The Bayeux Tapestry
พรมผนังบาเยอ (Bayeux Tapestry) เป็นผืนผ้ากว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 70 เซนติเมตร ที่ปักเป็นภาพการนำไปสู่ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ
นำโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1066 และเหตุการณ์ระหว่างสงคราม คำบรรยายในพรมผนังบาเยอเป็นภาษาละติน ปัจจุบันผ้าผืนนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองบาเยอในประเทศฝรั่งเศส แม้จะมีอายุถึง ๙๐๐ ปีแต่สียังสดใส
โดยเย็บปักด้วยเส้นด้ายขนสัตว์ลงไปบนผ้าลินิน แต่ต้นกำเนิดของงานสิ่งทออันงดงามผืนนี้กลับยังเป็นปริศนา และนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2019 มาจนปัจจุบันยังมีการถกเถียงถึงแหล่งที่มาของพรมผืนนี้ โดยคำอธิบายที่มักถูกยกมาคือพรมดังกล่าวถูกออกแบบมาสำหรับมหาวิหารบาเยอ
ด้วยขนาดของผ้าที่เข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบในมหาวิหารบาเยอที่เมืองนอร์มังดีแห่งฝรั่งเศส การเย็บปักดูพอดีกับพื้นที่ของเสาและทางเดินของโบสถ์ ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์กในอังกฤษ รายงานลงในวารสารสมาคมโบราณคดีแห่งอังกฤษ ว่า พวกเขาอาจไขความลับได้แล้วว่าสิ่งทอชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ นั่นคือพรมผนังบาเยออาจถูกทำขึ้นในอังกฤษและการเย็บปักน่าจะเป็นฝีมือของสตรี เพราะงานเย็บปักถักร้อยเป็นอาชีพของสตรียุคกลางของอังกฤษ
งานวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่าพรมผนังบาเยอได้รับการออกแบบให้แขวนตามแนวทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกของมหาวิหารบาเยอ ระหว่างกำแพงตะวันตกและเป็นฉากด้านหลังของนักร้องประสานเสียง ซึ่งรู้กันมานานแล้วว่าพรมผืนนี้อยู่ที่มหาวิหารนี้มาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 15 แต่การวิเคราะห์ใหม่จากแถบผ้าลินินที่มีการปักเผยว่าพรมถูกทำขึ้นในศตวรรษที่ 11 และเจาะจงให้แขวนอยู่ที่มหาวิหารบาเยอ
ใน Bayeux Tapestry มีภาพดาวหางขึ้น สองเดือนหลังจากกษัตริย์แฮโรลด์ขึ้นเถลิงราช กล่าวกันว่าเป็นลางร้าย ถือว่าเป็น "the terror of kings"นักดาราศาสตร์เชื่อว่านี่คือ ดาวหาง Halley ที่โคจรมาทุกๆ ๗๐ ปี
ที่มา
http://www.bbc.co.uk/blogs/ahistoryoftheworld/2010/08/the-bayeux-tapestry.shtml)
Cr.
https://th.unionpedia.org/พรมผนังบาเ
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1697173
Persian carpet
(พรมตระกูล Amoghli ที่ผลิตพรมให้กับพระราชวังของอิหร่าน อายุ 90 ปี ปัจจุบันสนนราคาที่ 10 ล้านบาท)(อะมอกรู)
หากนับเฉพาะที่พอมีหลักฐานปรากฏ คนเปอร์เซียรู้จักการทอพรมมากว่า 2,500 ปีแล้ว จากจุดเริ่มต้นแสนเรียบง่าย ที่เหล่าชนพื้นเมือง ต้องมีพรมปูพื้นเพื่อป้องกันความชื้นและหนาวเย็น ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาลวดลายจนเกิดเป็นเรื่องราวและความสวยงามที่ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น ประกอบกับคุณภาพชั้นยอดของขนแกะและแพะในแถบเปอร์เซีย จากของจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมี เริ่มกลายเป็นของมีค่าที่ทั้งขุนนางจนถึงกษัตริย์ต้องมีไว้ประดับบารมี
แต่กว่าพรมเปอร์เซีย จะเป็นพรมเปอร์เซียที่เห็นกันอย่างทุกวันนี้ ก็ล่วงมาจนถึงศตวรรษที่ 16 ในสมัยของพระเจ้าซาห์อับบัส (Shah Abbas) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (Safavid)
