ความเข้าใจใน "ศีล" ที่ถูกต้องตามธรรม
ศีล แปลอย่างสูงว่า "ปกติในธรรม"
ศีล แปลอย่างธรรมดาว่า "ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ ข้อควรปฏิบัติ"
๑. ศีลในระดับที่เป็นธรรม คือ ปกติ
๒. ศีลในระดับที่เป็นวินัย ข้อห้าม ข้อสิ่งที่ไม่ควรทำ สิ่งที่ควรปฏิบัติ
ศีลเป็นความปกติในธรรม สิ่งที่เราปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรม นี่แหละคือการปฏิบัติตามศีล ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าปกติอะไร เดี๋ยวต่างคนก็ต่างถือปกติของตัวเองก็จะเกิดความวุ่นวาย ในธรรมต้องเป็นอย่างนี้ๆ ในธรรมเขากำหนดไว้
ยกตัวอย่าง เราหิวข้าวจนมือสั่น เราก็ต้องไปกินข้าว นี่ปฏิบัติตามศีล แต่ถ้ายังไม่ไปกินข้าวยังปล่อยให้หิวโซ แสดงว่าไม่ปฏิบัติตามธรรม เป็นคนไม่มีศีล
ยกตัวอย่าง ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญอยู่ทรงผิดศีล เพราะว่า บำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานร่างกายด้วยการอดอาหาร ส่งให้ผลไม่ถูกต้องในธรรม ท่านจึงหันกลับมาเสวยพระกระยาหารใหม่
ส่วนที่เป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๓๑๑ ข้อ ศีลเหล่านี้เป็นศีลข้อบังคับ เปรียบเสมือนว่าเราต้องเข้าห้องเรียนไปเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา เป็นต้น ก่อน ที่จะไปเข้าสู่ธรรมได้ แล้วทำไมเราต้องเข้าโรงเรียน หรือมีศีลเป็นข้อบังคับ? ถ้าเราไม่เรียนเราก็ไม่มีพื้นฐาน ก็ย่อมไปไม่ถึงจุดหมาย
ยกตัวอย่าง ตอนนี้เราอายุ ๒๒ ปีแล้ว แต่เราไม่ผ่านประถมศึกษา และมัธยมศึกษามาเขาก็จะไม่ให้เรียนระดับอุดมศึกษา คือ ปริญญาตรีขึ้นไป เราต้องไปผ่านการเรียนพื้นฐานการศึกษาก่อน อย่างน้อยเราต้องไปสอบเทียบ
สิ่งที่เรามีศีล ๕ ศีล ๘ ฯลฯ เหมือนกับว่าเราผ่านมัธยมศึกษาแล้ว เวลาเราได้รับธรรมะต่างๆ ก็จะทำให้จิตและปัญญาของเราปราณีตขึ้น รับธรรมะอันแยบยลขึ้นได้ กว้างขวางขึ้น
ศีลเป็นปกติของธรรม ศีล ๕, ๘, ๑๐ ฯลฯ เป็นข้อบังคับเฉยๆ เพราะคนไม่รู้ก็บังคับไม่ให้ทำอย่างนี้เป็นต้น เขาก็ไม่ทำชั่ว ก็เป็นไปตามภาวะธรรมนั้น แต่มันแคบ พอรู้เกี่ยวกับศีลก็จะกระจายขึ้น
สมมติว่า พระดำพระที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ กับพระแดงศีลในธรรม คือ เป็นปกติในธรรม เหตุการณ์คือ มีผู้หญิงจมน้ำ
พระดำที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ ก็จะไม่ไปช่วยเหลือหญิงคนนี้ เพราะแตะต้องตัวผู้หญิงคนนี้ไม่ได้ ถ้าแตะต้องก็จะอาบัติ ผิดศีล ทั้งๆ ว่าตนเองก็สามารถว่ายน้ำเป็นช่วยเหลือคนได้ แต่ไม่ช่วยเพราะกลัวอาบัติ ผิดศีล
