นมัสเต อินเดียโดน ๆ ว่าด้วยเรื่องรถสาธารณะและการจราจร

เราเป็นอีกหนึ่งคนที่ชอบประเทศอินเดียเหมือนเพื่อน ๆ อีกหลายคน แต่เพราะเจ้าโควิดนี่ทำให้ยังเดินทางไม่ได้ ถึงตัวจะยังไปไม่ได้ แต่ใจก้อยังคิดถึงทริปที่เคยไป ประทับใจในหลายรูปแบบ ทั้งโหด ทั้งมันส์ ทั้งฮา ว่าแล้วก้อขอเอาประสบการณ์ที่ผ่านมาเล่าสุ่กันฟังค่ะ โพสต์นี้เอารถสาธารณะต่าง ๆ มาแชร์จ้า wink

เพจเล็ก ๆ ของเราไว้อ่านข้อมูลหรือดูคลิปเพิ่มเติมได้ที่นี่นะคะ 

เยื้องย่างเข้าเมืองแล้วเราไปดูสภาพการจราจรและยานพาหนะที่วิ่งกันให้ขวักไขว่กันก่อนเลยดีกว่า จะได้เตรียมจายยยยยยไว้ก่อน ณ จุดจุดนี้
คำว่า ทำอะไรตามใจคือไทยแท้ อันนี้เรารู้กันอยู่แล้ว แต่คำพูดนี้จะดูละอ่อนไปเลยถ้าได้มาที่อินเดีย หึหึ อย่างที่เรารู้และเคยได้ยินกันมาเกี่ยวกับการจราจรที่แสนนนนนจะอบอุ่นใจในอินเดีย ไม่สุขใจได้ไง พี่เค้าอยากจอดรถคุยกันตรงไหนก้อจอด ไฟเขียวแล้วก้อยังไม่ไป จอดแช่อยู่ตรงนั้นหล่ะ ตรงนั้นคือกลางสี่แยกไฟแดงนะคุณพี่! พอแหงะหน้าเข้าไปดู เอ๊า พี่เค้าเอาข้อศอกนั่งเท้ากระจกรถคุยโทรศัพท์ในรถอย่างชิล เหมือนจอดรถคุยในทุ่งหญ้าโล่งกว้างที่ไม่มีใครคอยบีบแตรไล่หลังอยู่เลย ช่ายยยยยยย ข้างหลังเค้าบีบแตรให้ไป บีบอย่างแรง แต่ไปมั๊ย โนววว อินี่พี่เค้าไม่ไปนะนายจ๋า ไม่ใช่แค่รถเก๋ง มอเตอร์ไซค์ก้อไม่แพ้กันเลย ขับตีคู่กันไป คุยกันไป ไม่ต้องสนใจคนรอบข้างหรือคนข้างหลัง อ่ะ ก้อขับตามฉันไปซิ ฉันจะคุยกันไป ขับคู่กันไป ใครจะทำไม เออออออ กิ๊บเก๋นมัสเตมากกกกกก ที่พบเห็นบ่อยที่สุดคือ มือนึงขับมอเตอร์ไซค์ไป อีกมือนึงถือโทรศัพท์คุยไป เหมือนพี่เค้าขับโทรไปคุยไปแถวเลียบชายหาด แบบชิลลลลเกิ๊นนนน

รถตุ๊กตุ๊ก : ยานพาหนะฮ้อตฮิตติดลมบน

รถตุ๊กตุ๊ก หรือ รถออโต้ริกชอว์ คนขับรถตุ๊กตุ๊กพี่ไทยเราว่าแน่แล้ว เจอพี่แขกขับรถนี่ชิดซ้ายไปเลย ปาดได้ปาด เบียดได้เบียด ซอกเล็กซอกน้อย พี่เค้าซอกแซกไปได้หมด ด้วยสปีดแรงเกินร้อย! อย่างกับอยู่ในหนังแอ็คชั่นแต่ว่าแรงทะลุจอ!

