ฝ่ายค้านเชิญสำนักงบฯให้ข้อมูล ร่างพรบ.
https://www.innnews.co.th/politics/news_705696/
ฝ่ายค้านเชิญสำนักงบฯให้ข้อมูล ร่างพรบ. ห่วงการบริหารเงินจาก 3 ส่วน "โอน-กู้-งบฯ64" อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่ตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ
นาย
สุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้เชิญสำนักงบประมาณ เข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในวันนี้ ว่า จุดสำคัญที่จะต้องสอบถามว่ารัฐบาลจะบริหารจัดการงบประมาณทั้ง 3 ส่วนอย่างไร ซึ่งประกอบไปด้วย พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 63 วงเงิน 88,000 ล้านบาท พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ และสุดท้ายคือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 64 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท
โดยเฉพาะการทำงบประมาณปี 64 ของรัฐบาล ที่พบว่าจัดทำงบเกิดขึ้นก่อนที่จะมีสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ โควิดก็ดีขึ้น แต่รัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนงบประมาณบ้างหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบมีการปรับเพียง 10,000 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นปัญหามาก เพราะสถานการณ์ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ทำไมยังคงมีการใช้คำของบประมาณแบบเดิม รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณในปี 2564 ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และไม่ตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของเงินกู้ที่ต้องตั้งคำถามว่าเหตุใดรัฐบาลจึงกู้ซ้ำกู้ซ้อน ทั้งปี 63 ปี 64 และใน พ.ร.ก. และที่สำคัญจะมีการควบคุมการทุจริตในการใช้งบประมาณอย่างไร ซึ่งล่าสุดพรรคฝ่ายค้านได้มีการเตรียมข้อมูลอภิปรายจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า 120 คน
พร้อมกันนี้ นาย
สุทิน กล่าวว่า จะมีการสอบถามเกี่ยวกับงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นด้วย เพราะขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องของงบประมาณ และการจัดการเลือกตั้ง โดยทราบว่าในสัปดาห์นี้มีสมาชิกพรรคฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งจะขอยื่นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อไหร่ เลือกระดับใด ที่ไหนอย่างไรก่อน รวมถึงงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นมีเพียงพอหรือไม่ หรือหากไม่มี ในงบประมาณปี 64 มีการตั้งงบไว้หรือไม่
สาทิตย์ชี้ 'บิ๊กป้อม' นั่งหัวหน้า พปชร. สะเทือน รบ.แน่นอน ชี้จากนี้จะมีขั้วการเมือง คสช.เพิ่ม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2239329
สาทิตย์ชี้ ‘บิ๊กป้อม’ นั่งหัวหน้า พปชร. สะเทือน รบ.แน่นอน ชี้จากนี้จะมีขั้วการเมือง คสช.เพิ่ม
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นาย
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถือเป็นการปรับดุลกำลังภายในของพรรคพลังประชารัฐ เมื่อมีปัญหาก็ต้องขยับกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อการเมือง เพราะพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคใหญ่ และเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งต้องดูต่อไปว่าการปรับครั้งนี้จะนำสู่การปรับ ครม.หรือไม่ หาก พล.อ.