ถือเป็นยุคที่การค้าและงานฝีมือของเปอร์เซียรุ่งเรืองที่สุด เพราะหลังจากที่ทรงตั้งเมืองอิสฟาฮานเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซีย พระองค์ก็ตั้งเป้าจะให้ที่นี่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุด จึงเริ่มฟื้นฟูศิลปะการทอพรม ฝึกฝนช่างทอและดีไซน์เนอร์เก่งๆ ขึ้นมา รวมถึงใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงอย่างเส้นใยไหมแซมด้วยด้ายเงิน ด้ายทอง จนเกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
จากนั้นสนับสนุนให้เกิดการค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้ทั่วโลกเริ่มรู้จักพรมเปอร์เซียกันอย่างแพร่หลาย เรียกได้ว่าเป็น ‘ยุคทอง’ ของพรมเปอร์เซีย
ปัจจุบัน มีพรมจากยุคราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ หลงเหลืออยู่ประมาณ 1,500 ผืน กระจายตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ บ้าง และอยู่ในคอลเลคชั่นส่วนตัวของนักสะสมบ้าง และไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย ศิลปะบนผืนพรมของชาวเปอร์เซียทีแต่ทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือสิ่งทอเพียงอย่างเดียว ที่ราคาทวีคูณไม่ต่างจากอัญมณี
ความโดดเด่นของพรมเปอร์เซีย ที่ทำให้มีมูลค่ามากกว่าพรมใดๆ บนโลก คือเป็นงานทำมือ 100% บางผืนทอด้วยคนเพียงคนเดียวที่อาจใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี สีสันบนพรมล้วนเกิดจากสีของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ รากไม้ หรือใบไม้ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าสีของพรมเปอร์เซียจะไม่มีสีที่ฉูดฉาด สวยงามสบายตา และเปี่ยมด้วยมิติ ลวดลายที่อยู่บนผืนพรมแสดงวิถีชีวิต ความคิด และความทรงจำของผู้ทอ
ที่มา becommon.co , คาปูปั่น , CAPUPUN
Cr.
https://capupun.com/16445/
Kashmir Carpets
พรมเปอร์เชียถือเป็นอันดับหนึ่งในโลก ส่วนอันดับสองคือพรมแคชเมียร์ เมื่อกล่าวถึงสายการสืบทอดศิลปะการทอพรมแล้ว พรมแคชเมียร์คือสายตรงของพรมเปอร์เชียนั่นเอง
พรมแคชเมียร์นั้นทอผืนพรมและสร้างลวดลายด้วยการมัดด้ายสีเข้ากับเส้นยืน ซึ่งเป็นเทคนิคที่สืบทอดมาจากเปอร์เชียในสมัยสุลต่านเซน-อุล-อะบาดิน ราวศตวรรษที่ 15 ศิลปะการทอพรมในเปอร์เชียนั้นหลากหลาย จากพรมขนสัตว์สไตล์พื้นเมืองที่ทอกันในหมู่ชนเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนเขตฮัมดาน และชีราซ จนถึงพรมราชสำนักลวดลายวิจิตร จากเขตอิสฟาฮาน กาชาน และซารูก ส่วนศิลปะการทอที่แคชเมียร์สืบทอดมานั้นเป็นสไตล์ราชสำนัก
ในช่วงแรกที่สุลต่านเซน-อุล-อะบาดิน นำเทคนิคการทอพรมเข้ามาเผยแพร่ได้มีการ เชิญนายช่างจากราชสำนักเปอร์เชียเข้ามาก่อตั้งโรงทอที่เรียกกันว่า karkhana ในลักษณะของเวิร์กช็อปรวมไว้ด้วยนายช่างนักออกแบบและช่างทอที่เรียนรู้และทำงาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิด เมื่อสิ้นสมัยสุลต่านเซน-อุล-อะบาดิน การทอพรมในแคชเมียร์ขาดช่วงไป กระทั่งมีการฟื้นฟูอีกครั้งในช่วง ต้นศตวรรษที่ 17
ลวดลายของพรมแคชเมียร์ที่นิยมแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 3 แบบ คือลายดอกไม้ ภาพทิวทัศน์และการล่าสัตว์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาพเขียนโมกุล และสัญลักษณ์ในศาสนาอิสลาม ซึ่งแบบหลังนี้นิยมใช้แขวนผนัง
ในอดีตด้ายสีที่ใช้มัดเพื่อสร้างลวดลาย มีทั้งด้ายขนสัตว์และไหม แต่ทุกวันนี้เนื่อง จากขาดแคลนด้ายขนสัตว์ การทอจึงหันมาใช้ไหมหรือไหมผสมขนสัตว์เป็นหลัก ส่วนสีย้อมนั้นในอดีตโรงทอต่างๆ จะย้อมเองด้วยสีธรรมชาติ เช่น ขมิ้น แซฟฟรอน หญ้าคาซา เปลือกทับทิม ฯลฯ แต่นับจากการเข้ามาเปิด โรงทอโดยชาวต่างชาติ ในช่วงทศวรรษ 1860 และมีการนำเข้าไหมย้อมสำเร็จ ทำให้การย้อมสีธรรมชาติค่อยๆ หมดไป
ชื่อเสียงของพรมแคชเมียร์นั้นอยู่ที่ความละเอียดวิจิตรของลวดลาย ซึ่งเกิดจาก การบรรจงมัดด้ายสีต่างเฉด พรมหนึ่งผืนต้องใช้เวลาทอเป็นเดือนหรือปี ขึ้นกับขนาดโดยพรมแต่ละขนาด งานออกแบบพรมแคชเมียร์นั้นถือเป็นภูมิปัญญาและศิลปะอยู่ในตัวเอง โดยนายช่างนักออกแบบจะร่างแบบ ด้วยการจัดองค์ประกอบลายแล้วดราฟต์ลายนั้นลงกระดาษกราฟเพื่อใช้กำหนดสี
จากนั้น จึงถอดลายขึ้นเป็นรหัสสีเขียนลงในแถบกระดาษที่เรียกว่าทาลิม (talim) ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนรหัสสีที่มีต้นกำเนิดจากการทอผ้าคลุมไหล่ ด้วยเทคนิคกานี (kani) รหัสสีที่ว่านี้เป็นสัญลักษณ์เฉพาะที่รู้กันในหมู่ช่างทอที่จะบอกถึงเฉดสี เช่น วงกลมใส่หมวกหงายคือสีเขียว วงกลมหมวก คว่ำสีชมพู หากมีขีดข้างใต้คือ สีเหลือง
แม้ว่าชื่อเสียงของพรมแคชเมียร์จะโด่งดังไปทั่วโลก และพรมผืนวิจิตรฝีมือช่างพื้นถิ่นเหล่านี้จะไปปูลาดอยู่ตามโถงพระราชวังและคฤหาสน์ของมหาเศรษฐี แต่จากอดีตจนถึงปัจจุบันงานทอพรมกลับถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย และค่าแรงนั้นก็น้อย
Cr.ภาพ medium.com/
ที่มา
http://www.oceansmile.com/India/KashmirTravel.htm
Cr.
http://muslimmai.blogspot.com/2015/11/kashmir-carpets.html
ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี
“ผ้าทอนาหมื่นศรี” หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนไทยมายาวนานหลายร้อยปี หลักฐานการจดบันทึกในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) ช่วงที่เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 ได้ทอดพระเนตรผ้าทอที่เมืองตรัง สมุหเทศาภิบาลมณฑลได้ทรงจัดผ้าพรรณทุกอย่างซึ่งเป็นของทำในพื้นบ้าน เช่น ผ้ายก ผ้าราชวัตร ผ้าตาสมุก ผ้าคาด ผ้าเช็ดหน้า ถวายประทานแจกแก่ข้าราชการตามสมควร
ลักษณะพิเศษของผ้าทอนาหมื่นศรี อยู่ที่โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลาย และสี เนื่องจากผู้ทอเป็นช่างที่มีฝีมือ สามารถนำลวดลายต่างๆ มารวมไว้บนผืนผ้า เช่น ลายลูกแก้วใหญ่ ลายดอกจัน ลายแก้วชิงดวง ฯลฯ ลายแก้วชิงดวงของที่นี่มีลักษณะลวดลายเป็นวงกลมหรือรูปไข่เกี่ยวร้อยทับกันภายในช่องที่เป็นใจกลางมีลูกแก้วฝูง 4 เม็ด ส่วนช่องที่เกี่ยวทับกัน 4 ช่อง ใน 1 วง จะมีลูกแก้วฝูง ช่องละ 2 เม็ด ซึ่งจะอยู่ในเขตของวงกลม 2 วง เหมือนแก้ว 2 ดวง แย่งชิงกันอยู่ จึงเรียกชื่อลายว่า แก้วชิงดวง
เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของผ้าทอของที่นี่ก็คือ ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้ายกดอก ที่ชาวบ้านทอขึ้นเพื่อใช้เอง จะโดดเด่นในเรื่องสี เพราะนิยมใช้ด้ายยืนสีแดง ยกดอกสีเหลืองเป็นหลัก ผ้าทอนี้แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของผืนผ้าได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าตา และผ้ายกดอก
นอกจากนี้ยังมี “ผ้าขาวม้าลายราชวัตร” ของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง ที่มีลักษณะพิเศษเป็นผ้าฝ้ายทอมือที่มีขนาดใหญ่กว่าผ้าขาวม้าทั่วไป ส่วนกลางผืนจะทอสลับสีเป็นลายราชวัตรที่ละเอียดประณีต มีลายยกสลับเป็นเชิงคั่นก่อนถึงชายหรือเชิงผ้าซึ่งทอเป็นริ้ว ขอบริมผ้ามีสีแดง
ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรี นับเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตรัง เพราะเป็นของขวัญของฝากที่มีชื่อเสียงของตรัง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าโอท็อป 5 ดาว ของจังหวัด ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
ที่มา ภูมิปัญญาชาวบ้าน
Cr.
https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_112057
ผ้าย้อมสีครามเก่าแก่อายุ 6,000 ปี
ค้นพบผ้าย้อมสีครามเก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 6,000 ปี ที่ประเทศเปรู ผ้าฝ้ายเก่าแก่ที่ยังคงเหลือรอยแถบสีน้ำเงินคราม (สีกางเกงยีนส์) ซึ่งได้รับการวิเคราะห์และพิสูจน์แล้วว่าทำมาจากต้นคราม (indigo) ถูกค้นพบที่ประเทศเปรู มีอายุถึง 6,000 ปี ทำให้เป็นผ้าย้อมสีครามที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
ผ้าโบราณของชาวเปรูนี้มีอายุเก่าแก่กว่าผ้าย้อมขอบสีครามของชาวอียิปต์โบราณมากกว่า 1,500 ปี และเก่าแก่กว่าผ้าย้อมสีครามครั้งแรกในประเทศจีนถึง 3,000 ปี ทีมนักโบราณคดีได้ขุดพบชิ้นส่วนของผ้าที่แหล่งโบราณคดี Huaca Prieta บนชายฝั่งทางตอนเหนือของเปรู Huaca Prieta เป็นกองดินกองหินขนาดใหญ่ที่เคยเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเปรูโบราณ
Jeffrey Splitstoster ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน รายงานว่าพวกเขาได้ขุดพบสิ่งทอโบราณที่ Huaca Prieta จำนวนมาก และมีการตรวจสอบไปแล้วมากกว่า 800 ชิ้น ผ้าที่ขุดพบมีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 1 – 3 ฟุตที่ดูเหมือนจะถูกฉีกออกมาจากผ้าผืนใหญ่ และยังดูเหมือนกับถูกบิดและจุ่มลงในของเหลว
ด้วยขนาดของพวกมัน Splitstoser จึงเชื่อว่าผ้าที่ขุดพบไม่ได้ถูกใช้เป็นเสื้อผ้า แต่ใช้สำหรับการขนของ แบบเดียวกับคนแถบเทือกเขาแอนดีสทำ โดยวางของที่กลางผ้าแล้วหิ้วผ้าไป
Jan Wouters นักเคมีที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ตรวจสอบรอยสีฟ้าในเนื้อผ้าและบอกว่าสีย้อมค่อนข้างแน่ว่ามาจากต้นคราม อย่างไรก็ตาม Wouters ตั้งข้อสังเกตว่าการแยกสีครามจากพืชต้องใช้กระบวนการหลายอย่างรวมทั้งการหมักซึ่งหมายความว่าชาวเปรูโบราณมีความรู้ดีทั้งด้านงานทอผ้าและการแยกสี
Cr.
https://boommusa.blogspot.com/2019/ By musa
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
สิ่งทอโบราณที่มีชื่อเสียง
พรมผนังบาเยอ (Bayeux Tapestry) เป็นผืนผ้ากว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 70 เซนติเมตร ที่ปักเป็นภาพการนำไปสู่ชัยชนะของชาวนอร์มันต่ออังกฤษ
นำโดยดยุควิลเลียมแห่งนอร์ม็องดี ผู้ต่อมาขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษ เมื่อปี ค.ศ. 1066 และเหตุการณ์ระหว่างสงคราม คำบรรยายในพรมผนังบาเยอเป็นภาษาละติน ปัจจุบันผ้าผืนนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ที่เมืองบาเยอในประเทศฝรั่งเศส แม้จะมีอายุถึง ๙๐๐ ปีแต่สียังสดใส
โดยเย็บปักด้วยเส้นด้ายขนสัตว์ลงไปบนผ้าลินิน แต่ต้นกำเนิดของงานสิ่งทออันงดงามผืนนี้กลับยังเป็นปริศนา และนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2019 มาจนปัจจุบันยังมีการถกเถียงถึงแหล่งที่มาของพรมผืนนี้ โดยคำอธิบายที่มักถูกยกมาคือพรมดังกล่าวถูกออกแบบมาสำหรับมหาวิหารบาเยอ
ด้วยขนาดของผ้าที่เข้ากันได้อย่างสมบูรณ์แบบในมหาวิหารบาเยอที่เมืองนอร์มังดีแห่งฝรั่งเศส การเย็บปักดูพอดีกับพื้นที่ของเสาและทางเดินของโบสถ์ ล่าสุด นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยยอร์กในอังกฤษ รายงานลงในวารสารสมาคมโบราณคดีแห่งอังกฤษ ว่า พวกเขาอาจไขความลับได้แล้วว่าสิ่งทอชิ้นนี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อไหร่ นั่นคือพรมผนังบาเยออาจถูกทำขึ้นในอังกฤษและการเย็บปักน่าจะเป็นฝีมือของสตรี เพราะงานเย็บปักถักร้อยเป็นอาชีพของสตรียุคกลางของอังกฤษ
งานวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่าพรมผนังบาเยอได้รับการออกแบบให้แขวนตามแนวทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตกของมหาวิหารบาเยอ ระหว่างกำแพงตะวันตกและเป็นฉากด้านหลังของนักร้องประสานเสียง ซึ่งรู้กันมานานแล้วว่าพรมผืนนี้อยู่ที่มหาวิหารนี้มาตั้งแต่ในศตวรรษที่ 15 แต่การวิเคราะห์ใหม่จากแถบผ้าลินินที่มีการปักเผยว่าพรมถูกทำขึ้นในศตวรรษที่ 11 และเจาะจงให้แขวนอยู่ที่มหาวิหารบาเยอ
ใน Bayeux Tapestry มีภาพดาวหางขึ้น สองเดือนหลังจากกษัตริย์แฮโรลด์ขึ้นเถลิงราช กล่าวกันว่าเป็นลางร้าย ถือว่าเป็น "the terror of kings"นักดาราศาสตร์เชื่อว่านี่คือ ดาวหาง Halley ที่โคจรมาทุกๆ ๗๐ ปี
ที่มา http://www.bbc.co.uk/blogs/ahistoryoftheworld/2010/08/the-bayeux-tapestry.shtml)
Cr.https://th.unionpedia.org/พรมผนังบาเ
Cr.https://www.thairath.co.th/news/foreign/1697173
Persian carpet
(พรมตระกูล Amoghli ที่ผลิตพรมให้กับพระราชวังของอิหร่าน อายุ 90 ปี ปัจจุบันสนนราคาที่ 10 ล้านบาท)(อะมอกรู)
หากนับเฉพาะที่พอมีหลักฐานปรากฏ คนเปอร์เซียรู้จักการทอพรมมากว่า 2,500 ปีแล้ว จากจุดเริ่มต้นแสนเรียบง่าย ที่เหล่าชนพื้นเมือง ต้องมีพรมปูพื้นเพื่อป้องกันความชื้นและหนาวเย็น ต่อมาเริ่มมีการพัฒนาลวดลายจนเกิดเป็นเรื่องราวและความสวยงามที่ส่งต่อกันรุ่นสู่รุ่น ประกอบกับคุณภาพชั้นยอดของขนแกะและแพะในแถบเปอร์เซีย จากของจำเป็นที่ทุกบ้านต้องมี เริ่มกลายเป็นของมีค่าที่ทั้งขุนนางจนถึงกษัตริย์ต้องมีไว้ประดับบารมี
แต่กว่าพรมเปอร์เซีย จะเป็นพรมเปอร์เซียที่เห็นกันอย่างทุกวันนี้ ก็ล่วงมาจนถึงศตวรรษที่ 16 ในสมัยของพระเจ้าซาห์อับบัส (Shah Abbas) กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ (Safavid)
ถือเป็นยุคที่การค้าและงานฝีมือของเปอร์เซียรุ่งเรืองที่สุด เพราะหลังจากที่ทรงตั้งเมืองอิสฟาฮานเป็นเมืองหลวงของเปอร์เซีย พระองค์ก็ตั้งเป้าจะให้ที่นี่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงที่สุด จึงเริ่มฟื้นฟูศิลปะการทอพรม ฝึกฝนช่างทอและดีไซน์เนอร์เก่งๆ ขึ้นมา รวมถึงใช้วัตถุดิบคุณภาพสูงอย่างเส้นใยไหมแซมด้วยด้ายเงิน ด้ายทอง จนเกิดลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์
จากนั้นสนับสนุนให้เกิดการค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้ทั่วโลกเริ่มรู้จักพรมเปอร์เซียกันอย่างแพร่หลาย เรียกได้ว่าเป็น ‘ยุคทอง’ ของพรมเปอร์เซีย
ปัจจุบัน มีพรมจากยุคราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ หลงเหลืออยู่ประมาณ 1,500 ผืน กระจายตัวอยู่ในพิพิธภัณฑ์ต่างๆ บ้าง และอยู่ในคอลเลคชั่นส่วนตัวของนักสะสมบ้าง และไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคสมัย ศิลปะบนผืนพรมของชาวเปอร์เซียทีแต่ทวีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นี่คือสิ่งทอเพียงอย่างเดียว ที่ราคาทวีคูณไม่ต่างจากอัญมณี
ความโดดเด่นของพรมเปอร์เซีย ที่ทำให้มีมูลค่ามากกว่าพรมใดๆ บนโลก คือเป็นงานทำมือ 100% บางผืนทอด้วยคนเพียงคนเดียวที่อาจใช้เวลายาวนานถึง 10 ปี สีสันบนพรมล้วนเกิดจากสีของธรรมชาติ เช่น ดอกไม้ รากไม้ หรือใบไม้ ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าสีของพรมเปอร์เซียจะไม่มีสีที่ฉูดฉาด สวยงามสบายตา และเปี่ยมด้วยมิติ ลวดลายที่อยู่บนผืนพรมแสดงวิถีชีวิต ความคิด และความทรงจำของผู้ทอ
ที่มา becommon.co , คาปูปั่น , CAPUPUN
Cr. https://capupun.com/16445/
Kashmir Carpets
พรมเปอร์เชียถือเป็นอันดับหนึ่งในโลก ส่วนอันดับสองคือพรมแคชเมียร์ เมื่อกล่าวถึงสายการสืบทอดศิลปะการทอพรมแล้ว พรมแคชเมียร์คือสายตรงของพรมเปอร์เชียนั่นเอง
พรมแคชเมียร์นั้นทอผืนพรมและสร้างลวดลายด้วยการมัดด้ายสีเข้ากับเส้นยืน ซึ่งเป็นเทคนิคที่สืบทอดมาจากเปอร์เชียในสมัยสุลต่านเซน-อุล-อะบาดิน ราวศตวรรษที่ 15 ศิลปะการทอพรมในเปอร์เชียนั้นหลากหลาย จากพรมขนสัตว์สไตล์พื้นเมืองที่ทอกันในหมู่ชนเลี้ยงสัตว์เร่ร่อนเขตฮัมดาน และชีราซ จนถึงพรมราชสำนักลวดลายวิจิตร จากเขตอิสฟาฮาน กาชาน และซารูก ส่วนศิลปะการทอที่แคชเมียร์สืบทอดมานั้นเป็นสไตล์ราชสำนัก
ในช่วงแรกที่สุลต่านเซน-อุล-อะบาดิน นำเทคนิคการทอพรมเข้ามาเผยแพร่ได้มีการ เชิญนายช่างจากราชสำนักเปอร์เชียเข้ามาก่อตั้งโรงทอที่เรียกกันว่า karkhana ในลักษณะของเวิร์กช็อปรวมไว้ด้วยนายช่างนักออกแบบและช่างทอที่เรียนรู้และทำงาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิด เมื่อสิ้นสมัยสุลต่านเซน-อุล-อะบาดิน การทอพรมในแคชเมียร์ขาดช่วงไป กระทั่งมีการฟื้นฟูอีกครั้งในช่วง ต้นศตวรรษที่ 17
