1.
✈︎
ตารางเวลาเดินรถไฟของแต่ละรัฐใน USA
✈︎
✈︎
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
การเดินทางโดยรถไฟในแต่ละประเทศ
นำมาสู่การปฏิวัติด้านการขนส่งและเดินทาง
แต่ก็เกิดปัญหาที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน
ย้อนกลับไปในอดีต
ในตอนนั้นไม่มีเวลามาตรฐาน
ใชัอ้างอิงของแต่ละประเทศ
แต่ละประเทศต่างอ้างอิงมาตรฐานของตนเอง
และแต่ละเมืองในสหรัฐอเมริกา
ต่างมีนาฬิกาเมือง/เวลาของตนเอง
แตกต่างจากเมืองเพื่อนบ้าน/บ้านพี่เมืองน้อง
บางครั้งเวลาต่างกันหลายชั่วโมง
เรื่องนี้สร้างความไม่สะดวกอย่างมาก
ให้กับผู้เดินทางด้วยรถไฟ
เพราะไม่สามารถบอกได้ว่า
รถไฟจะมาถึงสถานีเวลาใด
และจะเวลาเดินทางนานเท่าไหร่
เพราะเวลาขาเข้าและขาออกของรถไฟ
จะถูกตีพิมพ์ในเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง
ในปี 1857 เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสาร
วารสารแนะนำการท่องเที่ยวทางรถไฟเล่มหนึ่ง
จึงได้ตีพิมพ์เวลาท้องถิ่นในเมืองอเมริกัน
ประมาณหนึ่งร้อยแห่ง
โดยเปรียบเทียบกับเที่ยงวันในวอชิงตัน
และจะเห็นว่าปัญหานี้ร้ายแรงอย่างใด
✈︎
✈︎
2.
✈︎
หอดูดาว Greenwich Observatory, London
© Leonid Andronov/Shutterstock.com
✈︎
✈︎
เรื่องเวลามาตรฐานที่ใช้กันภายในประเทศ
จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน
ไม่เพียงแต่การเดินรถไฟเท่านั้น
แต่รวมถึงแผนกไปรษณีย์/บริษัทโทรเลขด้วย
ในยุค 1840
อังกฤษมองการณ์ไกลได้ดีกว่าคนอเมริกัน
รถไฟสาย
Great Western Railway
ได้สร้างมาตรฐานเวลาตามเวลาท้องถิ่น
อิง
Greenwich Meridian ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอดูดาว
Royal Royal Observatory
ทุก ๆ วันสถานีรถไฟตามเส้นทาง
ของ Great Western Railway
จะรับสัญญาณบอกเวลา
ที่โทรเลขมาจาก Greenwich
โดยมีนักดาราศาสตร์/ช่างนาฬิกาประจำสถานี
ตั้งค่าหรือปรับนาฬิกาตามเวลา
และตามหลักวิชาการที่เรียนรู้มา
ในปี 1870
Charles F. Dowd
อาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัย Temple Grove Ladies Seminary
ได้ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาควรทำตามอังกฤษ
เพื่อความเหมาะสมและเสนอให้แบ่ง
ภูมิภาคประเทศออกเป็น 4 เขตเวลา
โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เส้น
Washington meridian
นี่เป็นครั้งแรกที่มีคนเสนอเรื่อง
เขตเวลาของหลายรัฐในประเทศ
แต่คำแนะนำของ Charles F. Dowd
ได้รับการเพิกเฉยเป็นจากคนส่วนใหญ่
แม้แต่ผู้บริหารทางรถไฟที่โด่งดังคนหนึ่ง
หนึ่งใน
Big Four (Central Pacific Railroad)
ที่ยังยืนยันว่านี่คือ ระบบเวลาท้องถิ่น
ที่มีอายุยืนยาวมาหลายทศวรรษแล้ว
และมีการยึดถือต่อต่อกันมานานแล้ว
เพราะมีความสัมพันธ์กับวรรณคดี
มารยาทสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ของชาวบ้านอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแดงแจ๋
นี่คือ พลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน
[ทางรถไฟ] เกินกว่าจะเปลี่ยนแปลง
ในยุคนั้น เจ้าพ่อ Tycoon
ที่ร่ำรวยในสหรัฐอเมริกา