ประวิตร จะขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค สื่อให้เห็นชัดเจนว่าอดีต คสช.ก้าวเข้าสู่การเมืองเต็มตัวแล้ว เพราะรับมาเป็นหัวหน้าพรรคเสียเอง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองอื่น รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ก็คือ ถ้ามีการปรับ ครม.ดุลกำลังในรัฐบาลจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าดุลเปลี่ยน พรรค พปชร.มีคนเยอะขึ้น พรรคภูมิใจไทยมีคนเยอะขึ้น
นาย
สาทิตย์กล่าวอีกว่า ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เองมีจำนวนสมาชิกเท่าเดิม รัฐบาลก็อาจจะมีพรรคเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่ม มีพรรคเล็กบางพรรคที่ประกาศตัวแล้วว่าจะยุบพรรคไปรวมกับพลังประชารัฐด้วย ทั้งหมดจะส่งผลทำให้เกิดการปรับ ครม.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแกนนำรัฐบาลจะไปคุยกัน ซึ่งหากปรับ ครม.ก็ต้องเกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยว่า สัดส่วนเก้าอี้รัฐมนตรีในพรรคร่วมด้วยกันยังคงเดิมอยู่หรือไม่ ส่วนการที่อดีต คสช.มาเล่นการเมืองโดยตรง ย่อมชัดเจนขึ้นว่า ขั้วอำนาจเดิมในทางการเมืองซึ่งมาจากการยึดอำนาจ พอเข้ามาสู่การทำการเมืองเต็มตัว จะยิ่งส่งผลให้เห็นขั้วการเมืองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เดิมมี 2 ขั้ว คือ ขั้วที่เอานายทักษิณ กับขั้วไม่เอานาย
ทักษิณ ก็จะเกิดขั้วใหม่ชัดเจน คือ พรรค พปชร.ขั้วอำนาจ คสช. โดยพรรคภูมิใจไทย กับประชาธิปัตย์ เป็นขั้วหนึ่ง, ส่วนของพรรคเพื่อไทยก็เป็นอีกขั้วหนึ่ง
ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองอื่นๆ ก็คือ เมื่อพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่มีอดีต คสช. การเปลี่ยนทิศทางด้านการเมือง การกำหนดเป้าหมายต่างๆ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร อาจเกิดคำถาม แสดงว่า คสช.เข้ามาเล่นเต็มตัวใช่หรือไม่ และคิดจะเล่นการเมืองอีกยาวใช่หรือไม่ ก็จะเป็นอีกขั้วอำนาจหนึ่งในทางการเมือง แต่ละพรรคก็ต้องเตรียมทิศทางการเมืองของพรรคตัวเอง ส่วนกรณีจะมีการดูด ส.ส.หรือไม่ดูด ซึ่งพรรคเล็กบางพรรคก็มีข่าวเรื่องยุบรวม ที่ผ่านมาก็เห็นชัดว่าสนับสนุน เพียงแต่ทำให้เห็นชัดขึ้นเท่านั้นว่าใครอยู่ฝ่ายไหน จะทำให้ขั้วทางการเมืองชัดเจนขึ้นเท่านั้น ส่วนถ้ามีการปรับ ครม.จะส่งผลต่ออายุขัยของรัฐบาลชุดนี้ทำให้ยาวขึ้น หรือว่าเตรียมพร้อมรับการเลือกตั้งใหม่เร็วขึ้นหรือไม่
