งานวิจัยที่เกี่ยวกับ " มนุษย์ "


งานวิจัย Harvard นานที่สุดในโลก
งานวิจัยที่ว่านี้คือ Harvard Study of Adult Development การศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาของผู้ใหญ่จากมหาวิทยาลัย Harvard ที่ใช้ระยะเวลาในการศึกษาค้นคว้าทั้งสิ้น 75 ปีเต็ม เปลี่ยนผ่านผู้ควบคุมงานวิจัยมาถึง 4 รุ่น   โดยงานวิจัยชิ้นนี้ริเริ่มจากการติตามศึกษาชีวิตของวัยรุ่นชาย 2 กลุ่มคือนักศึกษาชายชั้นปีที่ 2 ของมหาวิทยาลัย Harvard 268 คน และวัยรุ่นชายอายุ 12 –16 ปี เติบโตแบบตามมีตามเกิดในเมือง Boston ทั้งหมด 456 คนด้วยกัน

ทุก ๆ 2 ปี ทีมวิจัยจะให้ทั้ง 724 คนมาทำแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจในชีวิต ทั้งด้านหน้าที่การงาน ด้านสังคม ด้านชีวิตส่วนตัว รวมไปถึงการขอสัมภาษณ์ภายในบ้านเพื่อพูดคุยกับบุคคลในครอบครัวด้วย และทุกๆ 5 ปี พวกเขาก็จะได้รับการตรวจสุขภาพด้วย

จนกระทั่งตลอดระยะเวลาที่ทำการติดตามศึกษาชีวิตของวัยรุ่นทั้ง 724 คนนี้ ทีมวิจัยให้เห็นการเติบโตของพวกเขาในแต่ละปี มีหน้าที่การงานทำ สามารถไต่ระดับจากการสร้างเนื้อสร้างตัวจนมีหน้ามีตาในสังคม แต่ก็มีอีกจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับความล้มเหลว จมดิ่งลึกลงไปในห้วงแห่งความผิดหวังถึงขั้นติดเหล้าเมายาก็มี
จนกระทั่งมาถึงปัจจุบัน จากจำนวน 724 คน เหลือชีวิตรอดอยู่เพียงแค่ 60 คน ซึ่งแต่ละคนก็มีอายุไม่ต่ำกว่า 90 ปีแล้ว และจากการเรียนรู้ชีวิตของบุคคลเหล่านี้ทำให้ทีมวิจัยได้เรียนรู้ว่า ความร่ำรวย มีหน้ามีตาในสังคม หรือ การทำงานอย่างหนักนั้นไม่ใช่คำตอบของชีวิตที่มีความสุข

คำตอบที่แท้จริงของชีวิตที่มีความสุขก็คือ ‘ความสัมพันธ์ที่ดี’  จากความเชื่อแรกเริ่มในช่วงวัยรุ่นที่ว่า ชื่อเสียงและเงินทอง จะทำให้มีชีวิตที่ดีและมีความสุข
แต่จากการศึกษามาตลอดระยะเวลา 75 ปี กลับพบว่า บุคคลที่ให้ความสำคัญกับ ‘ความสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้คนรอบข้าง’ นั้นจะเป็นผู้ที่พบกับความสุขที่แท้จริง

Robert Waldinger ผู้ควบคุมงานวิจัยคนปัจจุบันได้กล่าวเอาไว้ว่า ความสัมพันธ์ที่ดีเป็นสิ่งที่หลายคนมองข้าม มักจะคิดว่าชื่อเสียง เงินทอง เป็นสิ่งที่สร้างความสุขได้ง่ายกว่า  ทำให้หลายคนเลือกที่จะทำงานหาเงินอย่างเดียว เพราะคิดว่าความสัมพันธ์ที่ดีนั้นเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน ต้องคอยเอาใจใส่อยู่ตลอดเวลา และเป็นเรื่องที่ยากเกินไป
ที่มา http://www.catdumb.com/longest-harvard-study-75-years-290/
Cr.https://www.winnews.tv/news/20008


อุปกรณ์ “ควบคุมความฝัน” (Lucid-Dream)
การควบคุมความฝันของตัวเอง  มีชื่อเรียกว่า “Lucid Dream” แต่ใช่ว่ามนุษย์ทุกคนจะสามารถควบคุมความฝันตัวเองได้ เพราะมีคนส่วนน้อยเพียง 1% เท่านั้นที่จะทำได้ แต่ปัญหานี้จะหมดไป เพราะตอนนี้นักวิจัยจาก MIT ได้สร้างอุปกรณ์ควบคุมความฝันที่มีชื่อว่า “Dormio” 