แถวบ้านเราเรียกรถตุ๊กตุ๊ก แถวบ้านพี่ซิงห์เค้าเรียกรถออโต้ อันย่อมาจากคำว่า ออโต้ริกชอว์ (Auto rickshaw แปลตรงตัวว่าสามล้อถีบอัตโนมัติ ตรงตัวเป๊ะ) ความอินดี้ของยานพาหะนะประเภทนี้คือ รถออโต้ของละเมืองจะมีสีต่างกัน (มีใช้สีซ้ำกันบ้างบางเมืองเพราะมีหลายเมือง เฉดสีมีไม่ครบตามจำนวนเมือง ว่างั้นเถอะ) แต่จะไม่คละสีกันเป็นแท็กซี่ลูกกวาดแบบบ้านเรา ถ้ารถออโต้เมืองนั้นสีดำเหลือง ก้อจะเป็นออโต้สีดำเหลืองทั้งเมือง บางเมืองใช้เขียวเหลือง เราก้อจะเห็นออโต้สีเชียวเหลืองทั้งเมือง แต่จะมีข้อที่เหมือนกันคือรถออโต้ทุกคันจะมีมิเตอร์ แต่ก้อใช้ว่าจะกดมิเตอร์ใช้กันนะคะคุณ ก้ออีกหล่ะที่คล้ายบ้านเราคือ เจอคนต่างชาติ จะบอกราคา ไม่ใช้มิเตอร์ ตาสียายสาต่างเมืองอย่างเรา ถ้าไม่บอกก้อไม่รู้ว่ามีมิเตอร์ให้พี่แขกเค้ากดแล้วชาร์จเราตามระยะทาง ฉันเคยถามแล้วเอานิ้วชี้ ๆ จิ้ม ๆ ถู ๆ ไปที่มิเตอร์ ประมาณว่า ทำไมไม่ใช่มิเตอร์หล่ะ คนขับบางคนจะทำปากเบ้สะบัดนิ้วไปมาประมาณว่ามันเสีย ใช้ไม่ได้หรอก หรือบางคนเนียนทำเป็นไม่รู้ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ แหมมมมมม พอถามว่าร้านขายสาหรี่อยู่ตรงไหนเท่านั้นหล่ะ ตอบเป็นภาษาอังกฤษซะละเอียดยิบยาวไปถึงคาบสมุทรเบงกอลเลย แต่คนขับดี ๆ ที่ใช้และชาร์จตามมิเตอร์ก้อมีนะ ไม่ใช่ว่าจะแย่ทุกคนไป smile

พอขึ้นนั่งรถออโต้แล้ว ให้สังเกตว่ารถออโต้ทุกคันจะมีกระดาษเก่า ๆ สีน้ำตาล พับแล้วเสียบไว้ตามมุมต่าง ๆ ของรถ ไว้ตรงที่เสียบเหนือหัวคนขับบ้าง หลังพนักพิงคนขับบ้าง หรือข้าง ๆ เกียร์บ้าง มันคือชาร์ทที่บอกว่าถ้าเลขมิเตอร์ถึงตัวนี้ ต้องคิดเงินเรากี่รูปี 

เปรียบได้ราวกับแผนที่ชุมทรัพย์ แผ่นเทียบเลขมิเตอร์กับอัตราค่าโดยสารจะพับและถูกเสียบเก็บไว้ตามจุดต่าง ๆ ใกล้กับคนขับ ปกติเค้าจะไม่เรียกเก็บเงินเกิน แต่ถ้าเราดูแล้วว่าเค้าเก็บเงินเราแบบว่ายอดสูงเฟร่ออออ คือ จะโกงแน่ ๆ ก้อให้เรียกแผนที่ซ่อนขุมทรัพย์นี้ออกมาเทียบดูก่อนจ่ายเงิน ประมาณว่า เออ ชั้นรู้ทันนะ!