คือ เจ้าของธุรกิจรถไฟโดยสาร
ซึ่งเป็นธุรกิจผูกขาดระดับชาติ
แบบคนรวยเสียงดัง พูดแล้วมักมีคนเชื่อ
รวยขนาดสร้างมหาวิทยาลัยระดับโลก
✈︎
✈︎
ในปี 1876
Sir Stanford Fleming หัวหน้าวิศวกรรถไฟ
Canadian Pacific Railway
คือ คนแรกที่เสนอเวลามาตรฐาน
อ้างอิงเวลาที่สอดคล้องกันทั่วโลก
โดยให้ใช้เส้นเมริเดียน Greenwich
แทนที่เส้นเมริเดียน Washington
ทำให้รัฐบาลอังกฤษยินดีอย่างยิ่ง
กับข้อเสนอนี้พร้อมกับรีบส่งบันทึก
เรื่องเวลาของ Sir Stanford Fleming
ไปยังประเทศต่าง ๆ ถึง 18 ประเทศ
และส่งไปยังหน่วยงานวิทยาศาสตร์
ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในอังกฤษ
เวลาสากลจะเริ่มเป็นเรื่องที่เหมาะสม
กับองค์กรและหน่วยงานอื่น ๆ เช่นกัน
แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกคน/ทุกชาติ
ที่มีความสุขในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ
เรื่องการเลือกสถานที่ตั้งที่ Greenwich
เพราะเกี่ยวกับศักดิ์ศรีของแต่ละประเทศด้วย
หลายประเทศต่างมีหอดูดาวประจำเมือง
ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการเทียบเวลา
มาตรฐานของประเทศตนเอง
และต่างมีนักดาราศาสตร์/คนทำงาน
เพื่อคำนวณเวลาที่เที่ยงตรงของชาติตนเอง
ศาสตราจารย์
Charles Piazzi Smyth
ด้านดาราศาสตร์
Astronomer Royal for Scotland
ต้องการคำตอบเพื่อทราบว่า
“ ทำไม ไม่ใช้เส้นเมริเดียน
ที่สำคัญและรู้จักกันทั่วไป
ทำไม ไม่ใช้เส้นเมริเดียน
ที่
Great Pyramid of Giza ใน Egypt ”
เรื่องนี้ ก็มีคนอื่น ๆ ที่เปล่งเสียงไม่พอใจเช่นกัน
นักดาราศาสตร์ใน Bolgna
ต้องการให้ใช้เส้นเมริเดียน
ณ จุดมหาวิหารสองศาสดา Jerusalem
นักภูมิศาสตร์ใน Geneva
ต้องการให้เส้นเมริเดียนหลัก
คิอ เวลาเที่ยงวันที่ช่องแคบ
Bering Strait
ที่แบ่งแยกรัสเซีย สหรัฐอเมริกา ออกจากกัน
ในปี 1881
มีการประชุมนานาชาติที่ Venice
International Meridian Conference
เพื่อตัดสินใจและมีมติในประเด็นเรื่อง Meridian
นักดาราศาสตร์ได้เสนอให้
มีการพิจารณาเพิ่มเติมก่อนตัดสินว่า
เส้น Meridian ที่สำคัญที่สุด
จะต้องใช้เส้นที่คนใช้งานกันมากที่สุด
และสำคัญมากที่สุดสำหรับการกำหนดเวลา
หลักเกณฑ์พื้นฐานของเรื่องนี้
จึงมีการนำเสนอและพิจารณา
เสนอชื่อจุดต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น
Azores Tenerife Temple of Jerusalem และ The Giza Pyramid
ในที่สุดเหลือเพียงเส้นเมริเดียนของ
Paris Berlin Greenwich และ Washington
ซึ่งมีหอดูดาว/หอสังเกตการณ์เวลา
ที่เหมาะสมมากกว่าบางแห่งที่เสมอมา
เพราะที่แห่งนี้มีนักดาราศาสตร์/คนทำงาน
ในการปรับแต่งเวลาให้เที่ยงตรงมากที่สุด
หลังจากการประชุมหลายต่อหลายครั้ง
และผ่านการโต้วาที/ใช้วาทะกรรมที่ยาวนาน
ที่ประชุมจึงได้มีมติและตัดสินใจกันว่า
Greenwich meridian เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
เพราะเกือบ 3 ใน 4 ของนักเดินเรือ
ใช้เส้นเมริเดียน Greenwich
ทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งหอดูดาว
ที่มีมาตรฐานมากที่สุดแห่งหนึ่ง
ในการคำนวณระยะทาง พิกัด
และเวลาบนท้องทะเลไดัอย่างดี
✈︎
✈︎
3.
