องค์การนักศึกษา มธ. ออกแถลงการณ์จี้ รบ.รับผิดชอบ ถามคง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโรค หรือคุมคนเห็นต่าง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2265795
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ กรณี ข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลในการจัดการกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
ท่ามกลางสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของประชาชน ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา นับว่ารัฐบาลได้พยายามเป็นอย่างยิ่ง ในการควบคุมการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลในทางบวก แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็มีข้อสงสัยในการปฏิบัติงานของรัฐบาล อันเป็นต้นเหตุของความเคลือบแคลงใจของประชาชนในหลายส่วน องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะตัวแทนของนักศึกษา ได้รับฟังความคิดเห็นจากคนรุ่นใหม่ เราจึงขอเป็นตัวแทนในการสอบถามถึงข้อสงสัยในการบริหารจัดการ ตามข้อความดังต่อไปนี้
1. การคงไว้ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลมีการประกาศใช้พระราชกำหนดนี้ โดยอ้างว่า เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันเริ่มมีเสียงคัดค้านจากประชาชนหลายกลุ่ม ต่อความจำเป็นในการคงไว้ซึ่งพระราชกำหนดนี้ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ได้บรรเทาลงแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างความไม่ไว้วางใจต่อวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ของรัฐบาล ว่า แท้จริงแล้วการคงไว้ซึ่ง พ.ร.ก. ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองในการควบคุมผู้เห็นต่าง
2. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนและระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และเป็นที่เข้าใจได้ว่าผลกระทบดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติทั่วโลก แต่จากการรายงานล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการคาดการณ์ว่า ในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายติดลบ ถึงร้อยละ 8.1 หากเรานำมาเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะพบว่า ประเทศไทยมีการถดถอยทางเศรษฐกิจมากที่สุด และมากกว่า ประเทศในกลุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญ เราจึงมีข้อสงสัยเรียนถามดังนี้
“การทำงานของรัฐบาล ณ ปัจจุบันในการแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้น ถือว่าได้ใช้ความสามารถเต็มที่แล้วหรือไม่ เหตุใด ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทยถึงหนักหนาสาหัสกว่าประเทศอื่น”
หากรัฐบาลได้ใช้ความสามารถเต็มที่แล้ว “ รัฐบาลมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ในการบริหารราชการแผ่นดินต่อ”
ท้ายที่สุด “รัฐบาลมีความชอบธรรมหรือไม่ในการอยู่ในตำแหน่งต่อไป ทั้งที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และนำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชนเป็นจำนวนมาก”
ความหละหลวมในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในระลอกที่ 2 ของรัฐบาล อันเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการติดเชื้อภายในประเทศอีกครั้ง โดยสามารถแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้
3.1 กรณี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขร่วมงานฉลองที่สถานทูต
3.2 กรณี การได้รับการยกเว้นเข้าประเทศของคณะทหารจากประเทศอียิปต์
3.3 กรณี การได้รับการยกเว้นกักตัว ให้เข้าพักที่คอนโดมิเนียมส่วนตัวของคณะทูตต่างชาติ
จากเหตุการณ์ข้างต้น ส่งผลให้ประชาชนมีความไม่มั่นใจต่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล และเป็นภาพสะท้อนของการจัดการปัญหาแบบสองมาตรฐานของรัฐบาล เราจึงขอเรียนถามท่านถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า
“สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่แน่ชัดถึงความหละหลวม ต่อการควบคุมและคัดกรองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าของรัฐบาล ซึ่งนำมาสู่ความเสี่ยงต่อประชาชน ทั้งในแง่ความปลอดภัย เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก รัฐบาลในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบ จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาอย่างไรหากมีการระบาดในระลอกที่ 2 เกิดขึ้น”
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอกล่าวโทษความผิดต่อรัฐบาลที่ไม่สามารถดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า(โควิด-19) อย่างรอบคอบและรัดกุม จนนำมาซึ่งความเสี่ยงของการระบาดในระลอกที่ 2 อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเทียบจากรัฐบาลอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งได้รับผลกระทบและมีสภาพแวดล้อมทางสังคมใกล้เคียงกับประเทศไทย
และเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
1. ลาออกจากตำแหน่งเพื่อความโปร่งใสและชอบธรรมของสังคม
2. ยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
3. เพิ่มเติมมาตรการทางสาธารณสุขที่รัดกุม เท่าเทียม และโปร่งใส
เพื่อธำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงของประชาชน โดยความรับผิดชอบที่รัฐบาลพึงกระทำนี้ ย่อมนำมาซึ่งการไม่เป็นมลทินทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่ประชาชนจะทำการจารึกไว้ว่า ท่านคือผู้นำแบบใด ความรับผิดชอบต่อประชาชน คือหน้าที่ของรัฐบาล
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.facebook.com/thammasatsu/photos/a.569680896402051/3092597857443663/
ก้าวไกล เปิดผลกระทบคนระยอง ปมทหารอียิปต์ ถามรบ.รับผิดชอบอย่างไร
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4501135
ก้าวไกล เปิดผลกระทบคนระยอง ปมทหารอียิปต์ ถามรบ.จะรับผิดชอบอย่างไร?