“การเมืองไทยขณะนี้ อธิบายด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์เดิมยาก โดยเฉพาะหลังยุคโควิด เพราะจู่ๆ เราก็มีรัฐธรรมนูญที่สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องลงเลือกตั้งมาก่อนได้ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่การปรับ ครม.ทุกครั้งขึ้นอยู่กับว่าสามารถที่จะดุลกำลังของรัฐบาลได้หรือไม่ ถ้าในแง่ของเสถียรภาพของรัฐบาลมองว่าจะแน่นปึ้กกว่าเดิม เพราะตอนนี้เสียงของรัฐบาลมีถึง 260-270 เสียงแล้ว แต่การจะอยู่ได้ยาวนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการทำงานของรัฐบาลด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์โควิดซึ่งเป็นวิกฤต แต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ สามารถฝ่าวิกฤตมาได้ค่อนข้างดี เพราะในการบริหารสถานการณ์โควิดได้ปล่อยให้มืออาชีพคือ แพทย์ บุคลากรสาธารณสุขทำ ในแง่ผลกระทบก็ใช้วิธีการเยียวยา แต่การเยียวยามีผล 3 เดือน ถ้าเป็นยาก็ถือเป็นยาระงับชั่วคราว การปรับ ครม.ครั้งนี้ก็เพื่อรับมือสถานการณ์ของจริง ทั้ง 1.ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลบ 5, 2.วงเงินกู้สาธารณะเกินเพดาน 3.การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า 4.ผลกระทบของตลาดส่งออกทั้งหลาย เกิดรัฐบาลบริหารได้ไม่ดี ทีมเศรษฐกิจทำไม่ได้ ประชาชนไม่ตอบรับการทำงานของรัฐบาลก็อยู่ยาก” นาย
สาทิตย์กล่าว
นาย
สาทิตย์กล่าวอีกว่า ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ตนเองก็พูดกับพรรคไว้แล้วว่า ถึงเวลาต้องทบทวนตัวเอง ว่าในสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาเราสามารถทำได้ดีหรือไม่ ได้คะแนนเพิ่มขึ้นหรือไม่ คนยังคาใจหรือไม่ เช่น กรณีหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญเราร่วม ครม.ไปแล้วปีเศษ คนที่ทำงานแต่ละคนได้ทำตามนโยบายที่พรรคได้ประกาศเอาไว้หรือไม่ ถึงเวลาต้องตรวจการบ้านรัฐมนตรี ถ้าไม่ผ่าน กระแสการปรับ ครม.ในพรรคก็ต้องเกิดขึ้น
ส่วนจะรักษาเก้าอี้เดิมไว้ได้อีกหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะตอบ ขึ้นอยู่กับแกนนำรัฐบาลจะคุยกัน ซึ่งคาดว่ามี 2 สูตร คือ การมีพรรคเล็กเข้ามา หน้าที่จัดสรรให้ควรเป็นของพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันถือว่าเป็นพันธมิตรดั้งเดิม ที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลก็ควรจะได้เท่าเดิม แต่อีกสูตรหนึ่งบอกว่า ต้องนับไปตามจำนวนของคน ซึ่งทั้ง 2 สูตร ไม่ว่าจะออกทางไหน จะส่งผลกระทบแน่นอน และกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลด้วย เพราะหากเอาโควต้าของพลังประชารัฐ จะต้องเฉือนของกลุ่มไหน จะรักษาความเหนียวแน่นไว้ได้หรือไม่ หรือจะเกิดรอยร้าว ถ้าเกิดรอยร้าวทำอย่างไร ถ้าไม่เฉือนเนื้อตัวเองไปตัดของพรรคร่วม ก็ย่อมส่งผลกระทบอีก พรรคดังกล่าวจะอยู่ร่วมรัฐบาลหรือไม่ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ระหว่างการวิเคราะห์สถานการณ์ เตรียมพร้อมทั้งการยังอยู่ หรือเตรียมพร้อมเลือกตั้งปลายปี ก็อยู่ระหว่างการวิเคราะห์สถานการณ์ เตรียมพร้อมรับมือไว้ทุกทาง
JJNY : เชิญสำนักงบฯให้ข้อมูลร่างพรบ./สาทิตย์ชี้จากนี้มีขั้วการเมืองคสช.เพิ่ม/ปลดผอ.รพ.ขอนแก่นบานปลาย/ธ.โลกเตือนเกิดวิกฤต
https://www.innnews.co.th/politics/news_705696/
ฝ่ายค้านเชิญสำนักงบฯให้ข้อมูล ร่างพรบ. ห่วงการบริหารเงินจาก 3 ส่วน "โอน-กู้-งบฯ64" อาจไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ไม่ตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ
นายสุทิน คลังแสง ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน กล่าวถึงกรณีที่พรรคเพื่อไทยได้เชิญสำนักงบประมาณ เข้าให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ในวันนี้ ว่า จุดสำคัญที่จะต้องสอบถามว่ารัฐบาลจะบริหารจัดการงบประมาณทั้ง 3 ส่วนอย่างไร ซึ่งประกอบไปด้วย พ.ร.บ.โอนงบประมาณรายจ่ายปี 63 วงเงิน 88,000 ล้านบาท พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ และสุดท้ายคือ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณปี 64 วงเงิน 3.3 ล้านล้านบาท
โดยเฉพาะการทำงบประมาณปี 64 ของรัฐบาล ที่พบว่าจัดทำงบเกิดขึ้นก่อนที่จะมีสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งขณะนี้สถานการณ์ โควิดก็ดีขึ้น แต่รัฐบาลได้มีการปรับเปลี่ยนงบประมาณบ้างหรือไม่ เพราะเท่าที่ทราบมีการปรับเพียง 10,000 กว่าล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นปัญหามาก เพราะสถานการณ์ขณะนี้มีการเปลี่ยนแปลงไป แต่ทำไมยังคงมีการใช้คำของบประมาณแบบเดิม รวมถึงความกังวลเกี่ยวกับการจัดสรรงบประมาณในปี 2564 ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ และไม่ตอบโจทย์ต่อการแก้ไขปัญหาของประเทศ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องของเงินกู้ที่ต้องตั้งคำถามว่าเหตุใดรัฐบาลจึงกู้ซ้ำกู้ซ้อน ทั้งปี 63 ปี 64 และใน พ.ร.ก. และที่สำคัญจะมีการควบคุมการทุจริตในการใช้งบประมาณอย่างไร ซึ่งล่าสุดพรรคฝ่ายค้านได้มีการเตรียมข้อมูลอภิปรายจำนวนมาก รวมแล้วไม่น้อยกว่า 120 คน
พร้อมกันนี้ นายสุทิน กล่าวว่า จะมีการสอบถามเกี่ยวกับงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นด้วย เพราะขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนทั้งเรื่องของงบประมาณ และการจัดการเลือกตั้ง โดยทราบว่าในสัปดาห์นี้มีสมาชิกพรรคฝ่ายค้านจำนวนหนึ่งจะขอยื่นกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่า จะจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นเมื่อไหร่ เลือกระดับใด ที่ไหนอย่างไรก่อน รวมถึงงบประมาณในการจัดการเลือกตั้งท้องถิ่นมีเพียงพอหรือไม่ หรือหากไม่มี ในงบประมาณปี 64 มีการตั้งงบไว้หรือไม่
สาทิตย์ชี้ 'บิ๊กป้อม' นั่งหัวหน้า พปชร. สะเทือน รบ.แน่นอน ชี้จากนี้จะมีขั้วการเมือง คสช.เพิ่ม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2239329
สาทิตย์ชี้ ‘บิ๊กป้อม’ นั่งหัวหน้า พปชร. สะเทือน รบ.แน่นอน ชี้จากนี้จะมีขั้วการเมือง คสช.เพิ่ม
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง เขต 2 พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารและหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ ถือเป็นการปรับดุลกำลังภายในของพรรคพลังประชารัฐ เมื่อมีปัญหาก็ต้องขยับกัน ซึ่งแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อการเมือง เพราะพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคใหญ่ และเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล ซึ่งต้องดูต่อไปว่าการปรับครั้งนี้จะนำสู่การปรับ ครม.หรือไม่ หาก พล.อ.ประวิตร จะขึ้นมาเป็นหัวหน้าพรรค สื่อให้เห็นชัดเจนว่าอดีต คสช.ก้าวเข้าสู่การเมืองเต็มตัวแล้ว เพราะรับมาเป็นหัวหน้าพรรคเสียเอง ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองอื่น รวมทั้งพรรคประชาธิปัตย์ก็คือ ถ้ามีการปรับ ครม.ดุลกำลังในรัฐบาลจะเปลี่ยนไปหรือไม่ ถ้าดุลเปลี่ยน พรรค พปชร.มีคนเยอะขึ้น พรรคภูมิใจไทยมีคนเยอะขึ้น
นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ในขณะที่พรรคประชาธิปัตย์เองมีจำนวนสมาชิกเท่าเดิม รัฐบาลก็อาจจะมีพรรคเศรษฐกิจเข้ามาเพิ่ม มีพรรคเล็กบางพรรคที่ประกาศตัวแล้วว่าจะยุบพรรคไปรวมกับพลังประชารัฐด้วย ทั้งหมดจะส่งผลทำให้เกิดการปรับ ครม.หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแกนนำรัฐบาลจะไปคุยกัน ซึ่งหากปรับ ครม.ก็ต้องเกี่ยวข้องกับพรรคประชาธิปัตย์ด้วยว่า สัดส่วนเก้าอี้รัฐมนตรีในพรรคร่วมด้วยกันยังคงเดิมอยู่หรือไม่ ส่วนการที่อดีต คสช.มาเล่นการเมืองโดยตรง ย่อมชัดเจนขึ้นว่า ขั้วอำนาจเดิมในทางการเมืองซึ่งมาจากการยึดอำนาจ พอเข้ามาสู่การทำการเมืองเต็มตัว จะยิ่งส่งผลให้เห็นขั้วการเมืองเห็นได้ชัดเจนขึ้น เดิมมี 2 ขั้ว คือ ขั้วที่เอานายทักษิณ กับขั้วไม่เอานายทักษิณ ก็จะเกิดขั้วใหม่ชัดเจน คือ พรรค พปชร.ขั้วอำนาจ คสช. โดยพรรคภูมิใจไทย กับประชาธิปัตย์ เป็นขั้วหนึ่ง, ส่วนของพรรคเพื่อไทยก็เป็นอีกขั้วหนึ่ง
ดังนั้น ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพรรคการเมืองอื่นๆ ก็คือ เมื่อพรรคพลังประชารัฐเป็นพรรคที่มีอดีต คสช. การเปลี่ยนทิศทางด้านการเมือง การกำหนดเป้าหมายต่างๆ ในอนาคตจะเป็นอย่างไร อาจเกิดคำถาม แสดงว่า คสช.เข้ามาเล่นเต็มตัวใช่หรือไม่ และคิดจะเล่นการเมืองอีกยาวใช่หรือไม่ ก็จะเป็นอีกขั้วอำนาจหนึ่งในทางการเมือง แต่ละพรรคก็ต้องเตรียมทิศทางการเมืองของพรรคตัวเอง ส่วนกรณีจะมีการดูด ส.ส.หรือไม่ดูด ซึ่งพรรคเล็กบางพรรคก็มีข่าวเรื่องยุบรวม ที่ผ่านมาก็เห็นชัดว่าสนับสนุน เพียงแต่ทำให้เห็นชัดขึ้นเท่านั้นว่าใครอยู่ฝ่ายไหน จะทำให้ขั้วทางการเมืองชัดเจนขึ้นเท่านั้น ส่วนถ้ามีการปรับ ครม.จะส่งผลต่ออายุขัยของรัฐบาลชุดนี้ทำให้ยาวขึ้น หรือว่าเตรียมพร้อมรับการเลือกตั้งใหม่เร็วขึ้นหรือไม่
