“โรคไส้เลื่อน” เป็นโรคที่สามารถพบได้มากในผู้ชาย แล้วเราเคยสงสัยกันไหมว่าการไม่สวมกางเกงในสามารถทำให้เกิดโรคนี้ได้จริงหรือไม่ หรือเกิดบริเวณไหนของร่างกายได้บ้าง และโรคนี้มีวิธีการรักษาการป้องกันรวมถึงอันตรายอย่างไรบ้างวันนี้เราจะมาหาคำตอบไปพร้อมกัน
โรคไส้เลื่อนคืออะไรกันนะ
เป็นโรคที่เกิดจากการที่ลำไส้เกิดการเคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมจนกลายเป็นก้อน โดยเกิดมาจากผนังช่องท้องที่มีความอ่อนแอซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแต่ละบุคคล โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ ไส้เลื่อนเนื่องจากการผ่าตัด ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ ไส้เลื่อนบริเวณกระบังลม เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุการเกิดแบบเดียวกัน ผู้ป่วยมักมีอาการรู้สึกได้ถึงก้อนที่ตุงอยู่ และมีอาการปวดเวลาต้องก้มตัว ยกของ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแน่นท้องร่วมด้วย ในกรณีที่รุนแรงจะมีอาการปวดเฉียบพลัน ท้องผูก อาเจียน ก้อนตุงมีลักษณะแข็งซึ่งเกิดจากเลือดไม่ไหลเวียน ในกรณีนี้ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา เพราะอาจเกิดภาวะลำไส้ตายได้
สาเหตุของไส้เลื่อนมาจากอะไร
โดยปกติจะเกิดจากผนังช่องท้องไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากผลกระทบจากอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด ไม่เพียงแค่นั้นยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ด้วย ได้แก่ การยกของหนักจนเกิดอาการเกร็ง เกิดจากแรงดันภายในช่องท้อง เช่น ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีปัญหาด้านการขับถ่าย มีอาการไอหรือจามอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น วัณโรค เกิดจากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่เคยเป็นไส้เลื่อนมาก่อน เป็นต้น
ไม่ใส่กางเกงในคือสาเหตุของโรคไส้เลื่อนจริงหรือ
เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากกิจกรรมของผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าหากผู้ชายไม่ใส่กางเกงในจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้มากยิ่งขึ้นซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด โดยไส้เลื่อนที่มักพบในผู้ชายคือ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ นอกจากนี้หลายคนยังอาจไม่รู้ด้วยว่าผู้หญิงเองสามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกันหากมีกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุของการเกิดโรคตามที่ได้กล่าวไปจากหัวข้อข้างต้น
การรักษาไส้เลื่อนทำอย่างไร
สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดโดยผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและวางแผนผ่าตัดตามอาการของโรคร้ายนี้ การผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิด ถือเป็นการผ่าตัดตามแบบมาตรฐาน ส่วนอีกแบบคือการผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีแผลการผ่าตัดที่เล็กกว่าแบบแรก และใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องจะมีรายจ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
การป้องกันโรคไส้เลื่อน
โรคร้ายนี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ด้วยการคอยรักษาแรงดันในช่องท้องให้เป็นปกติหรือพยายามลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเกร็งหน้าท้อง โดยมีกระบวนการป้องกัน ได้แก่ พยายามควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยระบบขับถ่าย เช่น ไฟเบอร์ ไม่ยกของหนักแต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องยกอย่างถูกวิธี งดการสูบบุหรี่ เข้ารับการรักษาโรคที่ส่งผลให้มีอาการไอหนัก ๆ และรีบเข้าพบแพทย์หากพบว่ามีอาการผิดปกติหรือสุ่มเสี่ยงเป็นโรคไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อนนั้นสามารถเกิดได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิงโดยการรักษาโรคร้ายนี้สามารถทำได้เพียงวิธีเดียว คือ การผ่าตัด ดังนั้นหากไม่ต้องการเป็นโรคร้ายนี้เราต้องคอยดูแลสุขภาพของตนเองที่อาจส่งผลต่อช่องท้องของเราทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งถือเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด
โรคไส้เลื่อนมาจากไหน ?
