เกาะห่างไกลที่ถูกค้นพบความสำคัญที่ยิ่งใหญ่

Ball Pyramid เกาะสุดห่างไกล บ้านของเหล่าแมลงที่เหลือเพียง 24 ตัวสุดท้ายบนโลก
“บอลพีระมิด” (Ball Pyramid) คือ เกาะภูเขาหินที่สูงที่สุดของโลก ตั้งอยู่ห่างจากชายฝั่งออสเตรเลีย 600 กิโลเมตร (เคยเป็นส่วนหนึ่งของภูเขาไฟขนาดใหญ่กลางมหาสมุทรแปซิฟิกเมื่อประมาณ 7 ล้านปีที่แล้ว)   เป็นเกาะที่ถูกลมและคลื่นกัดกร่อนส่วนเหลืออยู่ของของดินและหินที่อุดตันแอ่งภูเขาไฟรูปกระจาดซึ่งเกิดขึ้นประมาณ 6.4 ล้านปีที่แล้ว  เกาะนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะลอร์ดฮาว ในมหาสมุทรแปซิฟิกประมาณ 20 กิโลเมตร (12 ไมล์)

- ความสูงอยู่ที่ 562 เมตร (1,840 ฟุต) เหนือน้ำทะเล
- มีความยาว 1,100 เมตร (3,600 ฟุต)
- และกว้างเพียง 300 เมตร (980 ฟุต) 

ทำให้เกาะแห่งนี้เป็นเกาะหินโด่งที่สูงที่สุดในโลก เกาะบอลส์พีระมิดเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานทางทะเลเกาะลอร์ดฮาวในประเทศออสเตรเลีย 
เกาะแห่งนี้ถูกตั้งชื่อตามผู้ที่ค้นพบ เฮนรี ลิดจ์เบิร์ค บอล (Henry Lidgbird Ball) ในปี 1788 ซึ่งเป็นการค้นพบพร้อมกับเกาะลอร์ดฮาวด้วย

โดยบุคคลที่ขึ้นชายฝั่งของเกาะนี้เป็นคนแรกคือ Henry Wilkinson นักธรณีวิทยาที่กรมเหมืองแร่นิวเซาธ์เวลส์ในปี ค.ศ. 1882  
ต่อมาในปี 1964 ทีมนักปีนเขาจากซิดนีย์ ซึ่งมีนักผจญภัยอย่าง ดิ๊ก สมิท และสมาชิกคนอื่นๆในกรมลูกเสือ ได้พยายามที่จะปีนขึ้นไปบนยอดเขาของเกาะ อย่างไรก็ตามหลังจากพวกเขาต้องเป็นอันยกเลิกการปีนเขาในวันที่ 5 เนื่องจากทีมปีนเขานั้นขาดเสบียงและน้ำ

จากนั้นในปี 1965 ทีมนักปีนเขา Sydney Rock Climbing Club ก็สามารถปีนขึ้นไปถึงยอดเขาได้สำเร็จในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 1965 โดยทีมนั้นปีนเขาชุดนั้นประกอบด้วย Bryden Allen, John Davis, Jack Pettigrew และ David Witham


เกาะลอร์ดฮาวทางตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก  (Auscape / UIG ผ่าน Getty Images)



Bryden, John  และ David กำลังฉลองหลังปีนเขาสำเร็จ (Cr.http://www.uq.edu.au/nuq/jack/Bryden.html)

 
ในปี 1982 การปีนเขาในเกาะนี้ถูกระงับภายใต้กฎหมายของ Lord Howe Island Act และในปี 1689 เกาะนี้กลายเป็นเกาะต้องห้ามตามคำสั่งของคณะกรรมการเกาะลอร์ดฮาว  แต่ในปี 1990 ได้มีการผ่อนคล้ายความเข้มงวด โดยอนุญาติให้นักปีนเขาบางคนสามารถปีนขึ้นไปได้ แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขบางประการ 

Ball Pyramid มีเกาะเล็กเกาะน้อยได้แก่  Rock Observatory Rock และ Wheatsheaf Islet  ซึ่งอยู่ทางตะวันตกของ Ball Pyramid เซาท์อีสต์ร็อคเป็นจุดสุดยอดที่ตั้งอยู่ประมาณ 3.5 กม. ทางตะวันออกเฉียงใต้ของพีระมิดของบอล
ที่มา  World Mountain Encyclopedia
         https://www.wfdd.org/story/love-giant-insects-meet-tree-lobster-back-brink / โดย  Nell Greenfieldboyce
Cr.https://www.facebook.com/Bookcafeoriginal/posts/930230163806492/