แต่พระแดง ถือศีลในธรรม ถือความเป็นปกติในธรรม ก็จะกระโดดลงไปช่วยผู้หญิงคนนี้ อุ้มขึ้นมาให้รอดพ้นจากการจมน้ำตาย
แต่พระแดงที่ถือศีลแห่งความเป็นปกติ คือ ท่านทำถูกต้องศีลในธรรม เรียบร้อย
เหมือนกัน ในเรื่องของกฎหมาย ถ้าหากว่ากฎหมาย กฎกระทรวงใดขัดรัฐธรรมนูญก็ต้องวางไว้ ก็ต้องเอาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตรงนี้เปรียบเสมือนกับการเข้าสู่กฎหมายธรรม กฎหมายธรรมก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อสิกขาบท ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ข้อ นี้เป็นกฎหมายของกระทรวงตั้งๆ ที่ตราขึ้นมา
ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ข้อนี้เป็นศีลข้อห้าม แต่ถ้าไปถึงจุดสูงสุดก็จะเป็นศีลธรรมแล้ว เป็นศีลของธรรม เป็นปกติของธรรมแล้ว
พอเราเข้าใจเช่นนี้เราถึงเข้าใจว่าพระแดงที่ไปช่วยเหลือผู้หญิงนี้ไม่ผิด เพราะเราเอาศีลรัฐธรรมนูญเป็นว่า กฎหมายกระทรวงต่างๆ ถ้าหากว่ามีกฎหมายของรัฐธรรมนูญมาแล้ว ก็ต้องยึดเอากฎหมายรัฐธรรมนูญ
ก้อนหินหนึ่งก้อนมีศีลไหม? ตอบว่ามี
ศีลของก้อนหินก็คือศีลในธรรมเป็นปกติ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นก้อนหินก้อนหนึ่งก็คงอยู่ไม่ได้ เพราะก้อนหินนี้มีศีลจึงสามารถดำรงอยู่ในธรรมได้ ถ้าไม่เช่นนั้น ถ้าก้อนหินนี้ไม่มีความปกติในธรรม ก้อนหินนี้ก็ต้องถูกทำลาย แตกสลายไป เพราะว่าไม่ปกติ อยู่ไม่ได้
เหมือนกับพระเทวทัต เป็นพระที่ไม่ดี ในธรรมก็จะจัดการ คือ โดนธรณีสูบลงไปตายเลย แม้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ถือโทษ แต่ธรรมบอกว่าหมดเวลาแล้ว หมดสภาพแห่งความเป็นปกติในธรม
คำว่า "วินัย" วินัยนี้อยู่ข้างล่าง เป็นกฎระเบียบ คำว่า "ศีล" ก็เป็นวินัยนี่เอง เช่น ศีล ๒๒๗ ข้อ เรียกว่า สิกขาบท เป็นวินัยของพระ
วินัยก็คือให้ดำรงอยู่ตรงนั้นได้ ถ้าเราไม่มีวินัยเราก็เป็นพระไม่ได้ ก็ต้องไล่ออก โดนไล่ขับสึกออกจากความเป็นพระ เป็นต้น
การที่เรามีวินัยก็เพื่อให้ดำรงอยู่ในภาวะนั้นๆ ถ้าเราผิดวินัย ๒๒๗ ข้อ เราก็ต้องโดนไล่ออกไป
เวลานี้เราเป็นพระภิกษุ เราก็ต้องมีวินัย ๒๒๗ ข้อ ถ้าเราขาดเมื่อไหร่เราก็ขาดความเป็นพระภิกษุทันที
เราเป็นคน ถ้าขาดศีลธรรม เราก็ขาดความเป็นคน ในสังคมก็จะไม่เอาเรา สังคมก็จะตำหนิเรา ในสังคมก็จะไม่ยอมรับเรา
ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องมีศีล มีวินัย เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อมีสิทธิ์ที่จะดำรงอยู่ ที่จะมีชีวิตอยู่ ที่จะมีฐานะอยู่ ที่จะมีตัวตนอยู่ ถ้าเราไม่มีศีล ไม่มีวินัย เราไม่ปฏิบัติตามเราก็จะเข้าคุก เราก็จะหมดความเป็นตัวตนของตัวแล้ว แต่ถ้าเรามีศีล มีวินัย ใครจะมาเอาเราเข้าคุกก็ไม่ได้