ลวดลายของพรมแคชเมียร์ที่นิยมแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 3 แบบ คือลายดอกไม้ ภาพทิวทัศน์และการล่าสัตว์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากภาพเขียนโมกุล และสัญลักษณ์ในศาสนาอิสลาม ซึ่งแบบหลังนี้นิยมใช้แขวนผนัง
ในอดีตด้ายสีที่ใช้มัดเพื่อสร้างลวดลาย มีทั้งด้ายขนสัตว์และไหม แต่ทุกวันนี้เนื่อง จากขาดแคลนด้ายขนสัตว์ การทอจึงหันมาใช้ไหมหรือไหมผสมขนสัตว์เป็นหลัก ส่วนสีย้อมนั้นในอดีตโรงทอต่างๆ จะย้อมเองด้วยสีธรรมชาติ เช่น ขมิ้น แซฟฟรอน หญ้าคาซา เปลือกทับทิม ฯลฯ แต่นับจากการเข้ามาเปิด โรงทอโดยชาวต่างชาติ ในช่วงทศวรรษ 1860 และมีการนำเข้าไหมย้อมสำเร็จ ทำให้การย้อมสีธรรมชาติค่อยๆ หมดไป
ชื่อเสียงของพรมแคชเมียร์นั้นอยู่ที่ความละเอียดวิจิตรของลวดลาย ซึ่งเกิดจาก การบรรจงมัดด้ายสีต่างเฉด พรมหนึ่งผืนต้องใช้เวลาทอเป็นเดือนหรือปี ขึ้นกับขนาดโดยพรมแต่ละขนาด งานออกแบบพรมแคชเมียร์นั้นถือเป็นภูมิปัญญาและศิลปะอยู่ในตัวเอง โดยนายช่างนักออกแบบจะร่างแบบ ด้วยการจัดองค์ประกอบลายแล้วดราฟต์ลายนั้นลงกระดาษกราฟเพื่อใช้กำหนดสี
จากนั้น จึงถอดลายขึ้นเป็นรหัสสีเขียนลงในแถบกระดาษที่เรียกว่าทาลิม (talim) ซึ่งเป็นเทคนิคการเขียนรหัสสีที่มีต้นกำเนิดจากการทอผ้าคลุมไหล่ ด้วยเทคนิคกานี (kani) รหัสสีที่ว่านี้เป็นสัญลักษณ์เฉพาะที่รู้กันในหมู่ช่างทอที่จะบอกถึงเฉดสี เช่น วงกลมใส่หมวกหงายคือสีเขียว วงกลมหมวก คว่ำสีชมพู หากมีขีดข้างใต้คือ สีเหลือง
แม้ว่าชื่อเสียงของพรมแคชเมียร์จะโด่งดังไปทั่วโลก และพรมผืนวิจิตรฝีมือช่างพื้นถิ่นเหล่านี้จะไปปูลาดอยู่ตามโถงพระราชวังและคฤหาสน์ของมหาเศรษฐี แต่จากอดีตจนถึงปัจจุบันงานทอพรมกลับถูกมองว่าเป็นอาชีพที่ต่ำต้อย และค่าแรงนั้นก็น้อย
Cr.ภาพ medium.com/
ที่มา http://www.oceansmile.com/India/KashmirTravel.htm
Cr.http://muslimmai.blogspot.com/2015/11/kashmir-carpets.html
ผ้าทอโบราณนาหมื่นศรี
“ผ้าทอนาหมื่นศรี” หัตถกรรมที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนไทยมายาวนานหลายร้อยปี หลักฐานการจดบันทึกในเอกสารจดหมายเหตุ พระราชกิจรายวัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร. 6) ช่วงที่เสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. 128 ได้ทอดพระเนตรผ้าทอที่เมืองตรัง สมุหเทศาภิบาลมณฑลได้ทรงจัดผ้าพรรณทุกอย่างซึ่งเป็นของทำในพื้นบ้าน เช่น ผ้ายก ผ้าราชวัตร ผ้าตาสมุก ผ้าคาด ผ้าเช็ดหน้า ถวายประทานแจกแก่ข้าราชการตามสมควร
ลักษณะพิเศษของผ้าทอนาหมื่นศรี อยู่ที่โครงสร้างของผืนผ้า ลวดลาย และสี เนื่องจากผู้ทอเป็นช่างที่มีฝีมือ สามารถนำลวดลายต่างๆ มารวมไว้บนผืนผ้า เช่น ลายลูกแก้วใหญ่ ลายดอกจัน ลายแก้วชิงดวง ฯลฯ ลายแก้วชิงดวงของที่นี่มีลักษณะลวดลายเป็นวงกลมหรือรูปไข่เกี่ยวร้อยทับกันภายในช่องที่เป็นใจกลางมีลูกแก้วฝูง 4 เม็ด ส่วนช่องที่เกี่ยวทับกัน 4 ช่อง ใน 1 วง จะมีลูกแก้วฝูง ช่องละ 2 เม็ด ซึ่งจะอยู่ในเขตของวงกลม 2 วง เหมือนแก้ว 2 ดวง แย่งชิงกันอยู่ จึงเรียกชื่อลายว่า แก้วชิงดวง
