เมื่อทำธุรกิจร้านอาหาร แล้วกำไรทั้งหมดต้องยกให้ แอพส่งอาหาร

เราเปิดร้านอาหารเล็กๆตึกแถว 1 คูหา เปิดมาจะ 3 ปีเต็ม แฟนลาออกจากงานมาทำ เพราะอยากมีอาชีพไว้รองรับเราตอนเกษียณ แฟนเป็นคนทำอาหารเอง จ่ายตลาดเอง มีลูกน้องที่ร้าน 5 คน ถือว่าอยู่ได้ เพราะขายไม่แพง รสชาตดี และใช้วัตถุดิบคุณภาพดี โดยปกติจะมีกำไร หลังหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด หักเงินเดือนเจ้าของร้าน 33,000 ก็ยังเหลือ พอใช้ชีวิตและเป็นเงินหมุนเวียนในร้าน

ช่วง App พวกนี้ บูมใหม่ๆ ลูกค้าก็เลือกสั่งอาหารร้านเราจาก App เหล่านี้ ลูกค้าจ่ายค่าส่งเอง ร้านค้าก็ไม่ได้มีผลเสียอะไร ถือว่ามียอดเพิ่มขึ้น ทาง App ก็มาเจรจากับเรา ขอให้เข้าระบบเป็น Official โดยจะขอหักค่า Com 23 % ยังไม่รวม Vat  ตอนนั้นเราปฎิเสธไปเลย เพราะ 23 % นี่แหล่ะคือกำไรของร้านหลังหักค่าใช้จ่าย จู่ๆจะมาเสียให้ App เนี่ยนะ  

หลังจากนั้นสัก 3-4 เดือน ยอด Delivery เราหายเกลี้ยงเลย จนผิดสังเกตุ เลยลองเข้าไปเปิด App ดู ก็เจอว่า ระบบคิดค่าส่งร้านเรา จากเดิม 10-15 บาท เป็น 25 บาท คือ การบีบทางอ้อมให้เราเข้า offiicial ก็เลยตัดสินใจเข้าเป็น Official  เด็มรูปแบบ 
 
คือความโชคดี ในโชคร้าย โควิดมาพอดี ร้านเราขายดีมากขึ้น เพราะร้านละแวกเดียวกัน ไม่ได้เข้า App เน้นทานในร้าน พอเจอ พรก.ฉุกเฉิน ก็ปรับตัวกันไม่ทัน ทำได้แค่พิมพ์ไวนิลมาติด แจ้งเบอร์ร้าน เพื่อส่งถึงบ้าน นาทีนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคถูกเปลี่ยน 100 %  App ส่งอาหาร เป็นหนทางเดียวที่ทำให้คนมีที่สั่งอาหาร ยิ่งช่วง WFH ก็ยิ่งแทบจะมีแต่ G ล้วนๆ ลูกค้ามาซื้อกลับบ้าน หรือโทรมาสั่ง น้อยจะเกือบแทบไม่มีเลย 

วันนี้ปลดล็อคแล้ว และพฤติกรรมลูกค้าร้านเราถูกเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิง  ยอด G กลายเป็น  80 % ของรายได้ร้าน ทำให้กำไรสุทธิของร้านที่เคยเฉลี่ย 25 % หมดไปเลย กับค่า Commission ที่เราต้องจ่ายให้ G  หมดจริง ๆๆ 

เจ้าของธุรกิจเล็กๆ กำลังหาเลี้ยงบริษัทใหญ่ จนตัวเองจะจมน้ำตาย  มั่นใจว่า มีคนได้รับผลกระทบแบบนี้จำนวนมาก
ยิ่งที่ขอสมัครเข้าเอง จะโดนเกือบ 30 % 

