คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 4
พรบ.แรงงานสัมพันธ์ 2518 (แม้บริษัทใดไม่มีสหภาพแรงงานฯ....ก็ต้องอยู่ในบังคับของ พรบ.นี้)
ม.10 สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป ต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ให้ทำเป็นหนังสือ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ม.11 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ เงื่อนไขการจ้าง หรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงฯ
*ม. 20 เมื่อข้อตกลงฯมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้าง ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงฯ เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้น จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า แต่ถ้าเป็นคุณ
*เห็นว่า
**เมื่อ "สวัสดิการ" เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ก็ต้องให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ม.20 "เปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง" ฝ่ายเดียวไม่ได้ !
แต่ต้องมีการยื่นข้อเรียกร้องตาม ม.13 ...และเมื่อเจรจากันแล้ว ลูกจ้างยินยอม(เป็นหนังสือ) ให้ลดผลประโยชน์ได้...ทำได้ครับ !
(ข้อที่ว่ากำหนดหรือไม่ได้กำหนดในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง !)
*ฎีกาที่ ๘๓๙๖-๘๓๙๙/๒๕๕๐
จำเลยแก้ไขข้อบังคับฯ โดยการปิดประกาศ และให้ลูกจ้างมารับไป โดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องไม่เป็นคุณยิ่งกว่า และลูกจ้างไม่ได้ให้การยินยอม
จึงไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้มีการแก้ไข
(แต่หากลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งภายในเวลาอันสมควร/ไม่ชักช้า...ถือว่าลูกจ้างยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น)
เพิ่มฎีกาที่ ๘๓๙๖-๘๓๙๙/๒๕๕๐
ม.10 สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป ต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ให้ทำเป็นหนังสือ ให้ถือว่าข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน
เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง
ม.11 ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างอย่างน้อยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้ เงื่อนไขการจ้าง หรือการทำงาน กำหนดวันและเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ของลูกจ้าง การแก้ไขเพิ่มเติมหรือการต่ออายุข้อตกลงฯ
*ม. 20 เมื่อข้อตกลงฯมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้ทำสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้าง ขัดหรือแย้งกับข้อตกลงฯ เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานนั้น จะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า แต่ถ้าเป็นคุณ
*เห็นว่า
**เมื่อ "สวัสดิการ" เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ก็ต้องให้เป็นไปตามที่กำหนดใน ม.20 "เปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง" ฝ่ายเดียวไม่ได้ !
แต่ต้องมีการยื่นข้อเรียกร้องตาม ม.13 ...และเมื่อเจรจากันแล้ว ลูกจ้างยินยอม(เป็นหนังสือ) ให้ลดผลประโยชน์ได้...ทำได้ครับ !
(ข้อที่ว่ากำหนดหรือไม่ได้กำหนดในกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ก็ไม่น่าจะเกี่ยวข้อง !)
*ฎีกาที่ ๘๓๙๖-๘๓๙๙/๒๕๕๐
จำเลยแก้ไขข้อบังคับฯ โดยการปิดประกาศ และให้ลูกจ้างมารับไป โดยไม่ได้แจ้งข้อเรียกร้องไม่เป็นคุณยิ่งกว่า และลูกจ้างไม่ได้ให้การยินยอม
จึงไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้มีการแก้ไข
(แต่หากลูกจ้างไม่ได้โต้แย้งภายในเวลาอันสมควร/ไม่ชักช้า...ถือว่าลูกจ้างยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้น)
เพิ่มฎีกาที่ ๘๓๙๖-๘๓๙๙/๒๕๕๐
แสดงความคิดเห็น
บริษัท (ที่ทำงาน) เปลี่ยนแปลงสวัสดิการ การประกันชีวิตกลุ่ม โดยที่ไม่ได้แจ้งเรา ได้หรือไม่ครับ
เมื่อ 8 ปีก่อน ตอนเข้ามาทำงาน เซ็นต์สัญญา การจ้างงาน และในคู่มือพนักงาน มีสวัสดิการแจ้งว่า
บริษัท ทำประกันชีวิตกลุ่มให้ พนักงาน หากพนักงาน เกิดเสียชีวิตในระหว่างที่สถานะเป็นพนักงานอยู่ จะได้รับเงินประกันเป็นจำนวน 12 เท่า ของเงินเดือน
(มีการเซ็นต์ เอกสารความคุ้มครอง การรับผลประโยชน์ ระบุผู้รับผลประโยชน์ไว้)
แต่มาปีหลังๆ ซึ่งเราเอง หรือ หลายๆ คนที่เป็น พนักงานเก่า ไม่ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ( ไม่ได้มีการแจ้ง ให้รับทราบมาก่อน ) ว่าพอ บริษัท
เปลี่ยน บริษัทประกันแล้ว ปรับลดความคุ้มครองนี้ เหลือเพียง 10 เท่าของเงินเดือน หากพนักงานเสียชีวิต
แค่อยากมาสอบถามครับ ว่า ถ้าบริษัท ทำแบบนี้ ได้หรือไม่ จะปรับจะเปลี่ยน โดยที่ไม่ได้แจ้ง ให้พนักงาน ( รุ่นอายุงานเก่า ๆ ) ทราบมาก่อน
พอดีได้คุยกับ น้องที่เข้าทีหลัง เค้าก็บอกว่า เอะ ของเค้าก็ได้ 10 เท่าของเงินเดือน นะ เราก็เลยโชว์เอกสาร (สมุดคู่มือพนักงาน) ให้ดูว่า นี่ของพี่เค้าระบุ
ไว้ว่า 12 เดือนนะ
จึงขอรบกวน สอบถามครับ / ถามความคิดเห็น หรือ ข้อกฎหมาย ว่าถ้าบริษัท จะปรับลด สวัสดิการ แบบนี้ ต้องแจ้งพนักงานให้ รับทราบ หรือ ออก Policy
เปลี่ยนแปลงสวัสดิการ ก่อนหรือไม่ครับ ถ้าเป็นสิทธิที่นายจ้าง ทำได้โดยไม่ต้องแจ้ง ก็จะไม่โต้แย้งไดไดครับ อยากได้ความรู้ในส่วนนี้ไว้ แต่ถ้า นายจ้าง
จะทำแบบนี้ไม่ได้ ก็จะดำเนินเรื่อง ส่งเรื่องสอบถามกับ HR. ครับ เพียงอยากขออ้างอิง เพื่อนำไปประกอบการสอบถามครับ
ขอขอบคุณล่วงหน้าครับผม