เอกลักษณ์ที่โดดเด่นของผ้าทอของที่นี่ก็คือ ผ้าห่ม ผ้าเช็ดหน้ายกดอก ที่ชาวบ้านทอขึ้นเพื่อใช้เอง จะโดดเด่นในเรื่องสี เพราะนิยมใช้ด้ายยืนสีแดง ยกดอกสีเหลืองเป็นหลัก ผ้าทอนี้แบ่งตามลักษณะโครงสร้างของผืนผ้าได้ 3 ชนิด ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าตา และผ้ายกดอก
นอกจากนี้ยังมี “ผ้าขาวม้าลายราชวัตร” ของวิสาหกิจชุมชนผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง ที่มีลักษณะพิเศษเป็นผ้าฝ้ายทอมือที่มีขนาดใหญ่กว่าผ้าขาวม้าทั่วไป ส่วนกลางผืนจะทอสลับสีเป็นลายราชวัตรที่ละเอียดประณีต มีลายยกสลับเป็นเชิงคั่นก่อนถึงชายหรือเชิงผ้าซึ่งทอเป็นริ้ว ขอบริมผ้ามีสีแดง
ปัจจุบัน ผ้าทอนาหมื่นศรี นับเป็นมรดกแห่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สร้างความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดตรัง เพราะเป็นของขวัญของฝากที่มีชื่อเสียงของตรัง และได้รับการคัดเลือกให้เป็นสินค้าโอท็อป 5 ดาว ของจังหวัด ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และรายได้ให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน
ที่มา ภูมิปัญญาชาวบ้าน
Cr.https://www.technologychaoban.com/thai-local-wisdom/article_112057
ผ้าย้อมสีครามเก่าแก่อายุ 6,000 ปี
ค้นพบผ้าย้อมสีครามเก่าแก่ที่สุดในโลกอายุ 6,000 ปี ที่ประเทศเปรู ผ้าฝ้ายเก่าแก่ที่ยังคงเหลือรอยแถบสีน้ำเงินคราม (สีกางเกงยีนส์) ซึ่งได้รับการวิเคราะห์และพิสูจน์แล้วว่าทำมาจากต้นคราม (indigo) ถูกค้นพบที่ประเทศเปรู มีอายุถึง 6,000 ปี ทำให้เป็นผ้าย้อมสีครามที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา
ผ้าโบราณของชาวเปรูนี้มีอายุเก่าแก่กว่าผ้าย้อมขอบสีครามของชาวอียิปต์โบราณมากกว่า 1,500 ปี และเก่าแก่กว่าผ้าย้อมสีครามครั้งแรกในประเทศจีนถึง 3,000 ปี ทีมนักโบราณคดีได้ขุดพบชิ้นส่วนของผ้าที่แหล่งโบราณคดี Huaca Prieta บนชายฝั่งทางตอนเหนือของเปรู Huaca Prieta เป็นกองดินกองหินขนาดใหญ่ที่เคยเป็นที่อยู่ของชุมชนชาวเปรูโบราณ
Jeffrey Splitstoster ผู้เชี่ยวชาญด้านสิ่งทอที่มหาวิทยาลัยจอร์จวอชิงตัน รายงานว่าพวกเขาได้ขุดพบสิ่งทอโบราณที่ Huaca Prieta จำนวนมาก และมีการตรวจสอบไปแล้วมากกว่า 800 ชิ้น ผ้าที่ขุดพบมีลักษณะเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมขนาด 1 – 3 ฟุตที่ดูเหมือนจะถูกฉีกออกมาจากผ้าผืนใหญ่ และยังดูเหมือนกับถูกบิดและจุ่มลงในของเหลว
ด้วยขนาดของพวกมัน Splitstoser จึงเชื่อว่าผ้าที่ขุดพบไม่ได้ถูกใช้เป็นเสื้อผ้า แต่ใช้สำหรับการขนของ แบบเดียวกับคนแถบเทือกเขาแอนดีสทำ โดยวางของที่กลางผ้าแล้วหิ้วผ้าไป
Jan Wouters นักเคมีที่มหาวิทยาลัยคอลเลจลอนดอน (UCL) ตรวจสอบรอยสีฟ้าในเนื้อผ้าและบอกว่าสีย้อมค่อนข้างแน่ว่ามาจากต้นคราม อย่างไรก็ตาม Wouters ตั้งข้อสังเกตว่าการแยกสีครามจากพืชต้องใช้กระบวนการหลายอย่างรวมทั้งการหมักซึ่งหมายความว่าชาวเปรูโบราณมีความรู้ดีทั้งด้านงานทอผ้าและการแยกสี
Cr. https://boommusa.blogspot.com/2019/ By musa
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)