บางคนก็จะถามว่า ทำไมต้องมีศีล มีวินัย เพราะว่าถ้าเราไม่ทำก็ผิดกติกาของเขา เราก็อยู่ไม่ได้
ข้อวินัยก็คือข้อกฎหมายนี่เอง คือ ถ้าเรามีวินัยพร้อมองค์ คือ ถ้าคุณมีวินัยอย่างนี้คุณจะได้รับอะไร? ถ้าคุณผิดวินัยตรงนี้คุณจะได้รับอะไร? ในวินัยพร้อมองค์นี้จะบอกว่าถ้าเรามีแล้วเราจะได้รับอะไร? แต่ถ้าเราไม่มีแล้วเราจะต้องถูกทำโทษอะไร? ไม่ใช่วินัยเฉยๆ เพราะถ้าเป็นวินัยเฉยๆ คือ ไม่มีข้อที่ว่าถ้าเราไม่ทำเราจะโดนอะไร? นี่คือกฎหมาย
แต่ถ้าเป็นกฎหมายของธรรม ถ้าทำผิดก็จะได้รับโทษเช่นกัน ยกตัวอย่างงพระเทวทัต เมื่อทำผิดในธรรมก็จะดูดกลับทันที
กฎหมายทางโลกนี้ก็ไปเรียนแบบทางธรรมออกมา ถ้าคุณทำดีก็จะเป็นพลเมืองที่ดี ถ้าคุณเป็นพลเมืองร้ายก็ต้องถูกจับ มีบทลงโทษ
เช่นเดียวกับวินัยของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ถ้าหากพระภิกษุท่านทำดีก็จะมีคนยกย่องให้ความเคารพนับถือ แต่ถ้าพระภิกษุท่านผิดวินัยต้องอาบัติ หมู่สงฆ์หรือฆราวาสก็จะขับไล่ให้สิกขาลาเพศ
ยกตัวอย่างพระครูบาศรีวิชัยถูกกลั่นแกล้ง ก็ไม่มีปัญหา หัวใจของครูบาศรีวิชัยก็คือ คุณจะกลั่นแกล้งก็กลั่นแกล้งไป แต่ของฉันคือของจริง ฉันมั่นใจในเหตุดีที่ กระทำ นี่คือหัวในของพระครูบาศรีวิชัย ถ้าครูบาศรีวิชัยอ่อนใจในการทำดี สิ่งต่างๆ ก็จะอ่อนไปหมด ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ทางขึ้นดอยพระธาตุดอยสุเทพก็คงไม่สำเร็จ ก็จะกลายเป็นโจรผู้ดีไป เช่นที่ให้เห็นคือ โจรปล้นคนรวยมาช่วยคนจน
ความเข้าใจใน "ศีล" ที่ถูกต้องตามธรรม
ศีล แปลอย่างสูงว่า "ปกติในธรรม"
ศีล แปลอย่างธรรมดาว่า "ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ ข้อควรปฏิบัติ"
๑. ศีลในระดับที่เป็นธรรม คือ ปกติ
๒. ศีลในระดับที่เป็นวินัย ข้อห้าม ข้อสิ่งที่ไม่ควรทำ สิ่งที่ควรปฏิบัติ
ศีลเป็นความปกติในธรรม สิ่งที่เราปฏิบัติไปตามภาวะแห่งธรรม นี่แหละคือการปฏิบัติตามศีล ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไม่รู้ว่าปกติอะไร เดี๋ยวต่างคนก็ต่างถือปกติของตัวเองก็จะเกิดความวุ่นวาย ในธรรมต้องเป็นอย่างนี้ๆ ในธรรมเขากำหนดไว้
ยกตัวอย่าง เราหิวข้าวจนมือสั่น เราก็ต้องไปกินข้าว นี่ปฏิบัติตามศีล แต่ถ้ายังไม่ไปกินข้าวยังปล่อยให้หิวโซ แสดงว่าไม่ปฏิบัติตามธรรม เป็นคนไม่มีศีล
ยกตัวอย่าง ครั้งหนึ่งพระพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญอยู่ทรงผิดศีล เพราะว่า บำเพ็ญทุกรกิริยา ทรมานร่างกายด้วยการอดอาหาร ส่งให้ผลไม่ถูกต้องในธรรม ท่านจึงหันกลับมาเสวยพระกระยาหารใหม่