กล่องมิเตอร์จะอยู่ด้านหน้าของส่วนที่นั่งผู้โดยสาร

ตัวเลขที่มิเตอร์ไม่ใช่ตัวเลขที่เราต้องจ่ายสตางค์นะจ้ะ exclaim ถ้าเราข้องใจ เราขอเค้าดูกระดาษแผ่นนั้นได้ ส่วนใหญ่เค้าจะไม่หวง ถ้าเราอ่านรู้เรื่อง เพราะตัวเลขมันถี่มากกกกกกกอย่างกะมาตรวัดอัตราส่วนทางภูมิศาสตร์! ในเมืองใหญ่ รถออโต้จะวิ่งได้ในพื้นที่จำกัดบริเวณเท่านั้น จะไม่สามารถข้ามไปอีกโซนนึงได้ ส่วนตัวเราเคยเจอมาหนนึง วิ่ง ๆ ไป พี่เค้าจู่ ๆ ก้อจอดให้ลง แล้วก้อชี้โบ๊ชี้เบ๊อะไรก้อไม่รู้ เราก้อไม่ลงซิ ยังไม่ถึงที่หมายเลย งงกันไปงงกันมา พี่ซิงห์ที่นั่งจิบชาอยู่ริมทางเท้าคงจะรำคาญใจนังต่างด้าวคนนี้ที่ช่างไม่รู้อะไรเอาซะเลย ต้องเดินมาอธิบายว่า เธอจะต้องต่อแท็กซี่ต่อจากจุดนี้เพราะมันสุดเขตที่รถออโต้จะวิ่งได้ อ๋อออออออ เรางี้อ้าปากหว๋อไปถึงบางอ้อ แล้วทำไมตอนเรียกรถให้มา ถึงไม่บอกหล่ะว่ามาไม่ได้ จะได้เรียกแท็กซี่ทีเดียวให้จบ ๆ เงินแค่ไม่กี่รูปี พี่แกก้อเอา ต้องลำบากผู้โดยสารมาหารถต่อเองอีกนี่พี่เห็นใจฉานบ้างหม๋ายยยยย


ส่วนคันนี้ เป็นรถออโต้ริกชอว์อีกแบบนึง เหมือนสองแถวบ้านเราคือ นั่งคละ ๆ กันไป ไม่ใช่เหมาส่วนตัวแบบตุ๊กตุ๊กทั่วไป แต่ส่วนใหญ๋จะใช้กับคนอินเดียท้องถิ่นเท่านั้น เพราะไม่มีมิเตอร์ แล้วก้อวิ่งในระยะสั้น เป็นจุดเป็นบริเวณ ไม่ได้วิ่งในเส้นทางสาธารณะทั่วไป เช่น ตลาด ตามจุดสถานีรถไฟฟ้าต่าง ๆ

รถสามล้อถีบ

ตามแยกใหญ่ ๆ ก้อปั่นกันไป คนขับไม่ค่อยลุ้น แต่คนนั่งนี่ลุ้นตลอดโดยเฉพาะตอนที่ไฟแดงเปลี่ยนเป็นไฟเขียว พี่เค้าสับขาปั่นซะน่องปูด สายสตองมากอาชีพนี้ นับถือเลย


ในสถานที่คับขัน อย่างเช่น ตลาด รถสามล้อถีบเป็นพานหะที่คล่องแคล่วและได้รับความนิยมที่สุด สามารถลัดเลาะไปได้ทุกที่แม้กระทั่งซอยเล็ก ๆ ที่ดูเหมือนว่าคนจะเดินสวนกันยังลำบาก แต่พี่ริกชอว์เค้าทำได้ ฮัดช่า!

