💛/มาลาริน/พบติดเชื้อโควิด 7 รายมาจาก ตปท. นายกฯแจงคง"พรก.ฉุกเฉิน"เพื่อแก้ปัญหาทันที คลายล็อคเฟส 5 ช่วย"ผู้มีรายได้น้อย"

พบผู้ติดเชื้อโควิดรายใหม่ 7 รายมาจาก ตปท. ไม่พบจากในประเทศแล้ว 35 วัน

วันจันทร์ ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2563, 11.53 น.



28 มิถุนายน 2563 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข แถลงว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย วันนี้ พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7 ราย โดยทั้งหมดอยู่ที่ในสถานที่กักตัวของรัฐ ทำให้มียอดผู้ป่วยสะสม 3,169  ราย  หายป่วยสะสม 3,053 ราย อยู่ในโรงพยาบสล 58 ราย ซึ่งไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มเติม ทำให้ยอดสะสมคงที่ 58 ราย และไม่มีผู้ป่วยติดเชื้อภายในประเทศติดต่อกัน 35 วัน

https://www.naewna.com/local/502107

"นายกฯ"แจงคง "พรก.ฉุกเฉิน"เพื่อแก้ปัญหาให้ทันเวลา ชี้คลายล็อคเฟส5 ช่วย "ผู้มีรายได้น้อย"



วันที่ 29 มิ.ย.63 ที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ว่า สำหรับผลการประชุมมติศบค.ในวันนี้ ตนย้ำว่าเราอยู่ในห้วงเวลาสำคัญ แม้ช่วงที่ผ่านมาทุกอย่างดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังมีความเสี่ยงหลายประการ ซึ่งได้บอกไปแล้วว่าในระยะแรกและระยะที่ 2-3-4 ต้องมีการปฏิบัติตามมาตรการอย่างเข้มงวด และวันนี้จะมีการผ่อนคลายในระยะที่ 5 ซึ่งยังมีความเสี่ยงค่อนข้างมาก ดังนั้นขึ้นอยู่กับความร่วมมือของประชาชนทุกคนและสถานประกอบการต่างๆ โดยขอให้ย้อนกลับไปดูว่าในช่วงที่ผ่านมาที่มีการติดเชื้อไม่มากนั้นเกิดจากอะไร ซึ่งก็เกิดมาจากมาตรการควบคุมอย่างเข้มงวดและมีการใช้มาตรการพิเศษ โดยเฉพาะมีพ.ร.ก.ฉุกเฉินออกมาถึงควบคุมได้ถึงวันนี้ ซึ่งเหตุผลที่ทำไมถึงต้องมีตนได้บอกหลายครั้งแล้วว่าแม้มีกฎหมาย 40 ฉบับแต่ละหน่วยงานถือไว้ แต่หลายกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้ทันที เช่น การเปิด-ปิดสถานที่ต่างๆ หรือการเข้าออกประเทศ ที่ต้องผ่านขั้นตอนทำให้หลายอย่างอาจไม่ทันต่อเวลาในการแก้ปัญหาจึงต้องมีพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ย้ำว่าไม่ปิดกั้นใครทั้งนั้น

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวอีกว่า ที่สำคัญในห้วงที่ยังมีการแพร่ระบาด จะเห็นหลายประเทศที่มีการประกอบกิจกรรมที่มีรวมตัวทำกิจกรรมของคนจำนวนมากก็มียอดผู้ติดเชื้อสูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องพิจารณาตามขั้นตอน โดยในระยะที่ 5 จะมีการผ่อนคลายสถานประกอบการต่างๆรวมถึงการเข้าออกประเทศของนักธุรกิจต่างๆ แต่ย้ำว่าต้องมีมาตรการเชิงรุก โดยต้องมีการรองรับในวันข้างหน้าโดยเฉพาะในเรื่องการท่องเที่ยว การค้าขายและการประกอบกิจกรรมต่างๆ โดย ในรายละเอียดโฆษกศบค.และปลัดกระทรวงชี้แจงเหตุผลถึงความจำเป็นต่อไป
อย่างไรก็ตามเหตุผลถึงความจำเป็นในการผ่อนคลายระยะที่ 5 สิ่งสำคัญคือเห็นใจผู้มีรายได้น้อยและ ผู้ที่ต้องประกอบอาชีพหาเลี้ยงครอบครัว โดยต้องมีมาตรการสำคัญที่จะรองรับ เพื่อให้เห็นว่าเรามีความพร้อมแต่ไม่สามารถรับรองได้ 100% เพราะทุกอย่างอยู่ที่คนไทยทุกคนที่จะร่วมมือกันทุกอย่างถึงจะผ่านพ้นไปด้วยดี

