วิธีสร้างบุญกุศลด้วย "การตักบาตร"
การตักบาตร ก็คือ การนำสิ่งของใส่บาตรพระภิกษุ
ทำไมถึงต้องตักบาตร
๑. เพื่อสืบทอดพระศาสนา คือ เราตั้งใจที่จะทำให้พระศาสนามีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยการปกป้อง คุ้มครอง ทนุบำรุงรักษาพระศาสนา เอื้อ-เกื้อ-กันผู้ปฏิบัติธรรม คือ ให้ถวายทานกับบุคคลผู้ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ปกป้อง ส่งเสริมผู้ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม เป็นแนวทางให้คนอื่นได้ปฏิบัติตาม นี่เป็นการสืบทอดพระศาสนาอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีท่านประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม พระศาสนาก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เช่น พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ผู้บำเพ็ญพรต ถ้าไม่มีท่านก็จะไม่มีใครนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาสั่งสอน มาชี้แจง ให้บุคคลทั่วไปได้เข้าใจและปฏิบัติได้
การทำบุญกับผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราเรียกว่า สังฆทาน "สังฆทาน" แปลว่า การให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติธรรมได้ดำรงอยู่ อยู่เพื่อปฏิบัติธรรมะ เป็นแนวทางสั่งสอน ชี้แจงให้บุคคลอื่นได้ปฏิบัติตาม
๒. เพื่อเจริญบุญกุศลในธรรม คือ เราต้องการให้บุญกุศล คุณธรรม ธรรมะ ความดีงามต่างๆ เกิดขึ้นในจิตใจของเราให้มีมากขึ้น มีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปได้นั้น เราต้องหมั่นปฏิบัติธรรมะ หมั่นเจริญภาวนาบ่อยๆ หมั่นทำบ่อยๆ หมั่นทำดีบ่อยๆ เราจึงจะเจริญบุญกุศลในธรรม ในการภาวนานั้นมี ๔ อย่าง ได้แก่
๒.๑ กายภาวนา คือ หมั่นเจริญฝึกหัด อบรมทางกาย ทางรูปธรรมบ่อยๆ เมื่อกำลังจะทำหรือทำแล้วให้เรามาพิจารณาการกระทำของเรา โดยหลักโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณากรรม พิจารณาการกระทำของเราทั้งทางกาย วาจา และใจ ว่าถูกต้องตามครรลองครองธรรมหรือไม่ ด้วยหลักพิจารณากรรม ๕ คือ การพิจารณาสิ่งที่เรากำลังจะกระทำ กำลังทำ และทำแล้ว อย่างครบวงจร มี ๕ ประการ ได้แก่
๑) ทำ ทำไม คือ ต้องถามตัวเองว่าทำทำไม มีเจตนาอะไรทำเช่นนั้น มีเจตนาอะไรที่จะทำ
๒) ทำไมถึงทำ คือ เราทำเพื่อจะตอบสนองสิ่งใด อารมณ์ใดจึงต้องทำสิ่งนั้น ต้องการได้อะไร
๓) ผลขณะกระทำ คือ ปัจจุบันที่กำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้รับผลอะไร เช่น เรากินน้ำ ขณะที่เรากระทำแก้กระหายน้ำ
