หลังจากที่ได้อ่านเอกสารคำฟ้องของ Iam (มีคนเผยแพร่ออกมาแล้ว) มีคนแนะนำฎีกาหนึ่งซึ่งคิดว่าน่าจะพอยกมาเทียบเคียงกับกรณีนี้ได้
เริ่มที่ข้อเท็จจริงเท่าที่รวบรวมจากโซเชี่ยลก่อน ใครที่ติดตามอยู่ข้ามได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้- ต้น มี.ค. 63 แฟนคลับของน้องแนทเธอรีนท่านนึงได้ใช้โปรแกรมสนทนาผ่านบัญชี Facebook ทักมาถามน้องแนทเธอรีนเรื่องของขวัญเมื่อปลายปีที่แล้ว ซึ่งน้องตอบว่า "ของหายหมดเลย" และ "หนูไม่ได้อะไรมาหลายเดือนแล้วค่ะ"
- แฟนคลับคนดังกล่าวได้นำภาพจากการสนทนาดังกล่าวไปโพสท์ใน Facebook ส่วนตัวว่า "มีโจรในคราบทีมงาน อฟช จริงๆ"
- หินได้โพสท์ใน Twitter ว่า "ของไม่ได้หาย แค่หนูไม่มาเอาไปเองรึเปล่า" จากนั้นอิงค์ก็ได้โพสท์รูปของขวัญชิ้นที่เป็นประเด็นพร้อมรูปถุงใส่ของขวัญที่เขียนชื่อน้อง
- เมื่อแฟนคลับท่านนั้นเห็นการชี้แจงของอิงค์ก็ได้เข้ามากล่าวขอขมาใน Twitter ของอิงค์ที่ไปกล่าวหาทีมงานเช่นนั้น ในเวลาไล่เลี่ยกันทั้งคุณพ่อกับตัวแนทเธอรีนก็ได้โพสท์ใน Facebook ของตนว่าเป็นแค่การคุยส่วนตัวกับแฟนคลับว่าไม่ได้รับของเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนากล่าวหาให้ใครเสียหาย
แล้วยกคำพิพากษาฎีกาที่
6681/2562 ที่เหตุคล้ายกัน มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 423 ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นการกล่าวหรือไขข่าวต่อบุคคลที่สาม แต่การกล่าวหรือไขข่าวที่แพร่หลายได้ก็ต้องมีบุคคลที่สามอยู่ การพูดคนเดียวไม่มีคนได้ยินย่อมไม่เป็นการกล่าวให้แพร่หลาย ดังนั้นถ้ามีคนแอบฟังโดยคนพูดไม่รู้ การพูดดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ. เป็นผู้เริ่มต้นการตั้งโปรแกรมสนทนาผ่านบัญชีเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้บริการส่งข้อความและข้อมูลมัลติมีเดียสนทนาโต้ตอบกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้าในระบบเพื่อพูดคุยกัน โปรแกรมสนทนาดังกล่าวเป็นแบบระบบปิดมีสมาชิกเพียง 3 คนคือจำเลยทั้งสองและ พ. บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูหรืออ่านข้อความสนทนาได้ การสนทนาดังกล่าวที่มีการพูดถึงโจทก์และพนักงานอื่นรวมอยู่ด้วยจึงเป็นการกล่าวที่จำเลยทั้งสองและ พ. ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันสนทนาร่วมกันโดย พ. เข้าร่วมสนทนากับจำเลยทั้งสองหลายครั้ง จึงมิใช่เป็นการที่จำเลยทั้งสองกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ส่วนการที่โจทก์แอบดูและอ่านข้อความสนทนาและนำไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับทราบเอง ย่อมไม่ทำให้การสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคลทั้งสามเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายให้บุคคลอื่นรับทราบได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
หากยึดตามฏีกานี้ จะได้ข้อสรุปว่า
การที่แนทเธอรีนคุยกับแฟนคลับผ่านโปรแกรม Facebook Messenger เป็นการส่วนตัว ไม่นับว่าเป็นการ "ไขข่าวแพร่พลาย" ตาม ปพพ 423 แต่อย่างใด
หมายเหตุ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้มาตรา 423 ผู้ใดกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาโดยประการอื่นก็ดี ท่านว่าผู้นั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันเกิดแต่การนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ว่าข้อความนั้นไม่จริง แต่หากควรจะรู้ได้
ผู้ใดส่งข่าวสารอันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับข่าวสารนั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นด้วยแล้ว ท่านว่าเพียงที่ส่งข่าวสารเช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
จนแล้วจนรอด ก็รอดูกันต่อไปว่า ผลของคดีนี้จะสร้างบรรทัดฐานให้กับเคสในอนาคตต่อไป ได้หรือไม่ หากว่าเมมเบอร์คนอื่นๆที่ต้องการจะออกจากIam ก่อนหมดสัญญา ติดตามกันต่อไป...
คดี Iam ฟ้องแนทเธอรีน เทียบฎีกา
เริ่มที่ข้อเท็จจริงเท่าที่รวบรวมจากโซเชี่ยลก่อน ใครที่ติดตามอยู่ข้ามได้เลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แล้วยกคำพิพากษาฎีกาที่ 6681/2562 ที่เหตุคล้ายกัน มีเนื้อหาโดยย่อดังนี้
แม้ ป.พ.พ. มาตรา 423 ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นการกล่าวหรือไขข่าวต่อบุคคลที่สาม แต่การกล่าวหรือไขข่าวที่แพร่หลายได้ก็ต้องมีบุคคลที่สามอยู่ การพูดคนเดียวไม่มีคนได้ยินย่อมไม่เป็นการกล่าวให้แพร่หลาย ดังนั้นถ้ามีคนแอบฟังโดยคนพูดไม่รู้ การพูดดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า พ. เป็นผู้เริ่มต้นการตั้งโปรแกรมสนทนาผ่านบัญชีเฟสบุ๊ค เมสเซนเจอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ให้บริการส่งข้อความและข้อมูลมัลติมีเดียสนทนาโต้ตอบกันผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่เข้าในระบบเพื่อพูดคุยกัน โปรแกรมสนทนาดังกล่าวเป็นแบบระบบปิดมีสมาชิกเพียง 3 คนคือจำเลยทั้งสองและ พ. บุคคลภายนอกไม่สามารถเข้าไปดูหรืออ่านข้อความสนทนาได้ การสนทนาดังกล่าวที่มีการพูดถึงโจทก์และพนักงานอื่นรวมอยู่ด้วยจึงเป็นการกล่าวที่จำเลยทั้งสองและ พ. ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกันสนทนาร่วมกันโดย พ. เข้าร่วมสนทนากับจำเลยทั้งสองหลายครั้ง จึงมิใช่เป็นการที่จำเลยทั้งสองกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ส่วนการที่โจทก์แอบดูและอ่านข้อความสนทนาและนำไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่นรับทราบเอง ย่อมไม่ทำให้การสนทนาระหว่างกลุ่มบุคคลทั้งสามเป็นการกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายให้บุคคลอื่นรับทราบได้ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
หากยึดตามฏีกานี้ จะได้ข้อสรุปว่า
การที่แนทเธอรีนคุยกับแฟนคลับผ่านโปรแกรม Facebook Messenger เป็นการส่วนตัว ไม่นับว่าเป็นการ "ไขข่าวแพร่พลาย" ตาม ปพพ 423 แต่อย่างใด
หมายเหตุ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
จนแล้วจนรอด ก็รอดูกันต่อไปว่า ผลของคดีนี้จะสร้างบรรทัดฐานให้กับเคสในอนาคตต่อไป ได้หรือไม่ หากว่าเมมเบอร์คนอื่นๆที่ต้องการจะออกจากIam ก่อนหมดสัญญา ติดตามกันต่อไป...