สิกขาบททุกอันล้วนมีเหตุผลที่มา และเมื่อกาลเวลาผ่านไป บริบทก็ได้เปลี่ยนไปแล้ว สิกขาบทบางอันก็ควรให้ปรับแก้ได้

** คห.3 **
ขอบคุณมากครับท่าน
เพราะมีท่านเพียงคนเดียวที่ตอบแล้วทำให้ผมเห็นแสงสว่าง
เรื่องแบบนี้มันลึกซึ้งจริงๆ ลึกซึ้งเกินกว่าที่ผมคาด
ถ้าขาดโยนิโสมนสิการ รับรองว่าอ่านคำตอบของท่านไม่เข้าใจหรอก
แต่นี่ผมอ่านคำตอบจากท่านแล้วซึ้งเลย เลยขอกดซึ้งให้ท่านครับ
ขอให้ท่านจงเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปนะครับ
สาธุ สาธุ สาธุ
/ธนวัฒ

ศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ตั้งอยู่บนหลักของเหตุผล
เป็นศาสนาแห่งปัญญา
ไม่ใช่ศาสนาที่สอนให้เชื่อ
แต่เป็นศาสนาที่สอนให้คนรู้จักคิด
สอนให้เราใช้สติปัญญาเพื่อพิจารณา อะไรเหมาะ อะไรควร อะไรไม่เหมาะ อะไรไม่ควร อะไรใช่ อะไรไม่ใช่ อะไรถูก อะไรผิด ล้วนต้องใช้สติปัญญาในการพิจารณาไตร่ครองทั้งสิ้น
นี่คือหนึ่งในเอกลักษณ์ของศาสนาพุทธ ที่ทำให้ศาสนานี้แตกต่างจากศาสนาอื่น
ดังนั้นพุทธศาสนิกชนที่ดีก็ไม่ควรประกาศตนแค่เพียงว่าตนเป๋นชาวพุทธเท่านั้น
แต่ควรต้องยึดถือหลักความมีเหตุมีผลตามที่พระศาสดาทรงวางแนวทางไว้ให้แล้วด้วย
กรณีสิกขาบทบางอันที่พระศาสดาได้บัญญัติห้ามไว้ ต้องย้อนกลับไปดูเหตุต้นบัญญัติด้วย
เช่นการบัญญัติห้ามพระยืนฉี่และเปลือยกาย บริบทที่ท่านทรงห้ามนั้นคือการกระทำในที่สาธารณะ เพราะในสมัยนั้นยังไม่มีห้องน้ำ การที่พระไปยืนฉี่หรือเปลือยกายสรงน้ำมันจึงเป็นการประเจิดประเจ้อ ไม่สำรวม
แต่ทุกวันนี้พระคามวาสีล้วนมีห้องน้ำที่ปกปิดมิดชิดภายในกุฏิส่วนตัวของท่าน
การที่ท่านจะยืนฉี่ในห้องน้ำหรือเปลือยกายสรงน้ำในห้องน้ำที่ปกปิดมิดชิดจึงไม่ควรถือว่าท่านกระทำประเจิดประเจ้อหรือไม่สำรวม
การยกเลิกเพิกถอนสิกขาบทสองอันนี้ผมเห็นว่าไม่ถูกต้อง แต่ที่ถูกคือควรมีการปรับแก้ให้เหมาะกับบริบท
นั่นคือจะถือว่าต้องอาบัติในสองข้อนี้ก็เฉพาะเมื่อกระทำในที่สาธารณะ หรือไม่ใช่ที่ปกปิดมิดชิด
แต่หากกระทำในที่ที่ปกปิดมิดชิดดีแล้วก็ไม่ควรจับอาบัติ อย่างนี้ถึงจะถูก
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
พระวินัยเป็นเครื่องขัดเกลา
  1. การปรับเปลี่ยนพระวินัย เป็นการไม่เคารพในพระรัตนไตร จะเป็นการขัดเกลาจริงหรือ หากการกระทำอันใด ยังสามารถกระทำได้ แต่ไม่ยอมทำเพียงเพราะการอ้างว่า ยุคสมัยมันเปลี่ยน

  2. ข้อบัญญัติแต่ละข้อ ท่านให้ทำไม่ว่าจะอยู่ในที่ลับหรือที่แจ้ง ไม่ใช่เพราะว่ามีคนเห็น แต่เป็นเรื่องที่เราจะต้องละอายใจด้วยตนเอง

  3. พระบัญญัติหากมีการแก้เล็กแก้น้อย ต่อๆไป ก็ย่อมมีการแก้ไขข้อบัญญัติอันสำคัญยิ่งด้วยในที่สุด ดังที่มีตัวอย่างที่ปรากฏแล้ว เช่นในนิกายมหายาน ที่ตอนแรก ข้อธรรมก็ไม่ต่างจากเถรวาท แต่พอเวลาผ่านไป จากแก้ศีลบางข้อ และต่อมาก็แก้ข้อธรรม จนปัจจุบันเถรวาทกับมหายาน ต่างกันอย่างสิ้นเชิง


....- ข้อภิกษุยืนปัสสาวะ  เป็นกริยาที่ไม่สำรวม ดังนั้น แม้อยู่ในที่ลับพระภิกษุก็ต้องสำรวม...ความเป็นจริงพระวินัยละเอียดมาก ไม่ใช่เฉพาะเรื่องปัสสาวะ แต่การผายลม การอุจจาระ ก็มีในพระวินัยด้วย

....- ข้อเปลือยกายก็เช่นกัน การสำรวมเป็นจุดหมายหลักของพระวินัย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่