อันนี้เป็นรถสามล้อตัวจริง ไม่มีสลิง ไม่มีสตั๊นท์ และไม่มีเครื่องยนต์ให้เป็นออโต้ เราจะเห็นรถสามล้อถีบแบบนี้ในสารคดีมากมายเกี่ยวกับประเทศอินเดีย ใจเราเห็นทีแรกก้อรู้สึกสงสารคนถีบสามล้อมาก ๆ กล้ามเนื้อน่องและลำขางี้แน่นเปรี๊ยะมาก งานใช้แรงงานกลางแดดร้อนและฝุ่นควันต้องใช้พลังกายมากและความอดทนอย่างมากทีเดียว แต่แล้วเราก้อเข้าใจมากขึ้นเมื่อครั้งนึงได้มีโอกาสพูดคุยกันไปแบบชิล ๆ ตอนที่เราตัดสินใจนั่งรถสามล้อถีบไปเป็นครั้งแรก เค้ายังหนุ่มยังแน่นอยู่ สื่อสารภาษาอังกฤษได้นิดหน่อย พอเข้าใจ เรานั่งสามล้อถีบในตลาดโซนเมืองเก่าที่เดลลี (Old Delhi) ที่รายล้อมไปด้วยความวุ่นวายยุ่งเหยิง ทั้งคน ทั้งรถ ร้านค้า ผู้คน แต่น่าแปลกที่ว่าบทสนทนาสั้น ๆ เรื่อย  ๆ เปื่อย ๆ ของเราทำให้บรรยากาศเหล่านี้กลับดูมีเสน่ห์ เค้าบอกว่าเค้าชอบทำอาชีพนี้ คือไม่ถึงกับใจรัก แต่ก้อเป็นอาชีพที่ดี มีรายได้มาให้ครอบครัว ได้เจอผู้คนเยอะแยะ ได้อยู่ในบรรยากาศที่มีชีวิตชีวา จะทำงานเมื่อไหร่ก้อได้ เหนื่อยก้อพัก ร้อนก้อหยุด จิบชา หาโรตีกิน สบายดี ไม่ได้เดือดร้อนอะไร เออออนะ เค้าก้อชิลดีมีความสุขกับชีวิต ถ้ามีโอกาส ก้ออยากให้ลองใช้บริการรถสามล้อถีบกันดู นั่งรถให้ลมเอื่อย ๆ ตีหน้าไป ชวนคนถีบรถคุยไป ฉันชอบนะ เป็นความรู้สึกดี ๆ ที่บอกไม่ถูก ฉันว่ามันเข้าถึงความเป็นอินเดียได้ดีจัง love

รถแท็กซี่
หลัก ๆ จะเป็นแท็กซี่สีดำเหลือง ส่วนใหญ่เป็นรถยุโรปรุ่นเก่าอย่าง Volkswagen หรือ Fiat เป็นแนวรถตู้เล็กก้อมี การคิดสตางค์จากผู้โดยสารคือใช้มิเตอร์ และแน่นอน เหมือนรถออโต้ คือถ้าเจอคนต่างชาติ จะบอกราคามาเลย ไม่ใช้มิเตอร์ เราก้ออย่าขึ้นรถคันนั้น ส่วนที่ต่างกันคือตัวเลขที่แสดงอยู่บนมิเตอร์ในรถแท็กซี่จะเป็นตัวเลขที่เราจ่ายจำนวนนั้นได้เลย ไม่ต้องหยิบกระดาษออกมาเทียบบรรยัดไตรยางค์แบบรถออโต้ รถแท็กซี่แบบนี้จะไม่เปิดแอร์ นัยว่ามันจะเปลืองแก๊ส ไม่คุ้มค่ามิเตอร์ แต่ถ้าเรารู้สึกร้อนมาก ๆ หรือทนควันรถไม่ไหวแล้ว ก้อบอกให้เค้าเปิดแอร์ได้ แต่เราต้องทำหน้าโกรธจัด ไม่ยอม ฉันขอสู้ตายถ้าแกไม่เปิดแอร์ ฉันบีบคอแกแน่ ๆ ต้องเล่นใหญ่หน่อย ไม่งั้นพี่แกจะชิล ๆ ทำเนียนเหมือนไม่ได้ยินหรือไม่เข้าใจที่เราพูด ทำให้เราต้องงัดไม้ตายออกมาทุกครั้ง “Where is Sari or jewelry shop?!??!” เท่านั้นหล่ะ พ่นภาษาอังกฤษตอบกลับมาไฟแล่บ! (ปล. รถแท็กซี่ลักษณะนี้ แอร์ในรถที่เราให้เปิด อย่าใช้คำว่าแอร์เลย เรียกว่าลมเบา ๆ ที่พ่นออกมาจากช่องแอร์จะถูกต้องกว่า…..)