“การเมืองไทยขณะนี้ อธิบายด้วยองค์ความรู้และประสบการณ์เดิมยาก โดยเฉพาะหลังยุคโควิด เพราะจู่ๆ เราก็มีรัฐธรรมนูญที่สามารถเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีโดยไม่ต้องลงเลือกตั้งมาก่อนได้ อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ แต่การปรับ ครม.ทุกครั้งขึ้นอยู่กับว่าสามารถที่จะดุลกำลังของรัฐบาลได้หรือไม่ ถ้าในแง่ของเสถียรภาพของรัฐบาลมองว่าจะแน่นปึ้กกว่าเดิม เพราะตอนนี้เสียงของรัฐบาลมีถึง 260-270 เสียงแล้ว แต่การจะอยู่ได้ยาวนานหรือไม่ขึ้นอยู่กับการทำงานของรัฐบาลด้วย โดยเฉพาะสถานการณ์โควิดซึ่งเป็นวิกฤต แต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ สามารถฝ่าวิกฤตมาได้ค่อนข้างดี เพราะในการบริหารสถานการณ์โควิดได้ปล่อยให้มืออาชีพคือ แพทย์ บุคลากรสาธารณสุขทำ ในแง่ผลกระทบก็ใช้วิธีการเยียวยา แต่การเยียวยามีผล 3 เดือน ถ้าเป็นยาก็ถือเป็นยาระงับชั่วคราว การปรับ ครม.ครั้งนี้ก็เพื่อรับมือสถานการณ์ของจริง ทั้ง 1.ภาวะเศรษฐกิจถดถอยลบ 5, 2.วงเงินกู้สาธารณะเกินเพดาน 3.การจัดเก็บรายได้ไม่เป็นไปตามเป้า 4.ผลกระทบของตลาดส่งออกทั้งหลาย เกิดรัฐบาลบริหารได้ไม่ดี ทีมเศรษฐกิจทำไม่ได้ ประชาชนไม่ตอบรับการทำงานของรัฐบาลก็อยู่ยาก” นายสาทิตย์กล่าว
นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ในส่วนพรรคประชาธิปัตย์ตนเองก็พูดกับพรรคไว้แล้วว่า ถึงเวลาต้องทบทวนตัวเอง ว่าในสถานการณ์โควิดที่ผ่านมาเราสามารถทำได้ดีหรือไม่ ได้คะแนนเพิ่มขึ้นหรือไม่ คนยังคาใจหรือไม่ เช่น กรณีหน้ากากอนามัย เจลล้างมือ ได้ทำความเข้าใจกับประชาชนได้มากน้อยแค่ไหน ที่สำคัญเราร่วม ครม.ไปแล้วปีเศษ คนที่ทำงานแต่ละคนได้ทำตามนโยบายที่พรรคได้ประกาศเอาไว้หรือไม่ ถึงเวลาต้องตรวจการบ้านรัฐมนตรี ถ้าไม่ผ่าน กระแสการปรับ ครม.ในพรรคก็ต้องเกิดขึ้น
ส่วนจะรักษาเก้าอี้เดิมไว้ได้อีกหรือไม่ เป็นเรื่องยากที่จะตอบ ขึ้นอยู่กับแกนนำรัฐบาลจะคุยกัน ซึ่งคาดว่ามี 2 สูตร คือ การมีพรรคเล็กเข้ามา หน้าที่จัดสรรให้ควรเป็นของพรรคพลังประชารัฐ ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันถือว่าเป็นพันธมิตรดั้งเดิม ที่ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลก็ควรจะได้เท่าเดิม แต่อีกสูตรหนึ่งบอกว่า ต้องนับไปตามจำนวนของคน ซึ่งทั้ง 2 สูตร ไม่ว่าจะออกทางไหน จะส่งผลกระทบแน่นอน และกระทบต่อเสถียรภาพรัฐบาลด้วย เพราะหากเอาโควต้าของพลังประชารัฐ จะต้องเฉือนของกลุ่มไหน จะรักษาความเหนียวแน่นไว้ได้หรือไม่ หรือจะเกิดรอยร้าว ถ้าเกิดรอยร้าวทำอย่างไร ถ้าไม่เฉือนเนื้อตัวเองไปตัดของพรรคร่วม ก็ย่อมส่งผลกระทบอีก พรรคดังกล่าวจะอยู่ร่วมรัฐบาลหรือไม่ ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ก็อยู่ระหว่างการวิเคราะห์สถานการณ์ เตรียมพร้อมทั้งการยังอยู่ หรือเตรียมพร้อมเลือกตั้งปลายปี ก็อยู่ระหว่างการวิเคราะห์สถานการณ์ เตรียมพร้อมรับมือไว้ทุกทาง