ทั้งนี้ในช่วงท้ายเมื่อผู้สื่อข่าวถามว่ายืนยันได้หรือไม่ว่าการต่ออายพ.ร.ก.ฉุกเฉินไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องนี้คนละกาละเทศะกัน

https://siamrath.co.th/n/166041

คนไทยที่อยู่ต่างประเทศโชคดีนะคะที่เดินทางมารักษาโควิดในประเทศไทย และหลายคนมีความปลอดภัยไม่สุ่มเสี่ยงเหมือนอยู่ต่างประเทศ

ในประเทศไม่มีการติดเชื้อมา 35 วันแล้ว  เป็นที่น่ายินดีค่ะ

มีบางคนทำสงสัยว่าเราไม่มีการตรวจ หรือตรวจน้อยจึงไม่พบคนติดเชื้อ

ความจริงแล้วยังมีการสุ่มตรวจกันอยู่ทุกจังหวัด ตามนโยบายจากสธ.
อย่างทางภาคใต้ที่เคยตรวจแล้วมีข่าวว่าพบเชื้อหลายคน แต่ตรวจซ้ำไม่พบเชื้อนี่แหละค่ะ คือการสุ่มตรวจ

ส่วนวันนี้ศบค.ชุดใหญ่ก็อนุมัติให้ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯต่อไปอีก 1 เดือน
เพราะรับเฟส 5 มีเปิดการเรียนการสอน เป็นต้น

ส่วนใครจะเดือดร้อนเพราะพ.ร.ก.น่าจะมีแต่ฝ่ายเคลื่อนไหวทางการเมืองเท่านั้นค่ะ  คงอยากจัดชุดใหญ่เต็มที  เลยต้องออกมาต้านการใช้พ.ร.ก.

คิดว่าเป็นเสียงส่วนน้อยเท่านั้นเองค่ะ  เสียงส่วนใหญ่นั้นตามโพลก็มีความเห็นควรคงไว้ก่อนในขณะนี้

รอต้อนรับเปิดเทอมกันนะคะ...รถคงติดแน่นอน....😮



คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 12



ถอดบทเรียนสวีเดน ไม่ล็อคดาวน์ผลเป็นอย่างไร

(29 มิถุนายน 2563) ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ของ ศบค. โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)  เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิชาการในการควบคุมและบริหารสถานการณ์โรคโควิด-19 ของแต่ละประเทศทั่วโลก  โดยเฉพาะกรณีประเทศสวีเดน ที่เลือกใช้นโยบายแตกต่างจากประเทศอื่น "โดยไม่ล็อกดาวน์" ปล่อยให้กิจการและกิจกรรมส่วนใหญ่เปิดดำเนินการต่อไปได้เกือบปกติ ไม่ปิดโรงเรียน บริษัท สถานที่ราชการ และร้านอาหาร ซึ่งมีเป้าหมายที่จะให้ประชากรส่วนใหญ่ค่อยๆติดเชื้อจนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ หรือ Herd Immunity นั้น ว่าหลังจากที่ใช้มาตรการนี้เหล่านี้แล้วกว่าสามเดือนได้เกิดผลอย่างไรทั้งทางด้านสาธารณสุข และด้านเศรษฐกิจ สังคม โดยเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคสแกนดิเนเวียที่มีลักษณะและโครงสร้างทางสังคมและเศรษฐกิจใกล้เคียงกัน  ได้แก่ เดนมาร์กและนอรเวย์ รวมทั้งฟินแลนด์ด้วย

