https://www.sanook.com/news/8194062/
เป็นหนี้ กยศ. ยอดเงินกู้ 18,400 บาท ทยอยส่งไปบางส่วน สุดท้ายถูกฟ้องยึดบ้าน ราคา 2.4 ล้านบาท เลือกยึดบ้านพ่อซึ่งไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน เพียงแค่คู่สมรสเท่านั้น
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.63 น.ส.กรทิพ อายุ 43 ปี ชาวบ้าน ม.3 ต.สบสาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ น.ส.สมหมาย อายุ 38 ปี และ นายสมพร อายุ 75 ปี และ นางพริ้ง อายุ 71 ปี ร้องว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังจากที่อยู่ๆ มีจดหมายจากสำนักงานบังคับคดี จ.แพร่ มาติดหน้าบ้าน ว่าบ้านหลังดังกล่าวถูกขายทอดตลาดไปแล้ว แค่เป็นหนี้ กยศ. เพียง 17,000 กว่าบาท แต่กลับถูกฟ้องบังคับคดียึดบ้านไปขายทอดตลาดในราคา 2 ล้านกว่าบาท
นางกรทิพย์ฯ (เสื้อสีขาว) และ นางสาวสมหมาย น้องสาว (เสื้อยืดสีเขียว) เล่าว่า เมื่อปี 2541 น.ส.สมหมาย น้องสาว ได้กู้ กยศ.เรียน ที่วิทยาลัยเกษตรแพร่ เพื่อเรียนต่อระดับอาชีวะศึกษา หลังจากเรียนจบได้ทยอยส่งเงินคืนกองทุน กยศ.มาตลอด ต่อมาได้ย้ายไปทำงานต่างจังหวัดจึงขาดส่งไประยะหนึ่ง เหลือยอดที่ค้าง กยศ. แค่ 17,000 บาท
จนกระทั่งมีหนังสือมาติดหน้าบ้านว่าเป็นทรัพย์สินถูกขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ต่างจังหวัด พ่อ แม่ และลุงที่อยู่บ้านไม่รู้หนังสือ จึงถ่ายรูปส่งไปให้ดู พอเห็นก็รีบกลับบ้านมาจนรู้ว่าบ้านถูกขายไปแล้ว
ตนและน้องสาวรู้สึกตกใจและไม่เข้าใจเพราะบ้านที่ถูกขายทอดตลาดเป็นชื่อพ่อ แต่พ่อไม่ได้เป็นคนค้ำประกัน เป็นเพียงคู่สมรสของแม่ที่เป็นผู้ค้ำประกันและมีบ้านอยู่ติดกัน หรือแม้แต่น้องสาวซึ่งเป็นเจ้าของบ้านอีกหลังก็ไม่ถูกยึดแต่กลับเลือกบ้านพ่อซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่ที่สุด
หลังจากทราบเรื่องจึงรีบเดินทางกลับมาบ้านและเข้าติดต่อกับสำนักงานบังคับคดี ก็ให้ไปติดต่อกับศาล เพราะศาลตัดสินแล้วสิ้นสุดแล้ว จากนั่นจึงไปที่ศาลต่อก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิม จนท้อใจ เข้าร้องเรียนกับผู้สื่อข่าวขอให้ช่วยเหลือ
ทางด้าน นางพริ้ง มารดา กล่าวว่า ในตอนนั้นที่บ้านไม่มีเงินส่งลูกเรียน เงินหมื่นกว่าจะหาได้ไม่ใช่น้อยๆ ก็ให้ลูกกู้เพื่อจะได้เรียนให้จบไม่คิดว่าจะกลายมาเป็นแบบนี้ ตนและสามี คือนายสมพร (เสื้อเชิ้ตสีเทา) และพี่ชาย ไม่รู้หนังสือ มีเอกสารอะไรส่งมาก็ไม่รู้ว่าคืออะไร ได้แต่ถ่ายรูปส่งให้ลูกสาว 2 คนที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัด จนมารู้อีกที บ้านก็ถูกยึดไปแล้ว
และในวันนี้จะเข้าร้องศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ เพื่อขอให้ช่วยเหลือเพราะมูลค่าของบ้านนั้นมากกว่าราคาที่ขายทอดตลาด และเงินที่ติดค้างเพียง 17,000 บาทเท่านั้น
สาวร้องสื่อ! ค้างหนี้ กยศ. 17,000 บาท เจอยึดบ้านมูลค่า 2.4 ล้าน
เป็นหนี้ กยศ. ยอดเงินกู้ 18,400 บาท ทยอยส่งไปบางส่วน สุดท้ายถูกฟ้องยึดบ้าน ราคา 2.4 ล้านบาท เลือกยึดบ้านพ่อซึ่งไม่ได้เป็นผู้ค้ำประกัน เพียงแค่คู่สมรสเท่านั้น
เมื่อวันที่ 24 มิ.ย.63 น.ส.กรทิพ อายุ 43 ปี ชาวบ้าน ม.3 ต.สบสาย อ.สูงเม่น จ.แพร่ น.ส.สมหมาย อายุ 38 ปี และ นายสมพร อายุ 75 ปี และ นางพริ้ง อายุ 71 ปี ร้องว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม หลังจากที่อยู่ๆ มีจดหมายจากสำนักงานบังคับคดี จ.แพร่ มาติดหน้าบ้าน ว่าบ้านหลังดังกล่าวถูกขายทอดตลาดไปแล้ว แค่เป็นหนี้ กยศ. เพียง 17,000 กว่าบาท แต่กลับถูกฟ้องบังคับคดียึดบ้านไปขายทอดตลาดในราคา 2 ล้านกว่าบาท
นางกรทิพย์ฯ (เสื้อสีขาว) และ นางสาวสมหมาย น้องสาว (เสื้อยืดสีเขียว) เล่าว่า เมื่อปี 2541 น.ส.สมหมาย น้องสาว ได้กู้ กยศ.เรียน ที่วิทยาลัยเกษตรแพร่ เพื่อเรียนต่อระดับอาชีวะศึกษา หลังจากเรียนจบได้ทยอยส่งเงินคืนกองทุน กยศ.มาตลอด ต่อมาได้ย้ายไปทำงานต่างจังหวัดจึงขาดส่งไประยะหนึ่ง เหลือยอดที่ค้าง กยศ. แค่ 17,000 บาท
จนกระทั่งมีหนังสือมาติดหน้าบ้านว่าเป็นทรัพย์สินถูกขายทอดตลาดแล้ว ซึ่งขณะนั้นทำงานอยู่ต่างจังหวัด พ่อ แม่ และลุงที่อยู่บ้านไม่รู้หนังสือ จึงถ่ายรูปส่งไปให้ดู พอเห็นก็รีบกลับบ้านมาจนรู้ว่าบ้านถูกขายไปแล้ว
ตนและน้องสาวรู้สึกตกใจและไม่เข้าใจเพราะบ้านที่ถูกขายทอดตลาดเป็นชื่อพ่อ แต่พ่อไม่ได้เป็นคนค้ำประกัน เป็นเพียงคู่สมรสของแม่ที่เป็นผู้ค้ำประกันและมีบ้านอยู่ติดกัน หรือแม้แต่น้องสาวซึ่งเป็นเจ้าของบ้านอีกหลังก็ไม่ถูกยึดแต่กลับเลือกบ้านพ่อซึ่งเป็นบ้านหลังใหญ่ที่สุด
หลังจากทราบเรื่องจึงรีบเดินทางกลับมาบ้านและเข้าติดต่อกับสำนักงานบังคับคดี ก็ให้ไปติดต่อกับศาล เพราะศาลตัดสินแล้วสิ้นสุดแล้ว จากนั่นจึงไปที่ศาลต่อก็ได้รับคำตอบเหมือนเดิม จนท้อใจ เข้าร้องเรียนกับผู้สื่อข่าวขอให้ช่วยเหลือ
ทางด้าน นางพริ้ง มารดา กล่าวว่า ในตอนนั้นที่บ้านไม่มีเงินส่งลูกเรียน เงินหมื่นกว่าจะหาได้ไม่ใช่น้อยๆ ก็ให้ลูกกู้เพื่อจะได้เรียนให้จบไม่คิดว่าจะกลายมาเป็นแบบนี้ ตนและสามี คือนายสมพร (เสื้อเชิ้ตสีเทา) และพี่ชาย ไม่รู้หนังสือ มีเอกสารอะไรส่งมาก็ไม่รู้ว่าคืออะไร ได้แต่ถ่ายรูปส่งให้ลูกสาว 2 คนที่ทำงานอยู่ต่างจังหวัด จนมารู้อีกที บ้านก็ถูกยึดไปแล้ว
และในวันนี้จะเข้าร้องศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ เพื่อขอให้ช่วยเหลือเพราะมูลค่าของบ้านนั้นมากกว่าราคาที่ขายทอดตลาด และเงินที่ติดค้างเพียง 17,000 บาทเท่านั้น