๔) ผลที่ตามมา คือ พิจารณาสิ่งที่เรากระทำแล้ว ผลลัพธ์ที่จะตามมา วิบากที่จะตามมา ผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำ ซึ่งอาจจะดี แย่ พอใจ หรือไม่พอใจ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราได้กระทำนั้นแล้ว ซึ่งบางครั้งเราทำความชั่วแต่ผลอาจออกมาดีตามใจเราปรารถนา เนื่องด้วยเป็นการกระทำที่แยบยล คนทั่วไปคิดตามไม่ทัน
๕) ผลที่แท้จริง คือ ผลที่ได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการให้ผลเป็นไปตามเหตุของธรรม เป็นผลเหตุในธรรม
๒.๒ สีลภาวนา คือ หมั่นเจริญปฏิบัติเป็นปกติเป็นไปตามธรรม ไม่เบียดเบียน ถูกต้องในธรรม อยู่ในระเบียบวินัย
๒.๓ จิตภาวนา คือ หมั่นฝึกเจริญพัฒนาจิต อบรมบ่มเพาะจิต กำหนดจิต ตรวจสอบจิตของเราจะทำสิ่งใดก็ให้มีสติสัมปชัญญะ
๒.๔ ปัญญาภาวนา คือ หมั่นฝึกขจัดอวิชชา ความไม่รู้ ความโง่เขลาเบาปัญญา ทำให้เกิดวิชชาปัญญาต่างๆ ที่เข้าใจถึงธรรม
๓. จรรโลงคุณงามความดี คือ เราทำดีแล้วเราแผ่ให้คนอื่นด้วย ขอแยกออกเป็น ๒ ประเด็นใหญ่ คือ
๓.๑ จรรโลงคุณงามความดีด้วยการแผ่ให้คนอื่น คือ เมื่อเราได้ทำบุญตักบาตรแล้ว ใครมาเห็นเราได้ทำบุญตักบาตร เขาก็อยากจะทำบุญตักบาตรด้วย นี่แหละเป็นการเผยแผ่ธรรมะแล้ว
๓.๒ จรรโลงคุณงามความดีแผ่ให้ตนเอง คือ เราสาธุปิติยินดีในเหตุคุณงามความดีที่เราได้กระทำ ด้วยการทำบุญตักบาตรนี้ และบอกกล่าว ชักชวนคนอื่นได้ร่วมทำบุญกุศลด้วย และเราจะทำบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ขั้นตอนตักบาตร
๑. ให้จัดเตรียมสิ่งของที่จะใส่บาตร เช่น ผลไม้ อาหารหวานคาว น้ำดื่ม เป็นต้น
๒. ให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
๓. อธิษฐานบอกกล่าวถึงเจตนาที่เราจะใส่บาตร มีด้วยกัน ๒ อย่าง คือ ๑) บุญกุศลให้กับตนเอง ๒) ทำบุญกุศลอุทิศให้กับบุคคลอื่น ๓) ทำบุญกุศลส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวร การตั้งฐานจิตอธิษฐานบอกกล่าวมีความแตกต่างกัน ดังนี้
๓.๑ ทำบุญตักบาตรให้กับตนเอง ให้ตั้งฐานจิต อธิษฐานบอกกล่าวดังนี้
"ข้าพเจ้าขอตั้งฐานจิตเจตนาว่าทำบุญกุศล เพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี พระที่อยู่ต่อหน้าข้าพเจ้า เป็นตัวแทนของพระสงฆ์ ผู้ที่ศึกษาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รู้ซึ้งประจักษ์แจ้งแล้ว นำธรรมนั้นมาถ่ายทอดแก่ประชาชน ชาวโลก และสัตว์โลกทุกชั้นภูมิ"
๓.๒ ทำบุญตักบาตรเพื่อแผ่บุญส่งกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (ตาย) ต้องบอกกล่าวพระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วงหรือพระแม่ธรณีมาเป็นประจักษ์พยานในการสร้างบุญกุศล ให้ตั้งฐานจิต อธิษฐานบอกกล่าวดังนี้
"ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชาพระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วง ด้วยจิตศรัทธา บัดนี้ลูกขอความเมตตาพระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วง โปรดแผ่บารมีแก่ (ชื่อคนตาย) ให้ได้รับสิ่งของที่ลูกทำบุญกุศลอุทิศไปให้นี้ และ(ชื่อคนตาย) จงสาธุ อนุโมทนาบุญกุศลนี้ร่วมกัน สาธุ สาธุ สุขสันติ สันติสุขเทอญ"
๓.๓ ทำบุญตักบาตรเพื่อส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้ตั้งฐานจิต อธิษฐานบอกกล่าวดังนี้
" ข้าพเจ้าขอสำนึกผิดที่ได้ทำอกุศลกรรม (บอกชื่อกรรม เช่น ละโมบขโมยของคนอื่น, กล่าวร้าย, ให้ร้าย, ทำร้าย, ให้เขาผิดหวัง, ทรมารสัตว์, แท้งลูก, กรรมราคะ, โกหกหลอกหลวง, ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ)
ทำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ที่ระลึกได้และระลึกไม่ได้ ชาตินี้หรืออดีตชาติ ด้วยกาย วาจา ใจนี้ ต่อผู้อื่นผู้ใด สัตว์อื่นเหล่าใด ทุกสิ่งที่เป็นบาปกรรมตรงนี้ พฤติกรรมเช่นนี้
บัดนี้ ข้าพเจ้าขอสำนึกผิดในพฤติกรรมที่กล่าวมานี้ ขอขมา และขออโหสิกรรม ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่า จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีกต่อไป จะมีจิตเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น เอื้อ-เกื้อ-กัน ต่อทุกสรรพสิ่ง
และในอดีตหรือปัจจุบันนี้ หากผู้อื่นผู้ใด สัตว์อื่นเหล่าใด มาทำร้ายด้วยวิบากกรรมนี้ ให้ข้าพเจ้าเกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งกายและจิตใจ กรรมเช่นนี้ ข้าพเจ้าขอรับการขมาและอโหสิกรรมให้ จะไม่จองเวร อาฆาต พยาบาทอีกต่อไป และขอไถ่ถอนสิ่งที่จองเวร อาฆาต พยาบาทต่างๆ คืนสู่ธรรม
ขออัญเชิญบารมีพระพุทธองค์ และพระแม่ธรณี โปรดเสด็จมาเป็นประจักษ์พยาน และโปรดเคลียร์ แก้ไขวิบากกรรม ขอให้ทุกฝ่ายรับการขมา และเจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน นำไปสู่สันติสุข โอม มะ อะโห ศานติ สันติโอม ๛
๔. หลังจากอธิษฐานแล้ว ก็ให้นำสิ่งของมงคล อาหารหวานคาว น้ำดื่ม ใส่บาตร
๕. . รับพร แล้วเราเตรียมกรวดน้ำ เมื่อพระสวดให้พรขึ้น " ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
พอสวดให้พรตรงที่ว่า เอวะเมวะ อิโต ทินนังฯ เป็นต้นไปก็ให้เราตั้งฐานจิตกรวดน้ำส่งกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และญาติพี่น้อง ผู้ที่เราจะส่งกุศลไปให้ ให้ตั้งฐานจิตกล่าวว่า
"ขอส่งกุศลให้กับ (คนตาย หรือบอกชื่อเจ้ากรรมนายเวร) ที่มาส่งผล ณ ปัจจุบันนี้ ขอโปรดเมตตารับและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ด้วยแรงแห่งกุศลนี้ขอเจ้ากรรมนายเวรจงไปสู่สุคติ สุขสันติ สันติสุขเทอญ สาธุ ๛
เมื่อกรวดน้ำเสร็จ เราก็นำน้ำนั้นไปเทใส่ต้นไม้คืนสู่ธรรม (ไม่ใช้คำว่าเททิ้ง)
ในการทำบุญตักบาตรนี้ เราต้องตั้งใจทำ และเต็มใจทำด้วย
เป็นอันเสร็จพิธี
วิธีสร้างบุญกุศลด้วย "การตักบาตร"
การตักบาตร ก็คือ การนำสิ่งของใส่บาตรพระภิกษุ
ทำไมถึงต้องตักบาตร
๑. เพื่อสืบทอดพระศาสนา คือ เราตั้งใจที่จะทำให้พระศาสนามีอายุยืนยาวขึ้น ด้วยการปกป้อง คุ้มครอง ทนุบำรุงรักษาพระศาสนา เอื้อ-เกื้อ-กันผู้ปฏิบัติธรรม คือ ให้ถวายทานกับบุคคลผู้ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล ปกป้อง ส่งเสริมผู้ประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม เป็นแนวทางให้คนอื่นได้ปฏิบัติตาม นี่เป็นการสืบทอดพระศาสนาอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีท่านประพฤติวัตรปฏิบัติธรรม พระศาสนาก็จะไม่สามารถดำรงอยู่ได้ เช่น พระภิกษุสงฆ์ นักบวช ผู้บำเพ็ญพรต ถ้าไม่มีท่านก็จะไม่มีใครนำพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามาสั่งสอน มาชี้แจง ให้บุคคลทั่วไปได้เข้าใจและปฏิบัติได้
การทำบุญกับผู้ประพฤติปฏิบัติธรรมนั้น เราเรียกว่า สังฆทาน "สังฆทาน" แปลว่า การให้ทานแก่ผู้ปฏิบัติธรรมได้ดำรงอยู่ อยู่เพื่อปฏิบัติธรรมะ เป็นแนวทางสั่งสอน ชี้แจงให้บุคคลอื่นได้ปฏิบัติตาม
๒. เพื่อเจริญบุญกุศลในธรรม คือ เราต้องการให้บุญกุศล คุณธรรม ธรรมะ ความดีงามต่างๆ เกิดขึ้นในจิตใจของเราให้มีมากขึ้น มีการพัฒนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไปได้นั้น เราต้องหมั่นปฏิบัติธรรมะ หมั่นเจริญภาวนาบ่อยๆ หมั่นทำบ่อยๆ หมั่นทำดีบ่อยๆ เราจึงจะเจริญบุญกุศลในธรรม ในการภาวนานั้นมี ๔ อย่าง ได้แก่
๒.๑ กายภาวนา คือ หมั่นเจริญฝึกหัด อบรมทางกาย ทางรูปธรรมบ่อยๆ เมื่อกำลังจะทำหรือทำแล้วให้เรามาพิจารณาการกระทำของเรา โดยหลักโยนิโสมนสิการ คือ พิจารณากรรม พิจารณาการกระทำของเราทั้งทางกาย วาจา และใจ ว่าถูกต้องตามครรลองครองธรรมหรือไม่ ด้วยหลักพิจารณากรรม ๕ คือ การพิจารณาสิ่งที่เรากำลังจะกระทำ กำลังทำ และทำแล้ว อย่างครบวงจร มี ๕ ประการ ได้แก่
๑) ทำ ทำไม คือ ต้องถามตัวเองว่าทำทำไม มีเจตนาอะไรทำเช่นนั้น มีเจตนาอะไรที่จะทำ
๒) ทำไมถึงทำ คือ เราทำเพื่อจะตอบสนองสิ่งใด อารมณ์ใดจึงต้องทำสิ่งนั้น ต้องการได้อะไร
๓) ผลขณะกระทำ คือ ปัจจุบันที่กำลังกระทำอยู่ ณ ปัจจุบัน ได้รับผลอะไร เช่น เรากินน้ำ ขณะที่เรากระทำแก้กระหายน้ำ
๔) ผลที่ตามมา คือ พิจารณาสิ่งที่เรากระทำแล้ว ผลลัพธ์ที่จะตามมา วิบากที่จะตามมา ผลลัพธ์ที่ได้จากการกระทำ ซึ่งอาจจะดี แย่ พอใจ หรือไม่พอใจ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่เราได้กระทำนั้นแล้ว ซึ่งบางครั้งเราทำความชั่วแต่ผลอาจออกมาดีตามใจเราปรารถนา เนื่องด้วยเป็นการกระทำที่แยบยล คนทั่วไปคิดตามไม่ทัน
