กรวดน้ำ คือ การตั้งใจอุทิศ หรือส่งส่วนบุญกุศลที่เราได้ทำไว้แล้วไปให้แก่ผู้อื่นหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เวลาเรากรวดน้ำหรือส่งบุญกุศล เราต้องมีความตั้งใจในการทำ ไม่ใช่ทำแบบพอไปที ผู้ที่รับเขาก็ไม่อยากได้ มีความรู้สึกเกรงอกเกรงใจ เหมือนกับเขาทำอาหารให้เรากิน เขาไม่มีความตั้งใจในการทำอาหาร ไม่มีความตั้งใจยกอาหารให้เรากิน ทำแบบพอไปที เราก็ไม่อยากจะกินอาหารนั้น พอเรารับมากินก็กินไม่เอร็ดอร่อย กินอย่างไม่เต็มที่ เช่นเดียวกัน ญาติ ผู้ล่วงลับ สัมภเวสี เจ้ากรรมนายเวร ถ้าเราไม่ตั้งใจกรวดน้ำ ไม่ตั้งใจอุทิศบุญกุศล ไม่ตั้งใจส่งบุญส่งกุศลไปให้เขาเหล่านั้น เขาก็ไม่อยากรับบุญกุศลของเราเช่นเดียวกัน
การส่งบุญกุศลมีอยู่ ๒ ประเภท ดังนี้
๑. อุทิศบุญกุศล คือ การยกให้ มอบให้ ยกบุญกุศลให้ เมื่อเราทำบุญกุศลอะไรอย่างหนึ่ง มีบุญกุศลแล้ว เราจึงยกบุญกุศลนี้ให้แก่เขา หรือสัมภเวสี
๒. ส่งกุศล คือ เราเป็นหนี้เขา แล้วเราจ่ายหนี้เขา หมายถึง เราทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดเป็นบุญกุศลแล้ว เราสำนึกผิดที่ได้ทำร้ายเขา เราจึงนำบุญกุศลที่เราได้ทำไว้แล้ว ส่งมอบให้กับเขา เมื่อเขารับแล้ว สิ่งที่เราติดค้างเขาอยู่ก็รับการลดทอนลงไปตามธรรม
ส่วนมากการส่งบุญกุศลนี้ จะส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้กับผู้มีคุณต่อเรา เราสำนึกในบุญคุณ หรือสำนึกผิดที่ได้กระทำต่อเขา เราจึงนำบุญกุศลนี้ไปให้
คนทั่วไปเข้าใจว่า เราอุทิศส่วนบุญกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร แล้วพลังแห่งการจองเวรนี้ของเราจะลดลง ไม่สามารถลดลงเลย เพราะว่าเรา เรามีบุญกุศลหรือของดีให้แก่เขา เราไม่ได้บอกว่าเราเป็นหนี้เขา มาชดใช้หนี้เขา ฉะนั้น หนี้ของเราที่ติดข้างเขาก็ยังคงอยู่นั่นเอง
วิธีการส่งกุศล
บุญไม่สามารถส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้ แต่กุศลสามารถส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่า กุศล แปลว่า ปัญญาที่รู้ว่าสิ่งนั้นผิด แล้วแก้ไข พัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าตัวเราไม่รู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ให้คุณหรือให้โทษ แล้วเราจะไปขอร้องให้เจ้ากรรมนายเวรของเราให้อภัย เขาย่อมไม่ให้อภัย
สมมติว่า เราชอบไปด่าเขา เราต้องยอมรับว่าการด่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แล้วเราไปพูดที่ประกอบด้วยเมตตาจิต พูดยกย่อง พูดชมเชย ถึงจะแก้ไขได้ แต่ถ้าเราไม่รับรู้ว่าการด่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ยังด่าไปเรื่อยๆ ก็เป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง เราต้องมีการพูดด่าอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น สิ่งที่เรารู้ว่าการด่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรเจริญ นี่แหละเป็นกุศล คือ ตัวองค์แห่งปัญญา
วิธีการส่งกุศลมีดังนี้
๑. ยอมรับผิด คือ ยอมรับว่าเราได้ทำผิดในกรรมนั้นๆ จริง
๒. สำนึกผิด คือ รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นให้คุณหรือให้โทษ เมื่อให้โทษก็สำนึกผิดจะไม่ทำกรรมนั้น พฤติกรรมนั้น กิริยาอย่างนั้น นิสัย จริตอย่างนั้นอีกต่อไป
๓. ขอขมากรรม คือ การกล่าวขอโทษสำนึกผิดที่ตนได้ล่วงเกินต่อเจ้ากรรมนายเวรนั้นๆ ว่าที่เราได้ทำลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ผิด จะไม่ทำอีกต่อไป ขอเจ้ากรรมนายเวรโปรดรับ
๔. อโหสิกรรม คือ ยกโทษให้ หรือกรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป
๕. ตั้งปณิธานทำกุศล คือ ให้เราตั้งใจทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะแก้กรรมที่ไม่ดีของเรา
จากนั้นให้เราถือขวดน้ำ หรือที่กรวดน้ำ เป็นสื่อในการส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร แล้วเราพูดว่า
"โอม มะ อะโห ศานติ สันติโอม"