✈︎
จุดระบุตำแหน่ง Paris Meridian ช่วงปี 1890
© Morphart Creation/Shutterstock.com
✈︎
แต่มีผู้ร่วมประชุมบางคนไม่เห็นด้วย
ฝรั่งเศสเสนอให้ใช้เส้น
Paris Meridian
โดยอ้างเหตุผลว่า
เส้น Greenwich meridian ไม่เป็นกลาง
เพราะอังกฤษใช้ระบบชั่งตวงวัดแบบอังกฤษ
ไม่ได้ใช้ระบบเมตริกที่ฝรั่งเศสคิดขึ้นมา
แต่ตัวแทนที่ประชุมจากอังกฤษ
และสหรัฐอเมริกา ต่างก็คัดค้านว่า
ระบบชั่งตวงวัดเมตริก ก็ไม่เป็นกลาง
เช่นกัน เพราะคิดโดยฝรั่งเศส
ในที่สุดตัวแทน ฝรั่งเศส บราซิล
ต่างงดออกเสียงในที่ประชุม
มีแต่ ซานโดมิงโก ที่ลงคะแนนเสียง
คัดค้านในที่ประชุมครั้งนั้น
และแล้วมติในที่ประชุมต่างสนับสนุน Greenwich meridain
ในปี 1884
เส้นเมริเดียนที่ผ่านการสังเกตและกำหนดเวลา
โดยหอดูดาว Royal Observatory
ได้รับการยอมรับ ให้เป็นเส้นอ้างอิงหลัก
และเป็นเส้น
Prime Meridian
ฝรั่งเศสไม่ใช่ประเทศเดียวที่คัดค้านเรื่องนี้
โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ กรีซ ตุรกี รัสเซีย
ไอร์แลนด์ และประเทศส่วนใหญ่ใน
อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ยกเว้นชิลี
ต่างปฏิเสธเส้นเมริเดืยน Greenwich
✈︎
✈︎
✈︎
เส้นระบุตำแหน่ง Prime meridian
ที่ Royal Observatory, Greenwich
✈︎
✈︎
✈︎
ในเดือนธันวาคม 1891
E. Pasquier ได้เขียนใน Ciel et Terre
เรียกร้องให้ทุกประเทศสงบ/มีสติกันหน่อย
(ถ้าภาษาวัยรุ่น คือ วางถุงกาวลงก่อน)
การยึดมั่นถือมั่นเป็นเอกลักษณ์
ของประเทศที่อารยธรรมสูง
ทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก
ในเรื่องเส้น Meridian ครั้งนี้
ได้โปรดวางอัตตาในใจแต่ละคนลงบ้าง
และให้ใช้ความมุ่งมั่น(ละทิฐิมานะ)ทั้งหมด
ไปในเรื่องเวลามาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน
ให้ใช้แบบง่ายง่ายมีเหตุมีผลและปฏิบัติได้จริง
ในขณะที่ฝรั่งเศสยึดติดกับ Paris meridian
แต่แล้วต้องยุติลงด้วยกฎหมายของรัฐ
ในปี 1896
หอการค้าฝรั่งเศส
Chamber of Deputies
ได้เสนอให้ใช้เวลามาตรฐานอ้างอิง
Greenwich Mean Time
เป็นเวลามาตรฐานอ้างอิงในฝรั่งเศส
Paris Mean Time จะเร็วกว่าอังกฤษ 9 นาที 21 วินาที
เพราะ Paris Meridian ตั้งอยู่ห่าง 2 องศา
ราว 20 นาทีจากทางตะวันออก
ของ Greenwich Meridian
ในปี 1898 กฎหมายที่เสนอโดยหอการค้า
ได้เสนอให้กับวุฒิสมาชิกซึ่งก็ผ่านการพิจารณา
และได้การรับรองจากคณะกรรมาธิการ
แต่กฎหมายฉบับนี่ถูกดองไว้นานถึง 12 ปี
แม้ว่าคณะรัฐมนตรีกระทรวพาณิชย์
อุตสาหกรรม ไปรษณีย์และโทรเลข
โยธาธิการ จะยอมรับกฎหมายนี้
แต่ก็ถูกคัดค้านไม่เห็นด้วยอย่างแรงจาก