Tree Lobster

ตั๊กแตนกิ่งไม้ (Tree Lobster) แมลงขนาดยักษ์ตัวเท่าฝ่ามือมนุษย์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Dryococelus australis  โดยตอนแรกคิดว่ามันสูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 1920 หรือเมื่อ 80 ปีก่อนแล้ว แต่สุดท้ายเมื่อปี 2001 หลังจากการเดินทางไปสำรวจของ 2 นักวิจัยชาวออสเตรเลีย พวกเขาได้พบแมลงชนิดนี้กว่า 24 ตัวในสภาพอ้วนท้วนสมบูรณ์ ที่ระดับความสูง 152 เมตร ซึ่งอยู่กระจุกรวมกันบนต้นไม้ต้นหนึ่ง   ที่ได้ชื่อว่าตั๊กแตนกิ่งไม้ เนื่องจากพฤติกรรมชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ จนกลมกลืนกับต้นไม้รวมถึงเพื่ออำพรางตัวจากศัตรู 

Tree Lobster สามารถมีความยาวได้ถึง 17 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 25 กรัม เป็นแมลงไม่มีปีก แต่สามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็ว จากข้อมูลข้างต้นจึงทำให้พวกมันกลายเป็น “แมลงประเภทปล้องที่มีน้ำหนักมากที่สุด รวมถึงหายากที่สุดในโลกด้วย” และทั้ง 2 นักวิจัยยังได้พบแมลงสายพันธุ์ใหม่อีกกว่า 27 สายพันธุ์เพิ่มเติม

ทั้งนี้ เรื่องนี้น่าสนใจก็คือ ข้าง ๆ เกาะบอลพีระมิด จะมีเกาะขนาดใหญ่อีกแห่งตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 20 กิโลเมตร ชื่อว่าเกาะลอร์ดฮาว (Lord Howe) ซึ่งในช่วงศตวรรษที่ 19 บนเกาะเล็กแห่งนี้มีแมลงทรีล็อบสเตอร์อาศัยอยู่เต็มไปหมด จนกระทั่งพวกมันสูญพันธุ์ไปเพราะมีคนนำหนูดำ (Black rats) หลุดจนเกิดการขยายพันธุ์ผิดระบบนิเวศ และมาพบบนเกาะบอลพีระมิดตามข้อมูลข้างต้น จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า มันเดินทางมายังเกาะแห่งนี้ได้อย่างไร 

และพวกมันกินอะไรเป็นอาหาร เนื่องจากเป็นเกาะหินทั้งเกาะจึงทำให้มีพืชและผลไม้น้อยมาก หรือในช่วงเวลา 80 ปี พวกมันปรับตัวจนกลายเป็นแมลงที่สามารถกินเยื่อไม้เพื่อเอาตัวรอดได้  ข้อสันนิษฐานที่น่าจะเป็นไปได้ที่สุดคือ ตั๊กแตนกิ่งไม้บนเกาะลอร์ดฮาวจะเป็นคนละชนิดกับที่พบบนเกาะบอลพีระมิด  

ต่อมา ในปี 2016 ทางสวนสัตว์เมลเบิร์นได้ทำการฟักไข่ 13,000 ฟอง และส่งไปยังสวนสัตว์ประเทศต่าง ๆ ทั้ง อังกฤษ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญพันธุ์ของตั๊กแตนสายพันธุ์นี้อีก  และล่าสุด ในปี 2017 ผลวิจัยจากการตรวจสอบ DNA ออกมาแล้วว่า แมลงจากเกาะทั้ง 2 แห่ง พวกมันมีจีโนมแตกต่างกันเพียง 1% จึงทำให้นักวิจัยประกาศว่า “พวกมันเป็นแมลงสายพันธุ์เดียวกัน” และการปรับตัวนั้นเกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่ทราบว่าเดินทางมายังเกาะบอลพีระมิดได้อย่างไร

ซึ่งแผนต่อไปคือ การกำจัดหนูดำบนเกาะลอร์ดฮาวให้หมดไป เพื่อให้แมลงเหล่านี้ได้กลับไปอาศัยยังถิ่นกำเนิดของตนเอง เพราะตั๊กแตนกิ่งไม้ชนิดนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า “Lord Howe stick insect” เป็นชื่อดั้งเดิมตั้งตามชื่อถิ่นอยู่อาศัยที่แท้จริง
Cr.https://www.flagfrog.com/ball-island-insect/ โดย ManoshFiz

The Crested Gecko (ซ้าย) สัตว์เลื้อยคลานขนาด 8 นิ้วที่ถูกประกาศให้สูญพันธุ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2409 และ Tree Lobster (ขวา) แมลงขนาดหกนิ้วที่ถูกประกาศว่าสูญพันธุ์ไปแล้วในปี 1960 ถูกพบบนเกาะ 
 Cr.https://vitruvianpost.com/3605/dvc-news/fight-against-extinction/

เกาะกีซาประเทศอินโดนีเซียที่อุดมไปด้วยภาพเขียนถ้ำ
รายงานจากเว็บไซต์ The International Business Times  นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) ได้ค้นพบภาพศิลปะผนังถ้ำเก่าแก่อายุกว่า 2500 ปี ในเกาะกีซาประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งการค้นพบครั้งนี้ได้ตีพิมพ์ในนิตยสารโบราณคดีของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ (Cambridge Journal of Archaeology)  ทีมได้ค้นพบแหล่งศิลปะหินเมื่อ 2,500 ปีก่อนทั้งหมด 28 แห่ง  บนเกาะ Kisar ซึ่งมีพื้นที่เพียง 81 ตารางกิโลเมตรและอยู่ทางตอนเหนือของติมอร์ - เลสเต

เกาะ Kisar หรือที่รู้จักกันในชื่อ โยโตวาว่า เป็นเกาะเล็ก ๆ ทางตะวันตกเฉียงใต้ของโมลูกาในประเทศอินโดนีเซีย เกาะนี้ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะติมอร์   เกาะมีขนาดเล็กมากระยะทางจากเหนือจรดใต้เพียง 10.4 กม. ห่างจากตะวันออกไปตะวันตกที่ไกลที่สุดคือ 10.22 กม. ใช้เวลาเพียง 40 นาทีในการล้อมรอบเกาะด้วยเรือเร็ว อย่างไรก็ตามเกาะนี้มีผู้คนอาศัยอยู่ประมาณ 18,425 
 
ซู โอคอนเนอร์ (Sue O’Connor) นักวิจัยภาควิชาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมและภาษา จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า ในทางโบราณคดีหมู่เกาะนี้ไม่เคยมีใครสำรวจมาก่อน ภาพที่ปรากฏอยู่จะเห็นว่า เป็นภาพเรือ สุนัข ม้า และผู้คน ในภาพที่ปรากฏผู้คนจะถือสิ่งหนึ่งคล้ายกับโล่ ในส่วนฉากอื่นๆ แสดงภาพผู้คนคล้ายกับตีกลอง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นภาพแสดงการประกอบพิธีกรรมอะไรบางอย่าง

เขายังกล่าวต่ออีกว่า การค้นพบครั้งนี้ทำให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ที่มีร่วมกันระหว่างติมอร์กับอินโดนีเซียที่มีมาก่อน สะท้อนถึงอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์กันมา ภาพที่พบมีลักษณะเล็กมากกว่า 10 เซนติเมตร แม้ภาพจะมีขนาดเล็กแต่ก็มีความสำคัญอย่างมาก  ความสัมพันธ์ระหว่างเกาะกีซากับติมอร์น่าจะนับย้อนหลังไปถึงยุคยุค Neolithic (ยุคหินใหม่) ประมาณ 3500 ปีก่อน เป็นช่วงที่กลุ่มออสโตรนีเซียนได้นำสัตว์เลี้ยงอย่าง สุนัขหรือพวกธัญพืชเข้ามาในหมู่เกาะ


ภาพถ้ำที่ค้นพบบนเกาะ กีซา ของประเทศอินโดนีเซีย (Australian National University) 
จากเว็บไวด์ www.archaeology.org/news


ภาพวาดเรือและภาพวาดบนหินในเกาะ Kisar เครดิต: ANU
 
อย่างไรก็ตามการค้นพบภาพใหม่ๆ นอกจากนี้ภาพที่พบนี้ยังมีความคล้ายกับภาพที่พบบนกลองสำริดซึ่งได้ทำขึ้นในเวียดนามตอนเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีนเมื่อประมาณ 2500 ปีที่แล้ว  โอคอนเนอร์ ยังกล่าวปิดท้ายอีกว่า ภาพวาดเหล่านี้เหมือนเป็นการสร้างระบบสัญลักษณ์ขึ้นเมื่อประมาณ 2000 ปีที่แล้ว บ่งชี้ถึงสังคมที่มีการแบ่งลำดับฐานะบ่งบอกถึงการแลกเปลี่ยนสินค้า

ที่มา  https://phys.org/news/2017-12-indonesian-island-unusually-rich-cave.html
        https://www.indonesia-tourism.com/maluku/kisar_island.html
Cr.ภาพ ANU
Cr.https://www.silpa-mag.com/news/article_13820

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่