อุปกรณ์ Dormio ชิ้นนี้ คือผลงานที่ถูกสร้างโดย Dream Lab ทีมนักศึกษาปริญญาเอกที่กำลังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย MIT ซึ่งนำโดย Adam Horowitz ได้อธิบายถึงไอเดียและหลักการทำงานไว้ว่า
 
“พวกเรามีความต้องการที่จะควบคุมความฝันของตัวเองมาโดยตลอด มันจะเจ๋งมากแค่ไหนหากเราสามารถควบคุมมันได้ทุก ๆ คืน จึงทำให้เราตัดสินใจสร้างอุปกรณ์ชิ้นนี้ขึ้นมา โดยหลักการทำงานของมันคือ เมื่อเซ็นเซอร์ที่ถูกติดไว้ที่ถุงมือตรวจพบว่า ผู้สวมใส่นอนหลับจนเข้าสู่สภาวะ Hypnagogia (กึ่งหลับกึ่งตื่น-ร่างกายพักผ่อนแต่สมองยังทำงาน) ถุงมือจะทำการเล่นเสียงที่ถูกบันทึกไว้ (ส่วนใหญ่เป็นเสียงคำพูดเพียงคำเดียว)

โดยการทดสอบเราเลือกใช้คำว่า ‘Tiger’ ซึ่งจากการทดสอบผู้เข้าร่วมจำนวน 50 คน พบว่า สามารถส่งเสือเข้าไปปรากฏในความฝันของทุกคนได้จริง ๆ
หลักการทำงานของมันแม้จะดูเรียบง่ายแต่ก็ซับซ้อนเป็นอย่างมาก ตัวเซนเซอร์ที่ติดไว้ต้องตรวจสอบหลายอย่าง ทั้ง การเต้นของหัวใจ การคลายกล้ามเนื้อ ความนำไฟฟ้าของผิวหนัง
จากนั้นเมื่อระบบมั่นใจแล้วว่า ผู้ทดลองเข้าสู่สภาวะกึ่งหลับกึ่งตื่น ก็จะทำการเล่นเสียงซ้ำ ๆ โดยการเล่นเสียงที่ว่านี้ ยังช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถคงอยู่ในสภาวะนี้ได้นานขึ้นอีกด้วย  เพราะปกติคนเราจะฝันราว ๆ 5 ครั้งต่อการนอน 1 ครั้ง โดยใช้เวลา 5-20 นาทีต่อเรื่อง”
 
มหาวิทยาลัย MIT มีการจัด Workshop ดีๆอยู่เป็นประจำ โดยครั้งล่าสุดได้จัดงานในหัวข้อ “Engineering Dreams” (วิศวกรรมความฝัน) เพื่อทำวิจัยและทดลองเกี่ยวกับความฝันโดยเฉพาะ และ Dormio เป็นอุปกรณ์ที่น่าสนใจมากที่สุดในงานนี้  ทั้งนี้มีตัวเลขระบุว่า ตลอดชีวิตของเราจะใช้เวลาในการฝันทั้งหมด 6 ปี แต่ความทรงจำเกี่ยวกับความฝันทั้งหมด 95% เราจะไม่สามารถจำอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นในความฝันได้เลย 
Cr.https://www.flagfrog.com/controls-dreams-creativity/ โดย ManoshFiz




 3 ช่วงอายุสุด “เหงา”
การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารด้านจิตวิทยาผู้สูงอายุ International Psychogeriatric เก็บข้อมูลจากผู้คนในซานดิเอโก เคาน์ตี้ รัฐแคลิฟอร์เนีย ช่วงอายุระหว่าง 27-101 ปี
ดร. ดิลิป เจสเตอ ผู้เขียนการวิจัยและอาจารย์ด้านจิตเวชและระบบประสาทวิทยา จาก University of California ระบุว่า "ความเหงา" ไม่ได้หมายถึง ความโดดเดี่ยวเดียวดายเพียงอย่างเดียว แต่มันคือความเศร้าสร้อยจากความแตกต่างระหว่างความสัมพันธ์ทางสังคมที่ต้องการ กับความสัมพันธ์ที่เป็นอยู่จริง

การศึกษาค้บพบสิ่งสำคัญที่เกี่ยวกับภาวะเหงาเดียวดาย ซึ่งลบล้างความเข้าใจเกี่ยวกับความเหงาอย่างหนึ่ง ที่หลายคนเชื่อว่า คนมีอายุเท่านั้นที่จะพบภาวะโดดเดี่ยวนี้ เพราะในการศึกษาชี้ว่า ในช่วงชีวิตของมนุษย์อาจจะเกิดความเหงาได้ 3 ช่วงอายุหลักๆ ได้แก่ ช่วงอายุ 20 ตอนปลาย ช่วงอายุ 50 กลางๆ คือ ประมาณ 54-57 ปี และช่วงอายุ 80 ตอนปลาย

อธิบายเป็นแต่ละช่วงพบว่า อายุ 20 ตอนปลาย เป็นช่วงเวลาของการตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต คนในช่วงอายุนี้มักจะมีความรู้สึกว่าเพื่อนฝูงในวัยเดียวกันตัดสินใจดีกว่าตน และมีความรู้สึกผิดต่อการตัดสินใจของตัวเองในหลายด้าน ซึ่งภาวะเครียดนี้จะเพิ่มระดับความอ้างว้างในจิตใจ

ในระดับ 50 ตอนกลาง ประมาณ 54-57 ปี จะมีภาวะที่เรียกว่า mid-life crisis หรือวิกฤตวัยกลางคน จากภาวะร่างกายที่เริ่มเจ็บป่วย สุขภาพถดถอย 

และช่วงหนึ่งวัย 80 ตอนปลาย ที่หลายคนเชื่อว่าคนวัยนี้น่าจะรู้สึกดีที่ยังมีชีวิตอยู่ ในทางตรงกันข้าม พวกเขาเผชิญกับสุขภาพที่ย่ำแย่ ปัญหาทางการเงิน และความตายของคนรอบข้าง ในการศึกษานี้ยังยืนยันว่า ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชาย ก็สามารถเผชิญกับความเหงาได้ในระดับที่เท่าๆกัน  

นอกจากนี้ การศึกษาชิ้นนี้พบความเชื่อมโยงระหว่างความเหงากับสุขภาพร่างกาย จิตใจ และการรับรู้ของมนุษย์ โดยนักวิจัยพบว่า ภาวะโดดเดี่ยวเดียวดายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะระบบการรับรู้ที่ลดลง โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง ภาวะพิการ และโรคซึมเศร้า เป็นต้น

ดร. เจสเตอ หัวหน้าการวิจัยนี้ ค้นพบว่า มีความสัมพันธ์เชิงผกผันระหว่างความเหงาและสติปัญญาคิดได้คิดเป็น หรือ wisdom จะเป็นสิ่งที่ช่วยจัดการกับความเดียวดายนี้ได้  เขาให้รายละเอียดว่า wisdom มีอยู่ 6 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ความเข้าใจทั่วไปเกี่ยวกับชีวิต, การจัดการทางอารมณ์, ความเมตตา ไม่เห็นแก่ตัว และมีความยุติธรรม, ความเข้าใจโลกอย่างถ่องแท้, การยอมรับความแตกต่าง และมีการตัดสินใจเด็ดเดี่ยว

ด้านแอนโธนี ออง อาจารย์ด้าน Human Development จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล มองความสัมพันธ์นี้ว่า การมีสติ รู้คิดรู้ทำ จะช่วยลดโอกาสของความเหงาเดียวดายและรับมือกับความเหงาที่จะเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลาของชีวิตได้
Cr.https://www.voathai.com/a/ages-of-loneliness/4706290.html

อุณหภูมิร่างกายไม่ใช่ 37  ํc อีกต่อไป 



 ‘อุณหภูมิในร่างกายเราอยู่ที่ 37 องศาเซลเซียส’ เป็นความรู้พื้นฐานง่ายๆ ที่ใช้บอกว่าร่างกายเราปกติดีอยู่   ตัวเลขนี้เพิ่งถูกกำหนดมาเมื่อปี 1851 
โดย คาร์ล เรนโฮลด์ ออกัสต์ วุนเดอร์ลิช แพทย์ชาวเยอรมัน แต่การศึกษาล่าสุดบอกว่า อุณหภูมิในร่างกายเราไม่ใช่ 37 องศาเซลเซียสอย่างที่เชื่อกันมา

จูลี พาร์ซันเนต นักวิจัยทางการแพทย์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เปิดเผยว่า สิ่งที่เราเรียนกันมาตลอดว่าร่างกายเรามีอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสนั้นผิด ค่าอุณหภูมิมาตรฐานนี้ เกิดจากที่วุนเดอร์ลิชหาค่าเฉลี่ยตัวเลขอุณหภูมิที่วัดได้จากคนไข้จำนวนหนึ่งแสนคน