ข้าพเจ้าขอยอมรับผิดที่ได้ทำกรรม (ชื่อกรรม....เช่น ทำร้าย, โกหกหลอกลวง, ราคะ, ขโมย, ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ) บัดนี้สำนึกผิดแล้วจะไม่ทำกรรมนี้อีกต่อไป ข้าพเจ้าของส่งกุศล(กุศลที่ทำ เช่น บริจาค ตักบาตร ฯลฯ) นี้ไปให้ ขอเจ้ากรรมนายเวรโปรดรับและโปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ สาธุ
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
การกรวดน้ำ วิธีอุทิศ และส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร หรือสัมภเวสี
การส่งบุญกุศลมีอยู่ ๒ ประเภท ดังนี้
๑. อุทิศบุญกุศล คือ การยกให้ มอบให้ ยกบุญกุศลให้ เมื่อเราทำบุญกุศลอะไรอย่างหนึ่ง มีบุญกุศลแล้ว เราจึงยกบุญกุศลนี้ให้แก่เขา หรือสัมภเวสี
๒. ส่งกุศล คือ เราเป็นหนี้เขา แล้วเราจ่ายหนี้เขา หมายถึง เราทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง เกิดเป็นบุญกุศลแล้ว เราสำนึกผิดที่ได้ทำร้ายเขา เราจึงนำบุญกุศลที่เราได้ทำไว้แล้ว ส่งมอบให้กับเขา เมื่อเขารับแล้ว สิ่งที่เราติดค้างเขาอยู่ก็รับการลดทอนลงไปตามธรรม
ส่วนมากการส่งบุญกุศลนี้ จะส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวร ให้กับผู้มีคุณต่อเรา เราสำนึกในบุญคุณ หรือสำนึกผิดที่ได้กระทำต่อเขา เราจึงนำบุญกุศลนี้ไปให้
คนทั่วไปเข้าใจว่า เราอุทิศส่วนบุญกุศลนี้ให้กับเจ้ากรรมนายเวร แล้วพลังแห่งการจองเวรนี้ของเราจะลดลง ไม่สามารถลดลงเลย เพราะว่าเรา เรามีบุญกุศลหรือของดีให้แก่เขา เราไม่ได้บอกว่าเราเป็นหนี้เขา มาชดใช้หนี้เขา ฉะนั้น หนี้ของเราที่ติดข้างเขาก็ยังคงอยู่นั่นเอง
วิธีการส่งกุศล
บุญไม่สามารถส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้ แต่กุศลสามารถส่งให้กับเจ้ากรรมนายเวรได้ เพราะว่าอะไร เพราะว่า กุศล แปลว่า ปัญญาที่รู้ว่าสิ่งนั้นผิด แล้วแก้ไข พัฒนาให้เจริญยิ่งขึ้น ถ้าหากว่าตัวเราไม่รู้ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด ให้คุณหรือให้โทษ แล้วเราจะไปขอร้องให้เจ้ากรรมนายเวรของเราให้อภัย เขาย่อมไม่ให้อภัย
สมมติว่า เราชอบไปด่าเขา เราต้องยอมรับว่าการด่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี แล้วเราไปพูดที่ประกอบด้วยเมตตาจิต พูดยกย่อง พูดชมเชย ถึงจะแก้ไขได้ แต่ถ้าเราไม่รับรู้ว่าการด่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ยังด่าไปเรื่อยๆ ก็เป็นการแก้ไขที่ไม่ถูกต้อง เราต้องมีการพูดด่าอยู่เรื่อยไป ฉะนั้น สิ่งที่เรารู้ว่าการด่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรเจริญ นี่แหละเป็นกุศล คือ ตัวองค์แห่งปัญญา
วิธีการส่งกุศลมีดังนี้
๑. ยอมรับผิด คือ ยอมรับว่าเราได้ทำผิดในกรรมนั้นๆ จริง
๒. สำนึกผิด คือ รู้ว่าสิ่งที่ทำนั้นให้คุณหรือให้โทษ เมื่อให้โทษก็สำนึกผิดจะไม่ทำกรรมนั้น พฤติกรรมนั้น กิริยาอย่างนั้น นิสัย จริตอย่างนั้นอีกต่อไป
๓. ขอขมากรรม คือ การกล่าวขอโทษสำนึกผิดที่ตนได้ล่วงเกินต่อเจ้ากรรมนายเวรนั้นๆ ว่าที่เราได้ทำลงไปนั้นเป็นสิ่งที่ผิด จะไม่ทำอีกต่อไป ขอเจ้ากรรมนายเวรโปรดรับ
๔. อโหสิกรรม คือ ยกโทษให้ หรือกรรมที่ไม่ส่งผลแก่ผู้กระทำกรรมอีกต่อไป
๕. ตั้งปณิธานทำกุศล คือ ให้เราตั้งใจทำบุญกุศลอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะแก้กรรมที่ไม่ดีของเรา
จากนั้นให้เราถือขวดน้ำ หรือที่กรวดน้ำ เป็นสื่อในการส่งกุศลให้กับเจ้ากรรมนายเวร แล้วเราพูดว่า
"โอม มะ อะโห ศานติ สันติโอม"
ข้าพเจ้าขอยอมรับผิดที่ได้ทำกรรม (ชื่อกรรม....เช่น ทำร้าย, โกหกหลอกลวง, ราคะ, ขโมย, ลบหลู่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ฯลฯ) บัดนี้สำนึกผิดแล้วจะไม่ทำกรรมนี้อีกต่อไป ข้าพเจ้าของส่งกุศล(กุศลที่ทำ เช่น บริจาค ตักบาตร ฯลฯ) นี้ไปให้ ขอเจ้ากรรมนายเวรโปรดรับและโปรดอโหสิกรรมแก่ข้าพเจ้าด้วยเทอญ สาธุ
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต