สิงคโปร์แย่แล้ว เศรษฐกิจยุคโควิดโตติดลบ 41.2%
การต่ออายุมาตรการล็อกดาวน์สกัดโควิดทำเศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอยหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์เปิดตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่าเศรษฐกิจติดลบ 41.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ และติดลบ 12.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าติดลบหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังติดลบ 3.3% ส่งผลให้ขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคแล้ว (เศรษฐกิจติดลบแบบไตรมาสต่อไตรมาส 2 ไตรมาสติดต่อกัน)
ในช่วงไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจสิงคโปร์ได้รับผลกระทบรอบด้านจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสและมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการยุติกิจกรรมทางเศรษฐกิจชั่วคราว ปิดสถานที่ทำงาน
การค้าระหว่างประเทศที่หดตัวลงส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาการส่งออกของสิงคโปร์ ขณะที่การค้าปลีกในประเทศทรุดตัวทำลายสถิติหลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการล็อกดาวน์
ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในขณะนี้ยิ่งเพิ่มความกดดันให้กับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ลีเซียนลุง ที่ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุดในรอบ 55 ปี จากการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านไป
นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังแสดงให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศอื่นในเอเชียมีแนวโน้มจะเป็นอย่างไร
https://www.posttoday.com/world/628316
เศรษฐกิจโต 4-5% อาจมีความเป็นไปได้?
โล่งอกไปกับการอภิปราย พ.ร.บ.งบประมาณ 2564 เพราะฝ่ายรัฐบาลเสียงมากกว่า ชนะแบบขาดลอย แต่ฝ่ายค้านยังไม่ยอมแพ้ จะไปขอแก้ปรับงบประมาณในวาระ 2 โดยละเอียด ถึงอย่างไรก็คงผ่านไปด้วยดี
การอภิปรายออกจะกร่อยๆไปหน่อย มีเพียงการโจมตีเรื่องการใช้งบประมาณไม่ถูกที่คัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เป้าโจมตีคือกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ที่มีงบซื้ออาวุธและซ่อนงบประมาณเลือกตั้ง อปท. ไว้
เรื่องที่ถูกตำหนิมากสุดคงเป็นงบประมาณรายได้ที่คาดว่าจะได้ถึง 2.6 ล้านๆและงบกลางที่กู้มามากเกินไปถึง 6 แสนล้าน ซึ่งรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ ยืนยันว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะโตถึง 4-5% แม้ว่าปีนี้จะตกร่วงลงไปถึง -8% ก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลอาจจะเชื่อมั่นว่าโควิด-19 คงจะหายสิ้นไปในเดือน ก.ย.63
แต่พอเริ่ม ต.ค.63 เป็นงบประมาณปี 64 รัฐบาลจะเปิดบ้านในทุกมิติ การท่องเที่ยวที่ติดลบไป 100% จะหวนกลับคืนมาได้ค่อนข้างแน่ จะทำให้ภาษีสามารถเก็บได้ตามเป้าหมาย แม้ว่ารายการรายได้จากทางอื่นจะไม่ค่อยกระเตื้องก็ตาม เช่น มีผลผลิตสินค้าเกษตร -1.3 ดัชนีราคาสินค้าเกษตร -3 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง -1.2 ยอดจำหน่ายรถยนต์ -65% จักรยานยนต์ -37% ปูนซีเมนต์ -3.1% เป็นต้น
นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดเส้นทางคมนาคมอีกหลายสาย เช่น บางปะอิน-โคราช รถไฟ 3 สนามบิน เมืองอู่ตะเภา รถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงที่กำลังก่อสร้าง สามารถจ้างงานได้อีกเป็นล้านคน รวมถึง EEC ก็จะเริ่มก้าวหน้าในอีกหลายโครงการ