วันที่ 14 ก.ค. พรรคก้าวไกล ทวงถามความรับผิดชอบจากรัฐบาล หลังปล่อยให้ทหารอียิปต์เข้ามาในประเทศโดยไม่ต้องกักตัว แล้วปรากฎว่าติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ประชาชนเกิดความว่ากลัวว่าโควิด-19 จะกลับมาระบาดในประเทศไทยอีกครั้ง ความว่า
ความหละหลวมของมาตรการและระบบการให้อภิสิทธิ์แก่คนบางจำพวกของรัฐบาล ที่ทำให้คนระยองทั้งหมดต้องมาเดือดร้อนตามไปด้วย และรัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร?
“101” คือตัวเลขจำนวนวันที่ระยองไม่มีการระบาดในท้องถิ่น เป็นเพราะการปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันของบุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งประชาชนที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเคร่งครัดระมัดระวังเพื่อหวังว่าคนระยองจะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยเร็วที่สุด
จนกระทั่งเมื่อวาน(13 กรกฎาคม 2563) ศบค. ออกมาแถลงข่าวว่ามี #ทหารอียิปต์ ที่มีเชื้อโควิด-19 ระหว่างพำนักอยู่ที่โรงแรมและเดินเที่ยวห้างในระยอง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร รัฐบาลเข้มงวดกวดขันกับประชาชนคนไทยด้วยกันเองจนตึง แต่หละหลวมกับแขกต่างชาติที่ได้รับอภิสิทธิ์หรือไม่?
และชาวระยองได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ อย่างไรบ้างจากความผิดพลาดครั้งนี้?
ประเมินผู้ได้รับผลกระทบคร่าวๆ
- เบื้องต้น เทศบาลนครระยองประกาศปิดโรงเรียนระดับมัธยม ประถม ศูนย์เด็กเล็ก และห้องสมุด รวม 11 แห่ง คาดว่ามีนักเรียนที่ต้องหยุดเรียน “อย่างน้อย” 7 พันคน ที่ก่อนหน้านี้ก็หยุดเรียนไปหลายเดือนและเพิ่งกลับมาเปิดเรียนใหม่ได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
-ยังไม่นับว่าอาจจะมีการประกาศปิดเพิ่มเติมจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่มีนักเรียนรวมแล้วเป็นหมื่นคนในเขตพื้นที่เสี่ยง
-พ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียนที่จะต้องหยุดงาน ลางาน ฯลฯ มาดูแลลูกหลาน ทำให้สูญเสียรายได้และโอกาสอีกจำนวนมาก
- โรงแรมในส่วนที่ #ทหารอียิปต์ เข้าพักต้องปิดบริการ และพนักงานโรงแรม 12 คน ถูกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการและตรวจหาเชื้อ
- สายการบินสั่งกักตัวพนักงานภาคพื้นดิน 7 คนที่ให้บริการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
- ประชาชนไม่กล้าเดินห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในระยอง 2 แห่ง ไม่นับว่าประชาชนและพนักงานร้านค้าต่างๆ ในห้าง 2 แห่งนี้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ(และต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน) จากการที่รัฐบาลหละหลวมปล่อยให้อภิสิทธิ์ชนไปเดินเที่ยวห้างขณะที่ตนเองมีเชื้อ
- ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวในระยองค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากตายสนิทมาหลายเดือน ผู้ประกอบการธุรกิจทุกคนต่างรอคอยช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ยอดจองที่พักจะขึ้นสูงแตะ 100% เนื่องจากรัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดยาว และคาดว่า ครม. จะมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากการคลายล็อกเฟสต่างๆ จนสถานการณ์แทบจะกลับมาเป็นปกติแล้ว
แต่ความฝันทั้งหมดนี้คงจะจบลงไปอย่างน่าเสียดาย เพราะผู้ประกอบการโรงแรมในระยองต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตั้งแต่เมื่อวาน เริ่มมีการยกเลิกการจองโรงแรมเข้ามาแล้ว และไม่ทราบว่าตัวเลขยอดจองโรงแรมและการจองทริปต่างๆ จะเหือดหายหดตัวไปเหลือเท่าใดในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ และจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งเมื่อไหร่
- ยังไม่นับตัวเลขความเสียหายจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด
- ก่อนหน้านี้ในช่วงการระบาดครั้งแรก ทำให้ต้องล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดอันมาจากปัญหาการใช้ชีวิตที่ไม่ปกติและการทำมาหากินที่ลำบากมาก แต่ “ถ้า” เราโชคร้ายกว่านั้น พบว่ามีการแพร่เชื้อเพิ่มเติมในพื้นที่ระยองจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คงจะหนีไม่พ้นการล็อกดาวน์ทั้งจังหวัด ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักอีกรอบ ความตึงเครียดอาจจะกลับมาและมีโอกาสมากกว่าเดิมเนื่องจากหลายคนไม่เหลืออะไรแล้วจากการล็อกดาวน์ครั้งแรก
- คำถามสำคัญกลับมาอีกครั้ง: ในเมื่อก่อนหน้านี้รัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกเสมอว่าจำเป็นต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากจะทำให้มีการบริหารงานแบบรวมศูนย์ ง่ายต่อการสั่งการ รวมอำนาจไว้ในมือนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว และเมื่อมีอำนาจก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนั้นตามมาด้วย
กรณีนี้ก็เช่นกัน คุณจะรับผิดชอบอะไรจากมาตรการที่หละหลวม ให้อภิสิทธิ์แก่บางคนจนเกิดเรื่อง และคนที่ต้องมารับกรรมคือประชาชนคนหาเช้ากินค่ำ ผู้ประกอบการที่ยอมอดทนและให้ความร่วมมืออย่างดีเยี่ยม พนักงานโรงแรมที่ให้บริการแขกที่เข้าพักอย่างเต็มที่สุดความสามารถ แต่สุดท้ายกลับถูกกักตัวอดทำงาน 14 วัน รวม 12 คน
เด็กนักเรียนนับพันนับหมื่นคนที่ใจจดใจจ่ออยากกลับไปเรียนเต็มทีแล้ว คุณครูที่เตรียมการเรียนการสอนแบบ New Normal มาเป็นเดือนๆ พ่อค้าแม่ขายที่เตรียมสต็อกของไว้เต็มที่โดยหวังว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติโดยเร็ว
คุณจะรับผิดชอบความผิดพลาดในการใช้อำนาจครั้งนี้อย่างไร???
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/photos/a.104388194526543/161443382154357/
JJNY : องค์การนักศึกษามธ.จี้รบ.รับผิดชอบ/ก้าวไกลถามรบ./สธ.รับเจอโควิดตั้งแต่สนามบิน/แม่ค้าลั่นระบาดรอบ2แย่แน่-ไม่มีจะกิน
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2265795
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กว่า
แถลงการณ์ ขอให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบ กรณี ข้อผิดพลาดอย่างร้ายแรงของรัฐบาลในการจัดการกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
ท่ามกลางสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า (COVID-19) ในประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตตามปกติของประชาชน ตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา นับว่ารัฐบาลได้พยายามเป็นอย่างยิ่ง ในการควบคุมการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลในทางบวก แต่อย่างไรก็ตาม เราเองก็มีข้อสงสัยในการปฏิบัติงานของรัฐบาล อันเป็นต้นเหตุของความเคลือบแคลงใจของประชาชนในหลายส่วน องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในฐานะตัวแทนของนักศึกษา ได้รับฟังความคิดเห็นจากคนรุ่นใหม่ เราจึงขอเป็นตัวแทนในการสอบถามถึงข้อสงสัยในการบริหารจัดการ ตามข้อความดังต่อไปนี้
1. การคงไว้ซึ่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลมีการประกาศใช้พระราชกำหนดนี้ โดยอ้างว่า เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและประสิทธิภาพในการรับมือต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ณ ปัจจุบันเริ่มมีเสียงคัดค้านจากประชาชนหลายกลุ่ม ต่อความจำเป็นในการคงไว้ซึ่งพระราชกำหนดนี้ อันเนื่องมาจากสถานการณ์ที่ได้บรรเทาลงแล้ว แต่สิ่งที่เกิดขึ้นได้สร้างความไม่ไว้วางใจต่อวัตถุประสงค์ในการประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ของรัฐบาล ว่า แท้จริงแล้วการคงไว้ซึ่ง พ.ร.ก. ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือ เพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมืองในการควบคุมผู้เห็นต่าง
2. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของประชาชนและระบบเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก และเป็นที่เข้าใจได้ว่าผลกระทบดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นเป็นปกติทั่วโลก แต่จากการรายงานล่าสุดของธนาคารแห่งประเทศไทย ได้มีการคาดการณ์ว่า ในปีนี้ เศรษฐกิจไทยจะขยายติดลบ ถึงร้อยละ 8.1 หากเรานำมาเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะพบว่า ประเทศไทยมีการถดถอยทางเศรษฐกิจมากที่สุด และมากกว่า ประเทศในกลุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญ เราจึงมีข้อสงสัยเรียนถามดังนี้
“การทำงานของรัฐบาล ณ ปัจจุบันในการแก้ไขวิกฤตที่เกิดขึ้น ถือว่าได้ใช้ความสามารถเต็มที่แล้วหรือไม่ เหตุใด ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทยถึงหนักหนาสาหัสกว่าประเทศอื่น”
หากรัฐบาลได้ใช้ความสามารถเต็มที่แล้ว “ รัฐบาลมีความสามารถเพียงพอหรือไม่ในการบริหารราชการแผ่นดินต่อ”
