[บทความนี้เขียนตั้งแต่ปี 2017 ตอนที่ได้ชม Call Me by Your Name เข้าฉายในโรงภาพยนตร์บ้านเราเป็นครั้งแรก แต่เราขอเอากลับมาลงอีกครั้ง ในโอกาสที่ Call Me by Your Name ได้กลับมาเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือนนี้ ในวาระเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ #PrideMonth]
.
จริงอยู่ว่าพล็อตของ Call Me by Your Name นั้นออกจะง่ายและเสี่ยงต่อการกลายเป็นหนังเกย์ง่อยๆ มาก แต่พอมันอยู่ในมือผู้กำกับเก๋ๆ เปี่ยมรสนิยมอย่าง Luca Guadagnino มันก็กลายเป็นหนังท่วมท้นอารมณ์และโคตรฉลาดไปเสียอย่างนั้น กับเรื่องราวฤดูร้อนหนึ่งในอิตาลีของ Elio เด็กหนุ่มวัย 17 ผู้ตกหลุมรักและได้สานสัมพันธ์กับ Oliver นักวิชาการหนุ่มหล่อ ซึ่งเดินทางมาจากอเมริกาเพื่อมาเป็นผู้ช่วยของพ่อของ Elio
.
ยอมรับตามตรงว่า ช่วงเวลาครึ่งแรกของหนัง เราเผลอไผลไปจดจ่ออยู่กับการสปาร์คกันของตัวละคร ซึ่งกว่าจะมาถึงก็เนิ่นนานจนน่าหงุดหงิด แต่กลายเป็นว่า พอหนังจบลง เรากลับชอบช่วงเวลาที่ “อ่านยาก” ในตอนต้นนี้มาก ในความเงียบงัน เฉยชา ห่างเหิน น่าอึดอัด หากมองให้ดี มันกลับเต็มไปด้วยแรงปรารถนาอันยากจะต้านทาน และต่างฝ่ายต่างต้องทรมานกับความลุ่มหลงในกันและกันมากแค่ไหน
.
Call Me by Your Name ทำให้เราย้อนกลับไปสัมผัสความรู้สึกอันพลุ่งพล่านของตัวเองในวัยเยาว์อีกครั้ง ขณะเดียวกันมันก็ทำให้เราตระหนักได้ว่า เราไม่อาจจะกลับไปรักใครได้เหมือน “รักแรก” ได้อีกแล้ว ความรู้สึกดีอันแผ่ซ่านไปทุกอณูเมื่อได้รับรักตอบนั้นดีแค่ไหน แล้วมันกลับยิ่งเจ็บเมื่อความสัมพันธ์นั้นต้องจบลง และเมื่อความเจ็บปวดมันสอนให้เราแข็งแกร่งขึ้น เราก็ไม่มีทางกลับไปเป็นคนเดิมที่รักใครได้เต็มหัวใจอีก เหมือนมันจะเป็นความทรงจำที่เลวร้าย แต่สิ่งที่พ่อของ Elio พูดก็กระชากเรากลับมามองความทรงจำนั้นในอีกรูปแบบนึง ... ความรักมันช่างเจ็บปวดและงดงาม แต่เราโชคดีแค่ไหนที่เคยได้สัมผัสครอบครองมัน
.
เช่นเดียวกับการ “ค้นพบ” และ “ตระหนักรู้” ในตนเองของชาว LGBT ทั้งหลาย การค้นพบและยอมรับในตัวเองของ Elio นั้นช่างละม้ายคล้ายกับเรื่องของเราหรือคนใกล้ตัวเหลือเกิน แต่นี่ไม่ใช่ตัวละครในซีรี่ส์วายชวนจิ้นที่แสนซ้ำซาก ความเป็นมนุษย์ของ Elio นั้นช่างมีมิติ ซับซ้อน และน่ามหัศจรรย์
.