ที่มาโพสต์ เพราะกำลังคิดวนไปวนมา ว่า เราจะสู้ต่อ หรือเลิกกิจการ แล้วให้แฟนกลับไปทำงานประจำ
(แต่ก็เสียดายเพราะเรา 2 คน สร้างมากับมือ สู้ไม่ถอย จนมีฐานลูกค้าประจำ มันก็เป็นความภูมิใจ เพราะไม่ง่ายเลย ที่ร้านเล็กๆจะอยู่ได้ในยุคสมัยนี้)
หรือจะรอคอยความหวังลมๆแล้งๆว่าจะมีใครยื่นมือมาช่วยคนทำมาหากินบ้างมั้ย หรือจะปล่อยให้ ธุรกิจส่วนตัวของคนธรรมดา ล้มหายตายจาก
แล้วก็ผงาดแต่บริษัทยักษ์ใหญ่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 17
++ ก็อบมาจาก https://www.longtunman.com/22449

ผลการดำเนินงานย้อนหลังของ Grab
ปี 2559 รายได้ 104 ล้านบาท ขาดทุน 516 ล้านบาท
ปี 2560 รายได้ 508 ล้านบาท ขาดทุน 985 ล้านบาท
ปี 2561 รายได้ 1,159 ล้านบาท ขาดทุน 711 ล้านบาท

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า Grab มีโมเดลธุรกิจแบบ สตาร์ตอัป คือต้องทำให้ตลาดเกิดโดยยอมขาดทุนในช่วงแรก
เมื่อเป็นเช่นนี้ Grab จึงจำเป็นต้องใช้เงินมหาศาล
เพื่อดึงดูดลูกค้า ผ่านโปรโมชันแรงๆ
เป้าหมายก็คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภคและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทุกๆ ครั้งในการส่งอาหาร Grab จะต้องควักเงินในกระเป๋าตัวเองมาใช้แบกรับต้นทุนที่แท้จริง เพื่อสร้างฐานผู้บริโภค
ผลที่ตามมาก็คือ Grab ยังคงขาดทุนในทุกๆ ออเดอร์การส่งอาหาร
ยกตัวอย่าง
หากวันนี้เราสั่งชานมไข่มุก 1 แก้วราคาที่ขึ้นบนหน้าจอ 80 บาท
Grab จะได้ค่าคอมมิชชันจากร้านค้าหากคิดในอัตราสูงสุด 30% อยู่ที่ 24 บาท
ซึ่งหากส่งในระยะทาง 5 กิโลเมตร ก็จะได้ค่าส่ง 20 บาทจากผู้ใช้บริการ
สรุป Grab จะมีรายได้จากชานมไข่มุกแก้วนี้ 44 บาท
ซึ่งหลายคนคิดว่า Grab ได้กำไรทันที 44 บาท จากชานมไข่มุก 80 บาท ก็น่าจะทำให้ Grab มีความสุขในธุรกิจนี้
แต่ประเด็นมันอยู่ที่
ทุกคนลืมคิดต้นทุนที่เกิดขึ้นกับ “ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด”
เพราะรู้หรือไม่ว่า Grab ต้องจ่ายให้คนขับที่คอยจัดส่งอาหาร หรือที่ Grab เรียกว่า "พาร์ทเนอร์" เฉลี่ยที่ 55 บาทต่อเที่ยว
ยังไม่รวมถึงค่าโปรโมชันส่วนลดที่ให้ลูกค้าเฉลี่ย 10 บาทต่อหนึ่งออเดอร์
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าโฆษณาเพื่อสร้างการรับรู้และดึงดูดให้คนมาใช้บริการ, ค่าบริการช่องทางจ่ายเงินออนไลน์
ถ้าให้ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่กล่าวมา คิดเป็นประมาณ 6 บาทต่อหนึ่งออเดอร์
สรุปแล้วต้นทุนค่าใช้จ่ายต่อ 1 เที่ยวส่งอาหารของ Grab จะอยู่ที่ 71 บาท..
เมื่อนำมาคำนวณกับรายได้ของ Grab จากการสั่งชานมไข่มุกที่ 44 บาท
นั่นแปลว่า Grab จะขาดทุนประมาณ 27 บาท ต่อการสั่งชานมไข่มุกหนึ่งครั้ง..
จริงๆ แล้ว Grab ก็ยังมีต้นทุนอย่างอื่นอีก เช่น
สิทธิประโยชน์คนขับ อย่างประกันชีวิต ประกันสุขภาพ
ค่าเทคโนโลยีและแพลตฟอร์ม
พนักงาน Call Center
พนักงานฝ่ายบริหารจัดการ


สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็คือต้นทุนที่ Grab ต้องแบกรับ นอกเหนือจากต้นทุนบริการส่งอาหาร
ถือเป็นการตอกย้ำเข้าไปอีกว่า ต้นทุนในธุรกิจ Food Delivery ไม่ใช่น้อยๆ อย่างที่หลายคนเคยคิด
ความน่าสนใจมาอยู่ที่ว่า ทั้งๆ ที่ตัวเองขาดทุนในธุรกิจทุกๆ ปี
แต่...ทำไมเราถึงเห็น Grab ยังขยันออกโปรโมชันทุกเดือน
คำตอบก็คือ “การแข่งขัน”
เป็นข้อได้เปรียบของผู้บริโภคในโลกที่มีการแข่งขันเสรี
แม้ธุรกิจ Food Delivery กำลังร้อนแรงมีจำนวนผู้ใช้เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
แต่ก็มาพร้อมคู่แข่งที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกัน
หาก Grab ไม่อยากเสียลูกค้าไปอยู่ในมือคู่แข่ง
สิ่งที่หนีไม่ได้เลยก็คือ การสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่ง ควบคู่ไปกับการวางกลยุทธ์ในด้านราคาค่าบริการ เพื่อให้ดูคุ้มค่าเมื่อเทียบกับผู้เล่นรายอื่นๆ
ดังนั้นการทำโปรโมชันของ Grab ในวันที่ตัวเองยังบาดเจ็บอยู่
คนที่โชคดีที่สุดก็คือผู้บริโภคที่จะใช้บริการได้ในราคาประหยัด
และนั่นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ ไม่ได้มีผู้เล่นกระโจนเข้ามาอยู่ในสนามแข่งขันนี้มากนัก
เพราะแข่งไปก็เหมือนเอาเงินไป “เผาทิ้ง”
อย่างไรก็ตาม ก็ต้องยอมรับว่า Grab เป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาดนี้
ในเวลาแค่ 2 ปีกว่า Grab สามารถขยายบริการได้ถึง 22 จังหวัด
มีพาร์ทเนอร์คนขับนับแสนคน
ซึ่งนอกจากจะมีจำนวนผู้บริโภคคนไทยหันมาใช้บริการ Food Delivery อย่าง Grab มากขึ้นอย่างต่อเนื่องแล้ว การขยายธุรกิจของ Grab ก็ยังช่วยสร้างงานให้คนไทยได้อีกจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ในโลกนี้ ไม่มีใครหรอกที่จะยอมขาดทุนไปเรื่อยๆ
ดังนั้นการเผาเงินของ Grab ในช่วงเริ่มต้นธุรกิจ ย่อมต้องมีเหตุผล
สิ่งที่เราเห็นชัดเจนที่สุดคือ Grab ขยายธุรกิจเร็วมาก โดยในกลางปีนี้ ตั้งเป้าให้บริการ Food Delivery ครอบคลุมกว่า 30 จังหวัด
ซึ่งนั่นหมายความว่า Grab จะมีจำนวนออเดอร์เพิ่มขึ้นอีกมากมาย
ทีนี้หลายคนคงถามต่อว่า Grab ทำเพื่ออะไร
ก็ในเมื่อยิ่งมีออเดอร์มากเท่าไร ตัวเลขขาดทุนก็เพิ่มขึ้นมากเท่านั้น
คำตอบก็คือ
สำหรับธุรกิจใหม่ที่เพิ่งเริ่มดำเนินกิจการได้เพียงสองปี แต่ disrupt ตลาดอย่างมหาศาลนั้น ยังคงต้องใช้เวลาในการทำตลาด และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้คนใน ecosystem ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ร้านค้า และคนส่งอาหาร ให้ได้เสียก่อน
และเมื่อนั้น Grab จะค่อยๆ มาบริหารต้นทุนค่าใช้จ่ายทั้งในส่วนคนขับ, ร้านอาหาร, และลูกค้า
จนในที่สุด รายได้ก็จะมากกว่าต้นทุน และมีกำไร
แต่ถ้าถามว่าวันนั้นจะมาถึงเมื่อไร
วันที่พฤติกรรมของผู้คนเปลี่ยนไป และ Grab จะรู้จักกับคำว่า กำไร ในธุรกิจนี้
ก็ต้องต้องตอบว่า ไม่ใช่เร็วๆ นี้..
จบบทความที่ก็อบมา

จขคห.พูด
คือเราสงสัยว่าทางด้านผู้ให้บริการแอพส่งอาหารเองก็อาจจะไม่ได้มีกำไรมากอย่างที่เราคิด เพราะใช้ความรู้สึกของตัวเราเองคืออาหารปรุงสุกไม่เหมาะกับการเดลิเวอรี่ คือเราทำงานให้บริการขนของกฎเหล็กคือมูลค่าสินค้าที่ส่งต้องมากกว่าราคาค่าขนส่ง แต่การส่งอาหารบางประเภทมันไม่สมเหตุสมผลเลยเพราะค่าส่งจะแพงกว่าสินค้าที่ส่ง นั่นเป็นที่มาของความสงสัยว่าแอพส่งอาหารเองก็อาจจะไม่ได้มีกำไรมากอย่างที่เราคิด เราก็เลยเสิร์ชหาจนได้ข้อมูลด้านบน
ความคิดเห็นที่ 2
ร้านผมขายไม่ดีหรอก เพราะผมไม่ขายผ่านระบบที่ต้องจ่าย 30% +/+  ถึงลูกค้ารู้จักในวงแคบแต่ผมก็ยังพอใจที่จะทำมันต่อไปเรื่อย ๆ
เพราะเคยคำนวณแล้ว ยังไงก็ไม่น่ารอดไม่น่าคุ้มค่าเหนื่อยถ้าต้องขายผ่านแอพ.พวกนั้น เว้นเสียแต่โยนภาระให้คนซื้อด้วยการขึ้นราคาแบบสุด ๆ

ร้านขายได้ดี ร้านดัง มีชื่อเป็นที่รู้จักมาก ๆ  วัน ๆ ก็เหนื่อยแทบตายแต่พอสรุปยอดเงิน กำไรแทบไม่เหลือให้ไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
กับ ร้านที่ไม่ดัง วัน ๆ แค่พอขายได้  แต่พอสรุปยอดเงินก็ยังพอมีกำไรให้ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันได้  ชอบแบบไหนก็ลองตัดสินใจดูครับ
ความคิดเห็นที่ 8
เรางงว่า app ผิดอะไร เค้าบังคับให้คุณสมัครเหรอ คุณตัดสินใจเอง ทำเองทั้งหมด  ไม่พอใจก็ยกเลิกไปสิ - -'  พี่ที่เราสนิทเค้าไม่โอเคกับแอพเค้าก็ไม่สมัครค่ะ ให้เด็กในร้านปั่นจักรยานส่งอาหารแถวนั้น ก็ยังอยู่ได้ คนซื้อเยอะด้วยแถวนั้น
ความคิดเห็นที่ 9
คุณตัดสินใจเข้าไปเอง
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นมุมมองที่ไม่เคยทราบมาก่อนเลยจริงๆ ขอบคุณมากๆที่แชร์ประสบการณ์ให้ได้อ่านนะคะ

ส่วนตัวเข้าใจว่าร้านค้าบวกค่าส่งเข้าไปแล้วเสียอีก เพราะเคยสั่งราดหน้าร้านกระจำ เค้าขาย 35- 40 บาท แต่พอผ่าน app ก็แพงขึ้นเป็น 50 -55 บาท

เมื่อวานเพิ่งคุยกับคนข้างบ้าน เค้าบอกเราติดต่อฝากขายขนมกับ app เหล่านี้ได้เลยสบายๆ เราแค่มีหน้าที่ทำตาม order ไม่ต้องมีหน้าร้านเลยยังได้ ฟังแล้วยังสงสัย ถ้ามันง่ายขนาดนั้นจริง คนแถวบ้านเราคงมาขายกันทุกบ้านแล้ว

****** เข้าไปอ่านกระทู้อื่นเพิ่มเติม พบว่า app เหล่านี้หักค่าคอมผู้ขายตั้ง 30 - 40% กินทุนเข้าไปอีก มิน่า ร้านที่เคยซื้อถึงทยอยหายไปหลายร้านเลยค่ะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่