakhononline.com/6814/
The Luxor Obelish
เป็นเสาหินโบราณที่มีความโดดเด่นอย่างมาก ตั้งอยู่ที่ใจกลางของจตุรัสคองคอร์ด สถานที่ท่องเที่ยวของกรุงปารีส เป็นหนึ่งในจุดดึงดูดที่สำคัญที่สุดของจัตุรัสเเห่งนี้
เเต่เดิมเป็นเสาหินที่ตั้งอยู่ที่ทางเข้าของวัดลักซอร์ โบราณสถานชื่อดังของประเทศอียิปต์ ส่วนสาเหตุที่มาอยู่ในดินเเดนเมืองน้ำหอมได้นั้น เพราะว่าในสมัยของพระเจ้านโปเลียน พระองค์ทรงส่งกองทัพเข้ารุกรานดินเเดนไอยคุปต์ เเละก็ได้นำเอาเสาโบราณต้นนี้กลับมายังดินเเดนฝรั่งเศสด้วย
ซึ่งก็มีเสาเเบบนี้อีกต้นหนึ่งที่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ในสหรัฐอเมริกา เป็นเสารุ่นเดียวกันที่นำมาจากอียิปต์ โดยฝรั่งเศสได้มอบให้สหรัฐอเมริกาในคราวประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ
The Luxor Obelish มีความสูง 25 เมตร มีน้ำหนักโดยรวมกว่า 250 ตัน สร้างมาจากหินเกรนิตสีเเดงทั้งก้อน คาดว่าสร้างมาตั้งเเต่สมัยโบราณเพื่อสรรเสริญพระเกียตริของ ฟาโรห์ ราเมเสสที่ 2 ของอาณาจักรไอยุคปต์โบราณ อักษรฮีโรกลีฟิก ที่สลักบนเสาหินเเท่งนี้เป็นเรื่องราวของกษัตริย์ผู้นี้เเทบทั้งสิน นับว่ามีความสวยงามเเละเก่าเเก่เป็นอย่างมาก เเละการนำมาตั้งที่จัตุรัสเเห่งนี้ ในสมัยก่อนนั้นถือว่าเป็นการเเสดงเชิงสัญลักษณ์ในการที่ฝรั่งเศสมีอำนาจเหนืออียิปต์อยู่ในเวลานั้น
Cr.
https://www.worldtraveltrips.com/europe/france/paris/the-luxor-obelish/By World Travel
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
เสาหินโบราณในประวัติศาสตร์
“แบล็ค โอเบลิสก์” (Black Obelisk) เป็นหนึ่งในเสาหินโบราณแห่งอารยธรรมเมโสโปเตเมีย ประติมากรรมบนเสาหินของพระเจ้าชาลมาเนเซอร์ที่ 3 (King Shalmaneser III ) แห่งอาณาจักรอัสสิเรีย (Assyria) นับเป็นสิ่งล้ำค่าของศิลปกรรมยุคโบราณที่มีคุณค่าสุดประเมินได้จากภาพแกะสลักบนเสาหิน
เพราะนี่คือ “เสาที่เป็นสัญลักษณ์บอกเล่าถึงเรื่องราวในอดีตอันเรืองโรจน์ของอาณาจักรอัสสิเรีย กับความสัมพันธ์ต่อชาวยิว และคริสต์ศาสนา” แท่งเสาหินนี้ สกัดขึ้นจากแท่งหินปูนสีดำ และมีลักษณะคล้ายคลึงกับเสาโอเบลิสก์ของอียิปต์ ทำให้นักประวัติศาสตร์ศิลป์นิยมเรียกเสาหินนี้ว่า “โอเบลิสก์ดำ”
ในช่วงที่อาณาจักรอัสสิเรียเรืองอำนาจในดินแดนเมโสโปเตเมียนั้น พระเจ้าชาลมาเนเซอร์ที่ 3 (ครองราชย์ในช่วง 858 – 824 ปีก่อน ค.ศ.) ได้ทรงขยายดินแดนแผ่กว้างออกไปจนยิ่งใหญ่ไพศาล ทำให้ชนเผ่าอื่นๆ ยอมศิโรราบต่อกำลังกองทหารของอัสสิเรีย เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคตแล้ว จึงได้สร้างเสาหินโอเบลิสก์ดำขึ้น
สันนิษฐานกันว่า น่าจะสร้างขึ้นเมื่อประมาณ 825 ปีก่อน ค.ศ. เสาโอเบลิสก์ดำนั้น ถูกขุดพบที่บริเวณซากพระราชวังของอัสสิเรียที่คาลฮู (ปัจจุบันคือเมือง
นิมรัต(Nimrud) ทางตอนเหนือของประเทศอิรัก) แต่ภายหลัง เสาได้ถูกลักลอบนำออกไปยังสหราชอาณาจักร จนปัจจุบันได้ตั้งอยู่ในโซนศิลปกรรมเมโสโปเตเมียใน “บริติชมิวเซียม” (The British Museum) ประเทศอังกฤษ และยังมีเสาในลักษณะแบบเดียวกันนี้ จำลองไว้ที่ “สถาบันตะวันออกแห่งชิคาโก” (The Oriental Institute) รัฐอิลลินอยส์ สหรัฐอเมริกา