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐนาวี
ในปี 1911 จึงต้องออกเป็นกฎหมาย
เส้นเมริเดียนประวัติศาสตร์ Paris Meridian
ที่ครั้งหนึ่งเคยช่วยในการคำนวณเส้นรอบวง
ของโลกก็ได้สูญเสียสถานะความยิ่งใหญ่ไป
✈︎
✈︎
ทุกวันนี้เส้น Paris Meridian ที่มองไม่เห็น
อยู่ทางด้านขวาของหอดูดาว
Paris Observatory
จะทำเครื่องหมายไว้บนถนนในกรุงปารีส
ด้วยเหรียญทองแดง 135 เหรียญ
วางลงบนบล็อกหินกรวด
เหรียญจะวางกระจายไป
ในระยะทาง 9 กิโลเมตร
ระหว่างเขตทางเหนือ
และทางใต้ของกรุงปารีส
เหรียญแต่ละอันมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร
และทำเครื่องหมายด้วยชื่อ ARAGO
ชี้ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ N กับ S
ในปี 1994
มีงานศิลปะและอนุสรณ์
ที่สร้างโดยศิลปินชาวดัตช์
แสดงความนับถือต่อ
François Arago
นักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 19
ที่คำนวณส่วนโค้งของเส้น
Paris meridian ด้วยความแม่นยำสูงมาก
ระหว่างหมู่เกาะ
Shetland กับหมู่เกาะ
Balearic
✈︎
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2NtW364
https://bit.ly/2VhAt8T
https://bit.ly/3eylCyG
✈︎
4.
✈︎
เส้นเมริเดียนอังกฤษ กับ ฝรั่งเศส
✈︎
5.
✈︎
เหรียญ
https://bit.ly/3eylCyG
✈︎
6.
✈︎
The Paris Meridian วางข้ามทุ่งหญ้า
ด้านนอกหอดูดาว © diamond geezer/Flickr
✈︎
ที่มาของเส้นเมริเดียน(meridian) ที่ Greenwich
✈︎
ตารางเวลาเดินรถไฟของแต่ละรัฐใน USA
✈︎
ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19
การเดินทางโดยรถไฟในแต่ละประเทศ
นำมาสู่การปฏิวัติด้านการขนส่งและเดินทาง
แต่ก็เกิดปัญหาที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อน
ย้อนกลับไปในอดีต
ในตอนนั้นไม่มีเวลามาตรฐาน
ใชัอ้างอิงของแต่ละประเทศ
แต่ละประเทศต่างอ้างอิงมาตรฐานของตนเอง
และแต่ละเมืองในสหรัฐอเมริกา
ต่างมีนาฬิกาเมือง/เวลาของตนเอง
แตกต่างจากเมืองเพื่อนบ้าน/บ้านพี่เมืองน้อง
บางครั้งเวลาต่างกันหลายชั่วโมง
เรื่องนี้สร้างความไม่สะดวกอย่างมาก
ให้กับผู้เดินทางด้วยรถไฟ
เพราะไม่สามารถบอกได้ว่า
รถไฟจะมาถึงสถานีเวลาใด
และจะเวลาเดินทางนานเท่าไหร่
เพราะเวลาขาเข้าและขาออกของรถไฟ
จะถูกตีพิมพ์ในเวลาท้องถิ่นของแต่ละเมือง
ในปี 1857 เพื่อประโยชน์ของผู้โดยสาร
วารสารแนะนำการท่องเที่ยวทางรถไฟเล่มหนึ่ง
จึงได้ตีพิมพ์เวลาท้องถิ่นในเมืองอเมริกัน
ประมาณหนึ่งร้อยแห่ง
โดยเปรียบเทียบกับเที่ยงวันในวอชิงตัน
และจะเห็นว่าปัญหานี้ร้ายแรงอย่างใด
✈︎
2.