๕) ผลที่แท้จริง คือ ผลที่ได้รับอย่างแท้จริง ซึ่งอาจใช้ระยะเวลาในการให้ผลเป็นไปตามเหตุของธรรม เป็นผลเหตุในธรรม
๒.๒ สีลภาวนา คือ หมั่นเจริญปฏิบัติเป็นปกติเป็นไปตามธรรม ไม่เบียดเบียน ถูกต้องในธรรม อยู่ในระเบียบวินัย
๒.๓ จิตภาวนา คือ หมั่นฝึกเจริญพัฒนาจิต อบรมบ่มเพาะจิต กำหนดจิต ตรวจสอบจิตของเราจะทำสิ่งใดก็ให้มีสติสัมปชัญญะ
๒.๔ ปัญญาภาวนา คือ หมั่นฝึกขจัดอวิชชา ความไม่รู้ ความโง่เขลาเบาปัญญา ทำให้เกิดวิชชาปัญญาต่างๆ ที่เข้าใจถึงธรรม
๓. จรรโลงคุณงามความดี คือ เราทำดีแล้วเราแผ่ให้คนอื่นด้วย ขอแยกออกเป็น ๒ ประเด็นใหญ่ คือ
๓.๑ จรรโลงคุณงามความดีด้วยการแผ่ให้คนอื่น คือ เมื่อเราได้ทำบุญตักบาตรแล้ว ใครมาเห็นเราได้ทำบุญตักบาตร เขาก็อยากจะทำบุญตักบาตรด้วย นี่แหละเป็นการเผยแผ่ธรรมะแล้ว
๓.๒ จรรโลงคุณงามความดีแผ่ให้ตนเอง คือ เราสาธุปิติยินดีในเหตุคุณงามความดีที่เราได้กระทำ ด้วยการทำบุญตักบาตรนี้ และบอกกล่าว ชักชวนคนอื่นได้ร่วมทำบุญกุศลด้วย และเราจะทำบุญกุศลอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ
ขั้นตอนตักบาตร
๑. ให้จัดเตรียมสิ่งของที่จะใส่บาตร เช่น ผลไม้ อาหารหวานคาว น้ำดื่ม เป็นต้น
๒. ให้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ สามเณร
๓. อธิษฐานบอกกล่าวถึงเจตนาที่เราจะใส่บาตร มีด้วยกัน ๒ อย่าง คือ ๑) บุญกุศลให้กับตนเอง ๒) ทำบุญกุศลอุทิศให้กับบุคคลอื่น ๓) ทำบุญกุศลส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวร การตั้งฐานจิตอธิษฐานบอกกล่าวมีความแตกต่างกัน ดังนี้
๓.๑ ทำบุญตักบาตรให้กับตนเอง ให้ตั้งฐานจิต อธิษฐานบอกกล่าวดังนี้
"ข้าพเจ้าขอตั้งฐานจิตเจตนาว่าทำบุญกุศล เพื่อสืบทอดพระศาสนา เจริญบุญกุศลในธรรม จรรโลงคุณงามความดี พระที่อยู่ต่อหน้าข้าพเจ้า เป็นตัวแทนของพระสงฆ์ ผู้ที่ศึกษาปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า รู้ซึ้งประจักษ์แจ้งแล้ว นำธรรมนั้นมาถ่ายทอดแก่ประชาชน ชาวโลก และสัตว์โลกทุกชั้นภูมิ"
๓.๒ ทำบุญตักบาตรเพื่อแผ่บุญส่งกุศลให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว (ตาย) ต้องบอกกล่าวพระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วงหรือพระแม่ธรณีมาเป็นประจักษ์พยานในการสร้างบุญกุศล ให้ตั้งฐานจิต อธิษฐานบอกกล่าวดังนี้
"ลูกขอนอบน้อมคารวะสักการะบูชาพระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วง ด้วยจิตศรัทธา บัดนี้ลูกขอความเมตตาพระโพธิสัตว์ตี่จั่งอ๊วง โปรดแผ่บารมีแก่ (ชื่อคนตาย) ให้ได้รับสิ่งของที่ลูกทำบุญกุศลอุทิศไปให้นี้ และ(ชื่อคนตาย) จงสาธุ อนุโมทนาบุญกุศลนี้ร่วมกัน สาธุ สาธุ สุขสันติ สันติสุขเทอญ"
