ผมเป็นคนปกติทั่วไปที่ไม่ได้ชำนาญเรื่องช่าง มีความรู้แค่พอแก้ไขซ่อมงูๆ ปลาๆ ไป แต่เมื่อต้นปี 62 ผมได้ซื้อบ้านมือ 2 เพื่อกะว่าในอนาคตจะใช้เป็นที่อยู่ของครัวครัว โดยเป็นบ้านเดี่ยวขนาด 64 ตร.ว. พื้นที่ใช้สอยตัวบ้านขนาด 166 ตร.ม. เป็นบ้านหลังมุม จึงทำให้มีพื้นที่ข้างบ้านเหลือ และต้องการต่อเติมบ้านเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย...เป็นห้องผู้สูงวัย ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมเจอประสบการ การต่อเติมบ้านและผู้รับเหมาต่างๆ ที่อยากเอามาแชร์ให้เพื่อนๆได้ รู้ข้อมูล ขั้นตอน เพื่อจะได้เข้าใจ ระมัดระวัง และเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจๆต่างๆเวลาที่เพื่อนๆจะต่อเติมและตกแต่งภายในบ้านครับ
มาเริ่มกันเลยนะครับ
ก็เริ่มจากการวางแผนสำรวจพื้นที่บริเวณข้างบ้าน ออกแบบห้องที่ต้องการต่อเติม สืบค้นข้อมูลผู้รับเหมาในเว็ป....ลองสอบถามเพื่อนๆที่รับเหมา
โดยผมตัดสินใจดังนี้
1. จะต่อเติมบ้านเพิ่มอีก 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ โดยทำเป็น 2 ชั้น (เนื่องจากตัดสินใจตอกเสาเข็ม ไมโครพาย ขนาด I22 จำนวน 6 ต้น และราคา 1 ชั้น กับ 2 ชั้นไม่ต่างกันมากเพราะโครงสร้างที่เลือกเพียงพอสบายๆ
2. จะทำการต่อเติมปรับปรุงครัวหลังบ้าน (เดิมเจ้าของบ้านเดิมทำไว้ และลงเข็มไว้อย่างดี แต่ผนังกับหลังคาส่วนต่อเติมเก่าแล้ว (5ปี)
3. จะทำการทาสีบ้านใหม่ทั้งหลัง
4. จะตกแต่งภายในด้วย
เริ่มทำการออกแบบ ทำด้วยตัวเอง (ผมเขียนแบบไม่เป็น แต่ชอบวาดภาพเป็นทุนเดิม ก็เลยเขียนภาพแบบตามที่ต้องการ และให้เข้ากับพื้นที่ที่วัดไว้) เพื่อได้ไปให้ผู้รับเหมาต่างๆ ประเมินราคาคร่าวๆ มาให้เรา เพื่อเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจครับ
แปลนบ้านเดิมที่มากับโครงการ
ภาพบ้านเดิมก่อนต่อเติม
บริเวณด้านหน้าบ้าน
บริเวณด้านข้างบ้าน (ส่วนที่จะต่อเติม)
ด้านหน้าบ้านเจ้าของบ้านเดิมเขาปรับฮวงจุ้ย โดยย้ายประตูเข้าบ้านมาไว้ด้านข้าง(บริเวณโรงรถ) และทำประตูเป็นหน้าต่างแทน ตามภาพ
ผมทำการวัดขนาดพื้นที่ส่วนที่จะต่อเติม แล้วก็มาวาดภาพแบบที่เราต้องการต่อเติมครับ
แปลนชั้นล่าง+ส่วนต่อเติม โดยออกแบบให้มีขนาด 4X7 ตร.ม. โดยมีห้องอาม่า ที่มีห้องน้ำในตัว และห้องแม่บ้านที่มีห้องน้ำในตัว และให้มีชานระเบียง บริเวณหน้าห้องอาม่า (เอาไว้ชมสวน คิดเพื่ออนาคต) ตามแบบครับ
แปลนชั้นบน+ส่วนต่อเติม โดยมี 1 ห้องนอนที่มีระเบียงด้านหน้ามองลงมาเห็นสวน โดยการออกแบบมีเงื่อนไขว่า มันมีช่องระบายอากาศของห้องน้ำชั้นบน(บ้านเดิม) เราไม่ต้องการบดบัง แต่ต้องการพื้นที่ห้องที่มากที่สุด และหลังห้องมีบ้านข้างหลัง ทำให้ผมต้องเพื่อระยะไว้ให้เกิน 1 เมตร ตามกฏหมายกำหนด (ตอนออกแบบวัดแต่พื้นที่ โดยวัดจากกแพงบ้าน ลืมนึกไปว่า บ้านข้างหลังเขาก็ตั้งห่างจากกำแพงอยู่แล้ว เลยทำให้พออทำเสร็จเหลือพื้นที่หลังห้องบานเลยครับ เสียดาย) และต้องการทำหลังคาระแนง เพื่อให้ไม่บดบังแสงที่จะลงไปสู่ระเบียงชั้นล่าง
ซึ่งจากการออกแบบมีพื้นที่รวมๆ ประมาณ 50 ตร.ม. จากนั้น เอาแบบที่วาดไปหาช่างผู้รับเหมาให้เขาเสนอราคามา ผมถามไป 6 เจ้า เป็นคนรู้จัก 1 เจ้า เจ้าของบ้านเดิมแนะนำ 1 เจ้า และในเน็ต 4 เจ้า
โดยมีขอบเขตงานคร่าวๆ ดังนี้ ตอกเสาเข็มไมโครพาย I22 จำนวน 6 ต้น ย้ายประตูบ้าน และหน้าต่างบ้านเดิมมาใช้กับส่วนต่อเติม ทำหลังคาระแนง ทำเคาเตอร์ครัวแบบปูนเปือย 3 เมตร ใช้กระเบื้องหลังคาแบบบ้านเดิม ทาสีบ้านเดิมด้วยสี super shild ทั้งหลัง โดยพวกสุขภัณฑ์ ประตู ผมหาซื้อเองครับ
งบประมาณในใจ 750,000 บาท ปรากฏว่า เจ้าที่รู้จัก กับที่เจ้าของบ้านแนะนำราคาจะอยู่ที่ประมาณ 9 แสน ส่วน 4 เจ้าในเน็ต เจ้าดังก็ 1.2-1.5 ล้านบาท แต่มีเจ้านึง 7 แสนกว่า ต่ำกว่างบที่ตั้งไว้ (ปล.เจ้าในเน็ตเป็นในนามบริษัท ส่วนที่รู้จักกะที่เจ้าของบ้านแนะนำเป็นส่วนบุคคลไม่ใช่บริษัท) ซึ่งเราก็เคยทราบมาว่า อย่าจ้างคนรู้จัก ให้เลือกบริษัทที่มั่นคงได้ไม่ทิ้งงาน ผมจึงเลือกเจ้าสุดท้าย ซึ่งเขาก็ไม่ทิ้งงานจริงๆนะครับ แม้จะล่าช้าไป 8 เดือน 5555
โดยมีใบเสนอราคาประมาณนี้ครับ
เมื่อผู้รับเหมาได้สำรวจพื้นที่ นำแบบที่เราเขียนกลับไปเขียนเป็นแบบทางวิศวกรรม ก็เสนอราคามาเป็น item เพื่อมาเจรจาต่อรองกัน ผมจบที่ 7.5 แสน เมื่อได้ราคาก็ตกลง เซ็นต์สัญญา ซึ่งข้อดีของการจ้างบริษัท คือมีสัญญา มีการรับประกัน ตามตัวได้ และเขามีการันตีไม่ทิ้งงาน (อันนี้ผมชอบ) ส่วนปัญหาต่างๆ นั้นจะเล่าไปเรื่อยๆในแต่ละงานนะครับ
มาเริ่มที่งานฐานราก จะมีขั้นตอนเคร่าวๆ ดังนี้