✈︎
หอดูดาว Greenwich Observatory, London
© Leonid Andronov/Shutterstock.com
✈︎
เรื่องเวลามาตรฐานที่ใช้กันภายในประเทศ
จึงกลายเป็นเรื่องสำคัญและเร่งด่วน
ไม่เพียงแต่การเดินรถไฟเท่านั้น
แต่รวมถึงแผนกไปรษณีย์/บริษัทโทรเลขด้วย
ในยุค 1840
อังกฤษมองการณ์ไกลได้ดีกว่าคนอเมริกัน
รถไฟสาย Great Western Railway
ได้สร้างมาตรฐานเวลาตามเวลาท้องถิ่น
อิง Greenwich Meridian ซึ่งเป็นที่ตั้งของหอดูดาว
Royal Royal Observatory
ทุก ๆ วันสถานีรถไฟตามเส้นทาง
ของ Great Western Railway
จะรับสัญญาณบอกเวลา
ที่โทรเลขมาจาก Greenwich
โดยมีนักดาราศาสตร์/ช่างนาฬิกาประจำสถานี
ตั้งค่าหรือปรับนาฬิกาตามเวลา
และตามหลักวิชาการที่เรียนรู้มา
ในปี 1870
Charles F. Dowd
อาจารย์ใหญ่ของวิทยาลัย Temple Grove Ladies Seminary
ได้ชี้ให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกาควรทำตามอังกฤษ
เพื่อความเหมาะสมและเสนอให้แบ่ง
ภูมิภาคประเทศออกเป็น 4 เขตเวลา
โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เส้น
Washington meridian
นี่เป็นครั้งแรกที่มีคนเสนอเรื่อง
เขตเวลาของหลายรัฐในประเทศ
แต่คำแนะนำของ Charles F. Dowd
ได้รับการเพิกเฉยเป็นจากคนส่วนใหญ่
แม้แต่ผู้บริหารทางรถไฟที่โด่งดังคนหนึ่ง
หนึ่งใน Big Four (Central Pacific Railroad)
ที่ยังยืนยันว่านี่คือ ระบบเวลาท้องถิ่น
ที่มีอายุยืนยาวมาหลายทศวรรษแล้ว
และมีการยึดถือต่อต่อกันมานานแล้ว
เพราะมีความสัมพันธ์กับวรรณคดี
มารยาทสังคม ขนบธรรมเนียมประเพณี
ของชาวบ้านอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแดงแจ๋
นี่คือ พลังอำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน
[ทางรถไฟ] เกินกว่าจะเปลี่ยนแปลง
ในยุคนั้น เจ้าพ่อ Tycoon
ที่ร่ำรวยในสหรัฐอเมริกา
คือ เจ้าของธุรกิจรถไฟโดยสาร
ซึ่งเป็นธุรกิจผูกขาดระดับชาติ
แบบคนรวยเสียงดัง พูดแล้วมักมีคนเชื่อ
รวยขนาดสร้างมหาวิทยาลัยระดับโลก
✈︎
✈︎
✈︎
เรื่องจริงของมหาวิทยาลัย Stanford
✈︎
✈︎
✈︎
ในปี 1876
Sir Stanford Fleming หัวหน้าวิศวกรรถไฟ
Canadian Pacific Railway
คือ คนแรกที่เสนอเวลามาตรฐาน
อ้างอิงเวลาที่สอดคล้องกันทั่วโลก
โดยให้ใช้เส้นเมริเดียน Greenwich
แทนที่เส้นเมริเดียน Washington
ทำให้รัฐบาลอังกฤษยินดีอย่างยิ่ง
กับข้อเสนอนี้พร้อมกับรีบส่งบันทึก
เรื่องเวลาของ Sir Stanford Fleming
ไปยังประเทศต่าง ๆ ถึง 18 ประเทศ
และส่งไปยังหน่วยงานวิทยาศาสตร์
ตามสถานที่ต่าง ๆ ภายในอังกฤษ
เวลาสากลจะเริ่มเป็นเรื่องที่เหมาะสม
กับองค์กรและหน่วยงานอื่น ๆ เช่นกัน
แต่ก็ไม่ใช่สำหรับทุกคน/ทุกชาติ
ที่มีความสุขในเรื่องนี้ โดยเฉพาะเกี่ยวกับ
เรื่องการเลือกสถานที่ตั้งที่ Greenwich
เพราะเกี่ยวกับศักดิ์ศรีของแต่ละประเทศด้วย
หลายประเทศต่างมีหอดูดาวประจำเมือง
ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการเทียบเวลา
มาตรฐานของประเทศตนเอง