“เสาโอเบลิสก์ดำ” แกะสลักขึ้นมาจากหินเพียงก้อนเดียว มีความสูง 197.85 เซนติเมตร กว้าง 45.08 เซนติเมตร บนชั้นปลายสุดของเสาจะสร้างคล้ายรูปซิกกูรัต ซ้อนๆ กันสามชั้น สิ่งที่มีคุณค่าทั้งต่อวงการศิลปะ และประวัติศาสตร์นั้น มาจากภาพประติมากรรมนูนต่ำที่แกะสลักไว้รอบๆ ตัวเสาทั้งสี่ด้าน ในบริเวณเสาของแต่ละด้านจะแบ่งออกเป็นช่องสี่เหลี่ยมผืนผ้าจำนวน 5 ช่อง เรียงจากแถวบนลงล่าง และเมื่อรวมทั้งสี่ด้านของตัวเสา ทำให้มีภาพประติมากรรมรวมกันทั้งหมด 20 ภาพ
ในแต่ละช่องมีการแกะสลักภาพประติมากรรมที่เล่าถึงเหตุการณ์ในยุคสมัยของพระเจ้าชาลมาเนเซอร์ที่ 3 และพระปรีชาสามารถของพระองค์ โดยในแต่ละภาพนั้นจะแกะสลักตัวอักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม (Cuneiform) กำกับไว้อย่างละเอียด
เรื่องโดย ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล
Cr.http://www.artedchula.com/blog/2009/07/28/black-obelisk/ By admin
Unfinished obelisk
เสาโอเบลิสก์แห่งอัสวาน (Unfinished obelisk) อยู่ที่เมืองอัสวาน ประเทศอียิปต์ มีขนาดความสูง 42 เมตร หนัก 1,168 ตัน สร้างขึ้นเมื่อ 1,500 ปีก่อนคริสต์กาล ถูกสร้างในสมัยมหาราชินีฮัตเซปซุต (Hatshepsut) ฟาโรห์หญิงแห่งอียิปต์ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นเสาโอเบลิสก์ตั้งไว้หน้าวิหารคาร์นัค (Karnak) ในเมืองลักซอร์ แต่ระหว่างการก่อสร้างเสาโอเบลิสก์มีรอยแตกร้าว ช่างแกะสลักจึงล้มเลิกโครงการสร้างต่อ เชื่อกันว่าเสาโอเบลิสก์เป็นเสาหินที่สูงที่สุดในโลกถ้าหากสร้างเสร็จสมบูรณ์
นักโบราณคดีได้ศึกษากระบวนการสร้างเสาหินในโลกยุคโบราณสันนิษฐานว่า เสาโอเบลิสก์ของอิยิปต์โบราณ เป็นสัญลักษณ์ของเทพรา (Ra) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ เเละพบอักษรโบราณเฮียโรกลิฟฟิคที่สลักรอบๆ เสาบอกเล่าเรื่องราวของฟาโรห์ผู้สร้าง และเรื่องราวการบูชาเทพเจ้ารา เเละรู้ว่าชาวอียิปต์โบราณใช้หินโดเลอไรท์ (Dolerite) ซึ่งเป็นหินที่แข็งกว่าหินแกรนิตเพื่อแกะสลักหินแกรนิต
เสาร์โอเบลิสก์ถูกแกะสลักชจากเหมืองหินแกรนิตเเห่งเมืองอัสวาน ซึ่งเมืองอัสวานเป็นเเหล่งหินแกรนิตที่ดีที่สุดในการก่อสร้างประติมากรรม และประติมากรรมต่างๆ รวมถึงมหาพิรามิดเเห่งกีซ่า (Giza) ก็ใช้หินแกรนิตจากเมืองอัสวานทั้งสิ้น
เนื่องจากเสาหินโอเบลิสก์ถูกแกะสลักจากหินโดยตรง มันจึงอยู่ติดกับพื้นหินเเบบนี้มาโดยตลอด ปัจจุบัน เสาโอเบลิสก์นี้ถูกจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ที่เปิดกว้าง และจัดให้มีการรักษาโครงสร้างเหล่านี้ไว้เป็นสมบัติทางโบราณคดีของมนุษยชาติ
อ้างอิง : wikipediaเครดิต
ที่มา https://www.ufocia.com/2018/12/blog-post_34.html
Cr. https://board.postjung.com/1118184 / โพสท์โดย กะทิ
Stone Warriors Of Tula
เมือง Tula เคยเป็นอดีตเมืองหลวงชื่อ ทอลลัน (Tollan) ของจักรวรรดิโทลเท็ก (Toltec Empire) ที่เคยรุ่งเรืองราวค.ศ. 900 -110 ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐอีดัลโก บนหุบเขาตูลา (Tula Valley) ที่มีความสูงถึง 2000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล เป็นพื้นที่กึ่งเขตแห้งแล้ง แต่ก็มีแม่น้ำตูลาไหลผ่าน ในปี 1150 เมืองตูลาก็เสื่อมถอยลง