แม้ว่าเครื่องยนต์หลักๆของประเทศคือการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนจะทรุดในปีนี้ แต่ก็คงมั่นใจได้ว่าคงจะผ่านพ้นทำตัวเลขกลับคืนมาได้ใน 1 ปี
ในขณะที่เมกะเทรนด์ของโลกเปลี่ยนไป เช่น urbanization การเติบโตของมหานคร ผู้คนจะอพยพอยู่ในเมืองมากขึ้น Digitalization คือการทรานส์ฟอร์มสู่อุตสาหกรรมยุคที่ 4 การค้าขายแบบไร้พรมแดน
หรือ Globalization และยังมีการเปลี่ยนแปลงของประชากรและการแปรปรวนของอากาศ ซึ่งรัฐบาลคงต้องพึงระวังเทรนด์ใหญ่ๆที่จะโหมใส่เข้ามาเป็นภาระมากขึ้น แต่ที่แน่ๆรัฐบาลต้องเร่งสร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชน และสร้างความนิยมสินค้าไทยให้มากขึ้น
การปรับ ค.ร.ม. ต้องปรับเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้บริหารให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากให้ได้ มิใช่เพื่อปรับ เพียงแต่ปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น เพราะประชาชนรวมถึงฝ่ายค้านจ้องดูว่าหลังโควิด-19 หรือปี 64 สภาวะทางเศรษฐกิจจะกระเตื้องได้จริงหรือไม่
แม้ว่า 4 กุมารจะลาออกจากพรรคไปแล้ว การปรับ ค.ร.ม. คงจะเกิดขึ้นเร็ววัน หวังว่าการปรับทีมเศรษฐกิจครั้งนี้จะสามารถฉุดเศรษฐกิจที่ร่วงหล่นไปถึง 8% จะสามารถกู้กลับมาได้หรือไม่ คงต้องรอดูทีมเศรษฐกิจใหม่ในไม่ช้านี้
https://siamrath.co.th/n/169265
ไม่เห็นเศรษฐกิจประเทศไหนดีสักประเทศนะคะ....
ประเทศฝากความหวังไว้ที่รัฐบาลลุงตู่ค่ะ...💗
🍥🍥🍥/มาลาริน/สิงคโปร์แย่แล้ว เศรษฐกิจยุคโควิดโตติดลบ 41.2% ส่วนไทยหวังดีขึ้นในปีหน้าค่ะ
การต่ออายุมาตรการล็อกดาวน์สกัดโควิดทำเศรษฐกิจสิงคโปร์เข้าสู่ภาวะถดถอยหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์
กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์เปิดตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ พบว่าเศรษฐกิจติดลบ 41.2% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ของปีนี้ และติดลบ 12.6% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งถือว่าติดลบหนักที่สุดเป็นประวัติการณ์
นอกจากนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้เศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังติดลบ 3.3% ส่งผลให้ขณะนี้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคแล้ว (เศรษฐกิจติดลบแบบไตรมาสต่อไตรมาส 2 ไตรมาสติดต่อกัน)
ในช่วงไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจสิงคโปร์ได้รับผลกระทบรอบด้านจากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสและมาตรการล็อกดาวน์เพื่อสกัดเชื้อ ไม่ว่าจะเป็นการยุติกิจกรรมทางเศรษฐกิจชั่วคราว ปิดสถานที่ทำงาน
การค้าระหว่างประเทศที่หดตัวลงส่งผลกระทบกับอุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องพึ่งพาการส่งออกของสิงคโปร์ ขณะที่การค้าปลีกในประเทศทรุดตัวทำลายสถิติหลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการล็อกดาวน์
ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในขณะนี้ยิ่งเพิ่มความกดดันให้กับรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ลีเซียนลุง ที่ได้คะแนนเสียงน้อยที่สุดในรอบ 55 ปี จากการเลือกตั้งที่เพิ่งผ่านไป
นอกจากนี้ สภาพเศรษฐกิจของสิงคโปร์ยังแสดงให้เห็นว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในประเทศอื่นในเอเชียมีแนวโน้มจะเป็นอย่างไร
https://www.posttoday.com/world/628316
เศรษฐกิจโต 4-5% อาจมีความเป็นไปได้?