และต่างมีนักดาราศาสตร์/คนทำงาน
เพื่อคำนวณเวลาที่เที่ยงตรงของชาติตนเอง
ศาสตราจารย์ Charles Piazzi Smyth
ด้านดาราศาสตร์ Astronomer Royal for Scotland
ต้องการคำตอบเพื่อทราบว่า
“ ทำไม ไม่ใช้เส้นเมริเดียน
ที่สำคัญและรู้จักกันทั่วไป
ทำไม ไม่ใช้เส้นเมริเดียน
ที่ Great Pyramid of Giza ใน Egypt ”
เรื่องนี้ ก็มีคนอื่น ๆ ที่เปล่งเสียงไม่พอใจเช่นกัน
นักดาราศาสตร์ใน Bolgna
ต้องการให้ใช้เส้นเมริเดียน
ณ จุดมหาวิหารสองศาสดา Jerusalem
นักภูมิศาสตร์ใน Geneva
ต้องการให้เส้นเมริเดียนหลัก
คิอ เวลาเที่ยงวันที่ช่องแคบ Bering Strait
ที่แบ่งแยกรัสเซีย สหรัฐอเมริกา ออกจากกัน
ในปี 1881
มีการประชุมนานาชาติที่ Venice
International Meridian Conference
เพื่อตัดสินใจและมีมติในประเด็นเรื่อง Meridian
นักดาราศาสตร์ได้เสนอให้
มีการพิจารณาเพิ่มเติมก่อนตัดสินว่า
เส้น Meridian ที่สำคัญที่สุด
จะต้องใช้เส้นที่คนใช้งานกันมากที่สุด
และสำคัญมากที่สุดสำหรับการกำหนดเวลา
หลักเกณฑ์พื้นฐานของเรื่องนี้
จึงมีการนำเสนอและพิจารณา
เสนอชื่อจุดต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น
Azores Tenerife Temple of Jerusalem และ The Giza Pyramid
ในที่สุดเหลือเพียงเส้นเมริเดียนของ
Paris Berlin Greenwich และ Washington
ซึ่งมีหอดูดาว/หอสังเกตการณ์เวลา
ที่เหมาะสมมากกว่าบางแห่งที่เสมอมา
เพราะที่แห่งนี้มีนักดาราศาสตร์/คนทำงาน
ในการปรับแต่งเวลาให้เที่ยงตรงมากที่สุด
หลังจากการประชุมหลายต่อหลายครั้ง
และผ่านการโต้วาที/ใช้วาทะกรรมที่ยาวนาน
ที่ประชุมจึงได้มีมติและตัดสินใจกันว่า
Greenwich meridian เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด
เพราะเกือบ 3 ใน 4 ของนักเดินเรือ
ใช้เส้นเมริเดียน Greenwich
ทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งหอดูดาว
ที่มีมาตรฐานมากที่สุดแห่งหนึ่ง
ในการคำนวณระยะทาง พิกัด
และเวลาบนท้องทะเลไดัอย่างดี
✈︎
3.
✈︎
จุดระบุตำแหน่ง Paris Meridian ช่วงปี 1890
© Morphart Creation/Shutterstock.com
✈︎
แต่มีผู้ร่วมประชุมบางคนไม่เห็นด้วย
ฝรั่งเศสเสนอให้ใช้เส้น
Paris Meridian
โดยอ้างเหตุผลว่า
เส้น Greenwich meridian ไม่เป็นกลาง
เพราะอังกฤษใช้ระบบชั่งตวงวัดแบบอังกฤษ
ไม่ได้ใช้ระบบเมตริกที่ฝรั่งเศสคิดขึ้นมา
แต่ตัวแทนที่ประชุมจากอังกฤษ
และสหรัฐอเมริกา ต่างก็คัดค้านว่า
ระบบชั่งตวงวัดเมตริก ก็ไม่เป็นกลาง
เช่นกัน เพราะคิดโดยฝรั่งเศส
ในที่สุดตัวแทน ฝรั่งเศส บราซิล
ต่างงดออกเสียงในที่ประชุม
มีแต่ ซานโดมิงโก ที่ลงคะแนนเสียง
คัดค้านในที่ประชุมครั้งนั้น
และแล้วมติในที่ประชุมต่างสนับสนุน Greenwich meridain
ในปี 1884
เส้นเมริเดียนที่ผ่านการสังเกตและกำหนดเวลา
โดยหอดูดาว Royal Observatory
ได้รับการยอมรับ ให้เป็นเส้นอ้างอิงหลัก
และเป็นเส้น Prime Meridian
ฝรั่งเศสไม่ใช่ประเทศเดียวที่คัดค้านเรื่องนี้
โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ กรีซ ตุรกี รัสเซีย
ไอร์แลนด์ และประเทศส่วนใหญ่ใน
อเมริกากลางและอเมริกาใต้ ยกเว้นชิลี
ต่างปฏิเสธเส้นเมริเดืยน Greenwich
✈︎
✈︎
เส้นระบุตำแหน่ง Prime meridian
ที่ Royal Observatory, Greenwich
✈︎
✈︎
ในเดือนธันวาคม 1891
E. Pasquier ได้เขียนใน Ciel et Terre
เรียกร้องให้ทุกประเทศสงบ/มีสติกันหน่อย
(ถ้าภาษาวัยรุ่น คือ วางถุงกาวลงก่อน)
การยึดมั่นถือมั่นเป็นเอกลักษณ์
ของประเทศที่อารยธรรมสูง
ทำให้เกิดการแบ่งพรรคแบ่งพวก
ในเรื่องเส้น Meridian ครั้งนี้
ได้โปรดวางอัตตาในใจแต่ละคนลงบ้าง
และให้ใช้ความมุ่งมั่น(ละทิฐิมานะ)ทั้งหมด
ไปในเรื่องเวลามาตรฐานที่ใช้ร่วมกัน
ให้ใช้แบบง่ายง่ายมีเหตุมีผลและปฏิบัติได้จริง
ในขณะที่ฝรั่งเศสยึดติดกับ Paris meridian
แต่แล้วต้องยุติลงด้วยกฎหมายของรัฐ
ในปี 1896
หอการค้าฝรั่งเศส Chamber of Deputies
ได้เสนอให้ใช้เวลามาตรฐานอ้างอิง
Greenwich Mean Time
เป็นเวลามาตรฐานอ้างอิงในฝรั่งเศส
Paris Mean Time จะเร็วกว่าอังกฤษ 9 นาที 21 วินาที
เพราะ Paris Meridian ตั้งอยู่ห่าง 2 องศา
ราว 20 นาทีจากทางตะวันออก
ของ Greenwich Meridian
ในปี 1898 กฎหมายที่เสนอโดยหอการค้า
ได้เสนอให้กับวุฒิสมาชิกซึ่งก็ผ่านการพิจารณา
และได้การรับรองจากคณะกรรมาธิการ
แต่กฎหมายฉบับนี่ถูกดองไว้นานถึง 12 ปี
แม้ว่าคณะรัฐมนตรีกระทรวพาณิชย์
อุตสาหกรรม ไปรษณีย์และโทรเลข
โยธาธิการ จะยอมรับกฎหมายนี้
แต่ก็ถูกคัดค้านไม่เห็นด้วยอย่างแรงจาก
รัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐนาวี
ในปี 1911 จึงต้องออกเป็นกฎหมาย
เส้นเมริเดียนประวัติศาสตร์ Paris Meridian
ที่ครั้งหนึ่งเคยช่วยในการคำนวณเส้นรอบวง
ของโลกก็ได้สูญเสียสถานะความยิ่งใหญ่ไป
✈︎
✈︎
ทุกวันนี้เส้น Paris Meridian ที่มองไม่เห็น
อยู่ทางด้านขวาของหอดูดาว Paris Observatory
จะทำเครื่องหมายไว้บนถนนในกรุงปารีส
ด้วยเหรียญทองแดง 135 เหรียญ
วางลงบนบล็อกหินกรวด
เหรียญจะวางกระจายไป
ในระยะทาง 9 กิโลเมตร
ระหว่างเขตทางเหนือ
และทางใต้ของกรุงปารีส
เหรียญแต่ละอันมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 12 เซนติเมตร
และทำเครื่องหมายด้วยชื่อ ARAGO
ชี้ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ N กับ S
ในปี 1994
มีงานศิลปะและอนุสรณ์
ที่สร้างโดยศิลปินชาวดัตช์
แสดงความนับถือต่อ
François Arago
นักดาราศาสตร์ในศตวรรษที่ 19
ที่คำนวณส่วนโค้งของเส้น
Paris meridian ด้วยความแม่นยำสูงมาก
ระหว่างหมู่เกาะ Shetland กับหมู่เกาะ Balearic
✈︎
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/2NtW364
https://bit.ly/2VhAt8T
https://bit.ly/3eylCyG
4.
✈︎
เส้นเมริเดียนอังกฤษ กับ ฝรั่งเศส
✈︎
5.
✈︎
เหรียญ https://bit.ly/3eylCyG
✈︎
6.
✈︎
The Paris Meridian วางข้ามทุ่งหญ้า
ด้านนอกหอดูดาว © diamond geezer/Flickr
✈︎