ซึ่งข้อมูลที่เขาใช้กำหนดอุณหภูมิที่บอกว่าร่างกายเราสบายดีหรือป่วยนั้น ไม่ได้คำนึงถึงหลายปัจจัยสำคัญ อาทิ ความเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน อายุ อีกทั้งมีจำนวนตัวอย่างไม่มากพอ จึงเป็นเพียงการคำนวณแบบคร่าวๆ ซึ่งปัจจุบันสามารถคำนวณได้ละเอียดกว่านั้น ดังนั้น ตัวเลข 37 องศาเซลเซียสที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 19 จึงเป็นเพียงขั้นต้นของการวัดอุณหภูมิร่างกายมนุษย์  

จากนั้นมีการศึกษาเพิ่มเติมและพบว่าอุณหภูมิร่างกายของมนุษย์ในปัจจุบันลดต่ำลงเล็กน้อย เทียบกับมนุษย์ในอดีต  จูลีและทีมงานของเธอตั้งสมมติฐานถึงสาเหตุที่ผลการวัดแตกต่างกันว่า เกิดจากเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น หรืออาจเป็นเพราะมนุษย์เราในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ

เพื่อที่จะหาคำตอบนี้ ทีมนักวิจัยจึงไปค้นข้อมูลทางการแพทย์ที่ถูกเก็บไว้ของทหารผ่านศึกจากเหตุสงครามกลางเมืองอเมริกา (ปี 1861-1865) จำนวน 24,000 ราย เพื่อจะดูว่าร่างกายของมนุษย์มีอุณหภูมิเท่าไรเมื่อศตวรรษก่อน  ตัวเลขที่ได้ถูกนำมาเปรียบเทียบกับข้อมูลสำรวจสุขภาพระดับชาติเมื่อต้นทศวรรษ 1970 จำนวน  15,000 ราย และข้อมูลจากต้นทศวรรษ 2000 อีก 150,000 ราย

พบว่า มนุษย์ที่เกิดในช่วงปลายศตวรรษ 19 มีอุณหภุมิร่างกายมนุษย์ที่สูงกว่าในปัจจุบันเล็กน้อย และผู้ชายที่เกิดต้นศตวรรษ 2000 มีอุณหภูมิต่ำกว่าผู้ชายที่เกิดต้นศตวรรษ 1800 อยู่ 0.59 องศาเซลเซียส 

ตัวเลขดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าร่างกายของมนุษย์มีอุณหภูมิต่ำลง 0.03 องศาเซลเซียสทุก ๆ สิบปี และพบว่าผู้หญิงในปัจจุบันมีอุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าผู้หญิงในช่วงทศวรรษ 1890 อยู่ 0.32 องศาเซลเซียส  งานวิจัยจึงให้ข้อสรุปว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายผู้ชายปัจจุบันอยู่ที่ 36.6 องศาเซลเซียส และผู้หญิงอยู่ที่ 37.16 องศาสเซลเซียส 

สำหรับสาเหตุที่อุณหภูมิร่างกายมนุษย์ในปัจจุบันแตกต่างไปจากมนุษย์ในอดีต จูลีกล่าวว่า “เราอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีเปลี่ยนเปลงไป รวมไปถึงอุณหภูมิในบ้านของเราด้วย นอกจากนี้ จุลินทรีย์ที่เราสัมผัส หรืออาหารที่เรากินล้วนมีผล แม้เราจะคิดว่ามนุษย์มีลักษณะเป็นเอกสัณฐาน และไม่เปลี่ยนแปลงตลอดวิวัฒนาการมนุษย์ แต่เราไม่เคยเหมือนเดิม กายภาพของเราเปลี่ยนแปลงเสมอ” 

อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิจัยยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดของความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ได้ แต่พวกเขาเชื่อว่า การลดลงของอัตราการเผาผลาญอาหารอยู่เบื้องหลังอุณหภูมิที่ลดลง เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ปัจจุบันไม่ต้องทำงานหนักเหมือนมนุษย์ในศตวรรษที่ 19 นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางการแพทย์ก็น่าจะเป็นสาเหตุเช่นกัน 
รูป Carlos JASSO / AFP
ที่มา
https://www.sciencealert.com/human-bodies-have-steadily-grown-colder-over-the-past-century?fbclid=IwAR1a_6NwwNtagqDwmDu_Y-p6-3awmJkh6XGazwAwIwyV9czbBK-yiqVhggM
https://www.dailymail.co.uk/sciencetech/article-7868747/Human-bodies-getting-COLDER-19th-century.html
https://sputniknews.com/science/202001101077993720-scientists-reveal-human-bodies-grown-colder-past-century/
Cr.https://themomentum.co/modern-human-get-colder-body-temperature-than-the-past/

(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่