โล่งอกไปกับการอภิปราย พ.ร.บ.งบประมาณ 2564 เพราะฝ่ายรัฐบาลเสียงมากกว่า ชนะแบบขาดลอย แต่ฝ่ายค้านยังไม่ยอมแพ้ จะไปขอแก้ปรับงบประมาณในวาระ 2 โดยละเอียด ถึงอย่างไรก็คงผ่านไปด้วยดี
การอภิปรายออกจะกร่อยๆไปหน่อย มีเพียงการโจมตีเรื่องการใช้งบประมาณไม่ถูกที่คัน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เป้าโจมตีคือกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย ที่มีงบซื้ออาวุธและซ่อนงบประมาณเลือกตั้ง อปท. ไว้
เรื่องที่ถูกตำหนิมากสุดคงเป็นงบประมาณรายได้ที่คาดว่าจะได้ถึง 2.6 ล้านๆและงบกลางที่กู้มามากเกินไปถึง 6 แสนล้าน ซึ่งรัฐบาล โดยพลเอกประยุทธ ยืนยันว่า เศรษฐกิจปีหน้าจะโตถึง 4-5% แม้ว่าปีนี้จะตกร่วงลงไปถึง -8% ก็ตาม ที่เป็นเช่นนี้เพราะรัฐบาลอาจจะเชื่อมั่นว่าโควิด-19 คงจะหายสิ้นไปในเดือน ก.ย.63
แต่พอเริ่ม ต.ค.63 เป็นงบประมาณปี 64 รัฐบาลจะเปิดบ้านในทุกมิติ การท่องเที่ยวที่ติดลบไป 100% จะหวนกลับคืนมาได้ค่อนข้างแน่ จะทำให้ภาษีสามารถเก็บได้ตามเป้าหมาย แม้ว่ารายการรายได้จากทางอื่นจะไม่ค่อยกระเตื้องก็ตาม เช่น มีผลผลิตสินค้าเกษตร -1.3 ดัชนีราคาสินค้าเกษตร -3 รายได้เกษตรกรที่แท้จริง -1.2 ยอดจำหน่ายรถยนต์ -65% จักรยานยนต์ -37% ปูนซีเมนต์ -3.1% เป็นต้น
นอกจากนี้ยังจะมีการเปิดเส้นทางคมนาคมอีกหลายสาย เช่น บางปะอิน-โคราช รถไฟ 3 สนามบิน เมืองอู่ตะเภา รถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง รวมถึงรถไฟความเร็วสูงที่กำลังก่อสร้าง สามารถจ้างงานได้อีกเป็นล้านคน รวมถึง EEC ก็จะเริ่มก้าวหน้าในอีกหลายโครงการ
แม้ว่าเครื่องยนต์หลักๆของประเทศคือการส่งออก การท่องเที่ยว และการลงทุนภาคเอกชนจะทรุดในปีนี้ แต่ก็คงมั่นใจได้ว่าคงจะผ่านพ้นทำตัวเลขกลับคืนมาได้ใน 1 ปี
ในขณะที่เมกะเทรนด์ของโลกเปลี่ยนไป เช่น urbanization การเติบโตของมหานคร ผู้คนจะอพยพอยู่ในเมืองมากขึ้น Digitalization คือการทรานส์ฟอร์มสู่อุตสาหกรรมยุคที่ 4 การค้าขายแบบไร้พรมแดน
หรือ Globalization และยังมีการเปลี่ยนแปลงของประชากรและการแปรปรวนของอากาศ ซึ่งรัฐบาลคงต้องพึงระวังเทรนด์ใหญ่ๆที่จะโหมใส่เข้ามาเป็นภาระมากขึ้น แต่ที่แน่ๆรัฐบาลต้องเร่งสร้างงาน สร้างอาชีพให้ประชาชน และสร้างความนิยมสินค้าไทยให้มากขึ้น
การปรับ ค.ร.ม. ต้องปรับเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้บริหารให้สามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากให้ได้ มิใช่เพื่อปรับ เพียงแต่ปัจจัยทางการเมืองเท่านั้น เพราะประชาชนรวมถึงฝ่ายค้านจ้องดูว่าหลังโควิด-19 หรือปี 64 สภาวะทางเศรษฐกิจจะกระเตื้องได้จริงหรือไม่
แม้ว่า 4 กุมารจะลาออกจากพรรคไปแล้ว การปรับ ค.ร.ม. คงจะเกิดขึ้นเร็ววัน หวังว่าการปรับทีมเศรษฐกิจครั้งนี้จะสามารถฉุดเศรษฐกิจที่ร่วงหล่นไปถึง 8% จะสามารถกู้กลับมาได้หรือไม่ คงต้องรอดูทีมเศรษฐกิจใหม่ในไม่ช้านี้
https://siamrath.co.th/n/169265
ไม่เห็นเศรษฐกิจประเทศไหนดีสักประเทศนะคะ....
ประเทศฝากความหวังไว้ที่รัฐบาลลุงตู่ค่ะ...💗