ศูนย์กลางของที่นี่ คือวิหารแห่งทลาฮูซคาลปันเตคัห์ทลิ (Temple of Tlahuizcalpantecuhtli) หรือวิหารแห่งรุ่งอรุณ (The Lord of the Dawn) หรือรู้จักกันในชื่อพีระมิดแห่งเควท์ซาลโคท์ล (Pyramid of Quetzalcoatl) เป็นพีระมิดบันได 5 ชั้น
Quetzalcoatl มีความสูง 4 เมตร มีโครงสร้างคล้ายกับวิหารนักรบของชิเชนอิตซ่า บนพีระมิดมีเสาหน้าตาเหมือนนักรบโทลเท็ก ทำจากหินบะซอลต์
สูง 4 เมตร บริเวณโดยรอบพีระมิด มี Coatepantli เป็นกำแพงงูล้อมรอบ จากการศึกษา คาดว่าได้รับแรงบรรดาลใจมาจากโครงสร้างเมือง Tenochtitlan
เสารูปนักรบโทลเท็กมี 4 เสา สร้างจากหินอัคนี เชื่อว่าครั้งหนึ่งเคยเป็นเสาที่ตั้งขึ้นเพื่อรองรับหลังคาขนาดใหญ่ นักรบTula เหล่านี้ตามตำนานของพื้นที่ พวกเขาเป็นตัวแทนนักรบของ Quetzalcoatl มหาเทพเควท์ซาลโคท์ล หรือ "งูขนนก" เป็นเทพเจ้าแห่งสายลมและฟ้าฝน ขณะที่ฐานของพีระมิดฝั่งตรงข้ามบันไดเต็มไปด้วยภาพแกะสลักสวยงามรูปเสือจากัวร์ นกอินทรีย์ และหัวกะโหลก และเดินไปไม่ไกลจะมีพีระมิดสุริยเทพ (Pyramid of the Sun) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าตั้งตระหง่านอยู่
Cr.https://www.blesstraveler.com/post/_tula
Cr.https://hiddenincatours.com/enigmatic-atlantean-stone-warriors-tula-mexico/ By Brien Foerster
Cr. https://www.travelaroundtheworld-mag.com/exploration/mexico/
Iron Pillar of Delhi
หอคอยที่มีอายุกว่า 1,700 ปี หรือที่เรียกกันว่า Iron Pillar of Delhi หรือ ปฤถวีสตัมภ์ ซึ่งเปรียบดั่งเครื่องหมายสำคัญของ กรุงนิวเดลี เสาต้นนี้มีความแปลก และแข็งแรงเป็นอย่างมาก แม้มีอายุ 1,700 ปี แต่ก็ยังเด่นเป็นสง่าอยู่เหมือนใหม่ตลอดเวลา
หอคอยแห่งนี้ ถูกสร้างขึ้นโดย พระเจ้าปฤถวีราช กษัตริย์ฮินดู พระองค์ทรงสร้างหอไว้สูงเพียง 95 ฟุต เพื่อให้ลูกสาวขึ้นไปดูแม่น้ำยมุนาอันศักดิ์สิทธิ์ในขณะสวดมนต์ ต่อมาถูกกษัตริย์อีกหลายพระองค์ต่อเติม เปลี่ยนแปลงจนปัจจุบัน มีความสูงถึง 238 ฟุต แบ่งออกเป็น 5 ชั้น ภายในโปร่ง มีบันไดขึ้นไป 379 ขั้น
สถานที่แห่งนี้ได้เคยเปิดให้ประชาชนได้ขึ้นไปชมบรรยากาศ แต่มีข้อห้ามเด็ดขาดคือ ห้ามขึ้นไปเพียงคนเดียว จะต้องขึ้นอย่างน้อยที่สุด 2 คน เพราะคนที่ขึ้นไปเพียงคนเดียวส่วนใหญ่ กระโดดลงมาจากหอคอยเสียชีวิตทั้งนั้น แต่ปัจจุบันประกาศห้ามขึ้นไปแล้ว
ผู้คนนิยมมาสถานที่แห่งนี้เพราะ เสาเหล็ก ที่มีความประหลาดมากมาย และเข้าใจว่าถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ.800 หลังสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช บนเสาจะมีคำจารึกเป็นภาษาสันสกฤต เป็นคำบูชาถวายพระวิษณุ การฝังเสาทำได้แน่นหนามากจนสามารถตั้งมาได้นานถึงพันปี โดยได้มีเรื่องเล่ากันว่า กษัตริย์มุสลิมพยายามเอาปืนใหญ่ยิงใกล้ๆ ยังไม่โค่นไม่ร้าว รอยเสาที่ถูกปืนใหญ่ ยังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้
ได้มีวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันจำนวนมากสนใจเสาเหล็กนี้ว่า "ทำไมมันถึงไม่เป็นสนิม" และอดทนต่อการผุกร่อนมานานกว่า 1,700 ปี โดยที่นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสงสัยและยังหาคำตอบไม่ได้ว่า ช่างทำเสาเหล็กต้นนี้ใช้สิ่งใดเป็นส่วนผสมถึงได้แข็งแรงเช่นนี้ แม้ว่าสมัยนี้สามารถพัฒนาทุกอย่างจนมีความแข็งแรงคงทน แต่ก็ยังไม่สามารถเลียนแบบเสาเหล็กนี้ได้เลย
เรียบเรียงโดย : ปิยะนัย เกตุทอง
ขอบคุณที่มา: https://www.sportringside.com/contents/57520?fbclid=IwAR3r4npMw7DeuA0rStP_ij2iD9W1tyaVZ7978JW9IgEE2gNeBZAPp61psmc
Cr.https://board.postjung.com/1116315 / โพสท์โดย กะทิ
Ashoka Pillar
เสาอโศก เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า “เสาอโศก”) ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา
เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่อารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวสาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล
แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์
ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ได้นำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า “สตฺยเมว ชยเต” (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน
เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วพระราชอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน
ที่มา wikipedia | เพจ Ittipon Bbet Pokiyaku
Cr.https://www.nakhononline.com/6814/
The Luxor Obelish
เป็นเสาหินโบราณที่มีความโดดเด่นอย่างมาก ตั้งอยู่ที่ใจกลางของจตุรัสคองคอร์ด สถานที่ท่องเที่ยวของกรุงปารีส เป็นหนึ่งในจุดดึงดูดที่สำคัญที่สุดของจัตุรัสเเห่งนี้
เเต่เดิมเป็นเสาหินที่ตั้งอยู่ที่ทางเข้าของวัดลักซอร์ โบราณสถานชื่อดังของประเทศอียิปต์ ส่วนสาเหตุที่มาอยู่ในดินเเดนเมืองน้ำหอมได้นั้น เพราะว่าในสมัยของพระเจ้านโปเลียน พระองค์ทรงส่งกองทัพเข้ารุกรานดินเเดนไอยคุปต์ เเละก็ได้นำเอาเสาโบราณต้นนี้กลับมายังดินเเดนฝรั่งเศสด้วย
ซึ่งก็มีเสาเเบบนี้อีกต้นหนึ่งที่ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดีซี ในสหรัฐอเมริกา เป็นเสารุ่นเดียวกันที่นำมาจากอียิปต์ โดยฝรั่งเศสได้มอบให้สหรัฐอเมริกาในคราวประกาศอิสรภาพจากอังกฤษ
The Luxor Obelish มีความสูง 25 เมตร มีน้ำหนักโดยรวมกว่า 250 ตัน สร้างมาจากหินเกรนิตสีเเดงทั้งก้อน คาดว่าสร้างมาตั้งเเต่สมัยโบราณเพื่อสรรเสริญพระเกียตริของ ฟาโรห์ ราเมเสสที่ 2 ของอาณาจักรไอยุคปต์โบราณ อักษรฮีโรกลีฟิก ที่สลักบนเสาหินเเท่งนี้เป็นเรื่องราวของกษัตริย์ผู้นี้เเทบทั้งสิน นับว่ามีความสวยงามเเละเก่าเเก่เป็นอย่างมาก เเละการนำมาตั้งที่จัตุรัสเเห่งนี้ ในสมัยก่อนนั้นถือว่าเป็นการเเสดงเชิงสัญลักษณ์ในการที่ฝรั่งเศสมีอำนาจเหนืออียิปต์อยู่ในเวลานั้น
Cr.https://www.worldtraveltrips.com/europe/france/paris/the-luxor-obelish/By World Travel
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)