ประเทศสวีเดน ใช้นโยบายที่ไม่ล็อกดาวน์ ซึ่งการควบคุมหลัก ได้แก่ การปิดเฉพาะโรงเรียนมัธยมที่มีเด็กอายุ 16 ปีขึ้นไปและปิดมหาวิทยาลัย รวมทั้งห้ามกิจกรรมที่มีคนเข้าร่วมมากกว่า 50 คน ส่วนกิจการและกิจกรรมอื่นๆ รวมทั้งร้านอาหาร บาร์ และบริษัทต่างๆ สามารถดำเนินการได้โดยแนะนำให้ประชาชนดูแลตนเองไม่ให้รับเชื้อหรือแพร่เชื้อ  ส่วนประเทศเดนมาร์ก นอรเวย์ ฟินแลนด์ ได้ใช้มาตรการที่เข้มงวดมากกว่า โดยการปิดโรงเรียนทุกระดับ ปิดมหาวิทยาลัย ปิดกิจการส่วนใหญ่ และให้ประชาชนอยู่กับบ้าน ทำงานจากบ้าน ควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ ซึ่งนำมาใช้ตั้งแต่ในช่วงแรกของการระบาด จนการติดเชื้อลดลงในระดับที่ควบคุมได้ หลังจากนั้นจึงค่อยๆผ่อนคลายมาตรการอย่างเป็นระบบ จนขณะนี้กิจการส่วนใหญ่ได้กลับมาเปิดอีกครั้งแล้ว

ผลการวิเคราะห์ในด้านการแพทย์และสาธารณสุข พบว่า ประเทศสวีเดน มีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 65,137 ราย หรือเท่ากับ 6,450 รายต่อประชากรหนึ่งล้านคน เทียบกับ 12,675 (2,188 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน) ในเดนมาร์ก, 8,853 (1,633 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน)ในนอร์เวย์ และ 7,198 (1,299 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน) ในฟินแลนด์  โดยอัตราการติดเชื้อโรคโควิด-19 ในสวีเดน สูงกว่าเดนมาร์ก ถึง 3 เท่า

ในด้านการเสียชีวิต สวีเดน มีผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จำนวน 5,280 ราย หรือเท่ากับ 523 รายต่อประชากรหนึ่งล้านคน เทียบกับ 604 (104 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน) ในเดนมาร์ก, 249 (46 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน)ในนอร์เวย์ และ 328 (59 ต่อประชากรหนึ่งล้านคน) ในฟินแลนด์  โดยอัตราการเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในสวีเดนสูงกว่าเดนมาร์ก ถึง 5 เท่า

สำหรับผลกระทบด้านเศรษฐกิจและสังคม ประเมินว่าประเทศสวีเดนจะมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP ในปี 2563 ลดลง 6.79% (เท่ากับเปลี่ยนแปลง -8.02% เมื่อเทียบกับที่เคยเพิ่มขึ้นในปี 2562)  ในขณะที่เมื่อประเทศเดนมาร์ก ลดลง 6.50% (เปลี่นแปลง -8.87%), ประเทศนอร์เวย์ ลดลง 6.27% (เปลี่ยนแปลง -7.42%) และประเทศฟินแลนด์ ลดลง 5.43% (เปลี่ยนแปลง -8.16%) ซึ่งทั้งสี่ประเทศนี้จะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจในระดับใกล้เคียงกัน

ส่วนอัตราการว่างงาน ประเมินว่าประเทศสวีเดนจะมีอัตราการว่างงาน 9.7% (เพิ่มขึ้น 2.9% เมื่อเทียบกับปี 2562) ในขณะที่ประเทศเดนมาร์ก จะมีอัตราการว่างงาน 6.4% (เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1.4%), ประเทศนอร์เวย์ 4.2% (เพิ่มขึ้น 0.9%) และประเทศฟินแลนด์ 8.3% (เพิ่มขึ้น 1.6%)

ทั้งนี้ประเทศสวีเดน คาดหวังว่าการใช้มาตรการที่ไม่ควบคุมมากนักนี้ จะช่วยทำให้มีประชากรติดเชื้อเป็นจำนวนมากโดยไม่เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม และระบบสาธารณสุขรองรับจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตได้ จนทำให้ประชากรส่วนใหญ่ได้ติดเชื้อจนเกิด herd immunity หรือประมาณการณ์ว่าจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ 60% ซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ในที่สุด อย่างไรก็ตามพบว่ามาตรการไม่ล็อกดาวน์นี้ยังไม่ทำให้เกิด Herd immunity เนื่องจากจำนวนผู้ที่ติดเชื้อขณะนี้ยังห่างไกลกับเป้าหมายดังกล่าวมาก เนื่องจากผลการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อนี้ในประชากรพบว่ามีเพียง 7% ที่มีแอนติบอดี ซึ่งบ่งว่าประชากรส่วนใหญ่ของสวีเดนยังจะมีโอกาสติดเชื้อได้ต่อไป

โดยสรุป ในการเปรียบเทียบประเทศที่ใช้มาตการควบคุมการระบาดอย่างเข้มงวดกับไม่เข้มงวดนั้น ถึงแม้ว่าสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ยังไม่ยุติลงและอาจจะมีการระบาดอีกหลายระยะต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งการเปรียบเทียบผลของมาตรการทั้งสองแบบนี้จึงจะต้องเปรียบเทียบผลสุดท้ายหลังจากที่เหตุการณ์ทั้งหมดยุติลงแล้ว ซึ่งอาจจะเป็นเวลาอีกหลายปี   ทั้งนี้การเปรียบเทียบข้อมูลถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงสามเดือนแรกของการระบาดในทวีปยุโรปนั้น  "พบว่าประเทศสวีเดนซึ่งใช้มาตรการแบบไม่เข้มงวด มีอัตราการติดเชื้อต่อประชากรมากกว่าประเทศที่ใช้มาตรการเข้มงวดประมาณ 3 เท่าและมีอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรสูงกว่าอีกกลุ่ม 5 เท่า" "ในขณะที่ผลทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยดูจากการลดลงของ GDP และอัตราการว่างงานของประเทศทั้งสองกลุ่มอยู่ในระดับใกล้เคียงกัน"
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2892224467569773




อเมริกาเกิดระบาดหนักทั่วประเทศ ผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้นวันละกว่า 43,000 ราย ทำลายสถิติใหม่หลังผ่อนคลายมาตรการ  ศูนย์กลางการระบาดขยับไปที่ฟลอริดา เท็กซัส และแอริโซนา

(29 มิถุนายน 2563) ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา ของ ศบค. โดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.)  เปิดเผยผลการวิเคราะห์และติดตามการระบาดของโรคโควิค-19 ทั่วโลก  ว่าขณะนี้การระบาด ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ขยายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาก  มีการติดเชื้อแพร่กระจายไปทั่วประเทศ แล้วโดยยังไม่มีแนวโน้มว่าจะควบคุมได้   ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อในสหรัฐอเมริกาแล้วกว่า 2,600,000 คน หรือเท่ากับหนึ่งในสี่ของผู้ติดเชื้อทั่วโลก และมีผู้เสียชีวิตแล้วมากกว่า 128,000 คน  รวมทั้งผู้อำนวยการศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติ หรือ Centers for Disease Control and Prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกา ได้รายงานว่าจำนวนผู้ติดเชื้อของประเทศน่าจะมีมากกว่าจำนวนที่รายงานนี้อีกถึง 10 เท่า เนื่องจากผู้ติดเชื้อจำนวนมากนั้นไม่มีอาการจึงไม่ได้รับการตรวจหาเชื้อ ซึ่งต่อมาได้ทำการตรวจหาแอนติบอดีพบว่ามีประชากรจำนวนมากมีแอนติบอดีต่อเชื้อโรคโคสิด-19 ซึ่งแสดงว่าได้เคยติดเชื้อแล้ว