ส่วนที่เป็นศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗ ศีล ๓๑๑ ข้อ ศีลเหล่านี้เป็นศีลข้อบังคับ เปรียบเสมือนว่าเราต้องเข้าห้องเรียนไปเรียนชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา เป็นต้น ก่อน ที่จะไปเข้าสู่ธรรมได้ แล้วทำไมเราต้องเข้าโรงเรียน หรือมีศีลเป็นข้อบังคับ? ถ้าเราไม่เรียนเราก็ไม่มีพื้นฐาน ก็ย่อมไปไม่ถึงจุดหมาย
ยกตัวอย่าง ตอนนี้เราอายุ ๒๒ ปีแล้ว แต่เราไม่ผ่านประถมศึกษา และมัธยมศึกษามาเขาก็จะไม่ให้เรียนระดับอุดมศึกษา คือ ปริญญาตรีขึ้นไป เราต้องไปผ่านการเรียนพื้นฐานการศึกษาก่อน อย่างน้อยเราต้องไปสอบเทียบ
สิ่งที่เรามีศีล ๕ ศีล ๘ ฯลฯ เหมือนกับว่าเราผ่านมัธยมศึกษาแล้ว เวลาเราได้รับธรรมะต่างๆ ก็จะทำให้จิตและปัญญาของเราปราณีตขึ้น รับธรรมะอันแยบยลขึ้นได้ กว้างขวางขึ้น
ศีลเป็นปกติของธรรม ศีล ๕, ๘, ๑๐ ฯลฯ เป็นข้อบังคับเฉยๆ เพราะคนไม่รู้ก็บังคับไม่ให้ทำอย่างนี้เป็นต้น เขาก็ไม่ทำชั่ว ก็เป็นไปตามภาวะธรรมนั้น แต่มันแคบ พอรู้เกี่ยวกับศีลก็จะกระจายขึ้น
สมมติว่า พระดำพระที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ กับพระแดงศีลในธรรม คือ เป็นปกติในธรรม เหตุการณ์คือ มีผู้หญิงจมน้ำ
พระดำที่ถือศีล ๒๒๗ ข้อ ก็จะไม่ไปช่วยเหลือหญิงคนนี้ เพราะแตะต้องตัวผู้หญิงคนนี้ไม่ได้ ถ้าแตะต้องก็จะอาบัติ ผิดศีล ทั้งๆ ว่าตนเองก็สามารถว่ายน้ำเป็นช่วยเหลือคนได้ แต่ไม่ช่วยเพราะกลัวอาบัติ ผิดศีล
แต่พระแดง ถือศีลในธรรม ถือความเป็นปกติในธรรม ก็จะกระโดดลงไปช่วยผู้หญิงคนนี้ อุ้มขึ้นมาให้รอดพ้นจากการจมน้ำตาย
แต่พระแดงที่ถือศีลแห่งความเป็นปกติ คือ ท่านทำถูกต้องศีลในธรรม เรียบร้อย
เหมือนกัน ในเรื่องของกฎหมาย ถ้าหากว่ากฎหมาย กฎกระทรวงใดขัดรัฐธรรมนูญก็ต้องวางไว้ ก็ต้องเอาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ตรงนี้เปรียบเสมือนกับการเข้าสู่กฎหมายธรรม กฎหมายธรรมก็คือกฎหมายรัฐธรรมนูญ ส่วนข้อสิกขาบท ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ข้อ นี้เป็นกฎหมายของกระทรวงตั้งๆ ที่ตราขึ้นมา
ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๒๒๗ ข้อนี้เป็นศีลข้อห้าม แต่ถ้าไปถึงจุดสูงสุดก็จะเป็นศีลธรรมแล้ว เป็นศีลของธรรม เป็นปกติของธรรมแล้ว
พอเราเข้าใจเช่นนี้เราถึงเข้าใจว่าพระแดงที่ไปช่วยเหลือผู้หญิงนี้ไม่ผิด เพราะเราเอาศีลรัฐธรรมนูญเป็นว่า กฎหมายกระทรวงต่างๆ ถ้าหากว่ามีกฎหมายของรัฐธรรมนูญมาแล้ว ก็ต้องยึดเอากฎหมายรัฐธรรมนูญ
ก้อนหินหนึ่งก้อนมีศีลไหม? ตอบว่ามี
ศีลของก้อนหินก็คือศีลในธรรมเป็นปกติ เพราะถ้าไม่เช่นนั้นก้อนหินก้อนหนึ่งก็คงอยู่ไม่ได้ เพราะก้อนหินนี้มีศีลจึงสามารถดำรงอยู่ในธรรมได้ ถ้าไม่เช่นนั้น ถ้าก้อนหินนี้ไม่มีความปกติในธรรม ก้อนหินนี้ก็ต้องถูกทำลาย แตกสลายไป เพราะว่าไม่ปกติ อยู่ไม่ได้
เหมือนกับพระเทวทัต เป็นพระที่ไม่ดี ในธรรมก็จะจัดการ คือ โดนธรณีสูบลงไปตายเลย แม้ว่าพระพุทธเจ้าไม่ถือโทษ แต่ธรรมบอกว่าหมดเวลาแล้ว หมดสภาพแห่งความเป็นปกติในธรม
คำว่า "วินัย" วินัยนี้อยู่ข้างล่าง เป็นกฎระเบียบ คำว่า "ศีล" ก็เป็นวินัยนี่เอง เช่น ศีล ๒๒๗ ข้อ เรียกว่า สิกขาบท เป็นวินัยของพระ
วินัยก็คือให้ดำรงอยู่ตรงนั้นได้ ถ้าเราไม่มีวินัยเราก็เป็นพระไม่ได้ ก็ต้องไล่ออก โดนไล่ขับสึกออกจากความเป็นพระ เป็นต้น
การที่เรามีวินัยก็เพื่อให้ดำรงอยู่ในภาวะนั้นๆ ถ้าเราผิดวินัย ๒๒๗ ข้อ เราก็ต้องโดนไล่ออกไป
เวลานี้เราเป็นพระภิกษุ เราก็ต้องมีวินัย ๒๒๗ ข้อ ถ้าเราขาดเมื่อไหร่เราก็ขาดความเป็นพระภิกษุทันที
เราเป็นคน ถ้าขาดศีลธรรม เราก็ขาดความเป็นคน ในสังคมก็จะไม่เอาเรา สังคมก็จะตำหนิเรา ในสังคมก็จะไม่ยอมรับเรา
ถ้าถามว่า ทำไมเราต้องมีศีล มีวินัย เพื่อปฏิบัติให้ถูกต้อง เพื่อมีสิทธิ์ที่จะดำรงอยู่ ที่จะมีชีวิตอยู่ ที่จะมีฐานะอยู่ ที่จะมีตัวตนอยู่ ถ้าเราไม่มีศีล ไม่มีวินัย เราไม่ปฏิบัติตามเราก็จะเข้าคุก เราก็จะหมดความเป็นตัวตนของตัวแล้ว แต่ถ้าเรามีศีล มีวินัย ใครจะมาเอาเราเข้าคุกก็ไม่ได้
บางคนก็จะถามว่า ทำไมต้องมีศีล มีวินัย เพราะว่าถ้าเราไม่ทำก็ผิดกติกาของเขา เราก็อยู่ไม่ได้
ข้อวินัยก็คือข้อกฎหมายนี่เอง คือ ถ้าเรามีวินัยพร้อมองค์ คือ ถ้าคุณมีวินัยอย่างนี้คุณจะได้รับอะไร? ถ้าคุณผิดวินัยตรงนี้คุณจะได้รับอะไร? ในวินัยพร้อมองค์นี้จะบอกว่าถ้าเรามีแล้วเราจะได้รับอะไร? แต่ถ้าเราไม่มีแล้วเราจะต้องถูกทำโทษอะไร? ไม่ใช่วินัยเฉยๆ เพราะถ้าเป็นวินัยเฉยๆ คือ ไม่มีข้อที่ว่าถ้าเราไม่ทำเราจะโดนอะไร? นี่คือกฎหมาย
แต่ถ้าเป็นกฎหมายของธรรม ถ้าทำผิดก็จะได้รับโทษเช่นกัน ยกตัวอย่างงพระเทวทัต เมื่อทำผิดในธรรมก็จะดูดกลับทันที
กฎหมายทางโลกนี้ก็ไปเรียนแบบทางธรรมออกมา ถ้าคุณทำดีก็จะเป็นพลเมืองที่ดี ถ้าคุณเป็นพลเมืองร้ายก็ต้องถูกจับ มีบทลงโทษ
เช่นเดียวกับวินัยของพระภิกษุ ๒๒๗ ข้อ ถ้าหากพระภิกษุท่านทำดีก็จะมีคนยกย่องให้ความเคารพนับถือ แต่ถ้าพระภิกษุท่านผิดวินัยต้องอาบัติ หมู่สงฆ์หรือฆราวาสก็จะขับไล่ให้สิกขาลาเพศ
ยกตัวอย่างพระครูบาศรีวิชัยถูกกลั่นแกล้ง ก็ไม่มีปัญหา หัวใจของครูบาศรีวิชัยก็คือ คุณจะกลั่นแกล้งก็กลั่นแกล้งไป แต่ของฉันคือของจริง ฉันมั่นใจในเหตุดีที่ กระทำ นี่คือหัวในของพระครูบาศรีวิชัย ถ้าครูบาศรีวิชัยอ่อนใจในการทำดี สิ่งต่างๆ ก็จะอ่อนไปหมด ทำอะไรก็ไม่สำเร็จ ทางขึ้นดอยพระธาตุดอยสุเทพก็คงไม่สำเร็จ ก็จะกลายเป็นโจรผู้ดีไป เช่นที่ให้เห็นคือ โจรปล้นคนรวยมาช่วยคนจน