ท้ายที่สุด “รัฐบาลมีความชอบธรรมหรือไม่ในการอยู่ในตำแหน่งต่อไป ทั้งที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ และนำมาซึ่งความเดือดร้อนของประชาชนเป็นจำนวนมาก”
ความหละหลวมในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าในระลอกที่ 2 ของรัฐบาล อันเป็นสาเหตุที่ทำให้มีการติดเชื้อภายในประเทศอีกครั้ง โดยสามารถแบ่งเป็นกรณีได้ดังนี้
3.1 กรณี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณะสุขร่วมงานฉลองที่สถานทูต
3.2 กรณี การได้รับการยกเว้นเข้าประเทศของคณะทหารจากประเทศอียิปต์
3.3 กรณี การได้รับการยกเว้นกักตัว ให้เข้าพักที่คอนโดมิเนียมส่วนตัวของคณะทูตต่างชาติ
จากเหตุการณ์ข้างต้น ส่งผลให้ประชาชนมีความไม่มั่นใจต่อมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของรัฐบาล และเป็นภาพสะท้อนของการจัดการปัญหาแบบสองมาตรฐานของรัฐบาล เราจึงขอเรียนถามท่านถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า
“สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นที่แน่ชัดถึงความหละหลวม ต่อการควบคุมและคัดกรองการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าของรัฐบาล ซึ่งนำมาสู่ความเสี่ยงต่อประชาชน ทั้งในแง่ความปลอดภัย เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก รัฐบาลในฐานะผู้ดูแลรับผิดชอบ จะรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร และจะแก้ไขปัญหาอย่างไรหากมีการระบาดในระลอกที่ 2 เกิดขึ้น”
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ขอกล่าวโทษความผิดต่อรัฐบาลที่ไม่สามารถดำเนินมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า(โควิด-19) อย่างรอบคอบและรัดกุม จนนำมาซึ่งความเสี่ยงของการระบาดในระลอกที่ 2 อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเทียบจากรัฐบาลอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ซึ่งได้รับผลกระทบและมีสภาพแวดล้อมทางสังคมใกล้เคียงกับประเทศไทย
และเพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสิ่งที่เกิดขึ้น เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแสดงความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดย
1. ลาออกจากตำแหน่งเพื่อความโปร่งใสและชอบธรรมของสังคม
2. ยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน
3. เพิ่มเติมมาตรการทางสาธารณสุขที่รัดกุม เท่าเทียม และโปร่งใส
เพื่อธำรงไว้ซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงของประชาชน โดยความรับผิดชอบที่รัฐบาลพึงกระทำนี้ ย่อมนำมาซึ่งการไม่เป็นมลทินทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย ที่ประชาชนจะทำการจารึกไว้ว่า ท่านคือผู้นำแบบใด ความรับผิดชอบต่อประชาชน คือหน้าที่ของรัฐบาล
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
https://www.facebook.com/thammasatsu/photos/a.569680896402051/3092597857443663/
ก้าวไกล เปิดผลกระทบคนระยอง ปมทหารอียิปต์ ถามรบ.รับผิดชอบอย่างไร
https://www.khaosod.co.th/politics/news_4501135
ก้าวไกล เปิดผลกระทบคนระยอง ปมทหารอียิปต์ ถามรบ.จะรับผิดชอบอย่างไร?
วันที่ 14 ก.ค. พรรคก้าวไกล ทวงถามความรับผิดชอบจากรัฐบาล หลังปล่อยให้ทหารอียิปต์เข้ามาในประเทศโดยไม่ต้องกักตัว แล้วปรากฎว่าติดเชื้อโควิด-19 ทำให้ประชาชนเกิดความว่ากลัวว่าโควิด-19 จะกลับมาระบาดในประเทศไทยอีกครั้ง ความว่า
ความหละหลวมของมาตรการและระบบการให้อภิสิทธิ์แก่คนบางจำพวกของรัฐบาล ที่ทำให้คนระยองทั้งหมดต้องมาเดือดร้อนตามไปด้วย และรัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร?
“101” คือตัวเลขจำนวนวันที่ระยองไม่มีการระบาดในท้องถิ่น เป็นเพราะการปฏิบัติหน้าที่อย่างแข็งขันของบุคลากรสาธารณสุข รวมทั้งประชาชนที่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการของรัฐบาลและองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างเคร่งครัดระมัดระวังเพื่อหวังว่าคนระยองจะกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติโดยเร็วที่สุด
จนกระทั่งเมื่อวาน(13 กรกฎาคม 2563) ศบค. ออกมาแถลงข่าวว่ามี #ทหารอียิปต์ ที่มีเชื้อโควิด-19 ระหว่างพำนักอยู่ที่โรงแรมและเดินเที่ยวห้างในระยอง จนเกิดคำถามขึ้นมาว่าเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้อย่างไร รัฐบาลเข้มงวดกวดขันกับประชาชนคนไทยด้วยกันเองจนตึง แต่หละหลวมกับแขกต่างชาติที่ได้รับอภิสิทธิ์หรือไม่?
และชาวระยองได้รับผลกระทบมากเท่าไหร่ อย่างไรบ้างจากความผิดพลาดครั้งนี้?
ประเมินผู้ได้รับผลกระทบคร่าวๆ
- เบื้องต้น เทศบาลนครระยองประกาศปิดโรงเรียนระดับมัธยม ประถม ศูนย์เด็กเล็ก และห้องสมุด รวม 11 แห่ง คาดว่ามีนักเรียนที่ต้องหยุดเรียน “อย่างน้อย” 7 พันคน ที่ก่อนหน้านี้ก็หยุดเรียนไปหลายเดือนและเพิ่งกลับมาเปิดเรียนใหม่ได้เพียง 2 สัปดาห์เท่านั้น
-ยังไม่นับว่าอาจจะมีการประกาศปิดเพิ่มเติมจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่มีนักเรียนรวมแล้วเป็นหมื่นคนในเขตพื้นที่เสี่ยง
-พ่อแม่ผู้ปกครองของนักเรียนที่จะต้องหยุดงาน ลางาน ฯลฯ มาดูแลลูกหลาน ทำให้สูญเสียรายได้และโอกาสอีกจำนวนมาก
- โรงแรมในส่วนที่ #ทหารอียิปต์ เข้าพักต้องปิดบริการ และพนักงานโรงแรม 12 คน ถูกกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการและตรวจหาเชื้อ
- สายการบินสั่งกักตัวพนักงานภาคพื้นดิน 7 คนที่ให้บริการใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ
- ประชาชนไม่กล้าเดินห้างสรรพสินค้าที่ใหญ่ที่สุดในระยอง 2 แห่ง ไม่นับว่าประชาชนและพนักงานร้านค้าต่างๆ ในห้าง 2 แห่งนี้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ(และต้องกักตัวเพื่อสังเกตอาการ 14 วัน) จากการที่รัฐบาลหละหลวมปล่อยให้อภิสิทธิ์ชนไปเดินเที่ยวห้างขณะที่ตนเองมีเชื้อ
- ธุรกิจโรงแรมและท่องเที่ยวในระยองค่อยๆ ฟื้นตัวหลังจากตายสนิทมาหลายเดือน ผู้ประกอบการธุรกิจทุกคนต่างรอคอยช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมที่ยอดจองที่พักจะขึ้นสูงแตะ 100% เนื่องจากรัฐบาลประกาศเป็นวันหยุดยาว และคาดว่า ครม. จะมีมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กลับมาคึกคักอีกครั้งหลังจากการคลายล็อกเฟสต่างๆ จนสถานการณ์แทบจะกลับมาเป็นปกติแล้ว
แต่ความฝันทั้งหมดนี้คงจะจบลงไปอย่างน่าเสียดาย เพราะผู้ประกอบการโรงแรมในระยองต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าตั้งแต่เมื่อวาน เริ่มมีการยกเลิกการจองโรงแรมเข้ามาแล้ว และไม่ทราบว่าตัวเลขยอดจองโรงแรมและการจองทริปต่างๆ จะเหือดหายหดตัวไปเหลือเท่าใดในช่วงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ และจะกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งเมื่อไหร่
- ยังไม่นับตัวเลขความเสียหายจากธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องทั้งหมด
- ก่อนหน้านี้ในช่วงการระบาดครั้งแรก ทำให้ต้องล็อกดาวน์ทั้งประเทศ ส่งผลให้เกิดความตึงเครียดอันมาจากปัญหาการใช้ชีวิตที่ไม่ปกติและการทำมาหากินที่ลำบากมาก แต่ “ถ้า” เราโชคร้ายกว่านั้น พบว่ามีการแพร่เชื้อเพิ่มเติมในพื้นที่ระยองจากเหตุการณ์ครั้งนี้ คงจะหนีไม่พ้นการล็อกดาวน์ทั้งจังหวัด ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงักอีกรอบ ความตึงเครียดอาจจะกลับมาและมีโอกาสมากกว่าเดิมเนื่องจากหลายคนไม่เหลืออะไรแล้วจากการล็อกดาวน์ครั้งแรก
- คำถามสำคัญกลับมาอีกครั้ง: ในเมื่อก่อนหน้านี้รัฐบาลที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกเสมอว่าจำเป็นต้องใช้อำนาจตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เนื่องจากจะทำให้มีการบริหารงานแบบรวมศูนย์ ง่ายต่อการสั่งการ รวมอำนาจไว้ในมือนายกรัฐมนตรีแต่เพียงผู้เดียว และเมื่อมีอำนาจก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อการใช้อำนาจนั้นตามมาด้วย
กรณีนี้ก็เช่นกัน คุณจะรับผิดชอบอะไรจากมาตรการที่หละหลวม ให้อภิสิทธิ์แก่บางคนจนเกิดเรื่อง และคนที่ต้องมารับกรรมคือประชาชนคนหาเช้ากินค่ำ ผู้ประกอบการที่ยอมอดทนและให้ความร่วมมืออย่างดีเยี่ยม พนักงานโรงแรมที่ให้บริการแขกที่เข้าพักอย่างเต็มที่สุดความสามารถ แต่สุดท้ายกลับถูกกักตัวอดทำงาน 14 วัน รวม 12 คน
เด็กนักเรียนนับพันนับหมื่นคนที่ใจจดใจจ่ออยากกลับไปเรียนเต็มทีแล้ว คุณครูที่เตรียมการเรียนการสอนแบบ New Normal มาเป็นเดือนๆ พ่อค้าแม่ขายที่เตรียมสต็อกของไว้เต็มที่โดยหวังว่าสถานการณ์จะกลับมาปกติโดยเร็ว
คุณจะรับผิดชอบความผิดพลาดในการใช้อำนาจครั้งนี้อย่างไร???
https://www.facebook.com/MoveForwardPartyThailand/photos/a.104388194526543/161443382154357/