วัดพื้นที่ ปักหมุด ตอกเข็ม ผ่าหัวเข็ม ทำ footing หล่อคาน เทพื้น (ตอนตอกเข็มไม่ได้ถ่ายไว้ครับ)มัวแต่ไปยืนเฝ้า เพราะแม้บริษัทจะเป็นคนดำเนินการแต่เขาก็ไปจ้างงานเข็มจากผู้รับเหมาอีกที และส่งคนมาคุมงาน งานฐานรากซีเรียสครับ เราต้องรู้ และต้องดูตลอด โดยเฉพาะเวลาที่ผู้รับเหมาแจ้งว่าตอกเข็มไม่ลงแล้ว เราต้องไปเช็ก ซึ่งเขาจะตอกให้เราดูไปเรื่อยๆ โดยเราต้องเอาปากกามาขีดไว้แล้วให้เขาตอก หากเขาตอก 5-6 ครั้งแล้ว รอยปากกาที่เรามาร์คไว้ไม่เคลื่อนต่ำกว่าเดิมแล้ว ก็ถือว่าเต็มที่แล้ว และเราต้องพอรู้ว่าบริเวณบ้านที่เราอยู่เขาตอกเข็มได้ลึกประมาณกี่เมตร แถวบ้านผม 18 เมตร ซึ่งเข็มที่บ้านผมก็ลงได้แค่ 18.5 เมตร ก็เป็นอันใช้ได้
ก่อนเทพื้น ให้เราตรวจเช็กตำแหน่งท่อ งานระบบประปาให้ดีนะครับ ของผม บ. ใช้ผู้รับเหมารายย่อยหลายเจ้า ตอกเข็มเจ้าหนึ่ง ผูกคานเทพื้นเจ้าหนึ่ง ทำให้ต้องตรวจเช็กการวางท่อ และถังแซทดีๆ ไม่งั้นช่างจะทำแบบตามสะดวกเขา (ปล. ของผมทีแรกเขาเอาถังแซทไว้บริเวณใต้ห้องน้ำเลย ผมมาเจอและแจ้งให้เขาเอาไปไว้ข้างๆบ้าน นอกบริเวณต่อเติม ช่างก็ขุดย้ายให้ใหม่ เพราะในอนาคตตอนต้องดูด จะได้สะดวกและทำนอกบ้าน)
ขึ้นเสา ทำคานชั้น 2
เทพื้นชั้น 2
ต่อมาก็ทำโครงหลังคา ซึ่งอันนี้ บ. เขาก็เลือกใช้ผู้รับเหมาอีกเจ้ามาทำหลังคา ซึ่งข้อดีคือ เขาชำนาญหลังคาโดยเฉพาะ ผมก็ไปถามๆเขาๆ ก็แนะนำว่าส่วนต่อเติมของผมไม่ควรใช้หลังคาแบบเดิม เนื่องจากหลังคาประเภทนี้ต้องการ slop ที่มาก ผมเลยไปถาม บ. แต่เขาตอบว่าทำได้ เดี๋ยวมีการปูรองพื้นก่อนปูหลังคา ผมเลยตามนั้น (เพราะหลังคาที่ผมเลือกราคาแพง เลยคิดว่าเขาน่าจะรู้ เพราะมีวิศวกรอยู่ด้วย) แต่....นี่แหละครับข้อเสีย คือ เมื่อใช้ผู้รับเหมาหลายรายและไม่มีการสื่อสารส่งต่องาน ทำความเข้าใจกันให้ดี หลังคาบ้านผมซ่อม 4 ครั้ง สุดท้ายเปลี่ยนใหม่ และเปลี่ยนชนิด เลย (ดีว่า บ. เขารับผิดชอบ เพราะเขาเองก็ซ่อมไม่ไหว ซ่อมตั้งหลายครั้งน้ำก็ยังรั่ว เหตุมาจาก slop ไม่พอ ดังนั้นผมแนะนำเลยครับ ส่วนต่อเติมที่หลังคาไม่สามารถ slop ได้เท่าบ้านเดิม ให้เลือกใช้ พวกเมทัลชีท (มันจะรอยต่อน้อยกว่า ซีแพ๊ค) น้ำหนักเบา แต่หากกังวลเรื่องเสียงให้ใช้แบบ เมทัลชีทแซนวิซ ครับจะมีโฟมรอหนาๆใต้หลังคา ซึ่งเก็บเสียงได้ดี ลดความร้อน และน้ำหนักเบา ที่สำคัญราคาถูกกว่าครับ
เดี๋ยวมาเล่าต่อครับ......