แท็กซี่แบบมีแอร์ เรียกว่า เอซีแท็กซี่ (AC taxi) มีหลายสี แต่ส่วนใหญ่จะเป็นสีขาวล้วน หรือฟ้าขาว ไม่มีสีสันลูกกวาดแบบบ้านเรา

รถใต้ดิน (metro)
จะมีเฉพาะในบางเมืองเท่านั้น และเป็นเมืองใหญ่ รถใต้ดินมีเยอะหลายสาย แต่อย่าเพิ่งจินตนาการไปว่ามันคงจะเป็นระบบระเบียบเหมือนที่ญี่ปุ่นหรือในยุโรป อินเดียเป็นประเทศที่อินดี้มีความเป็นตัวของตัวเองสุด ๆ การยืนรอขึ้นหรือลงรถไฟฟ้าเหมือนการรอขึ้นลงรถเมลล์ ไม่มีคิว ไม่มีคำว่าเด็ก สตรี และคนชรามาก่อน การใช้รถสาธารณะที่นี่เราต้องเล่นเบอร์โหด บอกเลย เปรียบประดุจได้กับการเล่นเก้าอี้ดนตรี ใครเบียดเข้าได้ก่อน เข้าไป ใครเบียดไม่ได้ ก้อรอขึ้นทีหลัง หรือถ้าเต็ม ก้อต้องรอคันต่อไป.....


สถานีรถไฟใต้ดินที่เมืองเดลฮี ชื่อสถานี Rajiv Chowk ที่ Connaught Place (CP )

พอนำร่างเบียดเข้าไปในรถได้แล้ว ก้ออย่าหวังว่าจะได้ที่นั่ง ต้องยืนห้อยโหนกระเด้งหน้ากระเด้งหลังกันไปจนถึงจุดหมายปลายทาง แต่ถ้าเราต้องการที่นั่งเหรอ ง่ายมาก ก้อนั่งกันตรงนั้นเลย! ตรงพื้นหน่ะแหละ! question หือออมมมม จริ๊งงงงง โอ้วเย่ ภาพที่ฉันเห็นคือตรงที่ว่างทางเดินในตัวรถไฟฟ้า พี่เค้านั่งกันเลย อยากนั่งตรงไหนก้อนั่ง เข่าชนเข่า ไหล่ชนไหล่ เหมือนนั่งปิคนิคกันในสวนสาธารณะ บางคนเอาขนมออกมากินไป คุยกันไป เพลิดเพลินดีแท้ โหหหหหห แต่ถ้าถามว่าแปลกใจมั๊ย บอกเลยว่าไม่เท่าไหร่ ตอนนั้นเราเริ่มเข้าใจความอินดี้ของพี่ ๆ อินเดียเค้าขึ้นมาบ้างแล้วหล่ะ
ปล. รถไฟจะมีตู้สำหรับผู้หญิงล้วนด้วย จะอยู่ที่หัวหรือปลายขบวน เราดูจากตรงที่เรายืนรอในสถานีนั้น ๆ ได้ สาว ๆ ไม่ต้องกังวลนะจ้ะ 


ความอินดี้ของพี่อินเดีย กับที่นั่งระดับ VIP ในรถไฟฟ้า …. เพลินนนนนนเค้าหล่ะ

ปล. ส่วนตัวอยากบอกไว้เลยว่าถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ พยายามเลี่ยงการใช้รถใต้ดินหรือรถเมลล์จะดีกว่า ไม่ใช่ว่าเราต้องไฮโซหรืออะไร แต่เราสู้แรงเบียดพวกเค้ายากมากกกก นอกจากเราต้องมาเบอร์หนาจริงเบอร์ใหญ่จริง ไม่งั้นต้องรอคันถัดไป แต่ก้ออีกหล่ะ ที่เราต้องใช้พลังโยคะขั้นสุดในการแทรกตัวเข้าไปให้ได้ ยอมเสียตังค์เพิ่มอีกนิด เลือกใช้บริการรถออโต้หรือแท็กซี่จะเสียพลังงานและเสียอารมณ์น้อยกว่ากันเยอะเลย wink

ส่วนการเดินทางระหว่างเมือง มีให้เลือกใช้บริการทั้งรถบัสปรับอากาศและไม่ปรับอากาศ หรือรถไฟ แล้วแต่สะดวก สถานีรถบัสหรือสถานีรถไฟก้อมีในจุดหลัก ๆ ของแต่ละเมือง เลือกใช้บริการได้ไม่ยาก เราสามารถจองออนไลน์ได้เลย

#อินเดียโดนๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่