๓.๓ ทำบุญตักบาตรเพื่อส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้ตั้งฐานจิต อธิษฐานบอกกล่าวดังนี้
" ข้าพเจ้าขอสำนึกผิดที่ได้ทำอกุศลกรรม (บอกชื่อกรรม เช่น ละโมบขโมยของคนอื่น, กล่าวร้าย, ให้ร้าย, ทำร้าย, ให้เขาผิดหวัง, ทรมารสัตว์, แท้งลูก, กรรมราคะ, โกหกหลอกหลวง, ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ)
ทำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน
ข้าพเจ้าได้ทำกรรมไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจ ทางตรงหรือทางอ้อม ทั้งที่รู้ตัวหรือไม่รู้ตัว ที่ระลึกได้และระลึกไม่ได้ ชาตินี้หรืออดีตชาติ ด้วยกาย วาจา ใจนี้ ต่อผู้อื่นผู้ใด สัตว์อื่นเหล่าใด ทุกสิ่งที่เป็นบาปกรรมตรงนี้ พฤติกรรมเช่นนี้
บัดนี้ ข้าพเจ้าขอสำนึกผิดในพฤติกรรมที่กล่าวมานี้ ขอขมา และขออโหสิกรรม ข้าพเจ้าขอตั้งปณิธานว่า จะไม่ทำพฤติกรรมเช่นนี้อีกต่อไป จะมีจิตเมตตา ช่วยเหลือผู้อื่น เอื้อ-เกื้อ-กัน ต่อทุกสรรพสิ่ง
และในอดีตหรือปัจจุบันนี้ หากผู้อื่นผู้ใด สัตว์อื่นเหล่าใด มาทำร้ายด้วยวิบากกรรมนี้ ให้ข้าพเจ้าเกิดความทุกข์ ความเดือดร้อน ทั้งกายและจิตใจ กรรมเช่นนี้ ข้าพเจ้าขอรับการขมาและอโหสิกรรมให้ จะไม่จองเวร อาฆาต พยาบาทอีกต่อไป และขอไถ่ถอนสิ่งที่จองเวร อาฆาต พยาบาทต่างๆ คืนสู่ธรรม
ขออัญเชิญบารมีพระพุทธองค์ และพระแม่ธรณี โปรดเสด็จมาเป็นประจักษ์พยาน และโปรดเคลียร์ แก้ไขวิบากกรรม ขอให้ทุกฝ่ายรับการขมา และเจ้ากรรมนายเวร อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน นำไปสู่สันติสุข โอม มะ อะโห ศานติ สันติโอม ๛
๔. หลังจากอธิษฐานแล้ว ก็ให้นำสิ่งของมงคล อาหารหวานคาว น้ำดื่ม ใส่บาตร
๕. . รับพร แล้วเราเตรียมกรวดน้ำ เมื่อพระสวดให้พรขึ้น " ยะถา วาริวะหา ปูรา ปะริปูเรนติ สาคะรัง
พอสวดให้พรตรงที่ว่า เอวะเมวะ อิโต ทินนังฯ เป็นต้นไปก็ให้เราตั้งฐานจิตกรวดน้ำส่งกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร และญาติพี่น้อง ผู้ที่เราจะส่งกุศลไปให้ ให้ตั้งฐานจิตกล่าวว่า
"ขอส่งกุศลให้กับ (คนตาย หรือบอกชื่อเจ้ากรรมนายเวร) ที่มาส่งผล ณ ปัจจุบันนี้ ขอโปรดเมตตารับและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ด้วยแรงแห่งกุศลนี้ขอเจ้ากรรมนายเวรจงไปสู่สุคติ สุขสันติ สันติสุขเทอญ สาธุ ๛
เมื่อกรวดน้ำเสร็จ เราก็นำน้ำนั้นไปเทใส่ต้นไม้คืนสู่ธรรม (ไม่ใช้คำว่าเททิ้ง)
ในการทำบุญตักบาตรนี้ เราต้องตั้งใจทำ และเต็มใจทำด้วย
เป็นอันเสร็จพิธี