ในช่วงต้นของการติดเชื้อในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น มีความรุนแรงในช่วงปลายเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน โดยมีศูนย์กลางการระบาดหลักอยู่ที่รัฐนิวยอร์กและบริเวณใกล้เคียง ซึ่งผู้ติดเชื้อได้รับเชื้อมาจากทวีปยุโรปเป็นส่วนใหญ่  ต่อมาสามารถควบคุมการระบาดได้ จำนวนผู้ป่วยค่อยๆลดลงอย่างต่อเนื่อง  ส่วนการติดเชื้อที่รัฐอื่นยังมีไม่มากนัก  แต่ละรัฐจึงได้มีมาตรการในการผ่อนคลายกิจกรรมต่างๆมากขึ้น  ประชาชนได้กลับมาใช้ชีวิตอย่างเดิมตามปกติโดยไม่ได้มีมาตรการป้องกันส่วนบุคคลหรือสวมใส่หน้ากากอนามัยมากนัก หลังจากนั้นมีเหตุการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่พบว่าการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้เพิ่มขึ้นสูงขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว ตั้งแต่ ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน  มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในระดับเดียวกับที่พบในเดือนเมษายน แล้วเพิ่มขึ้นต่อเนื่องอย่างก้าวกระโดด จนทำสถิติสูงสุดรายวันอย่างต่อเนื่องทุกวันแล้ว

นอกจากนี้ประเด็นที่น่าเป็นห่วงมาก คือ พบจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงมากขึ้นในรัฐที่มีประชากรมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ แคลิฟอร์เนีย เท็กซัส ฟลอริดา ที่เส้นกราฟเป็นขาขึ้นชัดเจน โดยศูนย์กลางการระบาดในช่วงนี้ อยู่ที่รัฐฟลอริดา เท็กซัส และแอริโซนา ซึ่งสถานการณ์น่าเป็นห่วงมาก  ทั้งนี้รัฐที่ได้ประกาศมาตรการผ่อนคลายแล้วได้ระงับหรือชะลอมาตรการผ่อนคลายนี้ และหลายรัฐได้เริ่มกลับมาใช้มาตรการในการควบคุมมากขึ้นอีก เช่น รัฐฟลอริดาและเท็กซัสได้กลับมาปิดบาร์และควบคุมจำนวนผู้ใช้บริการร้านอาหารอีกครั้งหลังจากที่ให้เปิดได้ในช่วงก่อนหน้านี้

ประมวลข้อมูลโดย ศูนย์ปฏิบัติการด้านนวัตกรรมการแพทย์ และการวิจัยและพัฒนา สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
https://www.facebook.com/nrctofficial/posts/2891782550947298


สธ.บรรจุข้าราชการด่านหน้าโควิด 19 ล็อตแรก พร้อมกันทั่วประเทศ
----------------

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในวันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเรียกรายงานตัวเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ ใน 13 สายงาน อาทิ แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ นักรังสีการแพทย์ เภสัชกร นักวิชาการสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการทำงานดูแลด้านสุขภาพอนามัยประชาชนในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19

นายอนุทิน กล่าวว่า ต้องขอขอบคุณท่านนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ที่ให้ความสำคัญกับผู้ปฏิบัติงานด่านหน้าต่อสู้โควิด 19 อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขคัดเลือกเพื่อบรรจุบุคลากรในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เข้ารับราชการเป็นกรณีพิเศษ ตามข้อเสนอของกระทรวงสาธารณสุข

“ขอแสดงความยินดีกับทุกท่าน วันที่รอคอยมาถึง สิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ มาจากผลงาน คุณงามความดี ที่ทุกท่านได้เสียสละทำงานในภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด 19 จนทุกฝ่ายเห็นผลงานและสนับสนุนให้เกิดความก้าวหน้าในชีวิตการทำงาน เมื่อได้บรรจุแต่งตั้งแล้ว ขอให้ตั้งใจทำงานเป็นข้าราชการที่ดีเพื่อประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติต่อไป” นายอนุทิน กล่าว

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการบรรจุข้าราชการในครั้งนี้ เป็นไปตามมติ ครม. กพ. และคปร. ส่วนในเฟส 2 จะบรรจุแต่งตั้งในเดือนสิงหาคม
https://www.facebook.com/realnewsthailand/posts/713692489463484
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่