Timothée Chalamet นักแสดงหนุ่มวัย 22 มารับบทเป็น Elio ที่ไม่สื่อสารความคิดภายในใจใดๆ ออกมาเป็นคำพูดได้อย่างลึกซึ้ง ความสุข ความเศร้า ความอัดอั้น และน้ำตาที่ไหลออกมานั้น เราเข้าใจ... เข้าใจโดยที่เค้าไม่ต้องเปล่งเสียงว่าเจ็บแค่ไหน Armie Hammer กับบท Oliver ก็ได้ฉายเสน่ห์ออกมาในทุกการเคลื่อนไหว มากไปกว่านั้นเค้าทำให้เราได้เห็นด้านอันอ่อนไหวของ Oliver ด้วย และนั่นแหละที่ทำให้เราเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างคนทั้งคู่มันคือความรัก ความชื่นชม หาใช่ความลุ่มหลง หรือแค่ความใคร่
.
งานภาพของ สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพชาวไทยก็ดีงามสมคำร่ำลือ เช่นเดียวกับเพลงประกอบของ Call Me by Your Name ที่ Luca Guadagnino ผู้กำกับเป็นคนเลือกเองทุกแทร็ก ซึ่งกลายเป็นอัลบั้มโปรดที่เราเปิดฟังวนๆ เวลาเขียนงานตลอดหลายวันที่ผ่านมา
.
ว่ากันว่านี่คือหนังปิดไตรภาคแรงปรารถนาของ Luca Guadagnino อันประกอบไปด้วย I Am Love (2009) and A Bigger Splash (2015) และ Call Me by Your Name (2017) ยิ่งทำให้เราอยากไปตามล่าดู I Am Love ที่ยังขาดอยู่ ... น่าสนใจไปว่านั้น Luca Guadagnino ให้สัมภาษณ์ในเทศกาลหนัง BFI London Film Festival ว่าเค้ามีแผนจะทำภาคต่อของ Call Me by Your Name ในปี 2020 เอ๊า โปรดติดตามกันต่อไป!
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่
เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
[CR] [Review] Call Me by Your Name (2017)
[บทความนี้เขียนตั้งแต่ปี 2017 ตอนที่ได้ชม Call Me by Your Name เข้าฉายในโรงภาพยนตร์บ้านเราเป็นครั้งแรก แต่เราขอเอากลับมาลงอีกครั้ง ในโอกาสที่ Call Me by Your Name ได้กลับมาเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือนนี้ ในวาระเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ #PrideMonth]
.
จริงอยู่ว่าพล็อตของ Call Me by Your Name นั้นออกจะง่ายและเสี่ยงต่อการกลายเป็นหนังเกย์ง่อยๆ มาก แต่พอมันอยู่ในมือผู้กำกับเก๋ๆ เปี่ยมรสนิยมอย่าง Luca Guadagnino มันก็กลายเป็นหนังท่วมท้นอารมณ์และโคตรฉลาดไปเสียอย่างนั้น กับเรื่องราวฤดูร้อนหนึ่งในอิตาลีของ Elio เด็กหนุ่มวัย 17 ผู้ตกหลุมรักและได้สานสัมพันธ์กับ Oliver นักวิชาการหนุ่มหล่อ ซึ่งเดินทางมาจากอเมริกาเพื่อมาเป็นผู้ช่วยของพ่อของ Elio
.
ยอมรับตามตรงว่า ช่วงเวลาครึ่งแรกของหนัง เราเผลอไผลไปจดจ่ออยู่กับการสปาร์คกันของตัวละคร ซึ่งกว่าจะมาถึงก็เนิ่นนานจนน่าหงุดหงิด แต่กลายเป็นว่า พอหนังจบลง เรากลับชอบช่วงเวลาที่ “อ่านยาก” ในตอนต้นนี้มาก ในความเงียบงัน เฉยชา ห่างเหิน น่าอึดอัด หากมองให้ดี มันกลับเต็มไปด้วยแรงปรารถนาอันยากจะต้านทาน และต่างฝ่ายต่างต้องทรมานกับความลุ่มหลงในกันและกันมากแค่ไหน
.
Call Me by Your Name ทำให้เราย้อนกลับไปสัมผัสความรู้สึกอันพลุ่งพล่านของตัวเองในวัยเยาว์อีกครั้ง ขณะเดียวกันมันก็ทำให้เราตระหนักได้ว่า เราไม่อาจจะกลับไปรักใครได้เหมือน “รักแรก” ได้อีกแล้ว ความรู้สึกดีอันแผ่ซ่านไปทุกอณูเมื่อได้รับรักตอบนั้นดีแค่ไหน แล้วมันกลับยิ่งเจ็บเมื่อความสัมพันธ์นั้นต้องจบลง และเมื่อความเจ็บปวดมันสอนให้เราแข็งแกร่งขึ้น เราก็ไม่มีทางกลับไปเป็นคนเดิมที่รักใครได้เต็มหัวใจอีก เหมือนมันจะเป็นความทรงจำที่เลวร้าย แต่สิ่งที่พ่อของ Elio พูดก็กระชากเรากลับมามองความทรงจำนั้นในอีกรูปแบบนึง ... ความรักมันช่างเจ็บปวดและงดงาม แต่เราโชคดีแค่ไหนที่เคยได้สัมผัสครอบครองมัน
.
เช่นเดียวกับการ “ค้นพบ” และ “ตระหนักรู้” ในตนเองของชาว LGBT ทั้งหลาย การค้นพบและยอมรับในตัวเองของ Elio นั้นช่างละม้ายคล้ายกับเรื่องของเราหรือคนใกล้ตัวเหลือเกิน แต่นี่ไม่ใช่ตัวละครในซีรี่ส์วายชวนจิ้นที่แสนซ้ำซาก ความเป็นมนุษย์ของ Elio นั้นช่างมีมิติ ซับซ้อน และน่ามหัศจรรย์
.
Timothée Chalamet นักแสดงหนุ่มวัย 22 มารับบทเป็น Elio ที่ไม่สื่อสารความคิดภายในใจใดๆ ออกมาเป็นคำพูดได้อย่างลึกซึ้ง ความสุข ความเศร้า ความอัดอั้น และน้ำตาที่ไหลออกมานั้น เราเข้าใจ... เข้าใจโดยที่เค้าไม่ต้องเปล่งเสียงว่าเจ็บแค่ไหน Armie Hammer กับบท Oliver ก็ได้ฉายเสน่ห์ออกมาในทุกการเคลื่อนไหว มากไปกว่านั้นเค้าทำให้เราได้เห็นด้านอันอ่อนไหวของ Oliver ด้วย และนั่นแหละที่ทำให้เราเชื่อว่า สิ่งที่เกิดขึ้นระหว่างคนทั้งคู่มันคือความรัก ความชื่นชม หาใช่ความลุ่มหลง หรือแค่ความใคร่
.
งานภาพของ สยมภู มุกดีพร้อม ผู้กำกับภาพชาวไทยก็ดีงามสมคำร่ำลือ เช่นเดียวกับเพลงประกอบของ Call Me by Your Name ที่ Luca Guadagnino ผู้กำกับเป็นคนเลือกเองทุกแทร็ก ซึ่งกลายเป็นอัลบั้มโปรดที่เราเปิดฟังวนๆ เวลาเขียนงานตลอดหลายวันที่ผ่านมา
.
ว่ากันว่านี่คือหนังปิดไตรภาคแรงปรารถนาของ Luca Guadagnino อันประกอบไปด้วย I Am Love (2009) and A Bigger Splash (2015) และ Call Me by Your Name (2017) ยิ่งทำให้เราอยากไปตามล่าดู I Am Love ที่ยังขาดอยู่ ... น่าสนใจไปว่านั้น Luca Guadagnino ให้สัมภาษณ์ในเทศกาลหนัง BFI London Film Festival ว่าเค้ามีแผนจะทำภาคต่อของ Call Me by Your Name ในปี 2020 เอ๊า โปรดติดตามกันต่อไป!
อ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ เพจ ชีวิตผมก็เหมือนหนัง
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้