[CR] รีวิวประสบการต่อเติมบ้าน ขั้นตอน และข้อควรระวังต่างๆ
มาเริ่มกันเลยนะครับ
ก็เริ่มจากการวางแผนสำรวจพื้นที่บริเวณข้างบ้าน ออกแบบห้องที่ต้องการต่อเติม สืบค้นข้อมูลผู้รับเหมาในเว็ป....ลองสอบถามเพื่อนๆที่รับเหมา
โดยผมตัดสินใจดังนี้
1. จะต่อเติมบ้านเพิ่มอีก 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ โดยทำเป็น 2 ชั้น (เนื่องจากตัดสินใจตอกเสาเข็ม ไมโครพาย ขนาด I22 จำนวน 6 ต้น และราคา 1 ชั้น กับ 2 ชั้นไม่ต่างกันมากเพราะโครงสร้างที่เลือกเพียงพอสบายๆ
2. จะทำการต่อเติมปรับปรุงครัวหลังบ้าน (เดิมเจ้าของบ้านเดิมทำไว้ และลงเข็มไว้อย่างดี แต่ผนังกับหลังคาส่วนต่อเติมเก่าแล้ว (5ปี)
3. จะทำการทาสีบ้านใหม่ทั้งหลัง
4. จะตกแต่งภายในด้วย
เริ่มทำการออกแบบ ทำด้วยตัวเอง (ผมเขียนแบบไม่เป็น แต่ชอบวาดภาพเป็นทุนเดิม ก็เลยเขียนภาพแบบตามที่ต้องการ และให้เข้ากับพื้นที่ที่วัดไว้) เพื่อได้ไปให้ผู้รับเหมาต่างๆ ประเมินราคาคร่าวๆ มาให้เรา เพื่อเปรียบเทียบราคาก่อนตัดสินใจครับ
แปลนบ้านเดิมที่มากับโครงการ
ภาพบ้านเดิมก่อนต่อเติม
บริเวณด้านหน้าบ้าน
บริเวณด้านข้างบ้าน (ส่วนที่จะต่อเติม)
ด้านหน้าบ้านเจ้าของบ้านเดิมเขาปรับฮวงจุ้ย โดยย้ายประตูเข้าบ้านมาไว้ด้านข้าง(บริเวณโรงรถ) และทำประตูเป็นหน้าต่างแทน ตามภาพ
ผมทำการวัดขนาดพื้นที่ส่วนที่จะต่อเติม แล้วก็มาวาดภาพแบบที่เราต้องการต่อเติมครับ
แปลนชั้นล่าง+ส่วนต่อเติม โดยออกแบบให้มีขนาด 4X7 ตร.ม. โดยมีห้องอาม่า ที่มีห้องน้ำในตัว และห้องแม่บ้านที่มีห้องน้ำในตัว และให้มีชานระเบียง บริเวณหน้าห้องอาม่า (เอาไว้ชมสวน คิดเพื่ออนาคต) ตามแบบครับ
แปลนชั้นบน+ส่วนต่อเติม โดยมี 1 ห้องนอนที่มีระเบียงด้านหน้ามองลงมาเห็นสวน โดยการออกแบบมีเงื่อนไขว่า มันมีช่องระบายอากาศของห้องน้ำชั้นบน(บ้านเดิม) เราไม่ต้องการบดบัง แต่ต้องการพื้นที่ห้องที่มากที่สุด และหลังห้องมีบ้านข้างหลัง ทำให้ผมต้องเพื่อระยะไว้ให้เกิน 1 เมตร ตามกฏหมายกำหนด (ตอนออกแบบวัดแต่พื้นที่ โดยวัดจากกแพงบ้าน ลืมนึกไปว่า บ้านข้างหลังเขาก็ตั้งห่างจากกำแพงอยู่แล้ว เลยทำให้พออทำเสร็จเหลือพื้นที่หลังห้องบานเลยครับ เสียดาย) และต้องการทำหลังคาระแนง เพื่อให้ไม่บดบังแสงที่จะลงไปสู่ระเบียงชั้นล่าง
ซึ่งจากการออกแบบมีพื้นที่รวมๆ ประมาณ 50 ตร.ม. จากนั้น เอาแบบที่วาดไปหาช่างผู้รับเหมาให้เขาเสนอราคามา ผมถามไป 6 เจ้า เป็นคนรู้จัก 1 เจ้า เจ้าของบ้านเดิมแนะนำ 1 เจ้า และในเน็ต 4 เจ้า
โดยมีขอบเขตงานคร่าวๆ ดังนี้ ตอกเสาเข็มไมโครพาย I22 จำนวน 6 ต้น ย้ายประตูบ้าน และหน้าต่างบ้านเดิมมาใช้กับส่วนต่อเติม ทำหลังคาระแนง ทำเคาเตอร์ครัวแบบปูนเปือย 3 เมตร ใช้กระเบื้องหลังคาแบบบ้านเดิม ทาสีบ้านเดิมด้วยสี super shild ทั้งหลัง โดยพวกสุขภัณฑ์ ประตู ผมหาซื้อเองครับ
งบประมาณในใจ 750,000 บาท ปรากฏว่า เจ้าที่รู้จัก กับที่เจ้าของบ้านแนะนำราคาจะอยู่ที่ประมาณ 9 แสน ส่วน 4 เจ้าในเน็ต เจ้าดังก็ 1.2-1.5 ล้านบาท แต่มีเจ้านึง 7 แสนกว่า ต่ำกว่างบที่ตั้งไว้ (ปล.เจ้าในเน็ตเป็นในนามบริษัท ส่วนที่รู้จักกะที่เจ้าของบ้านแนะนำเป็นส่วนบุคคลไม่ใช่บริษัท) ซึ่งเราก็เคยทราบมาว่า อย่าจ้างคนรู้จัก ให้เลือกบริษัทที่มั่นคงได้ไม่ทิ้งงาน ผมจึงเลือกเจ้าสุดท้าย ซึ่งเขาก็ไม่ทิ้งงานจริงๆนะครับ แม้จะล่าช้าไป 8 เดือน 5555
โดยมีใบเสนอราคาประมาณนี้ครับ
เมื่อผู้รับเหมาได้สำรวจพื้นที่ นำแบบที่เราเขียนกลับไปเขียนเป็นแบบทางวิศวกรรม ก็เสนอราคามาเป็น item เพื่อมาเจรจาต่อรองกัน ผมจบที่ 7.5 แสน เมื่อได้ราคาก็ตกลง เซ็นต์สัญญา ซึ่งข้อดีของการจ้างบริษัท คือมีสัญญา มีการรับประกัน ตามตัวได้ และเขามีการันตีไม่ทิ้งงาน (อันนี้ผมชอบ) ส่วนปัญหาต่างๆ นั้นจะเล่าไปเรื่อยๆในแต่ละงานนะครับ
มาเริ่มที่งานฐานราก จะมีขั้นตอนเคร่าวๆ ดังนี้
วัดพื้นที่ ปักหมุด ตอกเข็ม ผ่าหัวเข็ม ทำ footing หล่อคาน เทพื้น (ตอนตอกเข็มไม่ได้ถ่ายไว้ครับ)มัวแต่ไปยืนเฝ้า เพราะแม้บริษัทจะเป็นคนดำเนินการแต่เขาก็ไปจ้างงานเข็มจากผู้รับเหมาอีกที และส่งคนมาคุมงาน งานฐานรากซีเรียสครับ เราต้องรู้ และต้องดูตลอด โดยเฉพาะเวลาที่ผู้รับเหมาแจ้งว่าตอกเข็มไม่ลงแล้ว เราต้องไปเช็ก ซึ่งเขาจะตอกให้เราดูไปเรื่อยๆ โดยเราต้องเอาปากกามาขีดไว้แล้วให้เขาตอก หากเขาตอก 5-6 ครั้งแล้ว รอยปากกาที่เรามาร์คไว้ไม่เคลื่อนต่ำกว่าเดิมแล้ว ก็ถือว่าเต็มที่แล้ว และเราต้องพอรู้ว่าบริเวณบ้านที่เราอยู่เขาตอกเข็มได้ลึกประมาณกี่เมตร แถวบ้านผม 18 เมตร ซึ่งเข็มที่บ้านผมก็ลงได้แค่ 18.5 เมตร ก็เป็นอันใช้ได้
ก่อนเทพื้น ให้เราตรวจเช็กตำแหน่งท่อ งานระบบประปาให้ดีนะครับ ของผม บ. ใช้ผู้รับเหมารายย่อยหลายเจ้า ตอกเข็มเจ้าหนึ่ง ผูกคานเทพื้นเจ้าหนึ่ง ทำให้ต้องตรวจเช็กการวางท่อ และถังแซทดีๆ ไม่งั้นช่างจะทำแบบตามสะดวกเขา (ปล. ของผมทีแรกเขาเอาถังแซทไว้บริเวณใต้ห้องน้ำเลย ผมมาเจอและแจ้งให้เขาเอาไปไว้ข้างๆบ้าน นอกบริเวณต่อเติม ช่างก็ขุดย้ายให้ใหม่ เพราะในอนาคตตอนต้องดูด จะได้สะดวกและทำนอกบ้าน)
ขึ้นเสา ทำคานชั้น 2
เทพื้นชั้น 2
ต่อมาก็ทำโครงหลังคา ซึ่งอันนี้ บ. เขาก็เลือกใช้ผู้รับเหมาอีกเจ้ามาทำหลังคา ซึ่งข้อดีคือ เขาชำนาญหลังคาโดยเฉพาะ ผมก็ไปถามๆเขาๆ ก็แนะนำว่าส่วนต่อเติมของผมไม่ควรใช้หลังคาแบบเดิม เนื่องจากหลังคาประเภทนี้ต้องการ slop ที่มาก ผมเลยไปถาม บ. แต่เขาตอบว่าทำได้ เดี๋ยวมีการปูรองพื้นก่อนปูหลังคา ผมเลยตามนั้น (เพราะหลังคาที่ผมเลือกราคาแพง เลยคิดว่าเขาน่าจะรู้ เพราะมีวิศวกรอยู่ด้วย) แต่....นี่แหละครับข้อเสีย คือ เมื่อใช้ผู้รับเหมาหลายรายและไม่มีการสื่อสารส่งต่องาน ทำความเข้าใจกันให้ดี หลังคาบ้านผมซ่อม 4 ครั้ง สุดท้ายเปลี่ยนใหม่ และเปลี่ยนชนิด เลย (ดีว่า บ. เขารับผิดชอบ เพราะเขาเองก็ซ่อมไม่ไหว ซ่อมตั้งหลายครั้งน้ำก็ยังรั่ว เหตุมาจาก slop ไม่พอ ดังนั้นผมแนะนำเลยครับ ส่วนต่อเติมที่หลังคาไม่สามารถ slop ได้เท่าบ้านเดิม ให้เลือกใช้ พวกเมทัลชีท (มันจะรอยต่อน้อยกว่า ซีแพ๊ค) น้ำหนักเบา แต่หากกังวลเรื่องเสียงให้ใช้แบบ เมทัลชีทแซนวิซ ครับจะมีโฟมรอหนาๆใต้หลังคา ซึ่งเก็บเสียงได้ดี ลดความร้อน และน้ำหนักเบา ที่สำคัญราคาถูกกว่าครับ
เดี๋ยวมาเล่าต่อครับ......
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้