โรคไส้เลื่อนคืออะไรกันนะ
เป็นโรคที่เกิดจากการที่ลำไส้เกิดการเคลื่อนตัวออกจากจุดเดิมจนกลายเป็นก้อน โดยเกิดมาจากผนังช่องท้องที่มีความอ่อนแอซึ่งขึ้นอยู่กับตัวแต่ละบุคคล โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลายจุด เช่น ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณสะดือ ไส้เลื่อนเนื่องจากการผ่าตัด ไส้เลื่อนบริเวณต่ำกว่าขาหนีบ ไส้เลื่อนบริเวณหน้าท้องเหนือสะดือ ไส้เลื่อนบริเวณกระบังลม เป็นต้น ซึ่งมีสาเหตุการเกิดแบบเดียวกัน ผู้ป่วยมักมีอาการรู้สึกได้ถึงก้อนที่ตุงอยู่ และมีอาการปวดเวลาต้องก้มตัว ยกของ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการแน่นท้องร่วมด้วย ในกรณีที่รุนแรงจะมีอาการปวดเฉียบพลัน ท้องผูก อาเจียน ก้อนตุงมีลักษณะแข็งซึ่งเกิดจากเลือดไม่ไหลเวียน ในกรณีนี้ควรรีบเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อรับการรักษา เพราะอาจเกิดภาวะลำไส้ตายได้
สาเหตุของไส้เลื่อนมาจากอะไร
โดยปกติจะเกิดจากผนังช่องท้องไม่แข็งแรง กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดจากผลกระทบจากอุบัติเหตุ หรือการผ่าตัด ไม่เพียงแค่นั้นยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ด้วย ได้แก่ การยกของหนักจนเกิดอาการเกร็ง เกิดจากแรงดันภายในช่องท้อง เช่น ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ มีปัญหาด้านการขับถ่าย มีอาการไอหรือจามอย่างรุนแรงต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น วัณโรค เกิดจากน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือผู้ที่เคยเป็นไส้เลื่อนมาก่อน เป็นต้น
ไม่ใส่กางเกงในคือสาเหตุของโรคไส้เลื่อนจริงหรือ
เนื่องจากปัจจัยหลาย ๆ อย่างที่ทำให้เกิดโรคนี้มักมาจากกิจกรรมของผู้ชายเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงทำให้หลายคนเข้าใจว่าหากผู้ชายไม่ใส่กางเกงในจะทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคนี้มากยิ่งขึ้นซึ่งถือว่าเป็นความเชื่อที่ผิด โดยไส้เลื่อนที่มักพบในผู้ชายคือ ไส้เลื่อนบริเวณขาหนีบ นอกจากนี้หลายคนยังอาจไม่รู้ด้วยว่าผู้หญิงเองสามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกันหากมีกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่เข้าข่ายเกี่ยวเนื่องกับสาเหตุของการเกิดโรคตามที่ได้กล่าวไปจากหัวข้อข้างต้น
การรักษาไส้เลื่อนทำอย่างไร
สามารถรักษาได้ด้วยวิธีการผ่าตัดโดยผู้ป่วยควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจอาการและวางแผนผ่าตัดตามอาการของโรคร้ายนี้ การผ่าตัดสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ การผ่าตัดแบบเปิด ถือเป็นการผ่าตัดตามแบบมาตรฐาน ส่วนอีกแบบคือการผ่าตัดผ่านกล้องซึ่งการผ่าตัดด้วยวิธีนี้จะมีแผลการผ่าตัดที่เล็กกว่าแบบแรก และใช้เวลาในการฟื้นตัวไม่นาน แต่การรักษาด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องจะมีรายจ่ายที่สูงกว่าการผ่าตัดแบบเปิด
การป้องกันโรคไส้เลื่อน
โรคร้ายนี้สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ด้วยการคอยรักษาแรงดันในช่องท้องให้เป็นปกติหรือพยายามลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดการเกร็งหน้าท้อง โดยมีกระบวนการป้องกัน ได้แก่ พยายามควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน รับประทานอาหารที่มีส่วนช่วยระบบขับถ่าย เช่น ไฟเบอร์ ไม่ยกของหนักแต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องยกอย่างถูกวิธี งดการสูบบุหรี่ เข้ารับการรักษาโรคที่ส่งผลให้มีอาการไอหนัก ๆ และรีบเข้าพบแพทย์หากพบว่ามีอาการผิดปกติหรือสุ่มเสี่ยงเป็นโรคไส้เลื่อน
โรคไส้เลื่อนนั้นสามารถเกิดได้กับทั้งเพศชายและเพศหญิงโดยการรักษาโรคร้ายนี้สามารถทำได้เพียงวิธีเดียว คือ การผ่าตัด ดังนั้นหากไม่ต้องการเป็นโรคร้ายนี้เราต้องคอยดูแลสุขภาพของตนเองที่อาจส่งผลต่อช่องท้องของเราทั้งทางตรงและทางอ้อมซึ่งถือเป็นวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด